ผู้จัดการรายวัน - ปัจจัยใน-นอกประเทศรุมเร้าทั้งซับไพรม์-การเมือง กดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ไตรมาสแรกดัชนีร่วงจากสิ้นปี 50 กว่า 41 จุด หรือเกือบ 5% นำโดยกลุ่มพลังงาน 12.47% หลังหุ้นเครือปตท. ที่ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว จนทำให้ราคาหุ้นร่วงถ้วนหน้า ระบุ "PTT-TOP-PTTEP" 3 เดือนปรับตัวดลลง 15.96%, 19.08% และ 7.93% ตามลำดับ ด้านโบรกเกอร์ แนะไตรมาส 2 หุ้นกลุ่มการเงิน-อสังหาฯ ยังโดดเด่น รับปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่ขาใหญ่หยุดเทรด ถือเงินสด คาดเงินเฟ้อ เม.ย.-พ.ค. พุ่ง 10% กดดันหุ้นไทยรูดเหลือ 600 จุด
ผู้จัดการรายวันได้สำรวจภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 51 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากสิ้นปี 2550 ก่อนจะปิดที่ 817.03 จุด (31 มี.ค.) มูลค่าการซื้อขายรวม 1,187,312.92 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 18,846.24 ล้านบาท โดยดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุด 845.76 จุด ( 29 ก.พ.) และต่ำสุดที่ 728.58 จุด (24 ม.ค.) มีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,889.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,742.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 17,631.38 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการซื้อขายสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร 444,148.67 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจการเงิน 277,501.50 ล้านบาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 163,270.67 ล้านบาท กลุ่มบริการ 107,292.55 ล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยี 94,883.34 ล้านบาท กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 39,026.20 ล้านบาท กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 17,371.21 ล้านบาท และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 2,864.80 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาวะการลงทุนไตรมาส 1/51 กับงวดสิ้นปี 50 ปรากฏว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับลดลง 41.07 จุด คิดเป็น 4.79% จาก 858.10 จุด เป็น 817.03 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 17,095.05 ล้านบาท เป็น 18,846.24 ล้านบาท
หากแยกพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 88.19 จุด เป็น 90.63 จุด หรือเพิ่มขึ้น 2.77% กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นจาก 131.07 จุด เป็น 133.13 จุด หรือ 1.57% กลุ่มธุรกิจการเงินเพิ่มขึ้นจาก 97.00 จุด เป็น 98.28 จุด หรือ 1.32% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้นจาก 70.61 จุด เป็น 71.37 จุด หรือ 1.08%
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ประกอบด้วย กลุ่มทรัพยากรปรับลดลงจาก 193.95 จุด เหลือ 169.78 จุด หรือลดลง 12.46% กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมปรับลดลงจาก 87.76 จุด เหลือ 81.56 จุด หรือ 7.06% กลุ่มบริการปรับลดลงจาก 119.49 จุด เหลือ 114.25 จุด 4.39% และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคปรับลดลงจาก 90.91 จุด เหลือ 88.96 จุด 2.14%
โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงไปมากที่สุดถึง 12.46% เนื่องจากหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคปรับลดลงกว่า 12.47% นำโดยหุ้นบมจ.ปตท. (PTT) ที่ราคาลดลง 60 บาท คิดเป็น 15.96% ปิดที่ 316 บาท บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ลดลง 16.50 บาท คิดเป็น 19.08% ปิดที่ 70 บาท และบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ลดลง 13 บาท คิดเป็น 7.93% ปิดที่ 151 บาท ขณะที่หุ้น BANPU ยังแข็งแกร่งปรับเพิ่มขึ้น 16 บาท คิดเป็น 4% ปิดที่ 416 บาท
***ตลาดหุ้นQ1ปัจจัยนอกรุมเร้า***
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่ชัดเจน จนส่งผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และขยายวงกว้างสู่เศรษฐกิจทั่วโลก
ขณะเดียวกัน นักลงทุนส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกจะกระเตื่องขึ้นได้ แม้รัฐบาลจะมีการออกมาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในแง่การดำเนินการจริงยังคงไม่ได้เริ่ม บวกกับปัญหาทางการเมืองในประเทศยังไม่คลี่คลายจนส่งผลด้านจิตวิทยาของนักลงทุนได้
สำหรับกลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงมา เกิดจากหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค นำโดย PTT, PTTEP และ TOP ปรับตัวลดลงจากช่วงสิ้นปีค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ผันผวน รวมถึงการเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุน แต่เมื่อสถานการณ์ในตลาดหุ้นไม่เอื้อ ทำให้นักลงทุนต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้น ดังนั้นหุ้นในกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะถูกเทขายออกมา
นอกจากนี้ PTT ยังได้รับผลกระทบจากกรณีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้โอนทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น รวมถึงในช่วงปลายไตรมาสแรกหุ้นกลุ่มพลังงานได้ประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล จึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงด้วย
ส่วนกรณีที่ดัชนีหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าผลประกอบการไตรมาส 1/51 ของธนาคารจะออกมาดี หลังจากที่กลุ่มสถาบันการเงินไม่ต้องตั้งสำรองตามมาตรฐานบัชญีใหม่เหมือนปีที่แล้ว และยังคาดว่าธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เช่นเดียวกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะเริ่มเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2/51 เป็นต้นไป
***ไตรมาส2อิงการเมืองในปท.***
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และส่งออก ที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสแรกที่ผ่านมา จากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
กลุ่มที่สอง หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยในประเทศ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากการมีรัฐบาลชุดใหม่ บวกกับการได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2/51 นั้น คาดว่าหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร และเทคโนโลยี จะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนเหมือนเดิม เนื่องจากจะเป็นช่วงที่มาตรการภาษีของทางการเริ่มประกาศใช้ และความชัดเจนของโครงการเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ หากเสถีรภาพของรัฐบาลมีปัญหา ทำให้การเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ทำไม่ได้ จะส่งผลลบกับตลาดหุ้นได้
***หุ้นอสังหาริมทรัพย์โดดเด่น***
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 1/51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อโยกเงินลงทุนไปยังตราสารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ขณะที่ไตรมาส 2 หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จะโดดเด่น หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
ส่วนกลุ่มพลังงาน ในส่วนที่เป็นโรงกลั่นจะดีขึ้น เนื่องจากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น ตามปริมาณการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ขณะที่กลุ่มธนาคารคาดว่าจะทรงตัวหรือปรับขึ้นไม่มากนัก เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มที่ดี รับเรื่องเทคโนโลยี 3G และการปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ในปีนี้ความสามารถในการทำกำไรของหุ้นในกลุ่มพลังงานลดลง หลังจากผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกันนักลงทุนเปลี่ยนมาลงทุนในหุ้น ที่อิงกับปัจจัยภายในประเทศแทน แทน อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่คาดว่าผลการดำเนินจะค่อนข้างโดดเด่น หลังจากไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีของรัฐบาล
***ขาใหญ่ฟันธงหุ้นไทยเหลือ600จุด***
นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ นักลงทุนรายใหญ่ หรือ "ศิริวัฒน์-แซนวิช" เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยจะถือเงินสดไว้ก่อน เนื่องจากปัจจัยการเมืองที่มีความไม่นอนในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นในเรื่องการยุบพรรคการเมือง และปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจ ที่ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ เงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 10% ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือ 600 จุด
ทั้งนี้ จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวลดลงเหมือนกับประเทศตลาดหุ้นจีนและเวียดนามที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาอย่างมาก โดยตลาดหุ้นเวียดนามดัชนีได้ปรับตัวลดลงจาก 1,000 จุด เหลือ ประมาณ 500 จุด
"ตอนนี้ผมจะไม่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย หรือลงทุนน้อยมาก โดยต้องการที่จะถือเงินสดไว้ก่อน จากปัจจัยการเมืองที่ไม่นิ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คดียุบพรรค และปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง 2 ปัจจัยทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ได้ โดยหากดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 600 จุด ถือว่าน่าลงทุน" นายศิริวัฒน์ กล่าว
ผู้จัดการรายวันได้สำรวจภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 51 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากสิ้นปี 2550 ก่อนจะปิดที่ 817.03 จุด (31 มี.ค.) มูลค่าการซื้อขายรวม 1,187,312.92 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 18,846.24 ล้านบาท โดยดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุด 845.76 จุด ( 29 ก.พ.) และต่ำสุดที่ 728.58 จุด (24 ม.ค.) มีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,889.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,742.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 17,631.38 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการซื้อขายสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร 444,148.67 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจการเงิน 277,501.50 ล้านบาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 163,270.67 ล้านบาท กลุ่มบริการ 107,292.55 ล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยี 94,883.34 ล้านบาท กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 39,026.20 ล้านบาท กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 17,371.21 ล้านบาท และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 2,864.80 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาวะการลงทุนไตรมาส 1/51 กับงวดสิ้นปี 50 ปรากฏว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับลดลง 41.07 จุด คิดเป็น 4.79% จาก 858.10 จุด เป็น 817.03 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 17,095.05 ล้านบาท เป็น 18,846.24 ล้านบาท
หากแยกพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 88.19 จุด เป็น 90.63 จุด หรือเพิ่มขึ้น 2.77% กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นจาก 131.07 จุด เป็น 133.13 จุด หรือ 1.57% กลุ่มธุรกิจการเงินเพิ่มขึ้นจาก 97.00 จุด เป็น 98.28 จุด หรือ 1.32% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้นจาก 70.61 จุด เป็น 71.37 จุด หรือ 1.08%
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ประกอบด้วย กลุ่มทรัพยากรปรับลดลงจาก 193.95 จุด เหลือ 169.78 จุด หรือลดลง 12.46% กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมปรับลดลงจาก 87.76 จุด เหลือ 81.56 จุด หรือ 7.06% กลุ่มบริการปรับลดลงจาก 119.49 จุด เหลือ 114.25 จุด 4.39% และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคปรับลดลงจาก 90.91 จุด เหลือ 88.96 จุด 2.14%
โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงไปมากที่สุดถึง 12.46% เนื่องจากหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคปรับลดลงกว่า 12.47% นำโดยหุ้นบมจ.ปตท. (PTT) ที่ราคาลดลง 60 บาท คิดเป็น 15.96% ปิดที่ 316 บาท บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ลดลง 16.50 บาท คิดเป็น 19.08% ปิดที่ 70 บาท และบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ลดลง 13 บาท คิดเป็น 7.93% ปิดที่ 151 บาท ขณะที่หุ้น BANPU ยังแข็งแกร่งปรับเพิ่มขึ้น 16 บาท คิดเป็น 4% ปิดที่ 416 บาท
***ตลาดหุ้นQ1ปัจจัยนอกรุมเร้า***
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่ชัดเจน จนส่งผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และขยายวงกว้างสู่เศรษฐกิจทั่วโลก
ขณะเดียวกัน นักลงทุนส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกจะกระเตื่องขึ้นได้ แม้รัฐบาลจะมีการออกมาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในแง่การดำเนินการจริงยังคงไม่ได้เริ่ม บวกกับปัญหาทางการเมืองในประเทศยังไม่คลี่คลายจนส่งผลด้านจิตวิทยาของนักลงทุนได้
สำหรับกลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงมา เกิดจากหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค นำโดย PTT, PTTEP และ TOP ปรับตัวลดลงจากช่วงสิ้นปีค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ผันผวน รวมถึงการเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุน แต่เมื่อสถานการณ์ในตลาดหุ้นไม่เอื้อ ทำให้นักลงทุนต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้น ดังนั้นหุ้นในกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะถูกเทขายออกมา
นอกจากนี้ PTT ยังได้รับผลกระทบจากกรณีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้โอนทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น รวมถึงในช่วงปลายไตรมาสแรกหุ้นกลุ่มพลังงานได้ประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล จึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงด้วย
ส่วนกรณีที่ดัชนีหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าผลประกอบการไตรมาส 1/51 ของธนาคารจะออกมาดี หลังจากที่กลุ่มสถาบันการเงินไม่ต้องตั้งสำรองตามมาตรฐานบัชญีใหม่เหมือนปีที่แล้ว และยังคาดว่าธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เช่นเดียวกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะเริ่มเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2/51 เป็นต้นไป
***ไตรมาส2อิงการเมืองในปท.***
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และส่งออก ที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสแรกที่ผ่านมา จากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
กลุ่มที่สอง หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยในประเทศ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากการมีรัฐบาลชุดใหม่ บวกกับการได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2/51 นั้น คาดว่าหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร และเทคโนโลยี จะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนเหมือนเดิม เนื่องจากจะเป็นช่วงที่มาตรการภาษีของทางการเริ่มประกาศใช้ และความชัดเจนของโครงการเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ หากเสถีรภาพของรัฐบาลมีปัญหา ทำให้การเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ทำไม่ได้ จะส่งผลลบกับตลาดหุ้นได้
***หุ้นอสังหาริมทรัพย์โดดเด่น***
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 1/51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อโยกเงินลงทุนไปยังตราสารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ขณะที่ไตรมาส 2 หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จะโดดเด่น หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
ส่วนกลุ่มพลังงาน ในส่วนที่เป็นโรงกลั่นจะดีขึ้น เนื่องจากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น ตามปริมาณการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ขณะที่กลุ่มธนาคารคาดว่าจะทรงตัวหรือปรับขึ้นไม่มากนัก เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มที่ดี รับเรื่องเทคโนโลยี 3G และการปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ในปีนี้ความสามารถในการทำกำไรของหุ้นในกลุ่มพลังงานลดลง หลังจากผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกันนักลงทุนเปลี่ยนมาลงทุนในหุ้น ที่อิงกับปัจจัยภายในประเทศแทน แทน อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่คาดว่าผลการดำเนินจะค่อนข้างโดดเด่น หลังจากไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีของรัฐบาล
***ขาใหญ่ฟันธงหุ้นไทยเหลือ600จุด***
นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ นักลงทุนรายใหญ่ หรือ "ศิริวัฒน์-แซนวิช" เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยจะถือเงินสดไว้ก่อน เนื่องจากปัจจัยการเมืองที่มีความไม่นอนในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นในเรื่องการยุบพรรคการเมือง และปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจ ที่ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ เงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 10% ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือ 600 จุด
ทั้งนี้ จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวลดลงเหมือนกับประเทศตลาดหุ้นจีนและเวียดนามที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาอย่างมาก โดยตลาดหุ้นเวียดนามดัชนีได้ปรับตัวลดลงจาก 1,000 จุด เหลือ ประมาณ 500 จุด
"ตอนนี้ผมจะไม่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย หรือลงทุนน้อยมาก โดยต้องการที่จะถือเงินสดไว้ก่อน จากปัจจัยการเมืองที่ไม่นิ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คดียุบพรรค และปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง 2 ปัจจัยทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ได้ โดยหากดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 600 จุด ถือว่าน่าลงทุน" นายศิริวัฒน์ กล่าว