กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ออกรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุดเมื่อวานนี้(9) ฟันธงสหรัฐฯประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยแน่ในปีนี้ ขณะที่อัตราเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกก็มีโอกาส 25% ที่จะลดลงมาเหลือแค่ 3% หรือต่ำกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นระดับที่เห็นกันว่าคือการถดถอยนั่นเอง
รายงาน WEO ฉบับล่าสุดของไอเอ็มเอฟบอกว่า เศรษฐกิจโลกที่เคยขยายตัวในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา กำลังสูญเสียพลังไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเผชิญกับวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ที่มีต้นเหตุสืบเนื่องจากการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ โดยที่การทรุดตัวนี้ยังคงอยู่ในอาการ "ระเบิดตัวออกมาอย่างเต็มที่" อย่างต่อเนื่อง
WEO ฉบับล่าสุดให้ตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ไว้ที่ 3.7% ซึ่งเป็นการหั่นลดลงมาครั้งที่ 2 แล้วในรอบระยะเวลาเพียง 4 เดือนขององค์การโลกบาลแห่งนี้
โดยในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ไอเอ็มเอฟยังมองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2008 ควรที่จะเติบโตได้ในอัตรา 4.8% แต่แล้วก็มาลดลงเหลือ 4.1% เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ในความพยายามที่จะปรับให้ทันกับปัญหาด้านสินเชื่อสภาพคล่องของโลก ซึ่งกำลังแผ่ลามไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน
สำหรับในปีหน้า รายงาน WEO ล่าสุดมองว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะตีตื้นขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย โดยจะอยู่ในระดับ 3.8%
เมื่อแยกเป็นรายประเทศสำคัญและภูมิภาค รายงานฉบับนี้บอกว่า ในสหรัฐฯการเติบโตจะถอยลงจากระดับ 2.2% ซึ่งถือว่าไม่ค่อยดีนักแล้ว เมื่อปี 2007 มาเหลือแค่หนังหุ้มกระดูกที่อัตรา 0.5% ในปีนี้ และเขยิบขึ้นเป็น 0.6% ในปี 2009
เขตยูโรโซนนั้น ไอเอ็มเอฟตัดลดตัวเลขของปีนี้ลงมาเหลือ 1.4% จากที่ทำนายในเดือนมกราคมอยู่ที่ 1.6% และยิ่งห่างไกลไปอีกเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวที่ยูโรโซนทำไว้ในปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 2.6% .ในเดือนตุลาคมนั้น ไอเอ็มเอฟพยากรณ์ยูโรโซนปี 2008 ไว้ว่าจะขยายตัว 2.1%
ส่วนในปี 2009 รายงาน WEO ล่าสุดคาดหมายว่า ยูโรโซนจะเติบโตเพียง 1.2%
ทางด้านญี่ปุ่น ไอเอ็มเอฟมองว่าน่าจะโตได้ 1.4% ในปีนี้ และเป็น 1.5% ในปีหน้า
ไอเอ็มเอฟเตือนว่า ความตึงตัวของตลาดการเงินจะยังคงมีอยู่ต่อไป จนกว่าจะมีความกระจ่างขึ้นกว่านี้มากๆ ในเรื่องที่ว่าการขาดทุนจากพวกตราสารปรับโครงสร้างทั้งหลายนั้น มีขนาดขอบเขตแค่ไหน และมีการกระจายตัวอย่างไรบ้าง และจนกว่าพวกแบงก์และสถาบันการเงินจะสามารถสร้างฐานเงินทุนขึ้นมาใหม่ ตลอดจนทำให้งบดุลของพวกตนแข็งแกร่งยิ่งขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม รายงาน WEO บอกว่า ทางฝ่ายประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจกำลังพัฒนาทั้งหลายของโลก จนถึงเวลานี้ยังได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินน้อยกว่าพวกประเทศพัฒนาแล้ว และอัตราเติบโตของประเทศเหล่านี้ยังน่าจะอยู่สูงกว่าแนวโน้มทั่วไป โดยที่จะมีจีนกับอินเดียเป็นตัวนำ
แต่ไอเอ็มเอฟก็เตือนว่า มีสัญญาณหลายอย่างแสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางประเทศตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา กำลังเริ่มถอยลงมาพอประมาณ และประเทศเหล่านี้ก็ไม่น่าที่จะยังคงมีภูมิคุ้มกันรักษาไปตลอด โดยเฉพาะถ้าหากการทรุดตัวที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำนี้ เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บรรดาผู้วางนโยบายทั้งหลายจึงควรเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับภาวะเช่นนี้
ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟบอกด้วยว่า ในเฉพาะหน้านี้ ปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดสำหรับพวกผู้วางนโยบาย จะเป็นเรื่อง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในโลกกำลังพัฒนา อันเนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูง บวกกับแรงกดดันด้านเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจพุ่งไปไกลเกินศักยภาพ
รายงาน WEO ล่าสุด พยากรณ์ว่า จีนในปีนี้จะโตได้ 9.3% ลดจาก 11.4% ในปีที่แล้ว ส่วนอินเดียปีนี้อยู่ที่ 7.9% ถอยลงจาก 9.2% ในปีที่แล้ว สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้น่าจะทำได้ 5.8% ต่ำลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 6.3%
รายงาน WEO ฉบับล่าสุดของไอเอ็มเอฟบอกว่า เศรษฐกิจโลกที่เคยขยายตัวในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา กำลังสูญเสียพลังไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเผชิญกับวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ที่มีต้นเหตุสืบเนื่องจากการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ โดยที่การทรุดตัวนี้ยังคงอยู่ในอาการ "ระเบิดตัวออกมาอย่างเต็มที่" อย่างต่อเนื่อง
WEO ฉบับล่าสุดให้ตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ไว้ที่ 3.7% ซึ่งเป็นการหั่นลดลงมาครั้งที่ 2 แล้วในรอบระยะเวลาเพียง 4 เดือนขององค์การโลกบาลแห่งนี้
โดยในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ไอเอ็มเอฟยังมองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2008 ควรที่จะเติบโตได้ในอัตรา 4.8% แต่แล้วก็มาลดลงเหลือ 4.1% เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ในความพยายามที่จะปรับให้ทันกับปัญหาด้านสินเชื่อสภาพคล่องของโลก ซึ่งกำลังแผ่ลามไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน
สำหรับในปีหน้า รายงาน WEO ล่าสุดมองว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะตีตื้นขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย โดยจะอยู่ในระดับ 3.8%
เมื่อแยกเป็นรายประเทศสำคัญและภูมิภาค รายงานฉบับนี้บอกว่า ในสหรัฐฯการเติบโตจะถอยลงจากระดับ 2.2% ซึ่งถือว่าไม่ค่อยดีนักแล้ว เมื่อปี 2007 มาเหลือแค่หนังหุ้มกระดูกที่อัตรา 0.5% ในปีนี้ และเขยิบขึ้นเป็น 0.6% ในปี 2009
เขตยูโรโซนนั้น ไอเอ็มเอฟตัดลดตัวเลขของปีนี้ลงมาเหลือ 1.4% จากที่ทำนายในเดือนมกราคมอยู่ที่ 1.6% และยิ่งห่างไกลไปอีกเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวที่ยูโรโซนทำไว้ในปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 2.6% .ในเดือนตุลาคมนั้น ไอเอ็มเอฟพยากรณ์ยูโรโซนปี 2008 ไว้ว่าจะขยายตัว 2.1%
ส่วนในปี 2009 รายงาน WEO ล่าสุดคาดหมายว่า ยูโรโซนจะเติบโตเพียง 1.2%
ทางด้านญี่ปุ่น ไอเอ็มเอฟมองว่าน่าจะโตได้ 1.4% ในปีนี้ และเป็น 1.5% ในปีหน้า
ไอเอ็มเอฟเตือนว่า ความตึงตัวของตลาดการเงินจะยังคงมีอยู่ต่อไป จนกว่าจะมีความกระจ่างขึ้นกว่านี้มากๆ ในเรื่องที่ว่าการขาดทุนจากพวกตราสารปรับโครงสร้างทั้งหลายนั้น มีขนาดขอบเขตแค่ไหน และมีการกระจายตัวอย่างไรบ้าง และจนกว่าพวกแบงก์และสถาบันการเงินจะสามารถสร้างฐานเงินทุนขึ้นมาใหม่ ตลอดจนทำให้งบดุลของพวกตนแข็งแกร่งยิ่งขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม รายงาน WEO บอกว่า ทางฝ่ายประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจกำลังพัฒนาทั้งหลายของโลก จนถึงเวลานี้ยังได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินน้อยกว่าพวกประเทศพัฒนาแล้ว และอัตราเติบโตของประเทศเหล่านี้ยังน่าจะอยู่สูงกว่าแนวโน้มทั่วไป โดยที่จะมีจีนกับอินเดียเป็นตัวนำ
แต่ไอเอ็มเอฟก็เตือนว่า มีสัญญาณหลายอย่างแสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางประเทศตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา กำลังเริ่มถอยลงมาพอประมาณ และประเทศเหล่านี้ก็ไม่น่าที่จะยังคงมีภูมิคุ้มกันรักษาไปตลอด โดยเฉพาะถ้าหากการทรุดตัวที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำนี้ เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บรรดาผู้วางนโยบายทั้งหลายจึงควรเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับภาวะเช่นนี้
ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟบอกด้วยว่า ในเฉพาะหน้านี้ ปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดสำหรับพวกผู้วางนโยบาย จะเป็นเรื่อง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในโลกกำลังพัฒนา อันเนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูง บวกกับแรงกดดันด้านเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจพุ่งไปไกลเกินศักยภาพ
รายงาน WEO ล่าสุด พยากรณ์ว่า จีนในปีนี้จะโตได้ 9.3% ลดจาก 11.4% ในปีที่แล้ว ส่วนอินเดียปีนี้อยู่ที่ 7.9% ถอยลงจาก 9.2% ในปีที่แล้ว สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้น่าจะทำได้ 5.8% ต่ำลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 6.3%