สทท.ติงการตั้ง ก.ร.อ.ท่องเที่ยว จะเกิดการทำงานทับซ้อน เผยได้ชี้แจงต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯแล้ว แต่ก็ยังยืนยันเดินหน้าตามแนวคิดต่อไป
จากแนวคิดของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านการท่องเที่ยว หรือ ก.ร.อ. นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อนายวีระศักดิ์ ไปแล้วว่าเกรงจะทับซ้อนกับการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน และองค์กรต่างๆ แต่นายวีระศักดิ์ ให้เหตุผลว่า ก.ร.อ.จะทำงานแก้ไขปัญหาให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้คล่องตัวกล่าว ดังนั้นก็สุดแล้วแต่ว่า นายวีระศักดิ์ จะยังคงเดินหน้า ตั้ง ก.ร.อ.ด้านการท่องเที่ยวต่อไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้หากมองโดยโครงสร้างและอำนาจหน้าที่แล้ว การทำงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะมีกฏหมายรองรับ และมีอำนาจตามกฏหมายทุกประการ แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ คือ 1.อำนาจการบูรณาการแผนงานท่องเที่ยวทั้งหมด 2.อำนาจบูรณาการแผนงบประมาณ 3.อำนาจในการประกาศเขตพัฒนาท่องเที่ยวในเขตจังหวัดและเขตพื้นที่ นอกจากนั้น คณะกรรมการฯดังกล่าว ยังได้สิทธิ์ในการดูแลกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้นรัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนผ่านกองทุนดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ง
"การทำงานของ ก.ร.อ. กับคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติอาจไม่ทับซ้อนกันเสียทีเดียว แต่หาก คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำงานแก้ไขปัญหาท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะสายงานให้แก่ภาคเอกชน งานก็อาจทับซ้อนกันได้ ขณะเดียวกันมองว่า กฏหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว มีออกมาใหม่ 3-4 ฉบับ และ หากได้มีการนัดประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ได้ร่วมหารือกันในหลายๆเรื่อง ทุกฝ่ายก็น่าจะมองเห็นภาพการทำงานภายใต้กฏหมายใหม่มากขึ้น"
นายกงกฤช ยังกล่าวอีกว่า ใน สมัย พลเอกเปรม ตินสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เป็นยุคสมัยของการจัดตั้ง ก.ร.อ. เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ภาคเอกชน ต่อมาในรัฐบาลชุดหลัง ก็ได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว จนมาถึงสมัยรัฐบาลชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลงานด้านการท่องเที่ยว และ ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในสมัยนั้น มองเห็นว่า คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวดังกล่าว จะมีอยู่แบบไม่ถาวร จึงได้ทำการยกร่าง พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีการกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติขึ้นมาในปัจจุบัน
จากแนวคิดของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านการท่องเที่ยว หรือ ก.ร.อ. นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อนายวีระศักดิ์ ไปแล้วว่าเกรงจะทับซ้อนกับการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน และองค์กรต่างๆ แต่นายวีระศักดิ์ ให้เหตุผลว่า ก.ร.อ.จะทำงานแก้ไขปัญหาให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้คล่องตัวกล่าว ดังนั้นก็สุดแล้วแต่ว่า นายวีระศักดิ์ จะยังคงเดินหน้า ตั้ง ก.ร.อ.ด้านการท่องเที่ยวต่อไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้หากมองโดยโครงสร้างและอำนาจหน้าที่แล้ว การทำงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะมีกฏหมายรองรับ และมีอำนาจตามกฏหมายทุกประการ แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ คือ 1.อำนาจการบูรณาการแผนงานท่องเที่ยวทั้งหมด 2.อำนาจบูรณาการแผนงบประมาณ 3.อำนาจในการประกาศเขตพัฒนาท่องเที่ยวในเขตจังหวัดและเขตพื้นที่ นอกจากนั้น คณะกรรมการฯดังกล่าว ยังได้สิทธิ์ในการดูแลกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้นรัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนผ่านกองทุนดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ง
"การทำงานของ ก.ร.อ. กับคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติอาจไม่ทับซ้อนกันเสียทีเดียว แต่หาก คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำงานแก้ไขปัญหาท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะสายงานให้แก่ภาคเอกชน งานก็อาจทับซ้อนกันได้ ขณะเดียวกันมองว่า กฏหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว มีออกมาใหม่ 3-4 ฉบับ และ หากได้มีการนัดประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ได้ร่วมหารือกันในหลายๆเรื่อง ทุกฝ่ายก็น่าจะมองเห็นภาพการทำงานภายใต้กฏหมายใหม่มากขึ้น"
นายกงกฤช ยังกล่าวอีกว่า ใน สมัย พลเอกเปรม ตินสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เป็นยุคสมัยของการจัดตั้ง ก.ร.อ. เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ภาคเอกชน ต่อมาในรัฐบาลชุดหลัง ก็ได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว จนมาถึงสมัยรัฐบาลชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลงานด้านการท่องเที่ยว และ ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในสมัยนั้น มองเห็นว่า คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวดังกล่าว จะมีอยู่แบบไม่ถาวร จึงได้ทำการยกร่าง พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีการกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติขึ้นมาในปัจจุบัน