นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย มีแนวคิดจะแบ่งโครงสร้างกรุงเทพมหานคร ออกเป็น 4 ส่วน โดยจะให้มีผู้ว่าฯ 4 คน เพื่อความคล่องตัว และความโปร่งใสในการทำงาน ว่า เป็นข้ออ้างที่ไร้เหตุผล การบริหารงานเพื่อความโปร่งใสไม่ได้อยู่ที่โครงสร้าง แต่อยู่ที่ตัวบุคคล ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่เคยเป็นผู้ว่าฯ กทม.ในอดีต ก็มีการทุจริตในคดีรถ และเรือดับเพลิงเกิดขึ้น วันนี้ในยุคนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เรื่องนี้แทบจะไม่มีเลย การเสนอแนวคิดของร.ต.อ.เฉลิม ไม่ได้ดูเรื่องกฎหมาย แม้จะเป็นด็อกเตอร์ด้านกฎหมาย แต่ไม่ได้เข้าใจเรื่องการปกครองท้องถิ่น การเสนอให้มีผู้ว่าฯ 4 คน และให้มีรัฐมนตรีควบคุมโดยตรง เป็นการเสนอโครงสร้างที่ขัดรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 284 ที่ให้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง การที่รัฐมนตรีกระทรวงนครหลวง คุมถือว่าขัดตามมาตรานี้
นายเทพไท กล่าวว่า ตนพอจะเข้าใจความคิดของร.ต.อ.เฉลิม ในการเสนอเรื่องนี้ เพราะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ กทม.มาโดยตลอด หลังจากที่เคยลงผู้ว่าฯ กทม. ปี47 แข่งกับนายอภิรักษ์ แล้วได้ลำดับที่ 4 วันนั้นหากมี ผู้ว่าฯ 4 คน ร.ต.อ.เฉลิม คงจะได้เป็นผู้ว่าฯ จากพื้นฐานความคิดนี้ เผื่อตัวเองจะลงผู้ว่าฯ แล้วจะได้ด้วย เป็นปมด้อยของร.ต.อ.เฉลิม เพราะเคยแพ้มาแล้ว 2 ครั้ง ตนอยากให้ ร.ต.อ.เฉลิมไปสนใจเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตัวเองรับผิดชอบโดยตรงจะดีที่สุด เพราะวันนี้กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบการกระจายอำนาจ รับผิดชอบกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ตนยังไม่เห็นแนวทางที่ ร.ต.อ.เฉลิมจะทำ ทั้งๆ ที่กฎหมายเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคประชาธิปัตย์ได้วางไว้ตั้งแต่ปี 2542 แล้ว และมีกฎหมายแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2547 แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีการถ่ายโอนงบประมาณ และจะมีการปรับแก้ให้เหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ร.ต.อ.เฉลิม น่าจะไปดูและผลักดันหน้าที่ที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด
"บทบาท 3 เดือนของกระทรวงมหาดไทย ผมยังไม่เป็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ผลงานที่ คุณเฉลิม ภาคภูมิใจเป็นเรื่องของการเช็กบิลพวกที่บุกรุกที่ดิน ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นบทบาทของกระทรวงมหาดไทยหรือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ หากคุณเฉลิมมุ่งมั่นที่จะทำเรื่องนี้ หากมีการปรับครม. ครั้งหน้า ควรจะโยกคุณเฉลิม ไปอยู่กระทรวงนี้น่าจะเหมาะที่สุด เป็นที่รับรู้ว่าคุณเฉลิม เก่งทุกเรื่อง รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ตัวเองรับผิดชอบ ไม่รู้" นายเทพไท กล่าว
ด้านนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงแนวคิดการปรับโครงสร้างกรุงเทพมหานคร ว่า ตนเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง ทางออกกรุงเทพฯ ขึ้นเมื่อปี 44 สมัยที่ยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีแนวทางว่าจะแบ่งงานออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นบนมีผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเหมือนเดิม แต่ชั้นล่างจะแบ่งกรุงเทพฯ ออกเป็น 10-15 นคร รูปแบบเหมือนเทศบาล มีการเลือกตั้งนายกนคร โดยเรื่องใหญ่ยังอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. ที่สามารถอนุมัติได้ เช่น การอนุมัติให้สร้างตึกสูง 30 ชั้น ถือเป็นอำนาจผู้ว่าฯ กทม. แต่กรณีการสร้างทาวน์เฮาส์ ต่อเติม ให้อยู่ในอำนาจของนายกนคร ที่จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จะทำให้ กทม.หลวมลง ท้องถิ่นจะเข้ามามากขึ้น
"ผมเคยเป็นคนร่างกฎหมายนี้เองโดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนเซ็นเข้าสภาฯ โดยมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ผมจะนำหนังสือเล่มนี้ไปให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เพื่อจะได้นำไปศึกษารูปแบบ ประชาชนจะได้ประโยชน์มากจากปรับโครงสร้าง กทม. และมหานครทั่วโลก อาทิ นิวยอร์ก โตเกียว ลอนดอน วอชิงตัน ก็ใช้ระบบนี้ แนวคิดนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นนายถวิล ไพรสณฑ์ คณะทำงานในพรรคประชาธิปัตย์ เคยเห็นตรงกัน และผมอยากรู้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างไรบ้าง" นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวอีกว่า การเสนอแนวคิดนี้ไม่ได้หวังผลต่อการเลือกตั้ง และยอมรับว่าจะทำให้ภารกิจผู้ว่าฯ กทม.น้อยลง แต่ เชื่อว่าหากมีการปรับโครงสร้างจริงจะไม่ทันต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยหน้านี้
นายเทพไท กล่าวว่า ตนพอจะเข้าใจความคิดของร.ต.อ.เฉลิม ในการเสนอเรื่องนี้ เพราะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ กทม.มาโดยตลอด หลังจากที่เคยลงผู้ว่าฯ กทม. ปี47 แข่งกับนายอภิรักษ์ แล้วได้ลำดับที่ 4 วันนั้นหากมี ผู้ว่าฯ 4 คน ร.ต.อ.เฉลิม คงจะได้เป็นผู้ว่าฯ จากพื้นฐานความคิดนี้ เผื่อตัวเองจะลงผู้ว่าฯ แล้วจะได้ด้วย เป็นปมด้อยของร.ต.อ.เฉลิม เพราะเคยแพ้มาแล้ว 2 ครั้ง ตนอยากให้ ร.ต.อ.เฉลิมไปสนใจเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตัวเองรับผิดชอบโดยตรงจะดีที่สุด เพราะวันนี้กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบการกระจายอำนาจ รับผิดชอบกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ตนยังไม่เห็นแนวทางที่ ร.ต.อ.เฉลิมจะทำ ทั้งๆ ที่กฎหมายเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคประชาธิปัตย์ได้วางไว้ตั้งแต่ปี 2542 แล้ว และมีกฎหมายแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2547 แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีการถ่ายโอนงบประมาณ และจะมีการปรับแก้ให้เหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ร.ต.อ.เฉลิม น่าจะไปดูและผลักดันหน้าที่ที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด
"บทบาท 3 เดือนของกระทรวงมหาดไทย ผมยังไม่เป็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ผลงานที่ คุณเฉลิม ภาคภูมิใจเป็นเรื่องของการเช็กบิลพวกที่บุกรุกที่ดิน ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นบทบาทของกระทรวงมหาดไทยหรือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ หากคุณเฉลิมมุ่งมั่นที่จะทำเรื่องนี้ หากมีการปรับครม. ครั้งหน้า ควรจะโยกคุณเฉลิม ไปอยู่กระทรวงนี้น่าจะเหมาะที่สุด เป็นที่รับรู้ว่าคุณเฉลิม เก่งทุกเรื่อง รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ตัวเองรับผิดชอบ ไม่รู้" นายเทพไท กล่าว
ด้านนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงแนวคิดการปรับโครงสร้างกรุงเทพมหานคร ว่า ตนเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง ทางออกกรุงเทพฯ ขึ้นเมื่อปี 44 สมัยที่ยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีแนวทางว่าจะแบ่งงานออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นบนมีผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเหมือนเดิม แต่ชั้นล่างจะแบ่งกรุงเทพฯ ออกเป็น 10-15 นคร รูปแบบเหมือนเทศบาล มีการเลือกตั้งนายกนคร โดยเรื่องใหญ่ยังอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. ที่สามารถอนุมัติได้ เช่น การอนุมัติให้สร้างตึกสูง 30 ชั้น ถือเป็นอำนาจผู้ว่าฯ กทม. แต่กรณีการสร้างทาวน์เฮาส์ ต่อเติม ให้อยู่ในอำนาจของนายกนคร ที่จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จะทำให้ กทม.หลวมลง ท้องถิ่นจะเข้ามามากขึ้น
"ผมเคยเป็นคนร่างกฎหมายนี้เองโดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนเซ็นเข้าสภาฯ โดยมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ผมจะนำหนังสือเล่มนี้ไปให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เพื่อจะได้นำไปศึกษารูปแบบ ประชาชนจะได้ประโยชน์มากจากปรับโครงสร้าง กทม. และมหานครทั่วโลก อาทิ นิวยอร์ก โตเกียว ลอนดอน วอชิงตัน ก็ใช้ระบบนี้ แนวคิดนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นนายถวิล ไพรสณฑ์ คณะทำงานในพรรคประชาธิปัตย์ เคยเห็นตรงกัน และผมอยากรู้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างไรบ้าง" นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวอีกว่า การเสนอแนวคิดนี้ไม่ได้หวังผลต่อการเลือกตั้ง และยอมรับว่าจะทำให้ภารกิจผู้ว่าฯ กทม.น้อยลง แต่ เชื่อว่าหากมีการปรับโครงสร้างจริงจะไม่ทันต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยหน้านี้