กทม.จัดงานวันสตรีสากลพร้อมมอบโล่รางวัลแก่ 8 สตรีดีเด่นของเมืองกรุง คนดังในแวดวงไฮโซ บันเทิง การศึกษา ร่วมด้วย พร้อมยก พระพี่นางฯ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สตรีไทย ขณะที่สตรีดีเด่นด้านการศึกษาขอโอกาสให้ผู้หญิงได้ทำงานในตำแหน่งสำคัญๆ มากขึ้น
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานในการมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม เพื่อเป็นการเชิดชูคุณค่าและบทบาทของสตรีไทย ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลใน 8 สาขาด้วยกันคือ
สตรีดีเด่นสาขาการแพทย์ - นางสาวกิตติพร เอี๊ยะสมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ 7 วช.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ผู้ริเริ่มโครงการพลังรักแด่ลมหายใจสุดท้าย ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เน้นให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ร่วมกันจนได้รับเลือกเป็น 1 ในตัวแทนโครงการทำดีเพื่อพ่อ จากสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 5 ธ.ค.2550
สตรีดีเด่นสาขาการสาธารณสุข - นางจินตนา อินจันทร์ ประธานผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 ซึ่งได้ออกหน่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในชุมชน ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเป็นแผลจนหายดีไม่มีอาการติดเชื้อ พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสาธารณสุขของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
สตรีดีเด่นสาขาสิ่งแวดล้อม -นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล ผู้ผลิตรายการทุ่งแสงตะวัน รายการสารคดีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความผูกพันของเด็กๆ กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ รัก ผูกพัน หวงแหนธรรมชาติ ผู้จะเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป
สตรีดีเด่นสาขาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม -นางภัทราวดี มีชูธน ครูสอนการแสดงและผู้อำนวยการภัทราวดีเธียเตอร์ อาจารย์พิเศษวิชาศิลปการแสดง ซึ่งเป็นผู้สืบสานและผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมไทยและสากลได้อย่างเหมาะสมจนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ และ นางสุชาดี มณีวงศ์ ผู้ผลิตรายการสารคดีกระจกหกด้านมากว่า 20 ปี โดยสะท้อนให้เห็นความเป็นไปของสังคมทั้งอย่างรอบด้านที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
สตรีดีเด่นสาขาการกีฬา -นางนวลพรรณ ล่ำซำ ได้ให้การสนับสนุนกีฬาสำหรับคนพิการมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมหญิงคนแรกของทีมนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย
สตรีดีเด่นสาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม - ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีผลงานด้านวิชาการและการวิจัยมากมาย โดยเฉพาะในสาขาวิชาสถิติศาสตร์ของไทยให้ก้าวหน้า จนได้รับเสนอชื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดีหญิงคนแรกของจุฬาฯ และตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในการด้านศึกษา
สตรีดีเด่นสาขาพิทักษ์และคุ้มครองสตรี -นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เป็นแกนนำในการผลักดันให้เกิดนโยบายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ในสังคมไทย ทั้งยังผลักดันให้กองทุนประกันสังคมจ่ายยาต้านไวรัสเอดส์ให้แก่ผู้ประกันตน
สตรีดีเด่นสาขาพัฒนาชุมชน - นางเกษริน อู่ศิริจันทร์ เลขานุการคณะทำงานประสานการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับชุมชนซอยราษฎร์ร่วมเจริญ ผู้ริเริ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนราษฎร์ร่วมเจริญ เพื่อศึกษาการพัฒนาเลี้ยงหนอนไหมในกทม.ให้ได้เส้นไหมที่ดีมีคุณภาพซึ่งได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบได้คุณภาพมาตรฐาน จนได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 5 ดาว ปี 2549
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการฉายวิดีทัศน์พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในกระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน รวมถึงทุกคนได้ร่วมกันถวายอาลัยเป็นเวลา 1 นาที ตลอดจนได้มีการจัดบอร์ดนิทรรศการผลงานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในฐานะสตรีที่ทรงงานเพื่อสังคมในทุกๆด้าน อันทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สตรีไทย รวมถึงการสาธิตและจำหน่ายผลิตภันฑ์จากลุ่มสตรีและโรงเรียนฝึกอาชีพ กทม.อีกด้วย
ศ.คุณหญิงสุชาดา สตรีดีเด่นสาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันในสถาบันการศึกษามักจะเห็นจำนวนนิสิต นักศึกษาหญิงมากกว่าชายแต่เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมากลับมีบทบาทน้อยกว่าผู้ชายซึ่งในเรื่องนี้สังคมต้องเปิดโอกาสให้กว้างมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงก็ยังเป็นหลักในการยึดเหนี่ยวครอบครัว และผู้หญิงไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น มีสถานะและบทบาทดีกว่าในหลายประเทศ ทั้งนี้ ขอให้กำลังใจทุกๆ คนด้วย
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานในการมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม เพื่อเป็นการเชิดชูคุณค่าและบทบาทของสตรีไทย ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลใน 8 สาขาด้วยกันคือ
สตรีดีเด่นสาขาการแพทย์ - นางสาวกิตติพร เอี๊ยะสมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ 7 วช.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ผู้ริเริ่มโครงการพลังรักแด่ลมหายใจสุดท้าย ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เน้นให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ร่วมกันจนได้รับเลือกเป็น 1 ในตัวแทนโครงการทำดีเพื่อพ่อ จากสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 5 ธ.ค.2550
สตรีดีเด่นสาขาการสาธารณสุข - นางจินตนา อินจันทร์ ประธานผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 ซึ่งได้ออกหน่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในชุมชน ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเป็นแผลจนหายดีไม่มีอาการติดเชื้อ พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสาธารณสุขของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
สตรีดีเด่นสาขาสิ่งแวดล้อม -นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล ผู้ผลิตรายการทุ่งแสงตะวัน รายการสารคดีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความผูกพันของเด็กๆ กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ รัก ผูกพัน หวงแหนธรรมชาติ ผู้จะเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป
สตรีดีเด่นสาขาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม -นางภัทราวดี มีชูธน ครูสอนการแสดงและผู้อำนวยการภัทราวดีเธียเตอร์ อาจารย์พิเศษวิชาศิลปการแสดง ซึ่งเป็นผู้สืบสานและผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมไทยและสากลได้อย่างเหมาะสมจนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ และ นางสุชาดี มณีวงศ์ ผู้ผลิตรายการสารคดีกระจกหกด้านมากว่า 20 ปี โดยสะท้อนให้เห็นความเป็นไปของสังคมทั้งอย่างรอบด้านที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
สตรีดีเด่นสาขาการกีฬา -นางนวลพรรณ ล่ำซำ ได้ให้การสนับสนุนกีฬาสำหรับคนพิการมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมหญิงคนแรกของทีมนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย
สตรีดีเด่นสาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม - ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีผลงานด้านวิชาการและการวิจัยมากมาย โดยเฉพาะในสาขาวิชาสถิติศาสตร์ของไทยให้ก้าวหน้า จนได้รับเสนอชื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดีหญิงคนแรกของจุฬาฯ และตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในการด้านศึกษา
สตรีดีเด่นสาขาพิทักษ์และคุ้มครองสตรี -นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เป็นแกนนำในการผลักดันให้เกิดนโยบายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ในสังคมไทย ทั้งยังผลักดันให้กองทุนประกันสังคมจ่ายยาต้านไวรัสเอดส์ให้แก่ผู้ประกันตน
สตรีดีเด่นสาขาพัฒนาชุมชน - นางเกษริน อู่ศิริจันทร์ เลขานุการคณะทำงานประสานการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับชุมชนซอยราษฎร์ร่วมเจริญ ผู้ริเริ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนราษฎร์ร่วมเจริญ เพื่อศึกษาการพัฒนาเลี้ยงหนอนไหมในกทม.ให้ได้เส้นไหมที่ดีมีคุณภาพซึ่งได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบได้คุณภาพมาตรฐาน จนได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 5 ดาว ปี 2549
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการฉายวิดีทัศน์พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในกระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน รวมถึงทุกคนได้ร่วมกันถวายอาลัยเป็นเวลา 1 นาที ตลอดจนได้มีการจัดบอร์ดนิทรรศการผลงานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในฐานะสตรีที่ทรงงานเพื่อสังคมในทุกๆด้าน อันทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สตรีไทย รวมถึงการสาธิตและจำหน่ายผลิตภันฑ์จากลุ่มสตรีและโรงเรียนฝึกอาชีพ กทม.อีกด้วย
ศ.คุณหญิงสุชาดา สตรีดีเด่นสาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันในสถาบันการศึกษามักจะเห็นจำนวนนิสิต นักศึกษาหญิงมากกว่าชายแต่เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมากลับมีบทบาทน้อยกว่าผู้ชายซึ่งในเรื่องนี้สังคมต้องเปิดโอกาสให้กว้างมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงก็ยังเป็นหลักในการยึดเหนี่ยวครอบครัว และผู้หญิงไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น มีสถานะและบทบาทดีกว่าในหลายประเทศ ทั้งนี้ ขอให้กำลังใจทุกๆ คนด้วย