ปีใหม่ไทย ความสุข สดชื่น เย็นฉ่ำจากเทศกาลสงกรานต์ ผ่านไปแล้ว นับจากนี้ คนไทย เมืองไทยของเรา น่าจะต้องเผชิญกับความร้อนระอุแบบเต็มรูปแบบ นอกจากอากาศ ยังต้องรวมถึง บรรยากาศการเมือง และเศรษฐกิจ ที่จะเป็น 2 ปัจจัยร้อนๆ เข้ามามีผลต่อการใช้ชีวิต
ทิศทางการเมืองอย่างที่ทราบกัน ประเด็นของความหน้าด้านที่จะเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อพรรค พวกพ้องและคนในตระกูล “ชินวัตร” ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักตั้งแต่ก่อนสงกรานต์จะปะทุทวีความร้อนแรงจากฝ่ายคัดค้านมากเป็นลำดับ
เกมนี้ ทุกคนดูออก รัฐบาลนอมินีส่อเจตนาตั้งแต่ต้นว่า จะต้องเร่งกระทำการทุกอย่างเพื่อแก้ไข ม. 309 และ ม. 327 แต่มวลชนจำนวนไม่น้อยไม่มีทางยินยอมแน่
การต่อสู้ตามวิถีทางประชาธิปไตยน่าจะก้าวเข้าสู่ขั้นทำสงครามแตกหัก! ขณะที่การเมืองเดือด ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งร่อๆ แร่ๆ มาตั้งแต่ต้นปียิ่งน่าห่วง ปัญหาปากท้องของประชาชนที่เดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง น้ำมันแพง อยู่แล้วจะยิ่งสาหัสสากรรจ์ ซึมลึกกันไปอีกยาว
นั่นเพราะว่า เศรษฐกิจภาพรวมของทั้งปีนี้จะเลวร้ายกว่าที่คิด!
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ออกรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก(World Economic Outlook หรือ WEO) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 ระบุว่า สหรัฐฯ จะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยแน่ในปีนี้ นั่นหมายความว่า จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไอเอ็มเอฟ พยากรณ์ไว้ว่า มีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ำมากในรอบหลายๆ ปี หลังจากที่เคยขยายตัวในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา
ตัวเลขอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกของปีนี้ไม่น่าจะสูงกว่า 3.7% ซึ่งลดลงจากการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ (เดือนม.ค. 2551) ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4.1%
สาเหตุหลักๆ ยังคงอยู่ที่ผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ หรือ ซับไพรม์ ซึ่งไม่มีทีท่าจะผ่อนคลายลง
พิษของซับไพรม์ ในความเห็นของไอเอ็มเอฟ มองว่า ยังมีอาการทรงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะตัวปัญหายัง “ระเบิดตัวออกมาอย่างเต็มที่”
กองทุนที่ครั้งเกิดวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 คนไทยทุกคนจำชื่อได้แม่นนี้ยังมองว่า ประเทศตลาดเกิดใหม่ และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา หากไม่เตรียมการหามาตรการรับมือ ไม่น่าจะมีภูมิคุ้มกันอยู่รอด หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนัก ความรุนแรงของปัญหาซับไพรม์มากกว่านี้
ถามว่า ไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจโลก และอยู่ในข่ายที่ไอเอ็มเอฟเป็นห่วง จะพยุงตัวเองให้รอดพ้นมรสุมเศรษฐกิจปีนี้ไปได้ดีแค่ไหน
บรรดานักธุรกิจ นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ตอบมาว่า ยากถึงยากที่สุดจริงๆ แค่ที่เป็นอยู่ก็แย่พอแล้ว หากมากกว่านี้ก็ตัวใครตัวมัน ดูได้จากเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปีนี้ กระท่อนกระแท่นทุลักทุเลมากเหลือเกิน ยิ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งดูแลกำกับนโยบายการเงินของประเทศ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% (9 เม.ย. 2551) ทั้งๆ ที่หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศแล้วจะมีช่องห่างถ่างไปมากแล้วก็ตาม ยิ่งตอกย้ำความวุ่นวายของปัญหา
โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่มาจากน้ำมัน ราคาข้าวของเครื่องใช้ สินค้าอุปโภค-บริโภคขยับขึ้นไม่มีหยุดหย่อน คือ ความกดดันที่ ธปท.ไม่กล้าผ่อนคลายดอกเบี้ยลงต่ำลง
ธปท.ระบุว่า เงินเฟ้อที่คุกคามค่าครองชีพของประชาชนจนแทบจะหายใจกันไม่ออกนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เอกชนไม่มีความมั่นใจ การบริโภค การลงทุนก็ไม่เกิด
มิหนำซ้ำ ภายในปีนี้โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยจะเกินกว่า ธปท.คาดการณ์นั้นก็มีสูงมาก
แปลว่า เราประชาชนทุกระดับยังจะต้องเผชิญภัยค่าครองชีพแพงหู่ฉี่ไปเรื่อยๆ โดยมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
จำได้ว่า หมอเลี้ยบ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ท้าทายคนส่วนใหญ่ที่มองว่า เขาไม่เหมาะกับตำแหน่งขุนคลังที่จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ขอเวลา 3 เดือนพิสูจน์ฝีมือ
จำได้ว่า มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ พูดขึงขังในวันแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาฯ ว่า มีหนทางจะทำให้ภาวะค่าครองชีพประชาชนลดลงใน 3 เดือน
วันนี้ พวกท่านคงลืมไปแล้ว พูดอะไรไว้!
สองเดือนเศษๆ นับแต่วันที่พรรคพลังประชาชนที่กลายร่างมาจากพรรคไทยรักไทยเดิม นักการเมืองซีกรัฐบาลอย่างพวกท่านเข้ามาบริหารประเทศมัวเมามันแต่กับอำนาจ
รัฐบาลหุ่นเชิด ที่ทุกลมหายใจเข้าออกมีแต่ วาระล้างแค้น โยกย้ายข้าราชการ ดันทุรังเอาปัญหาส่วนตัวมามั่วกับการบริหารประเทศ มุ่งมั่นลุกลี้ลุกลนจะแก้รัฐธรรมนูญเฉพาะมาตราที่เอื้อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะบริหารบ้านเมืองเพื่อคน 63 ล้านคน
ท่านอาจจะบอกว่า หมอเลี้ยบเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าโครงการเอสเอ็มแอลให้ประชาชนระดับล่างได้มีเงินจับจ่ายใช้สอยแล้วไง
มิ่งขวัญ ก็ทำงานหนักถึงขั้นเป็นลมเป็นแล้งเพื่อหาทางลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนแล้วไง
ใช่...ท่านทำแต่ ใครๆ ก็ทราบ กระตุ้นเศรษฐกิจแบบอัดฉีดเงินเข้าระบบไม่ต่างอะไรกับการเอาขันน้ำใบเล็กๆ สาดใส่ประชาชน เย็นเฉพาะจุด เย็นชั่วเดี๋ยวประด๋าวเดี๋ยวก็หายไป
ภาษีของชนชั้นกลางที่จ่ายไปก็จะหายไปโดยเปล่าประโยชน์! ส่วนโครงการอะไรต่อมิอะไรของมิ่งขวัญ ไม่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งอะไร เพราะ เขาทำในสิ่งที่ถนัด คือจัดอีเว้นท์ทางการตลาดโปรโมตสินค้าให้ห้างสรรพสินค้าไปวันๆ เท่านั้นเอง
แย่ไปกว่านั้น มิ่งขวัญ ทำแต่ละเรื่อง อาทิ หมู ข้าว นโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาปั่นป่วนไปหมด เหมือนๆ ลิงแก้แห
มาตรการพวกนี้ หาใช่มาตรการที่รับมือกับ ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ปัญหาเงินเฟ้อ น้ำมันแพงของประชาชน
รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้จริงจังที่จะแก้ปัญหาปากท้องประชาชน มิ่งขวัญไม่กล้าแตะ ราคาน้ำมัน หมอเลี้ยบไม่มีแผนรับมือวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
ทุกๆ อย่างที่ทำอาศัยกลยุทธ์เดิมๆ เอาเงิน เอาการตลาดนำหน้าการเมือง สร้างภาพให้ประชานิยม เพียงเพื่อล่อหลอก อำพรางประชาชนที่ไม่รู้ให้ “เห็นผิด เป็นชอบ” สร้างเงื่อนไขหนุนต่อภาระกิจการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตนเองลุล่วงไปเท่านั้นเอง..
สังเกตหรือไม่ว่า... ทำไม โครงการเอสเอ็มแอลถึงเริ่มปูพรมหลังสงกรานต์?
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
ทิศทางการเมืองอย่างที่ทราบกัน ประเด็นของความหน้าด้านที่จะเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อพรรค พวกพ้องและคนในตระกูล “ชินวัตร” ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักตั้งแต่ก่อนสงกรานต์จะปะทุทวีความร้อนแรงจากฝ่ายคัดค้านมากเป็นลำดับ
เกมนี้ ทุกคนดูออก รัฐบาลนอมินีส่อเจตนาตั้งแต่ต้นว่า จะต้องเร่งกระทำการทุกอย่างเพื่อแก้ไข ม. 309 และ ม. 327 แต่มวลชนจำนวนไม่น้อยไม่มีทางยินยอมแน่
การต่อสู้ตามวิถีทางประชาธิปไตยน่าจะก้าวเข้าสู่ขั้นทำสงครามแตกหัก! ขณะที่การเมืองเดือด ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งร่อๆ แร่ๆ มาตั้งแต่ต้นปียิ่งน่าห่วง ปัญหาปากท้องของประชาชนที่เดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง น้ำมันแพง อยู่แล้วจะยิ่งสาหัสสากรรจ์ ซึมลึกกันไปอีกยาว
นั่นเพราะว่า เศรษฐกิจภาพรวมของทั้งปีนี้จะเลวร้ายกว่าที่คิด!
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ออกรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก(World Economic Outlook หรือ WEO) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 ระบุว่า สหรัฐฯ จะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยแน่ในปีนี้ นั่นหมายความว่า จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไอเอ็มเอฟ พยากรณ์ไว้ว่า มีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ำมากในรอบหลายๆ ปี หลังจากที่เคยขยายตัวในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา
ตัวเลขอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกของปีนี้ไม่น่าจะสูงกว่า 3.7% ซึ่งลดลงจากการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ (เดือนม.ค. 2551) ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4.1%
สาเหตุหลักๆ ยังคงอยู่ที่ผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ หรือ ซับไพรม์ ซึ่งไม่มีทีท่าจะผ่อนคลายลง
พิษของซับไพรม์ ในความเห็นของไอเอ็มเอฟ มองว่า ยังมีอาการทรงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะตัวปัญหายัง “ระเบิดตัวออกมาอย่างเต็มที่”
กองทุนที่ครั้งเกิดวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 คนไทยทุกคนจำชื่อได้แม่นนี้ยังมองว่า ประเทศตลาดเกิดใหม่ และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา หากไม่เตรียมการหามาตรการรับมือ ไม่น่าจะมีภูมิคุ้มกันอยู่รอด หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนัก ความรุนแรงของปัญหาซับไพรม์มากกว่านี้
ถามว่า ไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจโลก และอยู่ในข่ายที่ไอเอ็มเอฟเป็นห่วง จะพยุงตัวเองให้รอดพ้นมรสุมเศรษฐกิจปีนี้ไปได้ดีแค่ไหน
บรรดานักธุรกิจ นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ตอบมาว่า ยากถึงยากที่สุดจริงๆ แค่ที่เป็นอยู่ก็แย่พอแล้ว หากมากกว่านี้ก็ตัวใครตัวมัน ดูได้จากเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปีนี้ กระท่อนกระแท่นทุลักทุเลมากเหลือเกิน ยิ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งดูแลกำกับนโยบายการเงินของประเทศ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% (9 เม.ย. 2551) ทั้งๆ ที่หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศแล้วจะมีช่องห่างถ่างไปมากแล้วก็ตาม ยิ่งตอกย้ำความวุ่นวายของปัญหา
โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่มาจากน้ำมัน ราคาข้าวของเครื่องใช้ สินค้าอุปโภค-บริโภคขยับขึ้นไม่มีหยุดหย่อน คือ ความกดดันที่ ธปท.ไม่กล้าผ่อนคลายดอกเบี้ยลงต่ำลง
ธปท.ระบุว่า เงินเฟ้อที่คุกคามค่าครองชีพของประชาชนจนแทบจะหายใจกันไม่ออกนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เอกชนไม่มีความมั่นใจ การบริโภค การลงทุนก็ไม่เกิด
มิหนำซ้ำ ภายในปีนี้โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยจะเกินกว่า ธปท.คาดการณ์นั้นก็มีสูงมาก
แปลว่า เราประชาชนทุกระดับยังจะต้องเผชิญภัยค่าครองชีพแพงหู่ฉี่ไปเรื่อยๆ โดยมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
จำได้ว่า หมอเลี้ยบ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ท้าทายคนส่วนใหญ่ที่มองว่า เขาไม่เหมาะกับตำแหน่งขุนคลังที่จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ขอเวลา 3 เดือนพิสูจน์ฝีมือ
จำได้ว่า มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ พูดขึงขังในวันแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาฯ ว่า มีหนทางจะทำให้ภาวะค่าครองชีพประชาชนลดลงใน 3 เดือน
วันนี้ พวกท่านคงลืมไปแล้ว พูดอะไรไว้!
สองเดือนเศษๆ นับแต่วันที่พรรคพลังประชาชนที่กลายร่างมาจากพรรคไทยรักไทยเดิม นักการเมืองซีกรัฐบาลอย่างพวกท่านเข้ามาบริหารประเทศมัวเมามันแต่กับอำนาจ
รัฐบาลหุ่นเชิด ที่ทุกลมหายใจเข้าออกมีแต่ วาระล้างแค้น โยกย้ายข้าราชการ ดันทุรังเอาปัญหาส่วนตัวมามั่วกับการบริหารประเทศ มุ่งมั่นลุกลี้ลุกลนจะแก้รัฐธรรมนูญเฉพาะมาตราที่เอื้อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะบริหารบ้านเมืองเพื่อคน 63 ล้านคน
ท่านอาจจะบอกว่า หมอเลี้ยบเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าโครงการเอสเอ็มแอลให้ประชาชนระดับล่างได้มีเงินจับจ่ายใช้สอยแล้วไง
มิ่งขวัญ ก็ทำงานหนักถึงขั้นเป็นลมเป็นแล้งเพื่อหาทางลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนแล้วไง
ใช่...ท่านทำแต่ ใครๆ ก็ทราบ กระตุ้นเศรษฐกิจแบบอัดฉีดเงินเข้าระบบไม่ต่างอะไรกับการเอาขันน้ำใบเล็กๆ สาดใส่ประชาชน เย็นเฉพาะจุด เย็นชั่วเดี๋ยวประด๋าวเดี๋ยวก็หายไป
ภาษีของชนชั้นกลางที่จ่ายไปก็จะหายไปโดยเปล่าประโยชน์! ส่วนโครงการอะไรต่อมิอะไรของมิ่งขวัญ ไม่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งอะไร เพราะ เขาทำในสิ่งที่ถนัด คือจัดอีเว้นท์ทางการตลาดโปรโมตสินค้าให้ห้างสรรพสินค้าไปวันๆ เท่านั้นเอง
แย่ไปกว่านั้น มิ่งขวัญ ทำแต่ละเรื่อง อาทิ หมู ข้าว นโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาปั่นป่วนไปหมด เหมือนๆ ลิงแก้แห
มาตรการพวกนี้ หาใช่มาตรการที่รับมือกับ ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ปัญหาเงินเฟ้อ น้ำมันแพงของประชาชน
รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้จริงจังที่จะแก้ปัญหาปากท้องประชาชน มิ่งขวัญไม่กล้าแตะ ราคาน้ำมัน หมอเลี้ยบไม่มีแผนรับมือวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
ทุกๆ อย่างที่ทำอาศัยกลยุทธ์เดิมๆ เอาเงิน เอาการตลาดนำหน้าการเมือง สร้างภาพให้ประชานิยม เพียงเพื่อล่อหลอก อำพรางประชาชนที่ไม่รู้ให้ “เห็นผิด เป็นชอบ” สร้างเงื่อนไขหนุนต่อภาระกิจการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตนเองลุล่วงไปเท่านั้นเอง..
สังเกตหรือไม่ว่า... ทำไม โครงการเอสเอ็มแอลถึงเริ่มปูพรมหลังสงกรานต์?
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th