น.ส.อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุด ว่า แม้ว่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์หนี้สิ้นของครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และไม่นำไปสู่ปัญหาในวงกว้าง เนื่องจากหนี้สินส่วนใหญ่ของครัวเรือน เป็นหนี้สินเพื่อการซื้อสังหาริมทรัพย์และการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อการสะสมหนี้สิน และก่อให้เกิดรายได้ ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนไม่ได้แย่ลงนัก
น.ส.อนรรฆ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบหนี้สินทรัพย์ในครัวเรือนจะพบว่า ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ แต่ความเสี่ยงของปัญหาหนี้สินยังคงกระจุกตัวอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ มีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อย และพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก อีกทั้งปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตร ยังมีความซับซ้อนมากว่าครัวเรือนทั่วไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้ตรงเป้าหมาย ควรมุ่งไปที่กลุ่มรายย่อยที่มีปัญหาหนี้สูงเป็นอันดับแรก ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย ส่งเสริมการออม การให้การศึกษาและความรู้ทางการเงิน และการเปิดช่องทางการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรมีศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรด้วย
น.ส.อนรรฆ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบหนี้สินทรัพย์ในครัวเรือนจะพบว่า ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ แต่ความเสี่ยงของปัญหาหนี้สินยังคงกระจุกตัวอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ มีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อย และพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก อีกทั้งปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตร ยังมีความซับซ้อนมากว่าครัวเรือนทั่วไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้ตรงเป้าหมาย ควรมุ่งไปที่กลุ่มรายย่อยที่มีปัญหาหนี้สูงเป็นอันดับแรก ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย ส่งเสริมการออม การให้การศึกษาและความรู้ทางการเงิน และการเปิดช่องทางการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรมีศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรด้วย