นายบิล ซอลเทอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) กล่าวในแถลงการณ์ เรื่องการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดระนอง ประเทศไทย ว่ารู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อข่าวดังกล่าวที่แรงงานข้ามชาติจำนวนมากกว่า 50 คนพยายามดิ้นรนเพื่อแสวงหาอนาคตที่ดีกว่า แต่ต้องกลับกลายเป็นเหยื่อและเสียชีวิตในประเทศไทย หลายคนเป็นสตรีและเยาวชน สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศกำลังเฝ้าติดตามความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงการดูแลเยียวยาผู้ที่รอดชีวิต เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุที่น่าสะเทือนใจ เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคนขับ และเป็นตัวชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น
แม้ว่ารัฐบาลไทยได้พยายามจัดระเบียบการเดินทางข้ามพรมแดนของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านการทำข้อตกลงระหว่างกันเรื่องการจ้างแรงงานแล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าความต้องการใช้แรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนของนายจ้าง ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ระบบการขึ้นทะเบียนการใช้แรงงานข้ามชาติของทางการไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่
ในหลายงานวิจัยที่ผ่านมาของไอแอลโอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมจากแรงงานซึ่งโยงใยกับการค้ามนุษย์ ชี้ให้เห็นว่า แรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนจำนวนมากถูกข่มเหง งานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าจากการสัมภาษณ์นายจ้างมากกว่าครึ่งหนึ่ง นายจ้างแสดงความเห็นว่าการกักขังแรงงานข้ามชาติเพื่อ “ป้องกัน ไม่ให้เขาหนีออกไป” เป็นการกระทำที่เหมาะสมแล้ว และร้อยละ 75 ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมงไม่มีเอกสารราชการอยู่กับตัวเนื่องจากถูกนายจ้างยึดเอาไว้ ทั้งยังมีสิ่งบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็กที่เป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ ชาย หญิง และเด็กที่ประสบความเดือดร้อนจนถึงขั้นต้องอพยพจากประเทศเมียนมาร์และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ และมุ่งเข้ามาหางานทำในประเทศไทย แต่รัฐบาลไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองและป้องกันไม่ให้มีการแสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมจากแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ ไม่ว่าเขาจะมีหรือไม่มีเอกสารที่ถูกต้องในประเทศไทย
ความคุ้มครองที่ว่านี้ รวมไปถึงการระบุให้นายจ้างและนายหน้าจัดหางานต้องรับผิดชอบในการดูแลแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าเขาจะมีหรือไม่มีใบอนุญาตทำงาน และลงโทษนายจ้าง นายหน้า และ ผู้รับเหมาแรงงาน ที่ใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องจากระบบการจัดหางานและจากแรงงานเอง นอกจากนี้รัฐยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการการตรวจแรงงานในสถานประกอบการต่างๆ โดยคำนึงถึงศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิของแรงงานข้ามชาติด้วย
ความจำเป็นอีกประการหนึ่ง คือ ควรมีการทบทวน และการประเมินปัญหาด้านนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างจริงจัง การบริหารแรงงานข้ามชาติต้องเป็นนโยบายที่มองไปข้างหน้า และพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานโยบายนั้น ไม่เพียงแต่ให้ผลตอบสนองทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ต้องให้ประโยชน์กับประชาชนด้วย โดยเฉพาะกับแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีส่วนไม่น้อยในการทำให้ประเทศไทยเติบโตขึ้น
แม้ว่ารัฐบาลไทยได้พยายามจัดระเบียบการเดินทางข้ามพรมแดนของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านการทำข้อตกลงระหว่างกันเรื่องการจ้างแรงงานแล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าความต้องการใช้แรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนของนายจ้าง ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ระบบการขึ้นทะเบียนการใช้แรงงานข้ามชาติของทางการไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่
ในหลายงานวิจัยที่ผ่านมาของไอแอลโอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมจากแรงงานซึ่งโยงใยกับการค้ามนุษย์ ชี้ให้เห็นว่า แรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนจำนวนมากถูกข่มเหง งานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าจากการสัมภาษณ์นายจ้างมากกว่าครึ่งหนึ่ง นายจ้างแสดงความเห็นว่าการกักขังแรงงานข้ามชาติเพื่อ “ป้องกัน ไม่ให้เขาหนีออกไป” เป็นการกระทำที่เหมาะสมแล้ว และร้อยละ 75 ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมงไม่มีเอกสารราชการอยู่กับตัวเนื่องจากถูกนายจ้างยึดเอาไว้ ทั้งยังมีสิ่งบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็กที่เป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ ชาย หญิง และเด็กที่ประสบความเดือดร้อนจนถึงขั้นต้องอพยพจากประเทศเมียนมาร์และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ และมุ่งเข้ามาหางานทำในประเทศไทย แต่รัฐบาลไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองและป้องกันไม่ให้มีการแสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมจากแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ ไม่ว่าเขาจะมีหรือไม่มีเอกสารที่ถูกต้องในประเทศไทย
ความคุ้มครองที่ว่านี้ รวมไปถึงการระบุให้นายจ้างและนายหน้าจัดหางานต้องรับผิดชอบในการดูแลแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าเขาจะมีหรือไม่มีใบอนุญาตทำงาน และลงโทษนายจ้าง นายหน้า และ ผู้รับเหมาแรงงาน ที่ใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องจากระบบการจัดหางานและจากแรงงานเอง นอกจากนี้รัฐยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการการตรวจแรงงานในสถานประกอบการต่างๆ โดยคำนึงถึงศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิของแรงงานข้ามชาติด้วย
ความจำเป็นอีกประการหนึ่ง คือ ควรมีการทบทวน และการประเมินปัญหาด้านนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างจริงจัง การบริหารแรงงานข้ามชาติต้องเป็นนโยบายที่มองไปข้างหน้า และพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานโยบายนั้น ไม่เพียงแต่ให้ผลตอบสนองทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ต้องให้ประโยชน์กับประชาชนด้วย โดยเฉพาะกับแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีส่วนไม่น้อยในการทำให้ประเทศไทยเติบโตขึ้น