“นวลพรรณ” ถอดใจธุรกิจนำเข้าแฟชั่นเสื้อผ้าแข่งขันสูง มาร์จิ้นต่ำ ตัดใจขายกิจการให้กับพารากรุ๊ป จากอินโดนีเซีย 100% พร้อมโฟกัสธุรกิจประกันภัยเต็มที่หลังดีลควบรวมเมืองไทยประกันภัยกับภัทรประกันภัยเรียบร้อย แต่ยังเก็บสมบัติส่วนตัวไว้ 2 แบรนด์ เฮอร์เมสกับวาเลนติโน ด้านบอสพารากรุ๊ปบอกธุรกิจอื่นจะขยายหรือไม่เป็นโอกาสในอนาคต
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วรรณมานี จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าแฟชั่นต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้บรรลุข้อตกลงในการขายกิจการ 100% ให้กับบริษัท พารากรุ๊ป จำกัด จากประเทศอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้เจรจากันมานานและได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของวรรณมานี ( Due Diligence) ซึ่งได้เสนอเงื่อนไขที่ยุติธรรม ทั้งด้านราคา นโยบาย และการคงสภาพของทีมพนักงานไทยทั้งหมด 70 กว่าคน และทางพารากรุ๊ป จะเปลี่ยนชื่อบริษัทวรรณมานีเป็นบริษัท ทรานส์ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนางนวลพรรณเป็นประธานกิตติมศักดิ์
ทั้งนี้วรรณมานีดำเนินกิจการมาประมาณ 7 ปี เป็นผู้แทนจำหน่ายในไทยรายเดียวให้กับ 5 แบรนด์คือ เอ็มโพริโอ อาร์มานี,จิออร์จิโอ อาร์มานี, เจพีท็อดส์, โคลเอ้ และ คานาลี ซึ่งทั้ง 5 แบรนด์นี้มีชอปรวมกันประมาณ 7 แห่ง เช่นที่ เอ็มโพเรียม สยามพารากอน เกษร มียอดขายรวมกันเมื่อปีที่แล้วประมาณ 400 กว่าล้านบาท
สาเหตุที่ขายกิจการนั้น นางนวลพรรณกล่าวว่า เนื่องจากตนเองเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ด้วย และขณะนี้อยู่ระหว่างการควบรวมกิจการกับทาง ภัทรประกันภัย ซึ่งตนจะต้องดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการด้วย ทำให้มีภาระหน้าที่ค่อนข้างมาก และเป็นงานที่สำคัญ กลัวว่าจะไม่สามารถบริหารงานวรรณมานีได้ จึงตัดสินใจขายกิจการไป
“ตอนนี้จะได้มาโฟกัสธุรกิจประกันภัยเต็มที่ เพราะยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ซึ่งปีที่แล้วเมืองไทยประกันภัยโตกว่า 30% และไตรมาสแรกปีนี้ก็เติบโตถึง 50% แล้ว ขณะที่ธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้านั้นการแข่งขันก็รุนแรงและมาร์จิ้นก็ยังต่ำด้วยแค่ 10% เท่านั้นเอง” นางนวลพรรณกล่าว
สำหรับเงินที่ได้จากการขายกิจการก็จะนำมาคืนให้กับผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยที่ตนเองถือหุ้น 30% และที่เหลืออีก 20-30 คน
ส่วนอีก 2 แบรนด์ยังคงเป็นของส่วนตัวดำเนินกิจการอยู่ไม่ได้ขายไปคือ บริษัท เซนต์ โอวอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ เฮอร์เมส ซึ่งมียอดขายดี เติบโตกว่า 10% อีกแบรนด์คือ วาเลนติโน ในนามบริษัท แองจี้ จำกัด ซึ่งเดิมเป็นตัวแทนจำหน่าย มียอดขายเดือนละ 5 ล้านกว่าบาท และเมื่อไม่นานนี้ได้เจรจากับทางเจ้าของต่างประเทศ โดยเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นผู้ร่วมทุนกันและเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท แฟชั่น ไทยแลนด์ จำกัด
นายไครูล ตันจุง ประธานกรรมการ บริษั พารากรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า นโยบายของบริษัทฯต้องการขยายธุรกิจสินค้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศในตลาดภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย โดยการหาพันธมิตรต่างประเทศ ไม่ยึดติดอยู่กับพอร์ทโฟลิโอของบริษัทฯเท่านั้น ซึ่งไทยเป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคแห่งนี้
แนวทางการดำเนินธุรกิจจากนี้ไปคงต้องรอการประเมินผลอีก 2 เดือนก่อนจึงจะสรุปชัดเจนได้ว่าจะมีการขยายธุรกิจอย่างไร รวมทั้งธุรกิจอื่นด้วยที่ไม่ใช่แฟชั่น เพราะการซื้อกิจการจากบริษัทวรรณมานีในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการขยายธุรกิจในไทย ส่วนจะร่วมมือกันในธุรกิจประกันภัยหรือไม่นั้น ถือเป็นโอกาสใหม่ๆในอนาคต
พารากรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นมา 20 ปีแล้ว มี 3 ธุรกิจคือ 1. Mega Corpora งานบริการด้านการเงินในอินโดนีเซีย ทั้งธนาคารBank Mega กว่า 180 สาขา ประกันชีวิตชื่อ เมกะไลฟ์ ประกันภัยชื่อ เมกะอินชัวแรนซ์ เป็นต้น 2.Trans Corpora ธุรกิจสื่อสารมวลชน ไลฟ์สไตล์ ดำเนินทางด้านสื่อทีวี และยังมี Trans Lifestyle เช่นบริษัททัวร์ บริหารไอศกรีมบาสกิ้นร้อบบิ้นส์ สินค้าแฟชั่น 11 แบรนด์ เช่น Prada, Miu Miu, Tods เป็นต้น 3.Trans Property เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เช่นศูนย์การค้า รีสอร์ท
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วรรณมานี จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าแฟชั่นต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้บรรลุข้อตกลงในการขายกิจการ 100% ให้กับบริษัท พารากรุ๊ป จำกัด จากประเทศอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้เจรจากันมานานและได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของวรรณมานี ( Due Diligence) ซึ่งได้เสนอเงื่อนไขที่ยุติธรรม ทั้งด้านราคา นโยบาย และการคงสภาพของทีมพนักงานไทยทั้งหมด 70 กว่าคน และทางพารากรุ๊ป จะเปลี่ยนชื่อบริษัทวรรณมานีเป็นบริษัท ทรานส์ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนางนวลพรรณเป็นประธานกิตติมศักดิ์
ทั้งนี้วรรณมานีดำเนินกิจการมาประมาณ 7 ปี เป็นผู้แทนจำหน่ายในไทยรายเดียวให้กับ 5 แบรนด์คือ เอ็มโพริโอ อาร์มานี,จิออร์จิโอ อาร์มานี, เจพีท็อดส์, โคลเอ้ และ คานาลี ซึ่งทั้ง 5 แบรนด์นี้มีชอปรวมกันประมาณ 7 แห่ง เช่นที่ เอ็มโพเรียม สยามพารากอน เกษร มียอดขายรวมกันเมื่อปีที่แล้วประมาณ 400 กว่าล้านบาท
สาเหตุที่ขายกิจการนั้น นางนวลพรรณกล่าวว่า เนื่องจากตนเองเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ด้วย และขณะนี้อยู่ระหว่างการควบรวมกิจการกับทาง ภัทรประกันภัย ซึ่งตนจะต้องดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการด้วย ทำให้มีภาระหน้าที่ค่อนข้างมาก และเป็นงานที่สำคัญ กลัวว่าจะไม่สามารถบริหารงานวรรณมานีได้ จึงตัดสินใจขายกิจการไป
“ตอนนี้จะได้มาโฟกัสธุรกิจประกันภัยเต็มที่ เพราะยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ซึ่งปีที่แล้วเมืองไทยประกันภัยโตกว่า 30% และไตรมาสแรกปีนี้ก็เติบโตถึง 50% แล้ว ขณะที่ธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้านั้นการแข่งขันก็รุนแรงและมาร์จิ้นก็ยังต่ำด้วยแค่ 10% เท่านั้นเอง” นางนวลพรรณกล่าว
สำหรับเงินที่ได้จากการขายกิจการก็จะนำมาคืนให้กับผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยที่ตนเองถือหุ้น 30% และที่เหลืออีก 20-30 คน
ส่วนอีก 2 แบรนด์ยังคงเป็นของส่วนตัวดำเนินกิจการอยู่ไม่ได้ขายไปคือ บริษัท เซนต์ โอวอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ เฮอร์เมส ซึ่งมียอดขายดี เติบโตกว่า 10% อีกแบรนด์คือ วาเลนติโน ในนามบริษัท แองจี้ จำกัด ซึ่งเดิมเป็นตัวแทนจำหน่าย มียอดขายเดือนละ 5 ล้านกว่าบาท และเมื่อไม่นานนี้ได้เจรจากับทางเจ้าของต่างประเทศ โดยเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นผู้ร่วมทุนกันและเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท แฟชั่น ไทยแลนด์ จำกัด
นายไครูล ตันจุง ประธานกรรมการ บริษั พารากรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า นโยบายของบริษัทฯต้องการขยายธุรกิจสินค้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศในตลาดภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย โดยการหาพันธมิตรต่างประเทศ ไม่ยึดติดอยู่กับพอร์ทโฟลิโอของบริษัทฯเท่านั้น ซึ่งไทยเป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคแห่งนี้
แนวทางการดำเนินธุรกิจจากนี้ไปคงต้องรอการประเมินผลอีก 2 เดือนก่อนจึงจะสรุปชัดเจนได้ว่าจะมีการขยายธุรกิจอย่างไร รวมทั้งธุรกิจอื่นด้วยที่ไม่ใช่แฟชั่น เพราะการซื้อกิจการจากบริษัทวรรณมานีในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการขยายธุรกิจในไทย ส่วนจะร่วมมือกันในธุรกิจประกันภัยหรือไม่นั้น ถือเป็นโอกาสใหม่ๆในอนาคต
พารากรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นมา 20 ปีแล้ว มี 3 ธุรกิจคือ 1. Mega Corpora งานบริการด้านการเงินในอินโดนีเซีย ทั้งธนาคารBank Mega กว่า 180 สาขา ประกันชีวิตชื่อ เมกะไลฟ์ ประกันภัยชื่อ เมกะอินชัวแรนซ์ เป็นต้น 2.Trans Corpora ธุรกิจสื่อสารมวลชน ไลฟ์สไตล์ ดำเนินทางด้านสื่อทีวี และยังมี Trans Lifestyle เช่นบริษัททัวร์ บริหารไอศกรีมบาสกิ้นร้อบบิ้นส์ สินค้าแฟชั่น 11 แบรนด์ เช่น Prada, Miu Miu, Tods เป็นต้น 3.Trans Property เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เช่นศูนย์การค้า รีสอร์ท