ผู้จัดการรายวัน - กองทุนอาร์เอ็มเอฟยังป่วนไม่เลิก ล่าสุดพบช่องโหว่ หลังกฏหมายใหม่ไม่ครอบคลุมยอดซื้อหน่วยก่อนวันที่ 1 มีนาคม พบผู้ลงทุนสับสนว่าถือมา 5 ปีแล้วขายคือได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิภาษีตามการตีความเดิม หรือต้องถือครบ 55 ปีบริบูรณ์ตามกฏหมายใหม่ ด้านสมาคมบลจ. ไม่อยู่เฉย เตรียมรวมรวมจำนวนผู้ถือหน่วยที่คาบเกี่ยว รุดเจรจาสรรพากรเพื่อหาทางออก เผยแนวทางเบื้องต้น อาจขอกรมภาษี เปิดทางกองทุนจำนำ-จำนอง หรือนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ด้านผู้จัดการกองทุนแนะ อย่าเพิ่งขาย เหตุเจ้าหน้าที่ตีความได้ทั้งสองแง่
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีข้อกฏหมายสรุปชัดเจนออกมาแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) จะต้องถือหน่วยลงทุนไปจนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ก็ยังมีช่องว่างเกิดขึ้นอีกครั้ง สำหรับผู้ลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่กฏหมายมีผลบังคับใช้ ว่าจะต้องถือไปจนครบอายุ 55 ปี หรือถือแค่ 5 ปีแล้วสามารถขายคืนหน่วยลงทุนออกไปได้ เนื่องจากช่วงที่ซื้อหน่วยลงทุน อยู่ในช่วงเวลาก่อนที่กฏหมายมีผล ซึ่งในกรณีนี้ กฏหมายที่ได้แก้ไขไปดังกล่าว ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นข้อจำกัดที่ขึ้นอยู่กับการตีความว่า ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มีนาคมแต่ยังไม่ถึง 5 ปี แล้วมาครบ 5 ปี หลังจากช่วงที่กฏหมายมีผลบังคับใช้แล้ว จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยที่ได้สิทธิประโยชน์ภาษีที่ได้ใช้ไปแล้วด้วยหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังไม่มีการตีความในเรื่องนี้ แต่ในเบื้องต้นไม่อยากแนะนำให้ผู้ลงทุนขาย เพราะมันสามารถตีความได้ทั้งสองทาง คือ ขายได้กับขายไม่ได้ ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรถือไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะดีกว่า
"ตรงนี้ยังเป็นประเด็นปัญหาอยู่ ซึ่งในทางการตีความไม่ได้วินิจฉัยว่าตรงนี้จะได้รับสิทธิประโยชย์จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้วก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งในส่วนของนักลงทุนที่มีการลงทุนค่อมมาถึงวันที่กฏหมายมีผล แนะนำว่าอย่าเพิ่งขายออกมา เพราะเกิดการตีความจากเจ้าหน้าที่ได้เยอะมาก แม้กฏหมายจะไม่มีผลย้อนหลังก็จริง แต่มันก็คาบเกี่ยวกับกฏหมายใหม่ ทำให้ลำบากกับการตีความ"นายกำพลกล่าว
นายกำพลกล่าวว่า ประเด็นนี้ที่ผ่านมามีการคุยกับสรรพากรอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีการวินิจฉัยที่ชัดเจนออกมา ซึ่งหลังจากนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) คงจะเอาเรื่องนี้กลับไปคุยกับสรรพากรอีกครั้งว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนกฏหมายมีผลแล้วมาครบ 5 ปี หลังวันที่ 1 มีนาคม จะถือว่าขายหน่วยลงทุนได้อย่างถูกต้องหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม การขายดังกล่าวต้องเป็นการขายจากยอดที่ซื้อมาก่อนกฏหมายมีผลเท่านั้น เพราะถ้าซื้อหลังวันที่ 1 มีนาคมแล้วก็จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดให้ถือไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์
ส่วนแนวทางในการแก้ปํญหานั้น เนื่องจากหน่วยลงทุนของกองทุนอาร์เอ็มเอฟมีข้อกำหนดหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการห้ามนำไปจดจำนองทำให้ค่อนข้างยาก แต่เราเองก็อยากแก้ปัญหาตรงนี้ให้มีความชัดเจนขึ้นด้วยการหาช่องทางอื่น ซึ่งการนำไปจดจำนองเองก็มีสิทธิ์ทำได้ แต่ว่าถ้าถูกยึดในกรณีที่ไม่ชำระหนี้เมื่อไหร่ สิทธิประโยชน์ภาษีทั้งที่ได้ใช้ไปแล้วก็คืนย้อนหลังกลับไป เหมือนกันการเปลี่ยนโอนโดยให้ผู้ถือหน่วยสามารถเอาหลักทรัพย์มากู้ยืมเงินได้ ซึ่งแนวทางนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่เราจะเอาไปหารือกับทางสรรพากรต่อไป แต่ว่าคงต้องหารือในรายละเอียดค่อนข้างมาก เพราะเรื่องนี้ล้อไปกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่กำหนดห้ามมีการจำนองหรือจำนำ และค้ำประกันไม่ได้ เพราะต้องการให้ผู้ลงทุนไม่มีภาระหลังจากเกษียณแล้ว
สำหรับช่องทางอื่น อาจจะเปิดโอกาสให้นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ แทนที่ผู้ลงทุนจะต้องเสียสิทธิ์ย้อนหลังไป และสามารถยืดเวลาออกไปได้ เพราะการที่ผู้ลงทุนมีสินเชื่อฉุกเฉินเข้ามาใช้ได้ ก็อาจจะช่วยเหลือการลงทุนของเขาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงิน แต่ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุนด้วยว่าเป็นกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด แล้วจัดวงเงินที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ จำนวนผู้ลงทุนที่คาบเกี่ยวระหว่างกฏหมาเก่าและกฏหมายใหม่ ขณะนี้ยังไม่มีการรวมรวม ซึ่งหากรวบรวมออกมาแล้วพบว่าไม่เยอะมาก สรรพากรอาจจะเห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว การคัทออฟแบบนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากในส่วนนี้เป็นภาระของบริษัทจัดการกองทุนเองด้วยที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งหากเกิดกรณีผิดเงื่อนไขขึ้นมาเมื่อไหร่ บลจ.ทุกบลจ.จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายส่วนของกำไร เพื่อส่งให้สรรพากรพิจารณาต่อไปด้วย
นายกำพลกล่าวว่า สำหรับผู้ถือหน่วยอาร์เอ็มเอฟที่ต้องการจะขายคืหน่วยลงทุน ต้องแจ้งต่อกรรมสรรพากรด้วยว่า เป็นยอดซื้อในช่วงไหน เพราะยอดที่สามารถขายได้เป็นยอกที่ถือมาครบ 5 ปีแล้วเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนเองจะต้องเข้าใจด้วยว่า หลังจากนี้ไปกองทุนอาร์เอ็มเอฟ ที่ถืออยู่จะแยกออกเป็นยอดซื้อตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 มีนาคมและซื้อหลังวันที่ 1 มีนาคม
"เรื่องนี้สร้างความสับสนให้กับผู้ถือหน่วยพอสมควร ซึ่งในส่วนของบลจ.ไทยพาณิชย์เอง เราแยกโค๊ดออกจากกันโดยชัดเจนว่า ยอดการซื้อแต่ละครั้งอยู่ในช่วงไหน ก่อนกฏหมายมีผลหรือหลังกฏหมายมีผล เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าเป็นคนละยอดกัน และเวลาขายเองลูกค้าก็ต้องแจ้งด้วยว่าเป็นการขายจากยอดเดิมหรือยอดใหม่"นายกำพลกล่าว
สำหรับผู้ถือหน่วยอาร์เอ็มเอฟที่ถือหน่วยลงทุนมาเกิน 5 ปี แล้วถือต่อมาเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่กฏหมายเริ่มมีผล ยังสามารถใช้สิทธิขายได้คืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้ว เพราะก่อนหน้านี้มีการตีความออกมาชัดเจนแล้วว่าสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในกรณีที่ถือหน่วยลงทุนมาแล้ว 5 ปี แต่ต้องแสดงข้อมูลให้ชัดเจนด้วยว่าเป็นยอดที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม
ทั้งนี้ ความสับสนของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนอาร์เอ็มเอฟ เกิดขึ้นจากการตีความว่า ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนอาร์เอ็มเอฟมาครบ 5 ปีแล้ว สามารถขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวสร้างความสับสนพอสมควร จนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่... พ.ศ....การแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ)
โดยมีความชัดเจนออกมาว่า ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนอาร์เอ็มเอฟจนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และถือครองหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกจึงจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการขายคืนหน่วยลงทุน รวมถึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรจากการขายหน่วยลงทุนด้วย ส่วนกรณีที่ผู้ลงทุนมีอายุครบ 55 ปี แต่ถือครองหน่วยลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี ไม่ต้องคืนเงินค่าลดหย่อนทางภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้ว
ส่วนในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อได้ถือครองหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ผู้ลงทุนจะได้รับการยกเว้นเฉพาะกำไรที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว แต่ต้องคืนค่าลดหย่อนทางภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้ว สำหรับหน่วยลงทุนที่ได้ถือครองมาไม่ถึง 5 ปี
โดยข้อสรุปในครั้งนั้น ให้มีผลทางภาษีสำหรับหน่วยลงทุนที่จะได้มีการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป แต่สุดท้ายก็ต้องเลื่อนมามีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีข้อกฏหมายสรุปชัดเจนออกมาแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) จะต้องถือหน่วยลงทุนไปจนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ก็ยังมีช่องว่างเกิดขึ้นอีกครั้ง สำหรับผู้ลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่กฏหมายมีผลบังคับใช้ ว่าจะต้องถือไปจนครบอายุ 55 ปี หรือถือแค่ 5 ปีแล้วสามารถขายคืนหน่วยลงทุนออกไปได้ เนื่องจากช่วงที่ซื้อหน่วยลงทุน อยู่ในช่วงเวลาก่อนที่กฏหมายมีผล ซึ่งในกรณีนี้ กฏหมายที่ได้แก้ไขไปดังกล่าว ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นข้อจำกัดที่ขึ้นอยู่กับการตีความว่า ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มีนาคมแต่ยังไม่ถึง 5 ปี แล้วมาครบ 5 ปี หลังจากช่วงที่กฏหมายมีผลบังคับใช้แล้ว จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยที่ได้สิทธิประโยชน์ภาษีที่ได้ใช้ไปแล้วด้วยหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังไม่มีการตีความในเรื่องนี้ แต่ในเบื้องต้นไม่อยากแนะนำให้ผู้ลงทุนขาย เพราะมันสามารถตีความได้ทั้งสองทาง คือ ขายได้กับขายไม่ได้ ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรถือไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะดีกว่า
"ตรงนี้ยังเป็นประเด็นปัญหาอยู่ ซึ่งในทางการตีความไม่ได้วินิจฉัยว่าตรงนี้จะได้รับสิทธิประโยชย์จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้วก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งในส่วนของนักลงทุนที่มีการลงทุนค่อมมาถึงวันที่กฏหมายมีผล แนะนำว่าอย่าเพิ่งขายออกมา เพราะเกิดการตีความจากเจ้าหน้าที่ได้เยอะมาก แม้กฏหมายจะไม่มีผลย้อนหลังก็จริง แต่มันก็คาบเกี่ยวกับกฏหมายใหม่ ทำให้ลำบากกับการตีความ"นายกำพลกล่าว
นายกำพลกล่าวว่า ประเด็นนี้ที่ผ่านมามีการคุยกับสรรพากรอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีการวินิจฉัยที่ชัดเจนออกมา ซึ่งหลังจากนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) คงจะเอาเรื่องนี้กลับไปคุยกับสรรพากรอีกครั้งว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนก่อนกฏหมายมีผลแล้วมาครบ 5 ปี หลังวันที่ 1 มีนาคม จะถือว่าขายหน่วยลงทุนได้อย่างถูกต้องหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม การขายดังกล่าวต้องเป็นการขายจากยอดที่ซื้อมาก่อนกฏหมายมีผลเท่านั้น เพราะถ้าซื้อหลังวันที่ 1 มีนาคมแล้วก็จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดให้ถือไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์
ส่วนแนวทางในการแก้ปํญหานั้น เนื่องจากหน่วยลงทุนของกองทุนอาร์เอ็มเอฟมีข้อกำหนดหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการห้ามนำไปจดจำนองทำให้ค่อนข้างยาก แต่เราเองก็อยากแก้ปัญหาตรงนี้ให้มีความชัดเจนขึ้นด้วยการหาช่องทางอื่น ซึ่งการนำไปจดจำนองเองก็มีสิทธิ์ทำได้ แต่ว่าถ้าถูกยึดในกรณีที่ไม่ชำระหนี้เมื่อไหร่ สิทธิประโยชน์ภาษีทั้งที่ได้ใช้ไปแล้วก็คืนย้อนหลังกลับไป เหมือนกันการเปลี่ยนโอนโดยให้ผู้ถือหน่วยสามารถเอาหลักทรัพย์มากู้ยืมเงินได้ ซึ่งแนวทางนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่เราจะเอาไปหารือกับทางสรรพากรต่อไป แต่ว่าคงต้องหารือในรายละเอียดค่อนข้างมาก เพราะเรื่องนี้ล้อไปกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่กำหนดห้ามมีการจำนองหรือจำนำ และค้ำประกันไม่ได้ เพราะต้องการให้ผู้ลงทุนไม่มีภาระหลังจากเกษียณแล้ว
สำหรับช่องทางอื่น อาจจะเปิดโอกาสให้นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ แทนที่ผู้ลงทุนจะต้องเสียสิทธิ์ย้อนหลังไป และสามารถยืดเวลาออกไปได้ เพราะการที่ผู้ลงทุนมีสินเชื่อฉุกเฉินเข้ามาใช้ได้ ก็อาจจะช่วยเหลือการลงทุนของเขาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงิน แต่ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุนด้วยว่าเป็นกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด แล้วจัดวงเงินที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ จำนวนผู้ลงทุนที่คาบเกี่ยวระหว่างกฏหมาเก่าและกฏหมายใหม่ ขณะนี้ยังไม่มีการรวมรวม ซึ่งหากรวบรวมออกมาแล้วพบว่าไม่เยอะมาก สรรพากรอาจจะเห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว การคัทออฟแบบนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากในส่วนนี้เป็นภาระของบริษัทจัดการกองทุนเองด้วยที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งหากเกิดกรณีผิดเงื่อนไขขึ้นมาเมื่อไหร่ บลจ.ทุกบลจ.จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายส่วนของกำไร เพื่อส่งให้สรรพากรพิจารณาต่อไปด้วย
นายกำพลกล่าวว่า สำหรับผู้ถือหน่วยอาร์เอ็มเอฟที่ต้องการจะขายคืหน่วยลงทุน ต้องแจ้งต่อกรรมสรรพากรด้วยว่า เป็นยอดซื้อในช่วงไหน เพราะยอดที่สามารถขายได้เป็นยอกที่ถือมาครบ 5 ปีแล้วเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนเองจะต้องเข้าใจด้วยว่า หลังจากนี้ไปกองทุนอาร์เอ็มเอฟ ที่ถืออยู่จะแยกออกเป็นยอดซื้อตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 มีนาคมและซื้อหลังวันที่ 1 มีนาคม
"เรื่องนี้สร้างความสับสนให้กับผู้ถือหน่วยพอสมควร ซึ่งในส่วนของบลจ.ไทยพาณิชย์เอง เราแยกโค๊ดออกจากกันโดยชัดเจนว่า ยอดการซื้อแต่ละครั้งอยู่ในช่วงไหน ก่อนกฏหมายมีผลหรือหลังกฏหมายมีผล เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าเป็นคนละยอดกัน และเวลาขายเองลูกค้าก็ต้องแจ้งด้วยว่าเป็นการขายจากยอดเดิมหรือยอดใหม่"นายกำพลกล่าว
สำหรับผู้ถือหน่วยอาร์เอ็มเอฟที่ถือหน่วยลงทุนมาเกิน 5 ปี แล้วถือต่อมาเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่กฏหมายเริ่มมีผล ยังสามารถใช้สิทธิขายได้คืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้ว เพราะก่อนหน้านี้มีการตีความออกมาชัดเจนแล้วว่าสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในกรณีที่ถือหน่วยลงทุนมาแล้ว 5 ปี แต่ต้องแสดงข้อมูลให้ชัดเจนด้วยว่าเป็นยอดที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม
ทั้งนี้ ความสับสนของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนอาร์เอ็มเอฟ เกิดขึ้นจากการตีความว่า ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนอาร์เอ็มเอฟมาครบ 5 ปีแล้ว สามารถขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวสร้างความสับสนพอสมควร จนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่... พ.ศ....การแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ)
โดยมีความชัดเจนออกมาว่า ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนอาร์เอ็มเอฟจนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และถือครองหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกจึงจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการขายคืนหน่วยลงทุน รวมถึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรจากการขายหน่วยลงทุนด้วย ส่วนกรณีที่ผู้ลงทุนมีอายุครบ 55 ปี แต่ถือครองหน่วยลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี ไม่ต้องคืนเงินค่าลดหย่อนทางภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้ว
ส่วนในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อได้ถือครองหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ผู้ลงทุนจะได้รับการยกเว้นเฉพาะกำไรที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว แต่ต้องคืนค่าลดหย่อนทางภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้ว สำหรับหน่วยลงทุนที่ได้ถือครองมาไม่ถึง 5 ปี
โดยข้อสรุปในครั้งนั้น ให้มีผลทางภาษีสำหรับหน่วยลงทุนที่จะได้มีการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป แต่สุดท้ายก็ต้องเลื่อนมามีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา