ผู้จัดการรายวัน - สถาบันอาหารแนะผู้ประกอบเอสเอ็มอี พลิกวิกฤตจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเป็นโอกาสผนวกกลยุทธ์เรื่องโลกร้อนเข้าไปในตัวสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ชี้ ผลสำรวจเอซี นิลสันพบว่าปัจจุบันผู้บริโภคต่างประเทศให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากถึง 75% และผู้ผลิตรายใหญ่เริ่มใช้เรื่องภาวะโลกร้อนมาเป็นกลยุทธ์ที่มีบทบาทมากขึ้นในตลาดอาหารต่างประเทศ
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม นอกจากด้านการขนส่งที่ทำให้เกิดก๊าซ CO2 ซึ่งปัจจุบันประเด็น green logistics ได้กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ธุรกิจอาหารรายใหญ่ๆ ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังต้องพิจารณาประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่นการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต การจัดการบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ การแสดงฉลาก เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภครับรู้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีบทบาทมากขึ้นในตลาดอาหารต่างประเทศ เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัญหา สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“ผลงานวิจัยสำรวจของ เอซี นีลเส็น จากผู้บริโภค 47 ประเทศ พบว่า ผู้บริโภคมากกว่า 75% ใน 4 ประเทศ และ 50-74% ใน 29 ประเทศ เลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ผู้บริโภค 50-74 % ใน 9 ประเทศ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มากกว่า 75% ใน 4 ประเทศ และ 50-74 % ใน 22 ประเทศ จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่น ทั้งนี้ นักการตลาดปัจจุบันยังเสนอแนวคิดใหม่ในการทำความเข้าใจผู้บริโภค ในเรื่องความเป็นอยู่ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คุณค่าในตัวบุคคล หรือการดำรงชีวิตด้วยวิถีแห่งสุขภาพที่ดีกับนิเวศวิทยาอย่างยั่งยืน”
นายยุทธศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยถึงแม้จะเป็นผู้ส่งออกอาหารแปรรูปหลายรายการที่เป็นระดับแถวหน้าของโลก และส่วนใหญ่ไม่ได้มีการผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเองทำให้ไม่ต้องทำการตลาดในระดับ ผู้บริโภค แต่ก็มีสินค้าของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่อาจนำเอากลยุทธ์นี้มาผนวกเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของตนได้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ก็จะมีช่องทางจัดจำหน่ายที่แตกต่างจากช่องทางทั่วไป เช่น ห้างสรรพสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีค่านิยมบริษัทเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การค้าที่เป็นธรรม สินค้าเพื่อสุขภาพ โดยในการเข้าสู่ตลาดนั้นผู้ส่งออกควรศึกษาลักษณะการค้าของแต่ละกลุ่มธุรกิจและวิธีการติดต่ออย่างละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบการค้าและการเตรียมตัวที่เหมาะสม
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม นอกจากด้านการขนส่งที่ทำให้เกิดก๊าซ CO2 ซึ่งปัจจุบันประเด็น green logistics ได้กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ธุรกิจอาหารรายใหญ่ๆ ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังต้องพิจารณาประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่นการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต การจัดการบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ การแสดงฉลาก เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภครับรู้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีบทบาทมากขึ้นในตลาดอาหารต่างประเทศ เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัญหา สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“ผลงานวิจัยสำรวจของ เอซี นีลเส็น จากผู้บริโภค 47 ประเทศ พบว่า ผู้บริโภคมากกว่า 75% ใน 4 ประเทศ และ 50-74% ใน 29 ประเทศ เลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ ผู้บริโภค 50-74 % ใน 9 ประเทศ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มากกว่า 75% ใน 4 ประเทศ และ 50-74 % ใน 22 ประเทศ จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่น ทั้งนี้ นักการตลาดปัจจุบันยังเสนอแนวคิดใหม่ในการทำความเข้าใจผู้บริโภค ในเรื่องความเป็นอยู่ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คุณค่าในตัวบุคคล หรือการดำรงชีวิตด้วยวิถีแห่งสุขภาพที่ดีกับนิเวศวิทยาอย่างยั่งยืน”
นายยุทธศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยถึงแม้จะเป็นผู้ส่งออกอาหารแปรรูปหลายรายการที่เป็นระดับแถวหน้าของโลก และส่วนใหญ่ไม่ได้มีการผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเองทำให้ไม่ต้องทำการตลาดในระดับ ผู้บริโภค แต่ก็มีสินค้าของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่อาจนำเอากลยุทธ์นี้มาผนวกเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของตนได้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ก็จะมีช่องทางจัดจำหน่ายที่แตกต่างจากช่องทางทั่วไป เช่น ห้างสรรพสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีค่านิยมบริษัทเน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การค้าที่เป็นธรรม สินค้าเพื่อสุขภาพ โดยในการเข้าสู่ตลาดนั้นผู้ส่งออกควรศึกษาลักษณะการค้าของแต่ละกลุ่มธุรกิจและวิธีการติดต่ออย่างละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบการค้าและการเตรียมตัวที่เหมาะสม