ผู้จัดการรายวัน - ถ้าหากไล่เรียงนับตัวรัฐมนตรีในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐมนตรีนามกระฉ่อนที่มีชื่อว่า “นายไชยา สะสมทรัพย์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดีกรีเจ้าพ่อนครปฐม คือสายล่อฟ้าตัวจริง เสียงจริง ที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหุ่นเชิดมากที่สุดคนหนึ่ง
หลังจากเข้ารับตำแหน่งเจ้ากระทรวงหมอใน “รัฐบาลหมัก” ผ่านมาได้ 2 เดือนเศษ นายไชยาต้องเจอกับทั้งเสียงก่นด่า เสียงไล่ชนิดที่ต้องบอกว่าสะบักสบอมไม่ใช่น้อย จนวันนี้อาจแพ้ภัยตัวเอง ด้วยสาเหตุจากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยาถือหุ้นเกิน 5% ซึ่งขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กระทั่งสุดท้ายอาจจำใจต้องลาออก ถูกนายสมัครปรับออกหรือถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ออกก็เป็นได้
ทบทวนซีแอล-ปลดนพ.ศิริวัฒน์ จุดกำเนิดขบวนการไล่ “ไชยา”
หากจะไล่เลี่ยงเหตุการณ์แล้ว นับตั้งแต่นายไชยา ก้าวเท้าเข้ากระทรวง แม้ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการและรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศนโยบายก็สร้างความปั่นป่วนแล้ว เนื่องเพราะนายไชยาเล่นออกมาประกาศว่า จะทบทวนมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร หรือ ซีแอล ยามะเร็ง 4 รายการ ซึ่งผลงานชิ้นโบว์แดงของ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องเร่งด่วนทันที
เมื่อนายไชยา นำเรื่องที่ยึดโยงอยู่กับความเป็นความตายของมนุษย์และทำท่าว่าจะเอียงข้างไปทางบรรษัทยาชาติ ก็นำมาซึ่งความไม่พอใจใของผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากการทำซีแอลส่งผลทำให้ยามีราคาถูกและประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้มากขึ้น ซึ่งจากนั้นไม่นานนักคือวันที่ 8 ก.พ.2551 บรรดาเครือข่ายผู้ป่วยทั่วทุกนาทาทิศก็ยกขบวนมาขอเข้าพบนายไชยาเพื่อฟังความจากปากว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ทว่า คำตอบที่ได้รับกลับจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เพราะวิวาทะที่ขาดความยั้งคิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับเครือข่ายผู้ป่วยว่า “ถ้าเป็นผมคงไปกินดอกไม้จันทน์แทน”
ความวัวยังไม่ทันหาย ปลายเดือนกุมภาพันธ์ นายไชยาก็ก่อเรื่องร้อนขึ้นมาเป็นคำรบที่สองด้วยการชงเรื่องให้คณะรัฐมนตรีมีมติโยกย้ายข้าราชการนอกฤดูกาล 3 ตำแหน่ง โดยเฉพาะกรณีโยกย้ายนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหตุผลเพื่อความเหมาะสม ก็ยิ่งกระพือให้สถานการณ์ให้บานปลายเข้าไปอีก เนื่องจากถูกเชื่อมโยงว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับแนวความคิดเรื่องการทบทวนการทำซีแอล เพราะนพ.ศิริวัฒน์เป็นข้าราชการระดับสูงเพียงคนเดียวที่เหลืออยู่และมีความเชี่ยวชาญในการทำซีแอล
การย้าย นพ.ศิริวัฒน์ จึงเสมือนหนึ่งว่า นายไชยาจะยกเลิกการทำซีแอลไปด้วย
ขณะที่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็มีข่าวเล็ดลอดออกมาอีกว่า นายไชยาเตรียมที่จะปลดนพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม(อภ.) และนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ออกจากตำแหน่ง ซึ่งก็เชื่อมโยงกับการทำซีแอลเช่นเดียวกัน เนื่องจากอภ.เป็นหน่วยงานที่ต้องสั่งและนำเข้ายา
การโยกย้ายนพ.ศิริวัฒน์และสถานการณ์ที่กำลังคุกรุ่น ทำให้เครือข่ายผู้ป่วยและกลุ่มแพทย์ชนบทได้เข้าถวายฎีกา จุดไต้ไล่ผีป่า และเดินหน้าล่ารายชื่อถอดถอนรัฐมนตรี เป็นครั้งแรกที่บริเวณหน้าหน้าเสาธงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมยื่นข้อกล่าวหา 4 ข้อ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้นายไชยาสะทกสะท้านแต่อย่างใด
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีกรณีที่นายไชยาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เช่น แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า โฆษณาไม่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ การสนับสนุนแนวคิดนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทว่า...ไชยา ก็ค่อยๆ ลดกระแสต่อต้านทั้งหลาย ด้วยการกลับลำแบบเรือแทบคว่ำ ทั้งประกาศให้ทำซีแอลต่อไป เตรียมออกกฎกระทรวงกำกับพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทำตัวเป็นข่าวน้อยลงโดยใช้วิธีการเดินสายต่างจังหวัดมากขึ้น
จนมาถึงวันที่ก่อนจะมีกรณีซุกหุ้นภรรยา นายไชยายังให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อการทำงานรู้ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ก็ไปในแนวทางนั้น ตนเริ่มแก้ปัญหาในเชิงรุกได้ ก็พยายามทำมาโดยตลอด ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่เข้ารับตำแหน่งการทำงานก็ดีขึ้นเป็นลำดับมา ปัญหาต่างๆ ที่โรงพยาบาลเล็ก ไม่กล้าผ่าตัด ขาดบุคลากร ก็ค่อยๆ ลดน้อยลง
“ใครที่บอกว่าผมเป็นสายล่อฟ้า ก็เริ่มจากซีแอล วันนี้ก็จบลงแล้ว เมื่อกระทรวงพาณิชย์ให้ดูอย่างรอบคอบ เพราะหมอมงคล (นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว. สธ.) เป็นรัฐมนตรีมาปีกว่าไม่ทำ มาเซ็นตอนที่จะหมดวาระ ตนก็ต้องทำให้ถูกต้องรอบคอบ วันนี้จึงไม่มีอะไรหนักใจ มีปัญหาก็ต้องแก้ไข”
ฟันธงสอบตกสถานเดียว ชี้ไชยา ชนวนเหตุ สธ.ถอยหลังเข้าคลอง
แน่นอนว่า วันนี้ประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ให้นายไชยา “สอบตก” จากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอย่างไม่ต้องสงสัย
นพ.เกรียงศักดิ์ ให้เหตุผลว่า นับตั้งแต่นายไชยาเข้ามาบริหารงานในกระทรวง ก็มีนโยบายที่สวนทางกับทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข แม้สุดท้ายจะกลับลำ ก็ทำให้สังคมแวดวงชาวสาธารณสุขหวั่นไหว พัฒนาการงานใน สธ.แทนที่จะเดินหน้า ก้าวหน้ากลับแย่ลง รัฐมนตรีไม่คำนึงถึงจุดยืนของ สธ.ว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อกระทรวงแล้ว โดยเฉพาะความไม่แน่นอนที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระทรวง และการที่เราได้ยาละลายลิ่มเลือดหัวใจและหลอดเลือด โคลพิโดเกรล ช้าลง ส่งผลให้คนไข้ไม่รู้อีกกี่รายที่เข้าถึงยาช้า ถึงขั้นพิการและเสียชีวิต
ส่วนประเด็นที่ 2 คือ การบริหารงานของรัฐมนตรีทำให้เกิดความโกลาหลอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม ข้าราชการที่ทำงานด้วยความตั้งอกตั้งใจต่างก็ระส่ำระสายหวั่นไหวเกรงจะถ้าทำอะไรไม่ถูกใจก็จะถูกโยกย้าย ขณะเดียวกันผู้ที่คอยประจบแระแจงก็จะได้ดีไปตามๆ กัน เรื่องนี้ทำลายขวัญและกำลังใจของคนในแวดวงสาธารณสุขอย่างมาก
“นอกจาก 2 เดือนที่ผ่านมาจะไม่มีนโยบายไม่มีผลงาน ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้กระทรวงทำงานยากลำบาก ถอยหลังเข้าคลองมากขึ้น แต่ละเรื่องที่เสนอมาก็ไม่เหมาะสมเลย เป็นเรื่องเล็กๆ หยุมหยิมที่รัฐมนตรี ควรจะมองนโยบายในภายกว้างกว่านี้ ไม่ใช่ไปขอลดเบี้ยประชุม สปสช. ซึ่งสุดท้ายก็พูดไปโดยที่ไม่ศึกษากฎระเบียบให้ดีเสียก่อน หรืออย่างกรณีงบประมาณ 480 ล้าน ซึ่งเป็นงบบริหารของรัฐมนตรี ก็พยายามสร้างเรื่องว่า มีการใช้งบประมาณไม่สมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้เพียงแค่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในหมู่คนที่ทำงานท่านั้น”
นพ.เกรียงศักดิ์ ตบท้ายด้วยว่า ตนยังไม่เห็นข้อดี นึกไม่ออกว่ารัฐมนตรี ทำอะไรดีๆ บ้าง นอกจากการใช้เงินแก้ปัญหาสร้างกองทุนผู้เสียหายทางการแพทย์ แต่ก็ไร้ซึ่งความยั่งยืน เพราะมันคนละเรื่องกัน การตั้งกองทุนในลักษณะนี้เติมเงินเข้ามาเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะสุดท้ายไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ส่วนที่มีการแถลงข่าวว่ามีผลงานมากมายหลายข้อนั้น ตนก็ไม่เห็นว่า มีข้อไหนที่รัฐมนตรีไชยาเป็นผู้ริเริ่มจริงๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่กระทรวงดำเนินการอยู่แล้ว หรือไม่ก็ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา รัฐมนตรีจึงเป็นเพียงตัวป่วนในกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมช.สธ.แม้จะไม่โดดเด่น แต่ก็ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับกระทรวง จึงเป็นรัฐมนตรีที่อยู่ในระดับกลางๆ
ซุกหุ้นเมียกับคำถามเรื่องจริยธรรม
สำหรับเรื่องล่าสุดที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.กับกรณีของ ป.ป.ช.ที่มีมติว่านายไชยามีความผิดตามรัฐธรรมนูญกรณีที่นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยาถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และมีมติเอกฉันท์ให้ส่งข้อเท็จจริงไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อรับทราบและพิจารณาส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
ในครั้งแรกที่ทราบว่า นายไชยาถึงกับน้ำตาคลอเบ้าและให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงอ่อนๆ โดยยืนยันว่า ตนเองไม่ผิดและมีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง จากนั้นก็ได้เก็บตัวเงียบที่ห้องทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่ในช่วงเย็นจะออกมาให้สัมภาษณ์ด้วยน้ำเสียงที่แข็งกร้าว โดยยืนยันว่าจะไม่ลาออกเพราะไม่ได้ทำความผิดอะไร
ตรงนี้หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่นายไชยามีท่าทีที่แข็งกร้าวเนื่องจากทีมที่ปรึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นายไชยามั่นใจว่าจะสามารถหลุดพ้นจากความผิดได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อนก็เกิดขึ้นอีกคำรบในวันถัดมาคือวันที่ 9 เม.ย. เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า นายไชยาได้แจ้งให้ทราบว่าจะลาออกและจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการมาอีกครั้ง จากนั้นก็มีกระแสข่าวตามมามากมาย เช่น จะมีการหยิบยื่นเก้าอี้ รมว.สธ.ให้กับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พี่ชายมารับตำแหน่งแทน แต่เมื่อได้มีการสอบถามไปที่เลขานุการของนายไชยารวมทั้งทีมงานที่กระทรวงสาธารณสุขกลับไม่มีใครทราบเรื่องที่นายไชยาจะลาออก พร้อมยืนยันด้วยเสียงอันดังว่า นายไชยาจะไม่ลาออกโดยเด็ดขาด ขณะที่นายไชยาเองก็เก็บตัวเงียบเชียบและยกเลิกภารกิจที่จะต้องกระทำให้ฐานะ รมว.สธ.ทั้งหมด ก่อนที่นายสมัครจะออกมาให้สัมภาษณ์อีกครั้งในช่วงเย็นของวันเดียวกันว่า เข้าใจผิดเรื่องนายไชยาจะลาออก
1 คืนที่บ้านพัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ทำให้นายไชยาตั้งสติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นรุ่งเช้าของวันที่ 10 เม.ย.นายไชยาก็ได้เปิดบ้านพักให้คนนครปฐมให้กำลังใจพร้อมทั้งประกาศด้วยน้ำเสียงที่ดังและฟังชัดว่า จะไม่ลาออกโดยเด็ดขาดจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินออกมา
แม้นายไชยา จะออกมายืนยันว่า ไม่ได้มีความขัดแย้งกับนายสมัคร แต่คำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างนี้ก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นายสมัครจะฟังผิด เกิดอะไรขึ้นกับคนสองคนนี้ หรือมีอะไรอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ ซึ่งแน่นอน หลายคนไม่เชื่อว่า นายสมัครจะฟังผิด หากแต่จะต้องมีเงื่อนปมอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านการคอรัปชั่น กล่าวให้ความเห็นว่า เรื่องของนายไชยาจะเป็นเครื่องพิสูจน์น้ำยาของนายสมัครว่าจะมีหรือไม่ และคิดว่าเรื่องนี้จะไปจบลงที่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
“แม้นายไชยาจะอ้างเรื่องความไม่ชัดเจนของกฎหมายลูกก็ไม่เป็นผล เพราะมาตรา 269 ระบุไว้ชัดเจน และรัฐธรรมนูญก็ใหญ่กว่ากฎหมายลูก ผมคิดว่า เขาคงพยายามยื้อไปเรื่อยๆ อยู่แค่เดือนสองเดือนจะออกไปง่ายๆ ได้อย่างไร”นายวีระ กล่าว
คำถามสุดท้ายที่หลายคนอยากรู้ก็คือ อนาคตทางการเมืองนายไชยา จะเป็นอย่างไร จะลาออกหรือจะเอาตัวรอดไปได้โดยเฉพาะกับประเด็นในเรื่องของจริยธรรม แต่ที่แน่ๆ คือเวลา 2 เดือนเศษบนเก้าอี้รัฐมนตรีสาธารณสุขนั้น ไม่เหมาะสมกับนายไชยาด้วยประการทั้งปวงจนสามารถกล่าวได้ว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เวทีของ “นายไชยา” อีกต่อไป
หลังจากเข้ารับตำแหน่งเจ้ากระทรวงหมอใน “รัฐบาลหมัก” ผ่านมาได้ 2 เดือนเศษ นายไชยาต้องเจอกับทั้งเสียงก่นด่า เสียงไล่ชนิดที่ต้องบอกว่าสะบักสบอมไม่ใช่น้อย จนวันนี้อาจแพ้ภัยตัวเอง ด้วยสาเหตุจากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยาถือหุ้นเกิน 5% ซึ่งขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กระทั่งสุดท้ายอาจจำใจต้องลาออก ถูกนายสมัครปรับออกหรือถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ออกก็เป็นได้
ทบทวนซีแอล-ปลดนพ.ศิริวัฒน์ จุดกำเนิดขบวนการไล่ “ไชยา”
หากจะไล่เลี่ยงเหตุการณ์แล้ว นับตั้งแต่นายไชยา ก้าวเท้าเข้ากระทรวง แม้ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการและรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศนโยบายก็สร้างความปั่นป่วนแล้ว เนื่องเพราะนายไชยาเล่นออกมาประกาศว่า จะทบทวนมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร หรือ ซีแอล ยามะเร็ง 4 รายการ ซึ่งผลงานชิ้นโบว์แดงของ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องเร่งด่วนทันที
เมื่อนายไชยา นำเรื่องที่ยึดโยงอยู่กับความเป็นความตายของมนุษย์และทำท่าว่าจะเอียงข้างไปทางบรรษัทยาชาติ ก็นำมาซึ่งความไม่พอใจใของผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากการทำซีแอลส่งผลทำให้ยามีราคาถูกและประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้มากขึ้น ซึ่งจากนั้นไม่นานนักคือวันที่ 8 ก.พ.2551 บรรดาเครือข่ายผู้ป่วยทั่วทุกนาทาทิศก็ยกขบวนมาขอเข้าพบนายไชยาเพื่อฟังความจากปากว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ทว่า คำตอบที่ได้รับกลับจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เพราะวิวาทะที่ขาดความยั้งคิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับเครือข่ายผู้ป่วยว่า “ถ้าเป็นผมคงไปกินดอกไม้จันทน์แทน”
ความวัวยังไม่ทันหาย ปลายเดือนกุมภาพันธ์ นายไชยาก็ก่อเรื่องร้อนขึ้นมาเป็นคำรบที่สองด้วยการชงเรื่องให้คณะรัฐมนตรีมีมติโยกย้ายข้าราชการนอกฤดูกาล 3 ตำแหน่ง โดยเฉพาะกรณีโยกย้ายนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหตุผลเพื่อความเหมาะสม ก็ยิ่งกระพือให้สถานการณ์ให้บานปลายเข้าไปอีก เนื่องจากถูกเชื่อมโยงว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับแนวความคิดเรื่องการทบทวนการทำซีแอล เพราะนพ.ศิริวัฒน์เป็นข้าราชการระดับสูงเพียงคนเดียวที่เหลืออยู่และมีความเชี่ยวชาญในการทำซีแอล
การย้าย นพ.ศิริวัฒน์ จึงเสมือนหนึ่งว่า นายไชยาจะยกเลิกการทำซีแอลไปด้วย
ขณะที่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็มีข่าวเล็ดลอดออกมาอีกว่า นายไชยาเตรียมที่จะปลดนพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม(อภ.) และนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ออกจากตำแหน่ง ซึ่งก็เชื่อมโยงกับการทำซีแอลเช่นเดียวกัน เนื่องจากอภ.เป็นหน่วยงานที่ต้องสั่งและนำเข้ายา
การโยกย้ายนพ.ศิริวัฒน์และสถานการณ์ที่กำลังคุกรุ่น ทำให้เครือข่ายผู้ป่วยและกลุ่มแพทย์ชนบทได้เข้าถวายฎีกา จุดไต้ไล่ผีป่า และเดินหน้าล่ารายชื่อถอดถอนรัฐมนตรี เป็นครั้งแรกที่บริเวณหน้าหน้าเสาธงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมยื่นข้อกล่าวหา 4 ข้อ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้นายไชยาสะทกสะท้านแต่อย่างใด
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีกรณีที่นายไชยาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เช่น แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า โฆษณาไม่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ การสนับสนุนแนวคิดนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทว่า...ไชยา ก็ค่อยๆ ลดกระแสต่อต้านทั้งหลาย ด้วยการกลับลำแบบเรือแทบคว่ำ ทั้งประกาศให้ทำซีแอลต่อไป เตรียมออกกฎกระทรวงกำกับพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทำตัวเป็นข่าวน้อยลงโดยใช้วิธีการเดินสายต่างจังหวัดมากขึ้น
จนมาถึงวันที่ก่อนจะมีกรณีซุกหุ้นภรรยา นายไชยายังให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อการทำงานรู้ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ก็ไปในแนวทางนั้น ตนเริ่มแก้ปัญหาในเชิงรุกได้ ก็พยายามทำมาโดยตลอด ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่เข้ารับตำแหน่งการทำงานก็ดีขึ้นเป็นลำดับมา ปัญหาต่างๆ ที่โรงพยาบาลเล็ก ไม่กล้าผ่าตัด ขาดบุคลากร ก็ค่อยๆ ลดน้อยลง
“ใครที่บอกว่าผมเป็นสายล่อฟ้า ก็เริ่มจากซีแอล วันนี้ก็จบลงแล้ว เมื่อกระทรวงพาณิชย์ให้ดูอย่างรอบคอบ เพราะหมอมงคล (นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว. สธ.) เป็นรัฐมนตรีมาปีกว่าไม่ทำ มาเซ็นตอนที่จะหมดวาระ ตนก็ต้องทำให้ถูกต้องรอบคอบ วันนี้จึงไม่มีอะไรหนักใจ มีปัญหาก็ต้องแก้ไข”
ฟันธงสอบตกสถานเดียว ชี้ไชยา ชนวนเหตุ สธ.ถอยหลังเข้าคลอง
แน่นอนว่า วันนี้ประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ให้นายไชยา “สอบตก” จากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอย่างไม่ต้องสงสัย
นพ.เกรียงศักดิ์ ให้เหตุผลว่า นับตั้งแต่นายไชยาเข้ามาบริหารงานในกระทรวง ก็มีนโยบายที่สวนทางกับทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข แม้สุดท้ายจะกลับลำ ก็ทำให้สังคมแวดวงชาวสาธารณสุขหวั่นไหว พัฒนาการงานใน สธ.แทนที่จะเดินหน้า ก้าวหน้ากลับแย่ลง รัฐมนตรีไม่คำนึงถึงจุดยืนของ สธ.ว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อกระทรวงแล้ว โดยเฉพาะความไม่แน่นอนที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกระทรวง และการที่เราได้ยาละลายลิ่มเลือดหัวใจและหลอดเลือด โคลพิโดเกรล ช้าลง ส่งผลให้คนไข้ไม่รู้อีกกี่รายที่เข้าถึงยาช้า ถึงขั้นพิการและเสียชีวิต
ส่วนประเด็นที่ 2 คือ การบริหารงานของรัฐมนตรีทำให้เกิดความโกลาหลอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม ข้าราชการที่ทำงานด้วยความตั้งอกตั้งใจต่างก็ระส่ำระสายหวั่นไหวเกรงจะถ้าทำอะไรไม่ถูกใจก็จะถูกโยกย้าย ขณะเดียวกันผู้ที่คอยประจบแระแจงก็จะได้ดีไปตามๆ กัน เรื่องนี้ทำลายขวัญและกำลังใจของคนในแวดวงสาธารณสุขอย่างมาก
“นอกจาก 2 เดือนที่ผ่านมาจะไม่มีนโยบายไม่มีผลงาน ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้กระทรวงทำงานยากลำบาก ถอยหลังเข้าคลองมากขึ้น แต่ละเรื่องที่เสนอมาก็ไม่เหมาะสมเลย เป็นเรื่องเล็กๆ หยุมหยิมที่รัฐมนตรี ควรจะมองนโยบายในภายกว้างกว่านี้ ไม่ใช่ไปขอลดเบี้ยประชุม สปสช. ซึ่งสุดท้ายก็พูดไปโดยที่ไม่ศึกษากฎระเบียบให้ดีเสียก่อน หรืออย่างกรณีงบประมาณ 480 ล้าน ซึ่งเป็นงบบริหารของรัฐมนตรี ก็พยายามสร้างเรื่องว่า มีการใช้งบประมาณไม่สมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้เพียงแค่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในหมู่คนที่ทำงานท่านั้น”
นพ.เกรียงศักดิ์ ตบท้ายด้วยว่า ตนยังไม่เห็นข้อดี นึกไม่ออกว่ารัฐมนตรี ทำอะไรดีๆ บ้าง นอกจากการใช้เงินแก้ปัญหาสร้างกองทุนผู้เสียหายทางการแพทย์ แต่ก็ไร้ซึ่งความยั่งยืน เพราะมันคนละเรื่องกัน การตั้งกองทุนในลักษณะนี้เติมเงินเข้ามาเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะสุดท้ายไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ส่วนที่มีการแถลงข่าวว่ามีผลงานมากมายหลายข้อนั้น ตนก็ไม่เห็นว่า มีข้อไหนที่รัฐมนตรีไชยาเป็นผู้ริเริ่มจริงๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่กระทรวงดำเนินการอยู่แล้ว หรือไม่ก็ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา รัฐมนตรีจึงเป็นเพียงตัวป่วนในกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมช.สธ.แม้จะไม่โดดเด่น แต่ก็ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับกระทรวง จึงเป็นรัฐมนตรีที่อยู่ในระดับกลางๆ
ซุกหุ้นเมียกับคำถามเรื่องจริยธรรม
สำหรับเรื่องล่าสุดที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.กับกรณีของ ป.ป.ช.ที่มีมติว่านายไชยามีความผิดตามรัฐธรรมนูญกรณีที่นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยาถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และมีมติเอกฉันท์ให้ส่งข้อเท็จจริงไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อรับทราบและพิจารณาส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
ในครั้งแรกที่ทราบว่า นายไชยาถึงกับน้ำตาคลอเบ้าและให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงอ่อนๆ โดยยืนยันว่า ตนเองไม่ผิดและมีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง จากนั้นก็ได้เก็บตัวเงียบที่ห้องทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่ในช่วงเย็นจะออกมาให้สัมภาษณ์ด้วยน้ำเสียงที่แข็งกร้าว โดยยืนยันว่าจะไม่ลาออกเพราะไม่ได้ทำความผิดอะไร
ตรงนี้หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่นายไชยามีท่าทีที่แข็งกร้าวเนื่องจากทีมที่ปรึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้นายไชยามั่นใจว่าจะสามารถหลุดพ้นจากความผิดได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อนก็เกิดขึ้นอีกคำรบในวันถัดมาคือวันที่ 9 เม.ย. เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า นายไชยาได้แจ้งให้ทราบว่าจะลาออกและจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการมาอีกครั้ง จากนั้นก็มีกระแสข่าวตามมามากมาย เช่น จะมีการหยิบยื่นเก้าอี้ รมว.สธ.ให้กับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พี่ชายมารับตำแหน่งแทน แต่เมื่อได้มีการสอบถามไปที่เลขานุการของนายไชยารวมทั้งทีมงานที่กระทรวงสาธารณสุขกลับไม่มีใครทราบเรื่องที่นายไชยาจะลาออก พร้อมยืนยันด้วยเสียงอันดังว่า นายไชยาจะไม่ลาออกโดยเด็ดขาด ขณะที่นายไชยาเองก็เก็บตัวเงียบเชียบและยกเลิกภารกิจที่จะต้องกระทำให้ฐานะ รมว.สธ.ทั้งหมด ก่อนที่นายสมัครจะออกมาให้สัมภาษณ์อีกครั้งในช่วงเย็นของวันเดียวกันว่า เข้าใจผิดเรื่องนายไชยาจะลาออก
1 คืนที่บ้านพัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ทำให้นายไชยาตั้งสติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นรุ่งเช้าของวันที่ 10 เม.ย.นายไชยาก็ได้เปิดบ้านพักให้คนนครปฐมให้กำลังใจพร้อมทั้งประกาศด้วยน้ำเสียงที่ดังและฟังชัดว่า จะไม่ลาออกโดยเด็ดขาดจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินออกมา
แม้นายไชยา จะออกมายืนยันว่า ไม่ได้มีความขัดแย้งกับนายสมัคร แต่คำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างนี้ก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นายสมัครจะฟังผิด เกิดอะไรขึ้นกับคนสองคนนี้ หรือมีอะไรอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ ซึ่งแน่นอน หลายคนไม่เชื่อว่า นายสมัครจะฟังผิด หากแต่จะต้องมีเงื่อนปมอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านการคอรัปชั่น กล่าวให้ความเห็นว่า เรื่องของนายไชยาจะเป็นเครื่องพิสูจน์น้ำยาของนายสมัครว่าจะมีหรือไม่ และคิดว่าเรื่องนี้จะไปจบลงที่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
“แม้นายไชยาจะอ้างเรื่องความไม่ชัดเจนของกฎหมายลูกก็ไม่เป็นผล เพราะมาตรา 269 ระบุไว้ชัดเจน และรัฐธรรมนูญก็ใหญ่กว่ากฎหมายลูก ผมคิดว่า เขาคงพยายามยื้อไปเรื่อยๆ อยู่แค่เดือนสองเดือนจะออกไปง่ายๆ ได้อย่างไร”นายวีระ กล่าว
คำถามสุดท้ายที่หลายคนอยากรู้ก็คือ อนาคตทางการเมืองนายไชยา จะเป็นอย่างไร จะลาออกหรือจะเอาตัวรอดไปได้โดยเฉพาะกับประเด็นในเรื่องของจริยธรรม แต่ที่แน่ๆ คือเวลา 2 เดือนเศษบนเก้าอี้รัฐมนตรีสาธารณสุขนั้น ไม่เหมาะสมกับนายไชยาด้วยประการทั้งปวงจนสามารถกล่าวได้ว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เวทีของ “นายไชยา” อีกต่อไป