พบวิธีควบคุมน้ำหนักด้วยตัวเองอย่างง่าย เพียงคิดว่าตัวเองผอมลง นักวิจัยยังพบว่าการจดจำอาหารมื้อล่าสุดจะช่วยลดความอยากกินของจุกจิก และการมีสมาธิกับอาหารตรงหน้า แทนที่จะนั่งจ้องทีวี ยังทำให้อิ่มท้องนานขึ้น
หรืออีกนัยหนึ่งคือ คนที่ต้องการลดน้ำหนักควรสอนตัวเองให้ลดความโลภ นอกจากนั้น เทคนิคในการสะกดจิตและพฤติกรรมบำบัดก็อาจช่วยได้
ดร.ซูซาน ฮิกส์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม อังกฤษ ค้นพบหลักการเหล่านี้จากการพัฒนาชุดการทดลองเพื่อทดสอบผลลัพธ์จากการจดจำอาหารและขนมขบเคี้ยว
ในการทดลองหนึ่ง นักศึกษาหญิง 47 คนได้รับบอกเล่าว่าได้รับเชิญให้เข้าร่วมการชิมบิสกิต
แต่ก่อนชิม นักวิจัยได้จัดอาหารกินมื้อเที่ยงไว้ให้ หลังจากนั้น นักศึกษาจึงถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ แรกถูกขอให้เขียนบรรยายอาหารที่เพิ่งกินไป ส่วนอีกกลุ่มให้เขียนเล่าเรื่องการเดินทางมายังมหาวิทยาลัย
และหลังเสร็จสิ้นการชิม ซึ่งแท้จริงมีขึ้นเพื่อบังหน้าการทดลองนั้น นักวิจัยชวนให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มกินบิสกิตที่เหลือ ปรากฏว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนบรรยายอาหารมื้อกลางวัน ซึ่งทำให้ความจำเกี่ยวกับอาหารแจ่มชัดในสมอง กินบิสกิตน้อยกว่าอีกกลุ่ม
ผลจากความจำต่อความอยากอาหารอาจมีไม่มากนักสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ชิมบิสกิตหลังมื้อเที่ยงหนึ่งชั่วโมง แต่หลังจากผ่านไปสามชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับโจทย์ให้เขียนบรรยายอาหาร มีความอยากอาหารลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับอีกกลุ่ม
ส่วนในการทดลองอื่นๆ นักวิจัยเปิดวิดีโอให้กลุ่มตัวอย่างบางส่วนดูระหว่างกินมื้อเที่ยง ซึ่งพบว่านักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งถูกหันเหความสนใจจากอาหาร มีแนวโน้มกินขนมขบเคี้ยวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดูวิดีโอ
ผลลัพธ์นี้สะท้อนว่า การมีสมาธิกับอาหาร แทนที่จะนั่งกินข้าวโดยตาจ้องอยู่ที่ทีวี อาจช่วยลดความอยากอาหารในมื้อต่อๆ ไปได้
ทั้งนี้ พื้นที่สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจดจำรายละเอียดของอาหารคือส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งทำให้การค้นพบนี้เพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนายาเพื่อช่วยกระตุ้นให้ฮิปโปแคมปัสจำกัดความอยากอาหารให้ลดลง
นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาอีกหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า ผู้ที่สมองส่วนดังกล่าวเสียหายอาจไม่สามารถควบคุมความอยากอาหารของตัวเองได้
หรืออีกนัยหนึ่งคือ คนที่ต้องการลดน้ำหนักควรสอนตัวเองให้ลดความโลภ นอกจากนั้น เทคนิคในการสะกดจิตและพฤติกรรมบำบัดก็อาจช่วยได้
ดร.ซูซาน ฮิกส์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม อังกฤษ ค้นพบหลักการเหล่านี้จากการพัฒนาชุดการทดลองเพื่อทดสอบผลลัพธ์จากการจดจำอาหารและขนมขบเคี้ยว
ในการทดลองหนึ่ง นักศึกษาหญิง 47 คนได้รับบอกเล่าว่าได้รับเชิญให้เข้าร่วมการชิมบิสกิต
แต่ก่อนชิม นักวิจัยได้จัดอาหารกินมื้อเที่ยงไว้ให้ หลังจากนั้น นักศึกษาจึงถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ แรกถูกขอให้เขียนบรรยายอาหารที่เพิ่งกินไป ส่วนอีกกลุ่มให้เขียนเล่าเรื่องการเดินทางมายังมหาวิทยาลัย
และหลังเสร็จสิ้นการชิม ซึ่งแท้จริงมีขึ้นเพื่อบังหน้าการทดลองนั้น นักวิจัยชวนให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มกินบิสกิตที่เหลือ ปรากฏว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนบรรยายอาหารมื้อกลางวัน ซึ่งทำให้ความจำเกี่ยวกับอาหารแจ่มชัดในสมอง กินบิสกิตน้อยกว่าอีกกลุ่ม
ผลจากความจำต่อความอยากอาหารอาจมีไม่มากนักสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ชิมบิสกิตหลังมื้อเที่ยงหนึ่งชั่วโมง แต่หลังจากผ่านไปสามชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับโจทย์ให้เขียนบรรยายอาหาร มีความอยากอาหารลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับอีกกลุ่ม
ส่วนในการทดลองอื่นๆ นักวิจัยเปิดวิดีโอให้กลุ่มตัวอย่างบางส่วนดูระหว่างกินมื้อเที่ยง ซึ่งพบว่านักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งถูกหันเหความสนใจจากอาหาร มีแนวโน้มกินขนมขบเคี้ยวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดูวิดีโอ
ผลลัพธ์นี้สะท้อนว่า การมีสมาธิกับอาหาร แทนที่จะนั่งกินข้าวโดยตาจ้องอยู่ที่ทีวี อาจช่วยลดความอยากอาหารในมื้อต่อๆ ไปได้
ทั้งนี้ พื้นที่สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจดจำรายละเอียดของอาหารคือส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งทำให้การค้นพบนี้เพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนายาเพื่อช่วยกระตุ้นให้ฮิปโปแคมปัสจำกัดความอยากอาหารให้ลดลง
นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาอีกหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า ผู้ที่สมองส่วนดังกล่าวเสียหายอาจไม่สามารถควบคุมความอยากอาหารของตัวเองได้