ป.ป.ช.มีมติฟัน “วิรุฬ” ซ้ำรอย “ไชยา” ฐานถือหุ้นบริษัทเกิน 5 % ระบุข้ออ้างบริษัทเลิกดำเนินกิจการไปแล้ว แต่เพิ่งไปแจ้งยกเลิก 22 เม.ย.51 ฟังไม่ขึ้น พร้อมส่ง 4 องค์กรพิจารณาส่งศาล รธน.ชี้ขาด ส่วนคดีถอดถอน “วิษณุ” จงใจใช้อำนาจขัด รธน. แต่งตั้งผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ป.ป.ช.ลงมติไม่มีมูล
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมว่า คณะกรรมการ ปปช. ได้ตรวจสอบ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2551 และได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบต่อ ป.ป.ช. ในวันที่ 29 ก.พ.2551 นั้น จากการตรวจ ปรากฎว่า นายวิรุฬ ได้ยื่นแสดงว่า มีเงินทุนในบริษัททรัพย์วัฒนา จำกัด จำนวน 22,000 หุ้น จากจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 200,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 11 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งเป็นการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้โดยบริษัทฯ และไม่ปรากฎว่า ตังแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รมช.พาณิชย์ นายวิรุฬ ได้แจ้งให้ประธาน ป.ป.ช. ทราบว่า ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่ตนถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ประกอบ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 เม.ย.51 นายวิรุฬ ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยกวับบริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ว่าบริษัทดังกล่าวได้หยุดประกอบกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมอบหมายให้ทนายความยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอยกเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 17 เม.ย.2551 แล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 23 เม.ย.2551 นายวิรุฬได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 22 เม.ย.2551 ถึงประธานกรรมการ ป.ป.ช. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยกเลิกบริษัทฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2551 เป็นการการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2 แต่ได้นำความไปจดทะเบียนเลิกบริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2551
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า 1. พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีที่ประสงค์จะได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทในส่วนที่เกินกว่า ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และโอนหุ้นในบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายในเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ และแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายในสิบนับแต่โอนหุ้นในนิติบุคคล
2.รัฐธรรมนูญ มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ตามจำนวน ที่กฎหมายบัญญัติในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณดังกล่าวต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายใน 30วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคล ซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
3.เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 128 วรรคเจ็ด กำหนดว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 โดยมิได้มีบทบัญญัติใดที่ให้เป็นอำนาจของกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะวินิจฉัยได้ว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดจงใจหรือมิได้จงใจ ฝ่าฝืนบทบัญญัติ 269 หรือไม่ ดังเช่นกรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตาอกรรมการ ป.ป.ช. หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ ซึ่งกฏหมายให้อำนาจกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะวินิจฉัยถึงความจงใจหรือไม่จงใจได้
4.กรณีที่นายวิรุฬ ได้มีหนังสือลงวันที่ 18 เม.ย.2551 ถึงประธานป.ป.ช. ชี้แจงว่า บริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ได้หยุดประกอบกิจการตั้งแต่ พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน และผู้ถือหุ้นได้มีมติให้เลิกบริษัท และต่อมาได้มีหนังสือลงวันที่ 22 เม.ย.2551 ถึงประธาน ป.ป.ช. แจ้งว่า ได้นำมติผู้ถือหุ้นที่มีมติให้เลิกบริษัทฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2551 ไปจดทะเบียนเลิกบริษัทฯ ต่อนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22เม.ย.2551 นั้น เป็นการดำเนินการหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีแล้ว และไม่อยู่ในอำนาจของกรรมการ ป.ป.ช.ที่จะวินิฉัยได้
5.นอกจากนี้ปรากฎว่านายวิรุฬ ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 ก.พ.2551 ถึงประธาน ป.ป.ช. หารือถึงกรณีนายวิรุฬ ถือหุ้นในบริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด จำนวน 700,000 หุ้น ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยบริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี จะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 หรือไม่ โดยมิได้หารือเกี่ยวกับการถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์พัฒนา จำกัด ที่เป็นปัญหาในกรณีนี้แต่อย่างใด
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นรักษาการ และรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 128 วรรคสาม ได้กำหนดให้บทบัญญัติมาตรา 91และ92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม วรรค 2 3 5 หรือ 7 โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยได้ด้วย ซึ่งมาตรา 91 และ 92 เป็นกรณีที่ส.ส.หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่ง ในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติ ให้แจ้งข้อเท็จจริง พร้อมส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป
ป.ป.ช.ยกคำร้องถอดถอน “วิษณุ”
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกกรรมการป.ป.ช. แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ พิจารณาตามที่นายทองก้อน วงศ์สมุทร์ และคณะรวม 45 คน ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อ ปรนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 303,304 และ 305 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กรณีมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ในการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามประกาศสสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงวันที่ 13 มกราคม 2547 เนื่องจากเป็นการ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 11,28,30,38 และ 73 และขัดต่อพระราบัญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับคำร้องขอให้ถอดถอนไว้พิจารณาและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยคณะอนุกรรมการไต่สวนได้ดำเนินการไต่สวนปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะแพทย์ผู้ทำการตรวจพระอาการประชวนของสมเด็จพระสังฆราชกรรมการมหาเถรสมาคม บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ รวมทั้ง เชิญนายวิษณู เครืองาม มาให้ปากคำประกอบแล้ว
ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายวิษณุ ได้รับมอบหมายจาก .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ดำเนินการตามที่สำนักราชเลขาธิการ ได้เชิญพระราชกระแสของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความเห็นของคณะองคมนตรีเกี่ยวข้องกับพระรอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องที่ สมเด้จพระสังฆราชจะทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์เป็นการชั่วคราวโดยเร็ว เพื่อไมให้เกิดความเสียหายต่างๆ ซึ่งรัฐบาลพิจารณาเห็นสมควรจัดให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามที่กฎหมายเปิดทางไว้ และดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พระองค์ต่อมาที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเลือกสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และรัฐบาลได้ออกประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในราชกิจจานุเบกษาและนำความบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ในการดำเนินการของนายวิษณุ ไม่ได้ดำเนินการ โดยลำพัง แต่ได้ร่วมประชุมหารือกับบุคคลระดับสูงที่เป็นที่น่าเชื่อถือจำนวนหลายท่าน และประกาศฉบับนี้หาได้มีผลเป็นการตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่แต่อย่างใด พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอย่างบริบูรณ์ คระกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกระทำของนายวิษณุ ไม่ได้มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามคำร้องขอให้ถอดถอนข้อกล่าวหา ไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2542
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงหลังการประชุมว่า คณะกรรมการ ปปช. ได้ตรวจสอบ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2551 และได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบต่อ ป.ป.ช. ในวันที่ 29 ก.พ.2551 นั้น จากการตรวจ ปรากฎว่า นายวิรุฬ ได้ยื่นแสดงว่า มีเงินทุนในบริษัททรัพย์วัฒนา จำกัด จำนวน 22,000 หุ้น จากจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 200,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 11 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งเป็นการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้โดยบริษัทฯ และไม่ปรากฎว่า ตังแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รมช.พาณิชย์ นายวิรุฬ ได้แจ้งให้ประธาน ป.ป.ช. ทราบว่า ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่ตนถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ประกอบ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 เม.ย.51 นายวิรุฬ ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยกวับบริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ว่าบริษัทดังกล่าวได้หยุดประกอบกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมอบหมายให้ทนายความยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอยกเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 17 เม.ย.2551 แล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 23 เม.ย.2551 นายวิรุฬได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 22 เม.ย.2551 ถึงประธานกรรมการ ป.ป.ช. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยกเลิกบริษัทฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2551 เป็นการการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2 แต่ได้นำความไปจดทะเบียนเลิกบริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2551
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า 1. พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีที่ประสงค์จะได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทในส่วนที่เกินกว่า ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และโอนหุ้นในบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายในเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ และแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายในสิบนับแต่โอนหุ้นในนิติบุคคล
2.รัฐธรรมนูญ มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ตามจำนวน ที่กฎหมายบัญญัติในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณดังกล่าวต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายใน 30วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคล ซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
3.เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 128 วรรคเจ็ด กำหนดว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 โดยมิได้มีบทบัญญัติใดที่ให้เป็นอำนาจของกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะวินิจฉัยได้ว่า นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดจงใจหรือมิได้จงใจ ฝ่าฝืนบทบัญญัติ 269 หรือไม่ ดังเช่นกรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตาอกรรมการ ป.ป.ช. หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ ซึ่งกฏหมายให้อำนาจกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะวินิจฉัยถึงความจงใจหรือไม่จงใจได้
4.กรณีที่นายวิรุฬ ได้มีหนังสือลงวันที่ 18 เม.ย.2551 ถึงประธานป.ป.ช. ชี้แจงว่า บริษัท ทรัพย์วัฒนา จำกัด ได้หยุดประกอบกิจการตั้งแต่ พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน และผู้ถือหุ้นได้มีมติให้เลิกบริษัท และต่อมาได้มีหนังสือลงวันที่ 22 เม.ย.2551 ถึงประธาน ป.ป.ช. แจ้งว่า ได้นำมติผู้ถือหุ้นที่มีมติให้เลิกบริษัทฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2551 ไปจดทะเบียนเลิกบริษัทฯ ต่อนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22เม.ย.2551 นั้น เป็นการดำเนินการหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีแล้ว และไม่อยู่ในอำนาจของกรรมการ ป.ป.ช.ที่จะวินิฉัยได้
5.นอกจากนี้ปรากฎว่านายวิรุฬ ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 ก.พ.2551 ถึงประธาน ป.ป.ช. หารือถึงกรณีนายวิรุฬ ถือหุ้นในบริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด จำนวน 700,000 หุ้น ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยบริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี จะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 หรือไม่ โดยมิได้หารือเกี่ยวกับการถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์พัฒนา จำกัด ที่เป็นปัญหาในกรณีนี้แต่อย่างใด
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นรักษาการ และรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 128 วรรคสาม ได้กำหนดให้บทบัญญัติมาตรา 91และ92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม วรรค 2 3 5 หรือ 7 โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยได้ด้วย ซึ่งมาตรา 91 และ 92 เป็นกรณีที่ส.ส.หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่ง ในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติ ให้แจ้งข้อเท็จจริง พร้อมส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป
ป.ป.ช.ยกคำร้องถอดถอน “วิษณุ”
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกกรรมการป.ป.ช. แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ พิจารณาตามที่นายทองก้อน วงศ์สมุทร์ และคณะรวม 45 คน ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อ ปรนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 303,304 และ 305 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กรณีมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ในการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามประกาศสสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงวันที่ 13 มกราคม 2547 เนื่องจากเป็นการ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 11,28,30,38 และ 73 และขัดต่อพระราบัญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับคำร้องขอให้ถอดถอนไว้พิจารณาและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยคณะอนุกรรมการไต่สวนได้ดำเนินการไต่สวนปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะแพทย์ผู้ทำการตรวจพระอาการประชวนของสมเด็จพระสังฆราชกรรมการมหาเถรสมาคม บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ รวมทั้ง เชิญนายวิษณู เครืองาม มาให้ปากคำประกอบแล้ว
ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายวิษณุ ได้รับมอบหมายจาก .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ดำเนินการตามที่สำนักราชเลขาธิการ ได้เชิญพระราชกระแสของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความเห็นของคณะองคมนตรีเกี่ยวข้องกับพระรอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องที่ สมเด้จพระสังฆราชจะทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์เป็นการชั่วคราวโดยเร็ว เพื่อไมให้เกิดความเสียหายต่างๆ ซึ่งรัฐบาลพิจารณาเห็นสมควรจัดให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามที่กฎหมายเปิดทางไว้ และดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พระองค์ต่อมาที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเลือกสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และรัฐบาลได้ออกประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในราชกิจจานุเบกษาและนำความบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ในการดำเนินการของนายวิษณุ ไม่ได้ดำเนินการ โดยลำพัง แต่ได้ร่วมประชุมหารือกับบุคคลระดับสูงที่เป็นที่น่าเชื่อถือจำนวนหลายท่าน และประกาศฉบับนี้หาได้มีผลเป็นการตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่แต่อย่างใด พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอย่างบริบูรณ์ คระกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกระทำของนายวิษณุ ไม่ได้มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามคำร้องขอให้ถอดถอนข้อกล่าวหา ไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2542