ผู้จัดการรายวัน - ชาวบ้านและภาครัฐร่วมเปิดตัว "สภาองค์กรชุมชน" แห่งแรกเต็มศาลา "ครูสน" ประกาศภายในปีนี้ต้องจดแจ้งให้ครบ 1,200 ตำบลให้เวลา 5 ปีครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่ "ไพบูลย์" ชี้สภาชาวบ้านสาระดีกว่าสภาระดับชาติที่พูดแต่ประโยชน์ตัวเอง เชื่อ"ศรีสว่าง" เป็นต้นแบบจัดการความขัดแย้งในระดับชุมชน
วานนี้ (2 พ.ค.) ที่ศาลาโรงปุ๋ยชีวภาพ ต.ศรีสว่าง อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชาวบ้าน ต.ศรีสว่าง และตัวแทนชาวบ้านจากพื้นที่นำร่องจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และตัวแทนหน่วยงานราชการร่วม 500 คน ร่วมงานเปิดตัวสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง ซึ่งเป็นสภาองค์กรชุมชแห่งแรกที่ได้จดแจ้งตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการ จ.ร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิด
นายสน รูปสูง ประธานคณะกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน อ่านคำแถลงว่า พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนเป็นกฎหมายที่เกิดจากความร่วมมือของขบวนองค์กรชุมชนและหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจตนารมณ์ที่ให้มีเครื่องมือรับรองสถานภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ทุกชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถในการจัดการตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ตำบลเป็นแกนหลักโดยประสานความร่วมมือจากหลายฝ่าย
นอกจากนี้ หลังจากที่กฎหมายฉบับดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการฯ ได้กำหนดแผนงานในการจัดตั้งสภาองค์กรทั่วประเทศภายในปี2551 จำนวนทั้งสิ้น 1,200 ตำบล และจะครอบคลุมทุกตำบลภายใน 5 ปีหรือภายในปี พ.ศ. 2555
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมของสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง มีสาระดีกว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีหรือการประชุมในรัฐสภา เพราะว่ามีการเสนอความคิดที่สร้างสรรค์และอยู่บนผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นความสำเร็จของกฎหมายฉบับใหม่ แต่ก็คงไม่ใช่ทั้งหมดเพราะขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะแสดงบทบาทอย่างไรผ่านช่องทางนี้
เขากล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีความกังวลว่ากฎหมายฉบับนี้จะสร้างความแตกแยกภายในชุมชนถึงขั้นมีการต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างรุนแรง แต่สภาองค์กรชุมชนแห่งแรกทำให้เห็นว่าความวิตกกังวลดังกล่าวไม่เป็นความจริงเลย เพราะดำเนินการด้วยความราบรื่นซึ่งน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆ
"ความแตกแยกจะเกิดขึ้นได้หากคนที่เกี่ยวข้องคิดแต่ประโยชน์และอำนาจของตัวเอง แทนที่จะคิดถึงประโยชน์สุขของชาวบ้านเป็นเป้าใหญ่" นายไพบูลย์ กล่าว
ด้านนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง ที่จัดตั้งขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาของชาวบ้านเองได้ เพราะจะเป็นต้นแบบของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่พัฒนาเป็นเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การทำงานจำเป็นที่จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต. หรือหน่วยงานราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งหลังจากนี้การทำงานจะต้องเป็นไปแบบ 3 ประสาน การแก้ปัญหาต่างๆ จะได้ราบรื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานเปิดตัวดังกล่าวได้มีการประชุมสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่างซึ่งมีตัวแทนจากกลุ่มและเครือข่ายภายในตำบลทั้งสิ้น 96 คน เข้าร่วมประชุม ในขณะที่งานเปิดตัวครั้งนี้มีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น นายก อบต. สมาชิก อบต. และตัวแทนหน่วยงานราชการ อาทิเช่น นายอำเภอ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ร้อยเอ็ด พัฒนาสังคม จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น เข้าร่วมอย่างคับคั่ง
วานนี้ (2 พ.ค.) ที่ศาลาโรงปุ๋ยชีวภาพ ต.ศรีสว่าง อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชาวบ้าน ต.ศรีสว่าง และตัวแทนชาวบ้านจากพื้นที่นำร่องจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และตัวแทนหน่วยงานราชการร่วม 500 คน ร่วมงานเปิดตัวสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง ซึ่งเป็นสภาองค์กรชุมชแห่งแรกที่ได้จดแจ้งตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการ จ.ร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิด
นายสน รูปสูง ประธานคณะกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน อ่านคำแถลงว่า พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนเป็นกฎหมายที่เกิดจากความร่วมมือของขบวนองค์กรชุมชนและหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจตนารมณ์ที่ให้มีเครื่องมือรับรองสถานภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ทุกชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถในการจัดการตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ตำบลเป็นแกนหลักโดยประสานความร่วมมือจากหลายฝ่าย
นอกจากนี้ หลังจากที่กฎหมายฉบับดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการฯ ได้กำหนดแผนงานในการจัดตั้งสภาองค์กรทั่วประเทศภายในปี2551 จำนวนทั้งสิ้น 1,200 ตำบล และจะครอบคลุมทุกตำบลภายใน 5 ปีหรือภายในปี พ.ศ. 2555
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมของสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง มีสาระดีกว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีหรือการประชุมในรัฐสภา เพราะว่ามีการเสนอความคิดที่สร้างสรรค์และอยู่บนผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นความสำเร็จของกฎหมายฉบับใหม่ แต่ก็คงไม่ใช่ทั้งหมดเพราะขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะแสดงบทบาทอย่างไรผ่านช่องทางนี้
เขากล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีความกังวลว่ากฎหมายฉบับนี้จะสร้างความแตกแยกภายในชุมชนถึงขั้นมีการต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างรุนแรง แต่สภาองค์กรชุมชนแห่งแรกทำให้เห็นว่าความวิตกกังวลดังกล่าวไม่เป็นความจริงเลย เพราะดำเนินการด้วยความราบรื่นซึ่งน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับชุมชนอื่นๆ
"ความแตกแยกจะเกิดขึ้นได้หากคนที่เกี่ยวข้องคิดแต่ประโยชน์และอำนาจของตัวเอง แทนที่จะคิดถึงประโยชน์สุขของชาวบ้านเป็นเป้าใหญ่" นายไพบูลย์ กล่าว
ด้านนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่าง ที่จัดตั้งขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาของชาวบ้านเองได้ เพราะจะเป็นต้นแบบของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่พัฒนาเป็นเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การทำงานจำเป็นที่จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต. หรือหน่วยงานราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งหลังจากนี้การทำงานจะต้องเป็นไปแบบ 3 ประสาน การแก้ปัญหาต่างๆ จะได้ราบรื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานเปิดตัวดังกล่าวได้มีการประชุมสภาองค์กรชุมชน ต.ศรีสว่างซึ่งมีตัวแทนจากกลุ่มและเครือข่ายภายในตำบลทั้งสิ้น 96 คน เข้าร่วมประชุม ในขณะที่งานเปิดตัวครั้งนี้มีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น นายก อบต. สมาชิก อบต. และตัวแทนหน่วยงานราชการ อาทิเช่น นายอำเภอ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ร้อยเอ็ด พัฒนาสังคม จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น เข้าร่วมอย่างคับคั่ง