ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบหลังตลาดหลักทรัพย์ปรับวิธีคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดหลักทรัพย์และเอ็มเอไอ ชี้ทำให้ค่า “P/E-P/BV-Dividend Yield”
สะท้อนภาพรวมแท้จริง-สนับสนุนให้ค่าสถิติภาพรวมเข้าสู่มาตรฐานสากลและเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนมากขึ้น ขณะที่คาดหุ้นไทยปลายปีมีสิทธิพุ่งแตะระดับ 1,080 จุด ชูลงทุนในหุ้นกลุ่มการบริโภคและลงทุนในประเทศ เพราะจะได้รับอานิสงส์มากสุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ของทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยเทียบเคียงกับแนวทางของสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (World Federation of Exchanges: WFE) ในค่าสถิติที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (Price/Earning หรือ P/E), อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (Price/Book Value หรือ P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เพื่อให้วิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเทียบเคียงกับสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (WFE) ประกอบกับการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้กลุ่มหลักทรัพย์ที่ต่างจากการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จึงได้มีการปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ค่าสถิติภาพรวมตลาดสอดคล้องกับการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ได้ระบุรายละเอียดวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดตามวิธีการใหม่ ซึ่งคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ต่างจากวิธีการเดิมที่คำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ได้ระบุรายละเอียดวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาด เช่น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ตามวิธีการใหม่ โดยคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่วิธีการเดิมจะคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณของค่าสถิติ P/E และ P/BV มีประเด็นเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ตาราง 1
โดยจากการเปรียบเทียบค่า P/E ตามวิธีการคำนวณเดิมและวิธีการคำนวนใหม่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ค่า P/E ตามวิธีการใหม่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในทุกช่วงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.68-4.53 เท่า ขณะที่ ณ.สิ้นเดือน มีนาคม ส่วนต่างของค่า P/E ตามวิธีการเดิม (11.85 เท่า) และวิธีการใหม่ (14.96) อยู่ที่ 3.11 เท่า เนื่องจากการคำนวณตามวิธีการเดิมจะไม่รวมหลักทรัพย์ที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานติดลบ ทำให้ในส่วนผลกำไรที่นำมาเป็นตัวหารมีมูลค่าสูงกว่า และทำให้ค่า P/E มีค่าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับผลกำไรตามวิธีการใหม่ซึ่งรวมผลการดำเนินงานของทุกหลักทรัพย์ไม่ว่าจะมีกำไรติดลบหรือไม่ก็ตาม ในทำนองเดียวกัน
ด้านของค่า P/BV นั้น ตามวิธีการใหม่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการคำนวณตามวิธีการเดิมจะไม่รวมหลักทรัพย์ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นที่รวมหุ้นที่ถือโดยบริษัทย่อยติดลบ ทำให้ส่วนที่เป็นตัวหารมีมูลค่าสูงกว่า และค่า P/BV ที่ได้มีการต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างที่เกิดขึ้นระหว่างค่า P/BV ที่คำนวณโดยวิธีการเดิมและวิธีการใหม่ไม่มากเท่าใดนัก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนต่างระหว่างอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.02-0.23 เท่า ขณะที่ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ส่วนต่างของค่า P/BV ตามวิธีการเดิม (1.85) และวิธีการใหม่ (1.87) อยู่ที่ 0.02 เท่า โดยในส่วนของอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ระหว่างวิธีเดิมและวิธีการใหม่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเช่นกันจากร้อยละ 3.55 เป็นร้อยละ 3.56
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าสถิติภาพรวมตลาดของตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า ค่าสถิติที่ปรับสูงขึ้นตามวิธีการใหม่ส่งผลให้ทั้ง P/E, P/BV และ Dividend Yield ของไทยปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่า P/E ใหม่ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดับที่ต่ำสุดในภูมิภาค ขึ้นมาอยู่ในระดับที่เข้าใกล้กับค่า P/E ของดัชนีตลาดหุ้นขนาดใหญ่ ทั้งตลาดหุ้นจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ ขณะที่ค่า P/BV และ Dividend Yield ปรับขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย
ทั้งนี้ แม้ว่าการที่ค่าสถิติภาพรวมตลาดตามวิธีที่คำนวณใหม่จะส่งผลให้ทั้ง P/E และ P/BV ของไทยมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการลดความน่าสนใจในการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดใหม่ น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนพัฒนาการของตลาดหุ้นไทยในระยะยาวในหลายๆประการด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การช่วยสะท้อนถึงภาพรวมของดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ตามความเป็นจริงมากขึ้น, การสนับสนุนให้ค่าสถิติภาพรวมของตลาดหุ้นไทยเข้าสู่มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (World Federation of Exchanges: WFE) รวมไปถึงการเพิ่มแรงจูงใจสำหรับบริษัทในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะการที่ตลาดหุ้นไทยมีค่าราคาถูกหรือ มีค่า P/E ในระดับต่ำนั้น ย่อมจะเป็นการลดแรงจูงใจในการที่บริษัทต่างๆจะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ซึ่งการสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นย่อมจะเป็นการช่วยเพิ่มขนาดของตลาดและเพิ่มความน่าสนใจลงทุนให้กับตลาดหุ้นไทยในสายตาของนักลงทุนต่างชาติในอนาคตเช่นกัน
ขณะที่มองว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาค ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่นๆที่น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปีนี้ เช่น ความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ สืบเนื่องจากการออกมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนแนวโน้มผลกำไรของหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ในประเทศ รวมไปถึงมาตรการทางภาษีของรัฐบาลซึ่งมีบางส่วนที่เป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศยังคงเป็นประเด็นสำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน และจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป ขณะเดียวกันบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทยคาดการณ์ระดับเป้าหมายของดัชนีตลาดหุ้น ณ ปลายปี 2551 ที่ระดับ 1,080 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จาก 858.10 จุด ณ ปลายปีที่ผ่านมา โดยมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภค และการลงทุนในประเทศ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มค้าปลีก กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มที่อยู่อาศัย กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
สะท้อนภาพรวมแท้จริง-สนับสนุนให้ค่าสถิติภาพรวมเข้าสู่มาตรฐานสากลและเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนมากขึ้น ขณะที่คาดหุ้นไทยปลายปีมีสิทธิพุ่งแตะระดับ 1,080 จุด ชูลงทุนในหุ้นกลุ่มการบริโภคและลงทุนในประเทศ เพราะจะได้รับอานิสงส์มากสุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ของทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ โดยเทียบเคียงกับแนวทางของสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (World Federation of Exchanges: WFE) ในค่าสถิติที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (Price/Earning หรือ P/E), อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (Price/Book Value หรือ P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เพื่อให้วิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเทียบเคียงกับสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (WFE) ประกอบกับการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้กลุ่มหลักทรัพย์ที่ต่างจากการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จึงได้มีการปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ค่าสถิติภาพรวมตลาดสอดคล้องกับการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ได้ระบุรายละเอียดวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดตามวิธีการใหม่ ซึ่งคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ต่างจากวิธีการเดิมที่คำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ได้ระบุรายละเอียดวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาด เช่น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV) และอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ตามวิธีการใหม่ โดยคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่วิธีการเดิมจะคำนวณจากทุกหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณของค่าสถิติ P/E และ P/BV มีประเด็นเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ตาราง 1
โดยจากการเปรียบเทียบค่า P/E ตามวิธีการคำนวณเดิมและวิธีการคำนวนใหม่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ค่า P/E ตามวิธีการใหม่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในทุกช่วงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.68-4.53 เท่า ขณะที่ ณ.สิ้นเดือน มีนาคม ส่วนต่างของค่า P/E ตามวิธีการเดิม (11.85 เท่า) และวิธีการใหม่ (14.96) อยู่ที่ 3.11 เท่า เนื่องจากการคำนวณตามวิธีการเดิมจะไม่รวมหลักทรัพย์ที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานติดลบ ทำให้ในส่วนผลกำไรที่นำมาเป็นตัวหารมีมูลค่าสูงกว่า และทำให้ค่า P/E มีค่าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับผลกำไรตามวิธีการใหม่ซึ่งรวมผลการดำเนินงานของทุกหลักทรัพย์ไม่ว่าจะมีกำไรติดลบหรือไม่ก็ตาม ในทำนองเดียวกัน
ด้านของค่า P/BV นั้น ตามวิธีการใหม่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการคำนวณตามวิธีการเดิมจะไม่รวมหลักทรัพย์ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นที่รวมหุ้นที่ถือโดยบริษัทย่อยติดลบ ทำให้ส่วนที่เป็นตัวหารมีมูลค่าสูงกว่า และค่า P/BV ที่ได้มีการต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างที่เกิดขึ้นระหว่างค่า P/BV ที่คำนวณโดยวิธีการเดิมและวิธีการใหม่ไม่มากเท่าใดนัก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนต่างระหว่างอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.02-0.23 เท่า ขณะที่ ณ สิ้นเดือนมีนาคม ส่วนต่างของค่า P/BV ตามวิธีการเดิม (1.85) และวิธีการใหม่ (1.87) อยู่ที่ 0.02 เท่า โดยในส่วนของอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ระหว่างวิธีเดิมและวิธีการใหม่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเช่นกันจากร้อยละ 3.55 เป็นร้อยละ 3.56
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าสถิติภาพรวมตลาดของตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า ค่าสถิติที่ปรับสูงขึ้นตามวิธีการใหม่ส่งผลให้ทั้ง P/E, P/BV และ Dividend Yield ของไทยปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่า P/E ใหม่ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดับที่ต่ำสุดในภูมิภาค ขึ้นมาอยู่ในระดับที่เข้าใกล้กับค่า P/E ของดัชนีตลาดหุ้นขนาดใหญ่ ทั้งตลาดหุ้นจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ ขณะที่ค่า P/BV และ Dividend Yield ปรับขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย
ทั้งนี้ แม้ว่าการที่ค่าสถิติภาพรวมตลาดตามวิธีที่คำนวณใหม่จะส่งผลให้ทั้ง P/E และ P/BV ของไทยมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการลดความน่าสนใจในการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับวิธีการคำนวณค่าสถิติภาพรวมตลาดใหม่ น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนพัฒนาการของตลาดหุ้นไทยในระยะยาวในหลายๆประการด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การช่วยสะท้อนถึงภาพรวมของดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ตามความเป็นจริงมากขึ้น, การสนับสนุนให้ค่าสถิติภาพรวมของตลาดหุ้นไทยเข้าสู่มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น โดยเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (World Federation of Exchanges: WFE) รวมไปถึงการเพิ่มแรงจูงใจสำหรับบริษัทในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะการที่ตลาดหุ้นไทยมีค่าราคาถูกหรือ มีค่า P/E ในระดับต่ำนั้น ย่อมจะเป็นการลดแรงจูงใจในการที่บริษัทต่างๆจะนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ซึ่งการสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นย่อมจะเป็นการช่วยเพิ่มขนาดของตลาดและเพิ่มความน่าสนใจลงทุนให้กับตลาดหุ้นไทยในสายตาของนักลงทุนต่างชาติในอนาคตเช่นกัน
ขณะที่มองว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาค ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่นๆที่น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปีนี้ เช่น ความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ สืบเนื่องจากการออกมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนแนวโน้มผลกำไรของหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ในประเทศ รวมไปถึงมาตรการทางภาษีของรัฐบาลซึ่งมีบางส่วนที่เป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศยังคงเป็นประเด็นสำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน และจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป ขณะเดียวกันบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทยคาดการณ์ระดับเป้าหมายของดัชนีตลาดหุ้น ณ ปลายปี 2551 ที่ระดับ 1,080 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จาก 858.10 จุด ณ ปลายปีที่ผ่านมา โดยมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภค และการลงทุนในประเทศ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มค้าปลีก กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มที่อยู่อาศัย กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น