เชียงราย-เอกชนใหญ่ สำรวจก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล (พลังงานแกลบ) มูลค่า 600 ล้านบาท พร้อมเร่งสำรวจทำประชาพิจารณ์อย่างเป็นทางการในพื้นที่ ต.ทรายขาว อบต.ระบุการทำประชาพิจารณ์ผ่านเพียง 4 หมู่บ้านนอกนั้นยังขอข้อมูลเพิ่ม เหตุส่วนใหญ่ยังไม่ไว้ใจเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านขบวนการเก็งกำไรที่ดินเริ่มขยับตามพร้อมปล่อยข่าวโรงไฟฟ้าเตรียมหาที่ดินแล้ว
นายพิชัย บุญรอด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทเอกชนรายหนึ่ง ที่จะเข้ามาสำรวจก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล (พลังงานแกลบ) มูลค่า 600 ล้านบาท ขนาด 9 เมกะวัตต์ ได้เข้ามาเร่งสำรวจทำประชาพิจารณ์อย่างเป็นทางการ ในพื้นที่ ต.ทรายขาว หลังจากก่อนหน้านี้ได้ไปสำรวจและทำประชาพิจารณ์หลายแห่งในพื้นที่ข้างเคียง ต.ทรายขาว แต่ไม่สำเร็จ ถูกกระแสต่อต้านจากชาวบ้าน
จากการเข้ามาทำประชาพิจารณ์ในส่วน ต.ทรายขาว พบว่า บริษัทเอกชน สามารถผ่านประชาพิจารณ์ไปได้แล้ว 4 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการทำประชาพิจารณ์แบบครั้งเดียวผ่าน คือ บ้านหนองผักจิก หมู่ที่ 4 ,บ้านรวมไทย หมู่ที่ 13,บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 5,บ้านทรายทอง หมู่ที่ 15
ส่วนที่เหลืออีก 4 หมู่บ้าน ทั้งบ้านโป่งแดง หมู่ที่ 8,บ้านโป่งทวี หมู่ที่ 16,บ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ 10,บ้านโป่งแดงใหม่ หมู่ที่ 12 ทางตัวแทนบริษัทเอกชน ได้เข้าให้ข้อมูล พร้อมทำประชาพิจารณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการลงมติจากชาวบ้านของ 4 หมู่บ้านนี้ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ อ้างต้องการขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบของชุมชน ในพื้นที่ที่เคยมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ว่ามีผลกระทบอื่นแอบแฝงหรือไม่
นายพิชัย กล่าวว่า โอกาสเป็นไปได้ที่จะมีโรงผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล เกิดขึ้นใน ต.ทรายขาว มีครึ่งต่อครึ่ง เพราะชาวบ้านครึ่งตำบล ได้ผ่านประชาพิจารณ์ไปแล้ว เหลือเพียงอีกครึ่งหนึ่งเท่านั้น โดยมีกลุ่มต่อต้าน ที่มีอดีตผู้นำท้องถิ่นเป็นแกนนำคัดค้าน จุดนี้มองว่าหากบริษัทเอกชน มีการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน จนสามารถนำมาตอบคำถาม สร้างความชัดเจนให้ชาวบ้านได้มากเท่าไหร่ ความสำเร็จในการจัดตั้งโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีสูงมาก เนื่องจากชาวบ้านยังกังวลในเรื่องผลกระทบและมลพิษอยู่
นายก อบต.ทรายขาว กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้ยังมีการปล่อยข่าวของกลุ่มที่ต้องการแสวงหาประโยชน์ จากการเข้ามาของโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ว่าโรงไฟฟ้าได้ผ่านประชาคมหมดแล้ว อยู่ระหว่างจัดหาซื้อที่ดิน ทำให้มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เริ่มเก็งกำไรในการจัดหาที่ดินไปนำเสนอขายกับบริษัทเอกชนรายนี้ ซึ่งขั้นตอนล่าสุด อบต.ยังไม่ได้จัดประชุมใดๆ กับทางบริษัทเอกชนทั้งสิ้น หากมีการประชุมเมื่อใด แสดงว่าขั้นตอนประชาพิจารณ์ทุกอย่างจบสิ้น จากนั้นจึงค่อยมาหารือเรื่องการจัดซื้อที่ดินอีกที
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้บริษัทเอกชน ได้เคยเข้าสำรวจและทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่ ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด เพื่อเร่งก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ให้ได้ แต่ถูกกลุ่มชาวบ้านรวมตัวคัดค้าน การทำประชาพิจารณ์ล่มกลางคัน จนมีการย้ายมาทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่ ต.แม่เย็น อ.พาน แต่ก็ไม่สำเร็จ ถูกต่อต้านอีก จนหายเงียบไประยะหนึ่ง ก่อนจะมาโผล่โครงการขึ้นใน ต.ทรายขาว และเข้าใกล้ความเป็นจริงทุกที
อนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกพร้อมด้วยวิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย)จำกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือก พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเขตภาคเหนือ เพื่อเป็นการนำวัสดุทางการเกษตร คือแกลบที่เหลือใช้มาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยมีพลังงานใช้เองและลดภาวะโลกร้อน
ภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าและสายไฟรับกับหน่วยงานของรัฐ โดยกองทุนไอเอ็นจี จะร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มีโรงสีและมีแกลบเป็นหลัก เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะเน้นวัสดุแกลบเป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีการตั้งเป้าโรงไฟฟ้าพลังแกลบขนาด 10 เมกะวัตต์ จำนวน 10 โรง งบประมาณการก่อสร้างโรงละ 600 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท หลังจากที่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเสร็จเรียบร้อยแล้วลูกค้าที่สำคัญและถือเป็นลูกค้ารายใหญ่คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวงที่จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาที่สูงทั้งนี้จะมีการรับซื้อในสัญญา 20 ปี
นายพิชัย บุญรอด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทเอกชนรายหนึ่ง ที่จะเข้ามาสำรวจก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล (พลังงานแกลบ) มูลค่า 600 ล้านบาท ขนาด 9 เมกะวัตต์ ได้เข้ามาเร่งสำรวจทำประชาพิจารณ์อย่างเป็นทางการ ในพื้นที่ ต.ทรายขาว หลังจากก่อนหน้านี้ได้ไปสำรวจและทำประชาพิจารณ์หลายแห่งในพื้นที่ข้างเคียง ต.ทรายขาว แต่ไม่สำเร็จ ถูกกระแสต่อต้านจากชาวบ้าน
จากการเข้ามาทำประชาพิจารณ์ในส่วน ต.ทรายขาว พบว่า บริษัทเอกชน สามารถผ่านประชาพิจารณ์ไปได้แล้ว 4 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการทำประชาพิจารณ์แบบครั้งเดียวผ่าน คือ บ้านหนองผักจิก หมู่ที่ 4 ,บ้านรวมไทย หมู่ที่ 13,บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 5,บ้านทรายทอง หมู่ที่ 15
ส่วนที่เหลืออีก 4 หมู่บ้าน ทั้งบ้านโป่งแดง หมู่ที่ 8,บ้านโป่งทวี หมู่ที่ 16,บ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ 10,บ้านโป่งแดงใหม่ หมู่ที่ 12 ทางตัวแทนบริษัทเอกชน ได้เข้าให้ข้อมูล พร้อมทำประชาพิจารณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการลงมติจากชาวบ้านของ 4 หมู่บ้านนี้ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ อ้างต้องการขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบของชุมชน ในพื้นที่ที่เคยมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ว่ามีผลกระทบอื่นแอบแฝงหรือไม่
นายพิชัย กล่าวว่า โอกาสเป็นไปได้ที่จะมีโรงผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล เกิดขึ้นใน ต.ทรายขาว มีครึ่งต่อครึ่ง เพราะชาวบ้านครึ่งตำบล ได้ผ่านประชาพิจารณ์ไปแล้ว เหลือเพียงอีกครึ่งหนึ่งเท่านั้น โดยมีกลุ่มต่อต้าน ที่มีอดีตผู้นำท้องถิ่นเป็นแกนนำคัดค้าน จุดนี้มองว่าหากบริษัทเอกชน มีการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน จนสามารถนำมาตอบคำถาม สร้างความชัดเจนให้ชาวบ้านได้มากเท่าไหร่ ความสำเร็จในการจัดตั้งโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีสูงมาก เนื่องจากชาวบ้านยังกังวลในเรื่องผลกระทบและมลพิษอยู่
นายก อบต.ทรายขาว กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้ยังมีการปล่อยข่าวของกลุ่มที่ต้องการแสวงหาประโยชน์ จากการเข้ามาของโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ว่าโรงไฟฟ้าได้ผ่านประชาคมหมดแล้ว อยู่ระหว่างจัดหาซื้อที่ดิน ทำให้มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เริ่มเก็งกำไรในการจัดหาที่ดินไปนำเสนอขายกับบริษัทเอกชนรายนี้ ซึ่งขั้นตอนล่าสุด อบต.ยังไม่ได้จัดประชุมใดๆ กับทางบริษัทเอกชนทั้งสิ้น หากมีการประชุมเมื่อใด แสดงว่าขั้นตอนประชาพิจารณ์ทุกอย่างจบสิ้น จากนั้นจึงค่อยมาหารือเรื่องการจัดซื้อที่ดินอีกที
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้บริษัทเอกชน ได้เคยเข้าสำรวจและทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่ ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด เพื่อเร่งก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ให้ได้ แต่ถูกกลุ่มชาวบ้านรวมตัวคัดค้าน การทำประชาพิจารณ์ล่มกลางคัน จนมีการย้ายมาทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่ ต.แม่เย็น อ.พาน แต่ก็ไม่สำเร็จ ถูกต่อต้านอีก จนหายเงียบไประยะหนึ่ง ก่อนจะมาโผล่โครงการขึ้นใน ต.ทรายขาว และเข้าใกล้ความเป็นจริงทุกที
อนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกพร้อมด้วยวิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย)จำกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือก พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเขตภาคเหนือ เพื่อเป็นการนำวัสดุทางการเกษตร คือแกลบที่เหลือใช้มาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยมีพลังงานใช้เองและลดภาวะโลกร้อน
ภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าและสายไฟรับกับหน่วยงานของรัฐ โดยกองทุนไอเอ็นจี จะร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มีโรงสีและมีแกลบเป็นหลัก เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะเน้นวัสดุแกลบเป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีการตั้งเป้าโรงไฟฟ้าพลังแกลบขนาด 10 เมกะวัตต์ จำนวน 10 โรง งบประมาณการก่อสร้างโรงละ 600 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท หลังจากที่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเสร็จเรียบร้อยแล้วลูกค้าที่สำคัญและถือเป็นลูกค้ารายใหญ่คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวงที่จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาที่สูงทั้งนี้จะมีการรับซื้อในสัญญา 20 ปี