๐๐ การเปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “วิวาทกรรมสมัครกับสื่อ”ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ถ้าหวังจะให้งานวิจัยชิ้นนี้เป็นกระจกสะท้อนไปยังคนถูกวิจัยแล้วละก็ บอกได้คำเดียวว่า เสียเวลาเปล่าๆ ในเมื่อ“สมัคร สุนทรเวช” นายกรัฐมนตรีวัย 73 คนนี้ “มิได้นำพา” ต่อการนำเอาผลที่ปรากฏในงานวิจัยไปปฏิบัติหรือปรับปรุงตัวเองเลยแม้แต่น้อย แถมดูท่าจะออกอาการ “หยาบกระด้าง – ไม่รู้หน้าที่ตัวเอง” หนักกว่าเดิมเสียอีก
๐๐ เป็นที่รับรู้กันว่า ลักษณะการพูดจาแบบขวานผ่าซาก หยาบคาย ข่มขู่ เย้ยหยันกลับคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์นั้น เป็นนิสัยดั้งเดิมที่ติดตัว “สมัคร สุนทรเวช”มานมนาน อย่างไรก็ดี เมื่อได้ขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญ เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยแล้ว หลายคนก็แอบคาดหมายว่า “สมัคร สุนทรเวช” น่าจะปรับเปลี่ยนแนวทางการพูดของตัวเองให้ดูดีมีสกุลหรือคู่ควรกับตำแหน่ง “อัครมหาเสนาบดี”เสียบ้าง
๐๐ แต่แล้วตลอดช่วง 3 เดือนของการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นิสัยดั้งเดิมคงจะหยั่งรากลึกชนิดที่ไม่มีทาง“ขุด”หรือลอกออกมาให้เบาบางลงได้ ยิ่งมีรายการ “สนทนาประสาสมัคร”ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในชื่อเดิม ก็ราวกับว่า “สมัคร สุนทรเวช”ได้ของเล่นใหม่ ที่จะใช้ตอบโต้และลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสนุกปาก ทุกเช้าวันอาทิตย์
๐๐ “สมัคร สุนทรเวช”ถูกติติงเรื่องการพูดจา แม้แต่จากคนในพรรคพลังประชาชนเอง อย่าง ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคฯ รวมไปจนถึงโพลสำนักต่างๆ หากมีคำถามถึงจุดอ่อนของนายสมัคร ก็จะมีเรื่องการพูดจาอยู่ในอันดับต้นๆ ทุกครั้ง แต่ “สมัคร สุนทรเวช” ยังคงใช้ลีลาท่าทางแบบเดิมๆ ในการตอบโต้สื่อ เมื่อถูกถามในประเด็นที่ตนเองไม่อยากตอบ หรือเมื่อถูกฝ่ายตรงข้าม วิพากษ์วิจารณ์ โดยอ้างถึงความเป็นตัวตนของตัวเอง ต้องพูดจาอย่างนี้ และทึกทักเอาว่านี่คือความ “ตรงไปตรงมา” และ “ไม่ดัดจริต” คำพูดที่ว่า“ถ้าไม่พูดอย่างนี้ก็ไม่ใช่นายสมัคร” จึงออกมาให้ได้ยินบ่อยๆ
๐๐ คำถามมีอยู่ว่า ลักษณะการพูดจาแบบที่ “สมัคร สุนทรเวช”เป็นอยู่นี้ นับเป็นความ“ตรงไปตรงมา” หรือ “ไม่ดัดจริต” ตามที่คนพูดชอบอ้าง หรือไม่ แต่ถ้าไปเปิดดูผลวิจัยของสมาคมนักข่าวฯ ที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันเสาร์ ก็คงจะเห็นคำตอบว่า ไม่ใช่เลย
๐๐ กล่าวโดยสรุปงานวิจัยชิ้นนี้ ชี้ว่าฯ พฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของ “สมัคร สุนทรเวช”นั้น สะท้อนถึง ความไม่เข้าใจในสถานภาพและบทบาทของตนในกระบวนการสื่อสารทางการเมือง,ไม่สอดคล้อง-ส่งเสริมต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งจากพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อมวลชนในการรายงานข่าว,ไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์,ไม่นำเอาคำวิจารณ์มาปรับปรุงแก้ไข,ไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อ,แทรกแซงสื่อด้วยการไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อในการให้ข้อมูล, ปกปิด เบี่ยงเบน เลี่ยงประเด็น, มีพฤติกรรมคุกคามสื่อในลักษณะขู่,ท้าทายไปยังตัวบุคคลและสื่อหลายองค์กรว่าจะเอาเรื่อง เป็นพฤติกรรมคุกคามสื่อ ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลข่าวสารและความต้องการรู้ของประชาชน เท่ากับเป็นการแทรกแซงสื่อโดยอ้อม
๐๐ “สมัคร สุนทรเวช”ตอบโต้งานวิจัยดังกล่าวทันที ทางรายการเมื่อเช้าวันอาทิตย์ ด้วยลีลาการพูดแบบเดิม วาจาหยาบกระด้างหลุดออกมาให้ได้ยินเหมือนเดิม เช่น “บัน คี มูนจะยกย่องสื่อสารมวลชนไว้บนหัวบัน คี มูนก็ช่าง” การบิดเบือนยังมีให้เห็นเหมือนเดิม เช่น อ้างว่าถ้าคุกคามสื่อต้องสั่งปิดหนังสือพิมพ์ เอาตำรวจไปจับ ห้ามเขียนบทความ ฯลฯ ปิดท้ายด้วยการขู่เล็กๆ ว่าจะเลิกให้สัมภาษณ์ทุกวันอังคาร-พฤหัสฯ แล้วให้ต่างคนต่างอยู่
๐๐ พฤติกรรมที่แข็งกร้าวต่อสื่อของ“สมัคร สุนทรเวช” ถึงขั้นที่งานวิจัยชี้ว่า “มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย ด้วยการไม่เคารพศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสื่อ” ดูจะตรงกันข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เดินทางกลับมาจากอังกฤษ แล้วชี้แจงกรณี “ธงชาติ” ด้วยท่าทีที่โอนอ่อน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ หลายคนคงคาดการณ์ในใจแล้วว่า อีกไม่นาน “หัวหน้าลูกกรอก” คงจะถูกเปลี่ยนตัวแน่ๆ
๐๐ เป็นที่รับรู้กันว่า ลักษณะการพูดจาแบบขวานผ่าซาก หยาบคาย ข่มขู่ เย้ยหยันกลับคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์นั้น เป็นนิสัยดั้งเดิมที่ติดตัว “สมัคร สุนทรเวช”มานมนาน อย่างไรก็ดี เมื่อได้ขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญ เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยแล้ว หลายคนก็แอบคาดหมายว่า “สมัคร สุนทรเวช” น่าจะปรับเปลี่ยนแนวทางการพูดของตัวเองให้ดูดีมีสกุลหรือคู่ควรกับตำแหน่ง “อัครมหาเสนาบดี”เสียบ้าง
๐๐ แต่แล้วตลอดช่วง 3 เดือนของการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นิสัยดั้งเดิมคงจะหยั่งรากลึกชนิดที่ไม่มีทาง“ขุด”หรือลอกออกมาให้เบาบางลงได้ ยิ่งมีรายการ “สนทนาประสาสมัคร”ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในชื่อเดิม ก็ราวกับว่า “สมัคร สุนทรเวช”ได้ของเล่นใหม่ ที่จะใช้ตอบโต้และลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสนุกปาก ทุกเช้าวันอาทิตย์
๐๐ “สมัคร สุนทรเวช”ถูกติติงเรื่องการพูดจา แม้แต่จากคนในพรรคพลังประชาชนเอง อย่าง ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคฯ รวมไปจนถึงโพลสำนักต่างๆ หากมีคำถามถึงจุดอ่อนของนายสมัคร ก็จะมีเรื่องการพูดจาอยู่ในอันดับต้นๆ ทุกครั้ง แต่ “สมัคร สุนทรเวช” ยังคงใช้ลีลาท่าทางแบบเดิมๆ ในการตอบโต้สื่อ เมื่อถูกถามในประเด็นที่ตนเองไม่อยากตอบ หรือเมื่อถูกฝ่ายตรงข้าม วิพากษ์วิจารณ์ โดยอ้างถึงความเป็นตัวตนของตัวเอง ต้องพูดจาอย่างนี้ และทึกทักเอาว่านี่คือความ “ตรงไปตรงมา” และ “ไม่ดัดจริต” คำพูดที่ว่า“ถ้าไม่พูดอย่างนี้ก็ไม่ใช่นายสมัคร” จึงออกมาให้ได้ยินบ่อยๆ
๐๐ คำถามมีอยู่ว่า ลักษณะการพูดจาแบบที่ “สมัคร สุนทรเวช”เป็นอยู่นี้ นับเป็นความ“ตรงไปตรงมา” หรือ “ไม่ดัดจริต” ตามที่คนพูดชอบอ้าง หรือไม่ แต่ถ้าไปเปิดดูผลวิจัยของสมาคมนักข่าวฯ ที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันเสาร์ ก็คงจะเห็นคำตอบว่า ไม่ใช่เลย
๐๐ กล่าวโดยสรุปงานวิจัยชิ้นนี้ ชี้ว่าฯ พฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของ “สมัคร สุนทรเวช”นั้น สะท้อนถึง ความไม่เข้าใจในสถานภาพและบทบาทของตนในกระบวนการสื่อสารทางการเมือง,ไม่สอดคล้อง-ส่งเสริมต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งจากพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อมวลชนในการรายงานข่าว,ไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์,ไม่นำเอาคำวิจารณ์มาปรับปรุงแก้ไข,ไม่เข้าใจธรรมชาติของสื่อ,แทรกแซงสื่อด้วยการไม่ให้ความร่วมมือกับสื่อในการให้ข้อมูล, ปกปิด เบี่ยงเบน เลี่ยงประเด็น, มีพฤติกรรมคุกคามสื่อในลักษณะขู่,ท้าทายไปยังตัวบุคคลและสื่อหลายองค์กรว่าจะเอาเรื่อง เป็นพฤติกรรมคุกคามสื่อ ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลข่าวสารและความต้องการรู้ของประชาชน เท่ากับเป็นการแทรกแซงสื่อโดยอ้อม
๐๐ “สมัคร สุนทรเวช”ตอบโต้งานวิจัยดังกล่าวทันที ทางรายการเมื่อเช้าวันอาทิตย์ ด้วยลีลาการพูดแบบเดิม วาจาหยาบกระด้างหลุดออกมาให้ได้ยินเหมือนเดิม เช่น “บัน คี มูนจะยกย่องสื่อสารมวลชนไว้บนหัวบัน คี มูนก็ช่าง” การบิดเบือนยังมีให้เห็นเหมือนเดิม เช่น อ้างว่าถ้าคุกคามสื่อต้องสั่งปิดหนังสือพิมพ์ เอาตำรวจไปจับ ห้ามเขียนบทความ ฯลฯ ปิดท้ายด้วยการขู่เล็กๆ ว่าจะเลิกให้สัมภาษณ์ทุกวันอังคาร-พฤหัสฯ แล้วให้ต่างคนต่างอยู่
๐๐ พฤติกรรมที่แข็งกร้าวต่อสื่อของ“สมัคร สุนทรเวช” ถึงขั้นที่งานวิจัยชี้ว่า “มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย ด้วยการไม่เคารพศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสื่อ” ดูจะตรงกันข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เดินทางกลับมาจากอังกฤษ แล้วชี้แจงกรณี “ธงชาติ” ด้วยท่าทีที่โอนอ่อน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ หลายคนคงคาดการณ์ในใจแล้วว่า อีกไม่นาน “หัวหน้าลูกกรอก” คงจะถูกเปลี่ยนตัวแน่ๆ