ผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติตามติดสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ชี้เป็นหนี้ที่กระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ-ความรู้การเงินน้อย ทำให้หันพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบมากขึ้น แนะเร่งส่งเสริมการออม ดูแลการให้สินเชื่อกับกลุ่มนี้อย่างระมัดระวัง พร้อมศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศ
นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงรายงานหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุดว่า ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว และสามารถสรุปได้ว่า แม้หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่สถานการณ์หนี้สิ้นของครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และเชื่อว่าจะไม่นำไปสู่ปัญหาในวงกว้าง เนื่องจากหนี้สินส่วนใหญ่ของครัวเรือนเป็นหนี้สินเพื่อการซื้อสังหาริมทรัพย์และการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อการสะสมหนี้สินและก่อให้เกิดรายได้ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนก็ไม่ได้แย่ลงนัก นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบหนี้สินทรัพย์ในครัวเรือนแล้วจะพบว่าสัดส่วนของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของปัญหาหนี้สินนั้นยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ครัวเรือนบางกลุ่ม เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อยและพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก อีกทั้งปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ยังมีความซับซ้อนมากว่าครัวเรือนทั่วไป
ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้ตรงเป้าและได้ผลดี ควรมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีหนี้มากเป็นอันดับแรกๆ โดยแนะนำให้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย ควบคู่กับส่งเสริมการออม การให้การศึกษาและความรู้ทางการเงิน และการเปิดช่องทางการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรมีศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรด้วย
สำหรับสถิติหนี้ครัวเรือนไทยจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ในภาพรวมหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 68,405 บาท ต่อครัวเรือนในปี 2543 เป็น 104,571 บาทต่อครัวเรือนในปี 2547 และ 116,681 บาทต่อครัวเรือนในปี 2550 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนไปอัตราดอกเบี้ยต่ำและการที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนชะลอลงมากในปี 2549-2550 และน้อยกว่าเงินเฟ้อในปี 2550
โดยหนี้เพื่อการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 33% และประมาณ 60%ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ พบว่าหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.6 เท่าในปี 2547 แต่หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องมาอยู่ระดับ 6.6 เท่าของปี 2549 และ 6.3 เท่าในปี 2550 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบหนี้สินกับสินทรัพย์ของครัวเรือนแล้วจะเห็นได้ว่าหนี้สินของครัวเรือนทั้งหมดคิดเป็น16%สินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐที่มีหนี้สิน 30% โคลัมเบีย 18% และสาธารณรัฐเช็ค 27% ของหนี้ครัวเรือน
นอกจากนี้ สัดส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในระบบสถาบันการเงินสิ้นปี 2550 อยู่ที่ 4.1% ลดลง 4.8% จากในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ 7.3% ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจ
นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงรายงานหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุดว่า ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว และสามารถสรุปได้ว่า แม้หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่สถานการณ์หนี้สิ้นของครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และเชื่อว่าจะไม่นำไปสู่ปัญหาในวงกว้าง เนื่องจากหนี้สินส่วนใหญ่ของครัวเรือนเป็นหนี้สินเพื่อการซื้อสังหาริมทรัพย์และการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อการสะสมหนี้สินและก่อให้เกิดรายได้ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนก็ไม่ได้แย่ลงนัก นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบหนี้สินทรัพย์ในครัวเรือนแล้วจะพบว่าสัดส่วนของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของปัญหาหนี้สินนั้นยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ครัวเรือนบางกลุ่ม เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อยและพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก อีกทั้งปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ยังมีความซับซ้อนมากว่าครัวเรือนทั่วไป
ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้ตรงเป้าและได้ผลดี ควรมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีหนี้มากเป็นอันดับแรกๆ โดยแนะนำให้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย ควบคู่กับส่งเสริมการออม การให้การศึกษาและความรู้ทางการเงิน และการเปิดช่องทางการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรมีศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรด้วย
สำหรับสถิติหนี้ครัวเรือนไทยจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ในภาพรวมหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 68,405 บาท ต่อครัวเรือนในปี 2543 เป็น 104,571 บาทต่อครัวเรือนในปี 2547 และ 116,681 บาทต่อครัวเรือนในปี 2550 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนไปอัตราดอกเบี้ยต่ำและการที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนชะลอลงมากในปี 2549-2550 และน้อยกว่าเงินเฟ้อในปี 2550
โดยหนี้เพื่อการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 33% และประมาณ 60%ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ พบว่าหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.6 เท่าในปี 2547 แต่หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องมาอยู่ระดับ 6.6 เท่าของปี 2549 และ 6.3 เท่าในปี 2550 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบหนี้สินกับสินทรัพย์ของครัวเรือนแล้วจะเห็นได้ว่าหนี้สินของครัวเรือนทั้งหมดคิดเป็น16%สินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐที่มีหนี้สิน 30% โคลัมเบีย 18% และสาธารณรัฐเช็ค 27% ของหนี้ครัวเรือน
นอกจากนี้ สัดส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในระบบสถาบันการเงินสิ้นปี 2550 อยู่ที่ 4.1% ลดลง 4.8% จากในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ 7.3% ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจ