ทีมวิจัยเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานเปิดโปงพฤติกรรมทำนาบนหลังคนของนายหน้าในกระบวนการค้าแรงงานต่างด้าว ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดการแรงงานต่างด้าวล้มเหลวทั้งระบบ แต่รัฐฯกลับเพิกเฉยไม่จัดการเปิดช่องรับส่วยกันเพลิน แฉเฉพาะเมืองมหาชัย กลุ่มนายหน้ายุ่บยับทั้งไทยและพม่า จ่ายค่าคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่เป็นประจำตกหัวละ 500 บาทต่อเดือน เผยชีวิตแรงงานเถื่อนเหยื่อแก๊งค้ามนุษย์ถูกขูดรีดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางถึงหัวละหมื่นแลกกับงานหนักและความเป็นอยู่เยี่ยงทาส กดหัวด้วยข้อหาลักลอบเข้าเมือง
นายสมพงษ์ สระแก้ว หนึ่งในคณะวิจัย เรื่อง "นายหน้ากับกระบวนการย้ายถิ่นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร" ของเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวเปิดเผยให้เห็นบทบาทของ"นายหน้า"ในกระบวนการใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง ปลายทางและกรณีเดินทางผ่านประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า นายหน้าเป็นกลไกสำคัญของกระบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ บางส่วนยังเป็นกลไกของการค้ามนุษย์ที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านความมั่นคงมากกว่าตัวคนงานต่างด้าวเสียด้วยซ้ำ แต่ที่ผ่านมาทางการไทยยังไม่มีความพร้อมสำหรับการจัดการกับปัญหาดังกล่าว
นายสมพงษ์ ย้ำว่า นายหน้าในกระบวนการค้าแรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวล้มเหลวทั้งระบบ เพราะยิ่งมาตรการของภาครัฐในการจัดการเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ต้องมีนายหน้าในการหาช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับนายจ้างที่ต้องการแรงงานราคาถูกและแรงงานที่ต้องการในฝั่งไทย แต่ในขณะเดียวกันนายหน้านี่เองที่หาประโยชน์บนความไม่รู้ของแรงงานต่างด้าว
นอกจากนี้ จำนวนแรงงานที่ถูกกฎหมายก็ลดลงเนื่องจากระเบียบระบุไว้ว่าแรงงานต่างด้าวที่เคยขึ้นทะเบียนเท่านั้นที่สามารถต่ออายุใบอนุญาตได้ ทั้งๆ ที่ความต้องการแรงงานและจำนวนแรงงานต่างด้าวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีจำนวนแรงงานผิดกฎหมายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า แรงงานข้ามชาติมักกล่าวอ้างถึงนายหน้าทั้งในแง่ดีและไม่ดี เพราะส่วนหนึ่งนายหน้าคือผู้ที่อำนวยความสะดวกโดยการจัดการเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งที่เข้ามาโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ โดยที่นายหน้าในที่นี้อาจมีทั้งที่เป็นเครือข่ายของคนไทย เครือข่ายของคนต่างชาติที่ร่วมกับคนไทย และที่เป็นคนต่างชาติเท่านั้น ซึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหาประโยชน์และเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ
งานวิจัยดังกล่าว แจกแจงประเภทของนายหน้าไว้หลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งที่อำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวกับนายจ้างและลักษณะงานที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะนายหน้านำพาคนเข้ามาในประเทศ ซึ่งเริ่มจากที่แรงงานที่เคยทำงานในประเทศทางเป็นเวลานานกลับไปติดต่อคนจากพม่าให้ข้ามฝั่งมาทำงานในฝั่งไทยผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะจากระนองและแม่สอดมายังสมุทรสาคร ซึ่งคิดค่าเดินทางคนละ 3 – 5 พันบาท หากแพงกว่านี้ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจ่ายเดินทางให้ก่อนแล้วมาหักใช้หนี้ที่ปลายทาง บางคนได้รับเงินจากนายจ้างเป็นค่าหัวสำหรับพาแรงงานมาส่งหัวละ 5,000 – 10,000 บาท โดยทั้งหมดนี้จำเป็นต้องร่วมมือกับเครือข่ายของคนไทยอย่างเป็นขบวนการ
การแสวงหาประโยชน์ในลักษณะนี้มักเข้าข่ายการค้ามนุษย์เนื่องจากมักมีพฤติกรรมการข่มขู่และกรรโชกเพื่อให้ได้ทรัพย์จากแรงงานที่เป็นหนี้ บางรายอาจถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวเพื่อต่อรองการจ่ายหนี้ที่ผิดสัญญา ในขณะเดียวกันแรงงานที่ถูกตกเป็นเหยื่อมักจะไม่ถูกตีความว่าเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์แต่จะผิดกฎหมายลักลอบเข้าเมือง แม้ว่าจะไม่ได้รับค่าแรงและไม่สามารถที่จะออกจากโรงงานได้
นายหน้าอีกประเภทได้แก่ นายหน้า Sub – Contract ที่จะได้โควต้าแรงงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งและส่งต่อให้นายจ้างแลกกับเปอร์เซ็นต์ค่าหัวของแรงงานแต่ละคน ในขณะเดียวกันก็หักค่าตอบแทนจากแรงงานต่างด้าว 3 – 7% จากค่าแรงในแต่ละเดือน นายหน้าประเภทนี้จะจัดการเรื่องการจดทะเบียนและทำบัตรให้กับแรงงานรวมทั้งจัดหางานให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานอีกด้วย
นายหน้าประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ บางส่วนยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ทำให้ประชาชนเกรงกลัวและไม่กล้ายุ่งเกี่ยว มีหลายกรณีที่มีการใช้อำนาจไม่ชอบ เช่น กรณีที่แรงงานข้ามชาติถูกทำร้ายทุบตีหรือเสียชีวิตระหว่างการทำงาน ถูกใช้แรงงานบังคับก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือในกรณีขาดอิสรภาพในการเปลี่ยนย้ายนายจ้าง หากย้ายงานก็จะถูกแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีและส่งกลับประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีนายหน้าส่งคนลงเรือประมง ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มต้นจากนายหน้าที่เป็นลูกเรือมาก่อนและได้ค่าหัวแรงงานจากนายจ้างหัวละ 2 – 3 พันบาท โดยจะเดินหาตามชุมชนแรงงานต่างด้าวและยื่นข้อเสนอเป็นงานที่ไม่เสี่ยงต่อการจับกุมของเจ้าหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับเรือแต่ละลำที่จะไปทำงานด้วยว่ามีการปฏิบัติต่อแรงงานดีหรือไม่ ทั้งนี้ แรงงานส่วนใหญ่ที่รับงานประเภทนี้จะไม่รู้มาก่อนว่าต้องลงเรือลำไหน นายหน้าบางคนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่นำแรงงานไปส่งขายให้กับนายจ้างเรือประมงที่บังคับทำงาน ซึ่งเข้าข่ายการค้ามนุษย์ด้วยเช่นกัน
นายหน้าเคลียร์เจ้าหน้าที่เป็นอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นล่ามที่สื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับแรงงานต่างด้าวเพื่อต่อรองคดีและเรียกรับสินบนสำหรับการไถ่ตัวทั้งที่เป็นแรงงานถูกและผิดกฎหมาย นายหน้าชาวพม่าประเภทนี้มักระบุว่าตนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่โดยการเป็นสายเพื่อสอดส่องการทำผิดกฎหมายในกรณีต่างๆ เช่น ยาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า กระบวนกาจ่ายส่วยเพื่อเคลียร์กับเจ้าหน้าที่มีตั้งแต่ระดับผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่จ่ายเป็นรายเดือน ส่วนนายหน้าประเภทนี้จะต่อรองเป็นครั้งๆ เมื่อมีแรงงานถูกจับ จนมีการเก็บค่าคุ้มครองเดือนละ 500 บาท ที่แรงงานต่างด้าวเรียกกันว่า "บัตร 500" ประมาณการณ์ได้ว่ามีนายหน้าที่ทำหน้าที่เช่นนี้ประมาณ 50 คนในเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
งานวิจัยดังกล่าวสรุปไว้ว่า นายหน้าในกระบวนการค้าแรงงานต่างด้าวเกิดขึ้นจากการที่แรงงานเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารในภาษาไทยได้ นอกจากนี้ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานและนโยบายรัฐซึ่งมีความไม่แน่นอน ในขณะที่ความยุ่งยากซับซ้อนของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายทำให้นายจ้างก็ผลักภาระให้กับนายหน้าในการจัดการ นายหน้าบางรายยังเป็นนายจ้างที่มีโควตาแรงงานและทำหน้าที่เป็น Sub – Contract กระจายงานให้กับแรงงานต่างด้าวในสังกัดของตนอีกด้วย ที่สำคัญ คือ เครือข่ายนายหน้าเป็นเครือข่ายที่ใหญ่โตและเป็นช่องทางแสดงหาประโยชน์มหาศาล
สำหรับข้อเสนอในการแก้ปัญหานายหน้ามีหลายประการ อาทิเช่น ต้องจัดให้ระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไม่ยุ่งยากซับซ้อนและแรงงานสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยนายหน้า ตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมของแรงงานที่เข้ามาใหม่โดยให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทยพร้อมทั้งสิทธิของแรงงาน ออกมาตรการเอาผิดอย่างจริงจังต่อนายหน้าที่เอาเปรียบแรงงานต่างด้าว ฯลฯ
ส่วนความคืบหน้าคดีการเสียชิวิตของแรงงานพม่า 54 ระหว่างการขนย้ายที่ จ.ระนอง ล่าสุดดึกวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ปัญชลีย์ ชูสุข หรือผึ้ง อายุ 34 ปี ได้เข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ น.ส.ปัญชลีย์ เป็นภรรยาของนายเฉลิมชัย วริศจันทร์เปล่ง ที่ได้มอบตัวไปก่อนหน้านี้ โดยรับสารภาพว่าตนเป็นคนนับหัวแรงงานพม่าทั้งหมด แต่เป็นการนับเพื่อทำข้าวกล่องให้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่ายังให้การวกวนและขัดแย้งกับพยานรายอื่นๆ
นายสมพงษ์ สระแก้ว หนึ่งในคณะวิจัย เรื่อง "นายหน้ากับกระบวนการย้ายถิ่นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร" ของเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวเปิดเผยให้เห็นบทบาทของ"นายหน้า"ในกระบวนการใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง ปลายทางและกรณีเดินทางผ่านประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า นายหน้าเป็นกลไกสำคัญของกระบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ บางส่วนยังเป็นกลไกของการค้ามนุษย์ที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านความมั่นคงมากกว่าตัวคนงานต่างด้าวเสียด้วยซ้ำ แต่ที่ผ่านมาทางการไทยยังไม่มีความพร้อมสำหรับการจัดการกับปัญหาดังกล่าว
นายสมพงษ์ ย้ำว่า นายหน้าในกระบวนการค้าแรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวล้มเหลวทั้งระบบ เพราะยิ่งมาตรการของภาครัฐในการจัดการเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ต้องมีนายหน้าในการหาช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับนายจ้างที่ต้องการแรงงานราคาถูกและแรงงานที่ต้องการในฝั่งไทย แต่ในขณะเดียวกันนายหน้านี่เองที่หาประโยชน์บนความไม่รู้ของแรงงานต่างด้าว
นอกจากนี้ จำนวนแรงงานที่ถูกกฎหมายก็ลดลงเนื่องจากระเบียบระบุไว้ว่าแรงงานต่างด้าวที่เคยขึ้นทะเบียนเท่านั้นที่สามารถต่ออายุใบอนุญาตได้ ทั้งๆ ที่ความต้องการแรงงานและจำนวนแรงงานต่างด้าวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีจำนวนแรงงานผิดกฎหมายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า แรงงานข้ามชาติมักกล่าวอ้างถึงนายหน้าทั้งในแง่ดีและไม่ดี เพราะส่วนหนึ่งนายหน้าคือผู้ที่อำนวยความสะดวกโดยการจัดการเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งที่เข้ามาโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ โดยที่นายหน้าในที่นี้อาจมีทั้งที่เป็นเครือข่ายของคนไทย เครือข่ายของคนต่างชาติที่ร่วมกับคนไทย และที่เป็นคนต่างชาติเท่านั้น ซึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหาประโยชน์และเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ
งานวิจัยดังกล่าว แจกแจงประเภทของนายหน้าไว้หลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งที่อำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวกับนายจ้างและลักษณะงานที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะนายหน้านำพาคนเข้ามาในประเทศ ซึ่งเริ่มจากที่แรงงานที่เคยทำงานในประเทศทางเป็นเวลานานกลับไปติดต่อคนจากพม่าให้ข้ามฝั่งมาทำงานในฝั่งไทยผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะจากระนองและแม่สอดมายังสมุทรสาคร ซึ่งคิดค่าเดินทางคนละ 3 – 5 พันบาท หากแพงกว่านี้ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจ่ายเดินทางให้ก่อนแล้วมาหักใช้หนี้ที่ปลายทาง บางคนได้รับเงินจากนายจ้างเป็นค่าหัวสำหรับพาแรงงานมาส่งหัวละ 5,000 – 10,000 บาท โดยทั้งหมดนี้จำเป็นต้องร่วมมือกับเครือข่ายของคนไทยอย่างเป็นขบวนการ
การแสวงหาประโยชน์ในลักษณะนี้มักเข้าข่ายการค้ามนุษย์เนื่องจากมักมีพฤติกรรมการข่มขู่และกรรโชกเพื่อให้ได้ทรัพย์จากแรงงานที่เป็นหนี้ บางรายอาจถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวเพื่อต่อรองการจ่ายหนี้ที่ผิดสัญญา ในขณะเดียวกันแรงงานที่ถูกตกเป็นเหยื่อมักจะไม่ถูกตีความว่าเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์แต่จะผิดกฎหมายลักลอบเข้าเมือง แม้ว่าจะไม่ได้รับค่าแรงและไม่สามารถที่จะออกจากโรงงานได้
นายหน้าอีกประเภทได้แก่ นายหน้า Sub – Contract ที่จะได้โควต้าแรงงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งและส่งต่อให้นายจ้างแลกกับเปอร์เซ็นต์ค่าหัวของแรงงานแต่ละคน ในขณะเดียวกันก็หักค่าตอบแทนจากแรงงานต่างด้าว 3 – 7% จากค่าแรงในแต่ละเดือน นายหน้าประเภทนี้จะจัดการเรื่องการจดทะเบียนและทำบัตรให้กับแรงงานรวมทั้งจัดหางานให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานอีกด้วย
นายหน้าประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ บางส่วนยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ทำให้ประชาชนเกรงกลัวและไม่กล้ายุ่งเกี่ยว มีหลายกรณีที่มีการใช้อำนาจไม่ชอบ เช่น กรณีที่แรงงานข้ามชาติถูกทำร้ายทุบตีหรือเสียชีวิตระหว่างการทำงาน ถูกใช้แรงงานบังคับก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือในกรณีขาดอิสรภาพในการเปลี่ยนย้ายนายจ้าง หากย้ายงานก็จะถูกแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีและส่งกลับประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีนายหน้าส่งคนลงเรือประมง ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มต้นจากนายหน้าที่เป็นลูกเรือมาก่อนและได้ค่าหัวแรงงานจากนายจ้างหัวละ 2 – 3 พันบาท โดยจะเดินหาตามชุมชนแรงงานต่างด้าวและยื่นข้อเสนอเป็นงานที่ไม่เสี่ยงต่อการจับกุมของเจ้าหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับเรือแต่ละลำที่จะไปทำงานด้วยว่ามีการปฏิบัติต่อแรงงานดีหรือไม่ ทั้งนี้ แรงงานส่วนใหญ่ที่รับงานประเภทนี้จะไม่รู้มาก่อนว่าต้องลงเรือลำไหน นายหน้าบางคนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่นำแรงงานไปส่งขายให้กับนายจ้างเรือประมงที่บังคับทำงาน ซึ่งเข้าข่ายการค้ามนุษย์ด้วยเช่นกัน
นายหน้าเคลียร์เจ้าหน้าที่เป็นอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นล่ามที่สื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับแรงงานต่างด้าวเพื่อต่อรองคดีและเรียกรับสินบนสำหรับการไถ่ตัวทั้งที่เป็นแรงงานถูกและผิดกฎหมาย นายหน้าชาวพม่าประเภทนี้มักระบุว่าตนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่โดยการเป็นสายเพื่อสอดส่องการทำผิดกฎหมายในกรณีต่างๆ เช่น ยาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า กระบวนกาจ่ายส่วยเพื่อเคลียร์กับเจ้าหน้าที่มีตั้งแต่ระดับผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่จ่ายเป็นรายเดือน ส่วนนายหน้าประเภทนี้จะต่อรองเป็นครั้งๆ เมื่อมีแรงงานถูกจับ จนมีการเก็บค่าคุ้มครองเดือนละ 500 บาท ที่แรงงานต่างด้าวเรียกกันว่า "บัตร 500" ประมาณการณ์ได้ว่ามีนายหน้าที่ทำหน้าที่เช่นนี้ประมาณ 50 คนในเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
งานวิจัยดังกล่าวสรุปไว้ว่า นายหน้าในกระบวนการค้าแรงงานต่างด้าวเกิดขึ้นจากการที่แรงงานเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารในภาษาไทยได้ นอกจากนี้ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานและนโยบายรัฐซึ่งมีความไม่แน่นอน ในขณะที่ความยุ่งยากซับซ้อนของกระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายทำให้นายจ้างก็ผลักภาระให้กับนายหน้าในการจัดการ นายหน้าบางรายยังเป็นนายจ้างที่มีโควตาแรงงานและทำหน้าที่เป็น Sub – Contract กระจายงานให้กับแรงงานต่างด้าวในสังกัดของตนอีกด้วย ที่สำคัญ คือ เครือข่ายนายหน้าเป็นเครือข่ายที่ใหญ่โตและเป็นช่องทางแสดงหาประโยชน์มหาศาล
สำหรับข้อเสนอในการแก้ปัญหานายหน้ามีหลายประการ อาทิเช่น ต้องจัดให้ระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไม่ยุ่งยากซับซ้อนและแรงงานสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องอาศัยนายหน้า ตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมของแรงงานที่เข้ามาใหม่โดยให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทยพร้อมทั้งสิทธิของแรงงาน ออกมาตรการเอาผิดอย่างจริงจังต่อนายหน้าที่เอาเปรียบแรงงานต่างด้าว ฯลฯ
ส่วนความคืบหน้าคดีการเสียชิวิตของแรงงานพม่า 54 ระหว่างการขนย้ายที่ จ.ระนอง ล่าสุดดึกวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ปัญชลีย์ ชูสุข หรือผึ้ง อายุ 34 ปี ได้เข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ น.ส.ปัญชลีย์ เป็นภรรยาของนายเฉลิมชัย วริศจันทร์เปล่ง ที่ได้มอบตัวไปก่อนหน้านี้ โดยรับสารภาพว่าตนเป็นคนนับหัวแรงงานพม่าทั้งหมด แต่เป็นการนับเพื่อทำข้าวกล่องให้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่ายังให้การวกวนและขัดแย้งกับพยานรายอื่นๆ