ชุมพร -ชุมพรจัดเสวนา ปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์จาก 4 จังหวัด ร่วมแก้ไขปัญหา เนื่องจากพบว่า เป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางเส้นทางลำเลียงแรงงานเถื่อนส่งผ่านทั่วภูมิภาค
นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่าได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นกับผู้เข้าเสวนาโครงการ “ ฝึกอบรมทีมสหวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกัน แก้ไข และปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2552 ” ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ชุมพร บูรณาการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดขึ้นมีทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของกระบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่าย การต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีทีมสหวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงาน จาก 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ. เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร เข้าร่วมเสวนาเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหา รวมจำนวน 120 คน
นายการัณย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาการค้ามนุษย์นับวันจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า จ.ชุมพร ถือเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางเส้นทางผ่านการลักลอบขนส่งแรงงานต่างด้าว ทั้ง เด็ก สตรี จากพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน สู่ภาคใต้ และจากพื้นที่ฝั่งตะวันตกทะเลอันดามัน ด้าน จ.ระนอง อีกทั้ง จ.ชุมพร ยังมีเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่า ด้าน อ.ท่าแซะ จึงถือเป็นเส้นทางผ่านสำคัญในการลักลอบขนย้ายแรงงานเถื่อนไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
นายการัณย์กล่าวอีกว่า ขบวนการค้ามนุษย์ จึงต้องถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ควรต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และกำหนดมาตรการในการป้องกันขบวนการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด จริงจัง ตนในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ จ.ชุมพร ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ 3 มาตรการหลัก คือ ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ ด้านการป้องกัน และด้านงานนโยบายและสารสนเทศ ซึ่งจากทั้ง 3 มาตรการ ต้องดำเนินการควบคู่กันไปโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จึงจะสามารถบรรลุผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่าได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นกับผู้เข้าเสวนาโครงการ “ ฝึกอบรมทีมสหวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกัน แก้ไข และปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2552 ” ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ชุมพร บูรณาการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดขึ้นมีทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของกระบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่าย การต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีทีมสหวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงาน จาก 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ. เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร เข้าร่วมเสวนาเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหา รวมจำนวน 120 คน
นายการัณย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาการค้ามนุษย์นับวันจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า จ.ชุมพร ถือเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางเส้นทางผ่านการลักลอบขนส่งแรงงานต่างด้าว ทั้ง เด็ก สตรี จากพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน สู่ภาคใต้ และจากพื้นที่ฝั่งตะวันตกทะเลอันดามัน ด้าน จ.ระนอง อีกทั้ง จ.ชุมพร ยังมีเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่า ด้าน อ.ท่าแซะ จึงถือเป็นเส้นทางผ่านสำคัญในการลักลอบขนย้ายแรงงานเถื่อนไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
นายการัณย์กล่าวอีกว่า ขบวนการค้ามนุษย์ จึงต้องถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ควรต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และกำหนดมาตรการในการป้องกันขบวนการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด จริงจัง ตนในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ จ.ชุมพร ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ 3 มาตรการหลัก คือ ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ ด้านการป้องกัน และด้านงานนโยบายและสารสนเทศ ซึ่งจากทั้ง 3 มาตรการ ต้องดำเนินการควบคู่กันไปโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จึงจะสามารถบรรลุผลได้อย่างเป็นรูปธรรม