พิษณุโลก- มหาวิทยาลัยนเรศวรให้วิทยาลัยพลังงานทดแทนเซ็นเอ็มโอยูทางวิชาการ กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี หนุนพัฒนาเทคโนโลยีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกด้วยงบ 6,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในภาคเหนือ ระบุเพื่อให้คนไทยผลิตพลังงานใช้เองและลดภาวะโลกร้อน
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยฯพร้อมด้วยวิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือก พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเขตภาคเหนือ เพื่อเป็นการนำวัสดุทางการเกษตร คือแกลบ ที่เหลือใช้มาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยมีพลังงานใช้เองและลดภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯมีพันธกิจด้านบริการวิชาการหลายรูปแบบโดยเฉพาะการให้บริการวิชาการแก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในลักษณะหุ้นส่วน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีบทบาทนำด้านนโยบาย และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งสอดรับกับแนวทางพัฒนาพลังงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการวิจัยการทำงานร่วมกัน โดยผ่านไปตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ความสมดุลและยั่งยืนตอบสนองนโยบายของรัฐ
ด้านรศ.ดร.วัฒนพงษ์ รักษิวิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน เปิดเผยถึง การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายในการที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ให้วัตถุดิบทางการเกษตรผลิตพลังงานทดแทน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าและสายไฟรับกับหน่วยงานของรัฐ โดยกองทุนไอเอ็นจี จะร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ ที่มีโรงสีและมีแกลบเป็นหลัก เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะเน้นวัสดุแกลบเป็นหลัก
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งเป้าโรงไฟฟ้าพลังแกลบขนาด 10 เมกะวัตต์ จำนวน 10 โรง งบประมาณการก่อสร้างโรงละ 600 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท หลังจากที่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่สำคัญและถือเป็นลูกค้ารายใหญ่คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ที่จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาที่สูงทั้งนี้จะมีการรับซื้อในสัญญา 20 ปี
“การที่เน้นให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากแกลบในภาคเหนือ เป็นเพราะเขตภาคเหนือมีโรงสีเป็นจำนวนมากและเป็นที่ที่มีแกลบอยู่ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทำให้ลดต้นทุนในแง่การขนส่ง ประกอบการแกลบเองถือเป็นพลังงานทดแทน ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานด้านไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย”
รศ.ดร.วัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศในการพึ่งพาตนเองที่สามารถผลิตพลังงานขึ้นมาใช้เอง ส่วนในภาพรวมของประเทศสามารถลดภาวะโลกร้อน ถือเป็นปัญหาสำคัญของโลก คาดว่าในอนาคตชุมชนในประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตพลังงานใช้เอง โดยเป็นพลังงานชุมชนที่สามารถดำเนินธุรกิจซื้อขายในรูปของพลังงานไฟฟ้า และพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการลดต้นทุนให้กับภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้าขายต่างๆ ตลอดจนทุนทางสังคมของประเทศจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจและการแข่งขันด้านพลังงานในอนาคต ที่สำคัญพลังงานทดแทนที่คิดค้นขึ้นจะช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานสิ้นเปลืองของประเทศได้อย่างมหาศาล
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยฯพร้อมด้วยวิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือก พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเขตภาคเหนือ เพื่อเป็นการนำวัสดุทางการเกษตร คือแกลบ ที่เหลือใช้มาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยมีพลังงานใช้เองและลดภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯมีพันธกิจด้านบริการวิชาการหลายรูปแบบโดยเฉพาะการให้บริการวิชาการแก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในลักษณะหุ้นส่วน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีบทบาทนำด้านนโยบาย และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งสอดรับกับแนวทางพัฒนาพลังงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการวิจัยการทำงานร่วมกัน โดยผ่านไปตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ความสมดุลและยั่งยืนตอบสนองนโยบายของรัฐ
ด้านรศ.ดร.วัฒนพงษ์ รักษิวิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน เปิดเผยถึง การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายในการที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ให้วัตถุดิบทางการเกษตรผลิตพลังงานทดแทน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าและสายไฟรับกับหน่วยงานของรัฐ โดยกองทุนไอเอ็นจี จะร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ ที่มีโรงสีและมีแกลบเป็นหลัก เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะเน้นวัสดุแกลบเป็นหลัก
ทั้งนี้ ได้มีการตั้งเป้าโรงไฟฟ้าพลังแกลบขนาด 10 เมกะวัตต์ จำนวน 10 โรง งบประมาณการก่อสร้างโรงละ 600 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท หลังจากที่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่สำคัญและถือเป็นลูกค้ารายใหญ่คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ที่จะรับซื้อไฟฟ้าในราคาที่สูงทั้งนี้จะมีการรับซื้อในสัญญา 20 ปี
“การที่เน้นให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากแกลบในภาคเหนือ เป็นเพราะเขตภาคเหนือมีโรงสีเป็นจำนวนมากและเป็นที่ที่มีแกลบอยู่ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทำให้ลดต้นทุนในแง่การขนส่ง ประกอบการแกลบเองถือเป็นพลังงานทดแทน ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานด้านไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย”
รศ.ดร.วัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศในการพึ่งพาตนเองที่สามารถผลิตพลังงานขึ้นมาใช้เอง ส่วนในภาพรวมของประเทศสามารถลดภาวะโลกร้อน ถือเป็นปัญหาสำคัญของโลก คาดว่าในอนาคตชุมชนในประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตพลังงานใช้เอง โดยเป็นพลังงานชุมชนที่สามารถดำเนินธุรกิจซื้อขายในรูปของพลังงานไฟฟ้า และพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการลดต้นทุนให้กับภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้าขายต่างๆ ตลอดจนทุนทางสังคมของประเทศจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจและการแข่งขันด้านพลังงานในอนาคต ที่สำคัญพลังงานทดแทนที่คิดค้นขึ้นจะช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานสิ้นเปลืองของประเทศได้อย่างมหาศาล