xs
xsm
sm
md
lg

การเมืองวุ่นกดดันการลงทุนจี้รัฐฟื้นเศรษฐกิจก่อนแก้รธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน-ผู้บริหารบลจ.มองการเมืองวุ่นกดดันการลงทุน วอนแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง และความรุนแรงภาคใต้เพื่อประเทศชาติก่อนทำเรื่องอื่น ขณะเดียวกันสับรัฐบาลมุ่งเอาตัวรอด เดินหน้าแก้รธน.หนีคดียุบพรรค เชื่อจะเป็นการสร้างความวุ่นวายในประเทศเพิ่มมากขึ้น พร้อมยืนยันนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญจนอาจทำให้อายุของรัฐบาลนี้สั้นลง ด้าน "พิชิต"หวั่นเกิดความรุนแรง แนะทำกิจกรรมทางการเมืองอย่างระมัดระวังมากขึ้น

นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการกองทุน(AIMC) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนี้ว่า ยังอยู่ในช่วงผันผวนจากการที่หลายฝ่ายมีความขัดแย้งในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้การลงทุนภายในประเทศชะลอตัวลง โดยมีนักลงทุนหันกลับมาถือเงินสดมากขึ้น ส่วนนักลงทุนต่างประเทศเองยังมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบฉาบฉวย และกระจุกตัวอยู่ในตลาดจตราสารหนี้ ขณะที่การลงทุนตลาดหุ้นเองอาจมีการลงทุนเข้ามาเล็กน้อย และมีการขายทำกำไรออกไปในระยะสั้นๆ ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ เชื่อว่าสถานการณ์การเมืองน่าจะคลี่คลายได้ตามวงจรของมัน โดยการลงทุนในประเทศเองน่าจะกลับมาคึกคักมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี หรือประมาณเดือนกันยายน หลังจากที่การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีการแก้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจริงยังประเมินไม่ได้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะความขัดแย้งในประเด็นนี้มีทั้งฝ่ายคัดค้าน และสนับสนุน

"ตอนนี้ทุกคนมุ่งไปแต่ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปัญหาคือไม่มีใครยอมใครเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องแก้ในทันทีต้องรอมชอมกัน ไม่ใช่จะเอาชนะคัดค้านกัน อยากให้นึกถึงประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องปากท้องของประชาชน และความรุ่นแรงในภาคใต้ ซึ่งตอนนี้ข้าวของก็เริ่มแพงแล้ว อยากให้ดูแลเรื่องพวกนี้ก่อน ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญก็ค่อยศึกษากันไป ไม่ว่าอย่างไรอยากให้นึกถึงประเทศเป็นสำคัญ"นางวรวรรณกล่าว

นางวรวรรณ กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.5-6% แม้จะต้องเผชิญกับสถานการณ์การเมืองในประเทศและ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม โดยปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวน่าจะเป็นของการส่งออก โดยเฉพาะในตัวของสินค้าเกษตรอย่างข้าว ที่ราคาปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการลงทุนในประเทศน่าจะต้องรอดูไปอีกสักระยะ

ทั้งนี้ หากเป็นการลงทุนในระยะยาวแล้วนักลงทุนคงไม่ต้องกังวลมากนัก ซึ่งจากราคาที่ปรับตัวลดลงถือเป็นจังหวะที่น่าลงทุน แต่สำหรับนักลงทุนที่ชอบลงทุนในระยะสั้นคงจะต้องถือเงินสดรอไปสักระยะ เนื่องจากสถานการณ์ตลาดหุ้นบ้านเรายังค่อนข้างผันผวน

ดร. พิชิต กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ถือเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุน และทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความขัดแยังกันในเรื่องนี้จะเป็นการเสียต้นทุนทางสังคมอย่างมาก ซึ่งใน 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยการทำกิจกรรมทางการเมืองต่อจากนี้คงจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่เชื่อว่าความรุนแรงคงจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น และคาดว่าปัญหาทางการเมืองน่าจะคลี่คลายในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้

"ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกแน่นอนว่ามันเป็นผลลบต่อการลงทุน แต่ในเรื่องความขัดแย้งในการแก้รัฐธรรมนูญยังไม่มีผลต่อนักลงทุนต่างชาติมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะยังไม่รู้รายละเอียดในเรื่องนี้ โดยความขัดแย้งมันก็มีอยู่ในทุกประเทศ และนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จะมองในเรื่องความรุนแรง และหากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นคงจะไม่เป็นปัญหามากนัก"นายพิชิตกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังช่วงที่ผ่านมา ถือว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างดี และส่งผลในแง่บวกต่อการลงทุนในประเทศ ซึ่งนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่ออกมา คาดว่าจะมีผลทั้งในระยะสั้น และปานกลางต่อเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนยังเชื่อว่าการลงทุน และการบริโภค ร่วมถึงปัจจัยหนุนเรื่องของราคาข้าว กับราคาหุ้นของประเทศไทยที่อยู่ในระดับต่ำ จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและการลงทุนในปีนี้ได้

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ถือเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุน และทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความคัดแยังกันในเรื่องนี้จะเป็นการเสียต้นทุนทางสังคมอย่างมาก ซึ่งใน 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยการทำกิจกรรมทางการเมืองต่อจากนี้คงจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่เชื่อว่าความรุนแรงคงจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น และคาดว่าปัญหาทางการเมืองน่าจะคลี่คลายในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้

"ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแน่นอนว่ามันเป็นผลลบต่อการลงทุน แต่ในเรื่องความขัดแย้งในการแก้รัฐธรรมนูญยังไม่มีผลต่อนักลงทุนต่างชาติมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะยังไม่รู้รายละเอียดในเรื่องนี้ โดยความขัดแย้งมันก็มีอยู่ในทุกประเทศ และนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จะมองในเรื่องความรุนแรง และหากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นคงจะไม่เป็นปัญหามากนัก"นายพิชิตกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังช่วงที่ผ่านมา ถือว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างดี และส่งผลในแง่บวกต่อการลงทุนในประเทศ ซึ่งนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่ออกมา คาดว่าจะมีผลทั้งในระยะสั้น และปานกลางต่อเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนยังเชื่อว่าการลงทุน และการบริโภค ร่วมถึงปัจจัยหนุนเรื่องของราคาข้าว กับราคาหุ้นของประเทศไทยที่อยู่ในระดับต่ำ จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและการลงทุนในปีนี้ได้

สับรัฐบาลมุ่งแก้รธน.หนียุบพปช.

ผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า ตอนนี้สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เห็นได้จากการกระแสเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากภาครัฐบาลเริ่มมีแผนเศรษฐกิจ และการดำเนินงานในนโยบายต่างๆที่ชัดเจนขึ้น จากช่วงแรกของการจัดตั้งรัฐบาล หรือในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นกังวลที่สุดสำหรับการเมืองของประเทศไทยในตอนนี้ นั่นคือ การเอาตัวรอดของรัฐบาลจากกรณีการส่งสำนวนยุบพรรคร่วมรัฐบาลที่เกิดขึ้น ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกระแสข่าวอื่นๆ รวมไปถึงข่าวการยุบสภา ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง จะทำให้นโยบายต่างๆ รวมถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสะดุด หรือ ชะลอตัวลงไป และจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนและระบบเศรษฐกิจทั้งหมด

ทั้งนี้ เห็นว่า รัฐบาลไม่ควรเข้าไปยุ่งกับการแก้รัฐธรรมนูญในช่วงนี้ เพราะประเทศไทยยังมีอีกหลายที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการ หรืออาจกล่าว ได้ว่าเป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกเวลาหรือไม่เหมาะสม เพราะเรื่องดังกล่าวจะทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกแยก ไม่ลงรอยระหว่างกัน จนนำไปสู่การเผชิญหน้า และจะทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนในไทย

“ช่วงนี้เป็นช่วงข้าวยาก หมากแพง ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคต่างๆปรับเพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ รวมถึงการเดินหน้างการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ และกระจายแหล่งเงินทุนไปสู่ภาคเอกชน ส่วนการไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่มีความจำเป็น เพราะรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่นี้ ก็ได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนแล้ว ต่อไปในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ให้เรื่องต่างๆเป็นไปตามระบบประชาธิปไตยดีกว่า เพราะที่รัฐบาลทำอยู่ ณ ขณะนี้ เหมือนกับเป็นการเข้าข้างกลุ่มของตัวเอง”แหล่งข่าว กล่าว

ผู้จัดการกองทุน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับนักลงทุนในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีนักลงทุนหลายรายไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ต้องการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงนี้ โดยส่วนมาเห็นว่าภาครัฐควรแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนก่อน เพราะหากภาครัฐยังดึงดันเร่งรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจมีคนที่แต่เดิมเคยพอใจกับรัฐบาล ไม่ชอบการระทำในเรื่องนี้ และเปลี่ยนไปเข้าข้างฝ่ายตรงกันข้ามเพิ่มขึ้น ดังนั้นคำกล่าวอ้างของภาครัฐที่ว่า หากไม่เร่งแก้ไขแล้วจะไม่สามารถอยู่ได้ จะกลายเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น และอาจจะเป็นสาเหตุให้รัฐบาลชุดนี้มีอายุการบริหารงานแผ่นดินน้อยลง หรืออาจนำไปสู่วิกฤตการเผชิญหน้า

ส่วนเรื่องที่ภาครัฐ ควรเร่งดำเนินการนอกเหนือจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ผู้จัดการกองทุนรายเดิม กล่าวว่า ภาครัฐต้องพิจารณาลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ว่า สิ่งใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากัน เรื่องใดควรเป็นเรื่องที่จะเป็นต้องรีบดำเนินการก่อนหลัง
กำลังโหลดความคิดเห็น