หมอสุรพงษ์ควงพยาบาลระนองรักษ์เข้ากระทรวงคลังแล้ว ลั่นทำงานไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่ใช้อำนาจล้วงลูกคดีหุ้นชินฯ เตรียมตั้งวอร์รูมประชุมทุกวันจันทร์ ทำแผนเศรษฐกิจระยะ 6 เดือนก่อนแถลงต่อสภาฯ 20 ก.พ. ยอมรับใช้มาตรการภาษีกระตุ้น หวังจีดีพี 5.5% เผยทีมที่ปรึกษาเพียบ "ทนง พิทยะ-ศุภวุฒิ สายเชื้อ-พันศักดิ์ วิญญรัตน์" เตรียมถกผู้ว่าฯ แบงก์ชาติหารือยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% บิ๊ก ธปท.แจงข้อดี 30% ช่วยลดแรงกดดันเงินไหลเข้า
วานนี้ (7 ก.พ.) เวลา 09.09 น. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ได้เดินทางมาถึงกระทรวงการคลังโดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงให้การต้อนรับ จากนั้นได้เดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง ซึ่งประกอบด้วยศาลพระพรหม ศาลพระภูมิเจ้าที่ อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ช้างคู่ พระพุทธรูปประจำกระทรวง และพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในห้อง รมว.คลัง โดยขณะที่ยืนรอจะเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลำดับแรก ได้มีช่างภาพเดินชนที่ครอบโคมไฟหล่นลงมา แต่ไม่แตก เนื่องจากเป็นพลาสติก หลังจากนั้นเหตุการณ์ราบรื่น อย่างไรก็ตาม รมว.คลังได้พบปะกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงองค์การฟอกหนังและองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่ยึดพื้นที่หลังอาคารสำนักรัฐมนตรีมานาน 2 เดือน ซึ่งได้รับปากว่าจะประสานหาทางแก้ปัญหาให้
จากนั้น นพ.สุรพงษ์พร้อม รมช.คลังทั้ง 2 ได้เรียกประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงการคลังทั้งหมดเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ต่อมาจึงได้เปิดแถลง โดย นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยว่า การเข้ามาทำงานที่กระทรวงการคลังในครั้งนี้มีความตั้งใจเข้ามาทำงานไม่มีวาระซ่อนเร้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะที่หลายฝ่ายจับตามมองว่าการที่ตนเข้ามาทำงานในตำแหน่ง รมว.คลัง เพื่อใช้อำนาจหน้าที่เพื่อกดดันกรมสรรพากรเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) SHIN หรือชินคอร์ป ของนายพานทองแท้และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร บุตร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
“ความคืบหน้าในการจัดเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ปของกรมสรรพากรนั้น เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งในการประชุมผู้บริหารในวันนี้ไม่มีการหารือกันถึงเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่ได้วาระซ่อนเร้นใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้ามาทำงาน คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ผมบอกกับข้าราชการว่ามากระทรวงคลังไม่มีวาระซ่อนเร้น” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่งสัญญาณเลิกมาตรการ 30%
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะหารือกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับมาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ให้มีความชัดเจนว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายนี้อยู่หรือไม่ และในขณะนี้มาตรการดังกล่าวยังมีการใช้เต็มรูปแบบหรือไม่ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากใช้แค่เป็นสัญลักษณ์ก็ต้องตัดสินใจแนวทางหนึ่ง
ทั้งนี้ การตัดสินใจยกเลิกมาตรการดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่ แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะยังไม่ได้หารือกับผู้ว่าธปท. แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากยกเลิกมาตรการ 30% ต้องมีมาตรการมารองรับ ซึ่งมาตรการ 30% เป็นปัญหาที่นักลงทุนต่างประเทศไม่เข้าใจว่า ไทยมีการต้อนรับการเข้ามาลงทุนอย่างไร ซึ่งต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน
“ยังพูดไม่ได้ว่าแบงก์ชาติจะยืนยันว่าไม่ยกเลิกมาตรการ 30% แต่ในฐานะผู้กำกับนโยบายต้องทำนโยบายที่แก้ปัญหากับเศรษฐกิจได้ประสบความสำเร็จ ถามว่าผมมีทางเลือกในใจไหม ยอมรับว่าในระหว่างนี้คิดทางเลือกไว้แล้ว แต่การตัดสินใจยังไม่เกิดขึ้น ในหลักการมาตรการใดที่พิสูจน์ออกมาแล้วว่าไม่ได้แก้ปัญหาก็ต้องยกเลิก ซึ่งได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ แต่ก็ต้องมีคำตอบว่าจะต้องมีมาตรการใหม่อะไรมารองรับ” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ธปท.แจง 30 % ลดแรงกดดันเงินไหลเข้า
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การมีมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ตอนนี้ ธปท.ไม่กังวลเงินทุนไหลเข้า และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้ค่าเงินในตลาด offshore และ onshore อยู่ในระดับเดียวกัน
"ค่าเงินบาท 1-2 วันนี้เริ่มนิ่งแล้ว และแม้ว่าระยะนี้เงินบาทยังแข็งค่า แต่ผู้ส่งออกก็ยังคงขายของได้อยู่" นางผ่องเพ็ญกล่าว.
ยึดหลัก "หนัก เบา เร็ว ช้า"
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า นอกจากการหารือเกี่ยวกับมาตรการ 30% แล้ว กระทรวงการคลังยังต้องหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจ ไม่เกี่ยวข้องกับ รมว.คลัง แต่ในการตัดสินใจแต่ละครั้งต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งแน่นอนการทำงานของ ธปท.ต้องมีความเป็นอิสระ แต่ ธปท.ไม่ใช่องค์กรอิสระที่การออกนโยบายต่างๆ ออกมาแล้วต้องรับผิดชอบต่อนโยบายนั้นด้วยรวมทั้งรับผิดชอบต่อนโยบายของรัฐบาลที่มีการประกาศไว้ต่อประชาชน
“สไตล์การทำงานผมยึดตามหลักของนายเทียม โชควัฒนา ต้องมีหนัก เบา เร็ว ช้า เรื่องไหนที่ควรเร็วต้องเร็วแน่ เรื่องไหนที่ควรช้าต้องรอเวลา เรื่องไหนที่ต้องทำหนักก็เต็มที่ ซึ่งเมื่อตัดสินใจก็ต้องทำ โดยบางเรื่องอาจจะมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ทำแผนกระตุ้น ศก.ระยะ 6 เดือน
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ภายใน 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดไว้ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ กระทรวงการคลังจะทำการจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนในช่วง 6 เดือนจากนี้ เพื่อดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจให้มีความฉับไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีนโยบายในหลายๆ ด้านทั้งในเรื่องมาตรการภาษีที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ภาษีนิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมาตรการอื่นๆ ในการดูแลภาวะเศรษฐกิจในระยะสั้นด้วย
ทั้งนี้ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 เครื่อง ที่ผ่านมามาทำเพียงเครื่องเดียวคือ การส่งออก ส่วนการบริโภค การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐ มีปัญหาติดๆ ดับๆ ไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมามีปัญหา ดังนั้น จึงต้องสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ โดยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชน นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐจากการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งหากมีการประกาศแผนการดำเนินการชัดเจน จะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจมากขึ้น
“มาตรการต่างๆ ก็จะมีทั้งด้านการเงินและการคลัง โดยด้านการเงินจะหารือกับแบงก์ชาติว่าจะมีมาตรการทางการเงินอะไรบ้างที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป้าหมาย 6 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะต้องกลับมาปกติ การค้าขายกลับมาดี ทุกคนมีความเชื่อมั่นที่จะบริโภค เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนจะต้องเกิดขึ้น ส่วนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะต้องใช้เวลาพอสมควร โดยจะมีการเริ่มลงทุนในปลายปีนี้ โดยมองว่านโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นของภาคเอกชนได้ดี” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ตั้งวอร์รูมประชุม ศก.ทุกสัปดาห์
รมซ.คลัง กล่าวว่า การทำงานในการะทรวงการคลังนับจากนี้ไปในช่วง 6 เดือนจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งหมด ได้แก่ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อติดตามดูแลสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งติดตามผลการทำงานที่ผ่านมาในทุกๆ สัปดาห์ด้วย เพื่อให้การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการประชุมในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
“ในฐานะที่เป็นรมว.คลัง พร้อมที่จะรับผิดชอบกับนโยบายที่ดำเนินการไปอย่างเต็มที่ เพราะที่ผ่านมามีข้าราชการกระทรวงการคลังถูกกล่าวหาในการดำเนินตามนโยบาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับประชาชน” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
มั่นใจจีดีพีปีนี้โตได้ 5.5%
รมว.คลัง กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจขาดความสมดุล ซึ่งในปีนี้จะสร้างความสมดุลโดยการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้กลับมาโดยเร็ว ซึ่งหากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์มีความชัดเจนก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาได้โดยเร็ว ซึ่งจะทำให้จีดีพีในปีนี้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ โดยสูงสุดจะอยู่ที่ 5.5% ได้ แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวแล้วอยากที่จะให้สูงได้ถึง 6% ซึ่งก็คงต้องรอดูสถานการณ์รวมถึงมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับแผนการโรดโชว์ไปยังต่างประเทศนั้นจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเริ่มที่ประเทศญี่ปุ่นก่อน เพราะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเป็นฐานหลักในการลงทุน เนื่องจากญี่ปุ่นมองว่าไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตของภูมิภาคนี้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มเติม นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังมีมินิโรดโชว์ที่จะมีการหารือกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศเพื่อชี้แจงถึงภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลให้รับทราบด้วย
นพ. สุรพงษ์เปิดเผยถึงการจัดตั้งทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจว่า ที่ผ่านมาได้ติดต่อพูดคุยไว้หลายคน ได้แก่ นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช นักวิชาการอดีตที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น
ต้องอุดหนุนรัฐวิสาหกิจกว่า 5 แสนล้าน
น.พ.สุรพงษ์กล่าวถึงนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจว่า ต้องมีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงประสิทธิภาพ เพราะรัฐวิสาหกิจมีทรัพย์สินและบุคลลากรจำนวนมาก สามารถพัฒนาขึ้นมาให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ และบางแห่งถ้าพัฒนาไม่ให้มีผลขาดทุนก็จะไม่เป้นภาระต่อรัฐบาล เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้า แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องจบที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานเท่านั้น
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ได้จัดทำประมาณการความเสี่ยงด้านการคลัง โดยนำรัฐวิสาหกิจจำนวน 9 แห่งที่มีผลขาดทุนมาโดยตลอด มาวิเคราะห์ในรายละเอียด ซึ่งพบว่าในระยะ 5 ปี ข้างหน้า (2551-2555) รัฐบาลจะมีภาระงบประมาณที่ต้องนำมาอุดหนุนให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมากถึง 525,208 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ต้องนำมาอุดหนุนให้แก่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยงสูงสุด เพราะมีหนี้สูงและขาดทุนมาตลอด ที่สำคัญยังไม่สามารถนำผลการดำเนินงานมาใช้หนี้ได้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังมีรัฐวิสาหกิจ อีก 3 แห่งคือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีความเสี่ยงปานกลาง เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องนำงบประมาณมาอุดหนุนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และยังมีรัฐวิสาหกิจอีก 4 แห่ง ที่มีความเสี่ยงต่ำ คือการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) การกีฬาแห่งประเทศไทย (กทท.) และองค์การสวนยาง
เมื่อนำเปรียบเทียบกับงบประมาณที่สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนรัฐวิสาหกิจในแต่ละปี และแนวโน้มข้างหน้าอีก 5 ปีข้างหน้า รวมเป็นเงินกว่า 280,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีภาระอีกกว่า 200,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลต้องหาเงินมาอุดหนุน ซึ่งรัฐบาลควรหาทางปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในปี 51วงเงินที่รัฐวิสาหกิจต้องดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลกว่า 95,000 ล้านบาท ประเมินว่าจะมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง 13,000 ล้านบาท โครงการแอร์พอร์ต ลิงค์ 30,000 ล้านบาท โครงการทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ 26,000 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร เฟส 3 อีกส่วนหนึ่ง ส่วนในปี 54 ที่คาดว่าจะใช้งบดำเนินโครงการถึงกว่า 1 แสนล้านบาทนั้น ประเมินว่าจะมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกว่า 40,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีก 73,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตัวเลขทั้งหมดเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่อาจปรับปรุงอีกครั้ง
ลุยฟื้นหวยบนดินเอาใจรากหญ้า
นพ.สุรพงษ์เปิดเผยว่า นโยบายในการจัดจำหน่ายสลากเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว (หวยบนดิน) นั้น ยืนยันว่าจะมีการเดินหน้าโครงการหวยบนดิน แต่ส่วนเรื่องระยะเวลาและรูปแบบที่เหมาะสมนั้น คงต้องรอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมพิจารณาว่า พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2550 ที่ผ่านการพิจารราของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้นเป็นกฎหมายทางการเงินหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ
“การที่ต้องรอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเสียก่อน เนื่องจากผมไม่ต้องการที่จะทำอะไรอย่างไม่ชัดเจน แม้ว่ากฎหมายเดิมจะปิดชอ่งให้ดำเนินการได้ แต่ในเมื่อมีกฏหมายใหม่เกิดขึ้นมาแล้วก็ควรจะรอให้มีความชัดเจนเรื่องกฏหมายใหม่ก่อน เพราะเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมีความครอบคลุมที่สุดและได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ 3 แล้วผมเห็นว่าอะไรที่เป็นความเสี่ยงคงไม่ดำเนินการ” นพ.สุรพงษ์ กล่าว
สำหรับเรื่องรูปแบบในการดำเนินการหวยบนดินนั้น ในหลักการไม่ต้องการที่จะให้มีการจำหน่ายที่เป็นการมอมเมา หรือ มีลักษณะส่งเสริมให้ประชาชนเล่นหวยกันอย่างแพร่หลาย แต่จะเป็นรูปแบบใดนั้นจะมีการพิจารณาในรายละเอียดในอนาคต เมื่อมีความชัดเจนด้านกฎหมาย
นายวันชัย สุระกุล รักษาการผู้อำนวยการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า แนวทางในการจำหน่ายหวยบนดินที่สำนักงานเตรียมไว้เสนอรัฐบาล หากรัฐบาลตัดสินใจจำหน่ายหวยบนดินด้วยเครื่องออนไลน์ คือ การจัดสรรรางวัลแบบการแปรผัน ด้วยการนำเงินรางวัลมาหารด้วยจำนวนผู้ถูกรางวัล เงินที่ได้รับจึงขึ้นลงตามผู้ถูกรางวัล จากเดิมการออกหวยบนดินจะเป็นรางวัลแบบคงที่ เช่น รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รับเงิน 550 บาท เลขโต๊ดรับเงิน 100 บาท แต่เพื่อให้แข่งกับหวยใต้ดินได้ แม้รางวัลจะแปรผันขึ้นลงได้ไม่จูงใจนัก จึงเตรียมกำหนดกลยุทธ์ มีรางวัล แจ็กพอต โดยเงินรางวัลจะมาจากเงินกำไรส่วนเกินของสำนักงาน
“สิ่งที่เตรียมไว้เสอนคือ การเปลี่ยนรางวัลเป็นแปรผันตามจำนวนคนที่ถูกรางวัลแล้วนำมาหารกัน แต่หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรดังกล่าวจะกันมาให้เป็นเงินแจ๊คพอต เช่น ถ้าขายหวยบนดินงวดนี้ได้กำไร 100 ล้านบาท แต่กฎหมายกำหนดว่าเงินรางวัลต้องไม่เกิน 60% ของ 100 ล้านบาท แต่หากงวดนั้นมีคนถูกรางวัลเพียง 50 ล้านบาท ก็จะมีส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาทที่จะนำมาจ่ายเป็นรางวัลแจ๊คพอตเป็นต้น” นายวันชัยกล่าว
ทั้งนี้ ภายใต้กรองกฏหมายเดิมกำหนดให้การออกหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว ต้องจัดสรรรายได้ตาม โดยจ่ายเป็นเงินรางวัล 60% ของยอดจำหน่าย ส่วน 28% ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน อีก 12% เป็นค่าบริหารจัดการ ส่วนตามกฏหมายใหม่นั้นระบุให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการในการกำหนดกรอบการจัดสรรเงินรายได้ดังกล่าว
วานนี้ (7 ก.พ.) เวลา 09.09 น. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ได้เดินทางมาถึงกระทรวงการคลังโดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงให้การต้อนรับ จากนั้นได้เดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง ซึ่งประกอบด้วยศาลพระพรหม ศาลพระภูมิเจ้าที่ อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ช้างคู่ พระพุทธรูปประจำกระทรวง และพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในห้อง รมว.คลัง โดยขณะที่ยืนรอจะเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลำดับแรก ได้มีช่างภาพเดินชนที่ครอบโคมไฟหล่นลงมา แต่ไม่แตก เนื่องจากเป็นพลาสติก หลังจากนั้นเหตุการณ์ราบรื่น อย่างไรก็ตาม รมว.คลังได้พบปะกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงองค์การฟอกหนังและองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่ยึดพื้นที่หลังอาคารสำนักรัฐมนตรีมานาน 2 เดือน ซึ่งได้รับปากว่าจะประสานหาทางแก้ปัญหาให้
จากนั้น นพ.สุรพงษ์พร้อม รมช.คลังทั้ง 2 ได้เรียกประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงการคลังทั้งหมดเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ต่อมาจึงได้เปิดแถลง โดย นพ.สุรพงษ์ เปิดเผยว่า การเข้ามาทำงานที่กระทรวงการคลังในครั้งนี้มีความตั้งใจเข้ามาทำงานไม่มีวาระซ่อนเร้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะที่หลายฝ่ายจับตามมองว่าการที่ตนเข้ามาทำงานในตำแหน่ง รมว.คลัง เพื่อใช้อำนาจหน้าที่เพื่อกดดันกรมสรรพากรเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) SHIN หรือชินคอร์ป ของนายพานทองแท้และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร บุตร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
“ความคืบหน้าในการจัดเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ปของกรมสรรพากรนั้น เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งในการประชุมผู้บริหารในวันนี้ไม่มีการหารือกันถึงเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่ได้วาระซ่อนเร้นใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้ามาทำงาน คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ผมบอกกับข้าราชการว่ามากระทรวงคลังไม่มีวาระซ่อนเร้น” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ส่งสัญญาณเลิกมาตรการ 30%
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะหารือกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับมาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ให้มีความชัดเจนว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายนี้อยู่หรือไม่ และในขณะนี้มาตรการดังกล่าวยังมีการใช้เต็มรูปแบบหรือไม่ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากใช้แค่เป็นสัญลักษณ์ก็ต้องตัดสินใจแนวทางหนึ่ง
ทั้งนี้ การตัดสินใจยกเลิกมาตรการดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่ แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะยังไม่ได้หารือกับผู้ว่าธปท. แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากยกเลิกมาตรการ 30% ต้องมีมาตรการมารองรับ ซึ่งมาตรการ 30% เป็นปัญหาที่นักลงทุนต่างประเทศไม่เข้าใจว่า ไทยมีการต้อนรับการเข้ามาลงทุนอย่างไร ซึ่งต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน
“ยังพูดไม่ได้ว่าแบงก์ชาติจะยืนยันว่าไม่ยกเลิกมาตรการ 30% แต่ในฐานะผู้กำกับนโยบายต้องทำนโยบายที่แก้ปัญหากับเศรษฐกิจได้ประสบความสำเร็จ ถามว่าผมมีทางเลือกในใจไหม ยอมรับว่าในระหว่างนี้คิดทางเลือกไว้แล้ว แต่การตัดสินใจยังไม่เกิดขึ้น ในหลักการมาตรการใดที่พิสูจน์ออกมาแล้วว่าไม่ได้แก้ปัญหาก็ต้องยกเลิก ซึ่งได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ แต่ก็ต้องมีคำตอบว่าจะต้องมีมาตรการใหม่อะไรมารองรับ” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ธปท.แจง 30 % ลดแรงกดดันเงินไหลเข้า
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การมีมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ตอนนี้ ธปท.ไม่กังวลเงินทุนไหลเข้า และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้ค่าเงินในตลาด offshore และ onshore อยู่ในระดับเดียวกัน
"ค่าเงินบาท 1-2 วันนี้เริ่มนิ่งแล้ว และแม้ว่าระยะนี้เงินบาทยังแข็งค่า แต่ผู้ส่งออกก็ยังคงขายของได้อยู่" นางผ่องเพ็ญกล่าว.
ยึดหลัก "หนัก เบา เร็ว ช้า"
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า นอกจากการหารือเกี่ยวกับมาตรการ 30% แล้ว กระทรวงการคลังยังต้องหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจ ไม่เกี่ยวข้องกับ รมว.คลัง แต่ในการตัดสินใจแต่ละครั้งต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งแน่นอนการทำงานของ ธปท.ต้องมีความเป็นอิสระ แต่ ธปท.ไม่ใช่องค์กรอิสระที่การออกนโยบายต่างๆ ออกมาแล้วต้องรับผิดชอบต่อนโยบายนั้นด้วยรวมทั้งรับผิดชอบต่อนโยบายของรัฐบาลที่มีการประกาศไว้ต่อประชาชน
“สไตล์การทำงานผมยึดตามหลักของนายเทียม โชควัฒนา ต้องมีหนัก เบา เร็ว ช้า เรื่องไหนที่ควรเร็วต้องเร็วแน่ เรื่องไหนที่ควรช้าต้องรอเวลา เรื่องไหนที่ต้องทำหนักก็เต็มที่ ซึ่งเมื่อตัดสินใจก็ต้องทำ โดยบางเรื่องอาจจะมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ทำแผนกระตุ้น ศก.ระยะ 6 เดือน
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ภายใน 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดไว้ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ กระทรวงการคลังจะทำการจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนในช่วง 6 เดือนจากนี้ เพื่อดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจให้มีความฉับไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีนโยบายในหลายๆ ด้านทั้งในเรื่องมาตรการภาษีที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ภาษีนิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมาตรการอื่นๆ ในการดูแลภาวะเศรษฐกิจในระยะสั้นด้วย
ทั้งนี้ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 เครื่อง ที่ผ่านมามาทำเพียงเครื่องเดียวคือ การส่งออก ส่วนการบริโภค การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐ มีปัญหาติดๆ ดับๆ ไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมามีปัญหา ดังนั้น จึงต้องสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ โดยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชน นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐจากการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งหากมีการประกาศแผนการดำเนินการชัดเจน จะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจมากขึ้น
“มาตรการต่างๆ ก็จะมีทั้งด้านการเงินและการคลัง โดยด้านการเงินจะหารือกับแบงก์ชาติว่าจะมีมาตรการทางการเงินอะไรบ้างที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป้าหมาย 6 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะต้องกลับมาปกติ การค้าขายกลับมาดี ทุกคนมีความเชื่อมั่นที่จะบริโภค เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนจะต้องเกิดขึ้น ส่วนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะต้องใช้เวลาพอสมควร โดยจะมีการเริ่มลงทุนในปลายปีนี้ โดยมองว่านโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นของภาคเอกชนได้ดี” นพ.สุรพงษ์กล่าว
ตั้งวอร์รูมประชุม ศก.ทุกสัปดาห์
รมซ.คลัง กล่าวว่า การทำงานในการะทรวงการคลังนับจากนี้ไปในช่วง 6 เดือนจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งหมด ได้แก่ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อติดตามดูแลสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งติดตามผลการทำงานที่ผ่านมาในทุกๆ สัปดาห์ด้วย เพื่อให้การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการประชุมในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
“ในฐานะที่เป็นรมว.คลัง พร้อมที่จะรับผิดชอบกับนโยบายที่ดำเนินการไปอย่างเต็มที่ เพราะที่ผ่านมามีข้าราชการกระทรวงการคลังถูกกล่าวหาในการดำเนินตามนโยบาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับประชาชน” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
มั่นใจจีดีพีปีนี้โตได้ 5.5%
รมว.คลัง กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจขาดความสมดุล ซึ่งในปีนี้จะสร้างความสมดุลโดยการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้กลับมาโดยเร็ว ซึ่งหากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์มีความชัดเจนก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาได้โดยเร็ว ซึ่งจะทำให้จีดีพีในปีนี้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ โดยสูงสุดจะอยู่ที่ 5.5% ได้ แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวแล้วอยากที่จะให้สูงได้ถึง 6% ซึ่งก็คงต้องรอดูสถานการณ์รวมถึงมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับแผนการโรดโชว์ไปยังต่างประเทศนั้นจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเริ่มที่ประเทศญี่ปุ่นก่อน เพราะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเป็นฐานหลักในการลงทุน เนื่องจากญี่ปุ่นมองว่าไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตของภูมิภาคนี้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มเติม นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังมีมินิโรดโชว์ที่จะมีการหารือกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศเพื่อชี้แจงถึงภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลให้รับทราบด้วย
นพ. สุรพงษ์เปิดเผยถึงการจัดตั้งทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจว่า ที่ผ่านมาได้ติดต่อพูดคุยไว้หลายคน ได้แก่ นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช นักวิชาการอดีตที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น
ต้องอุดหนุนรัฐวิสาหกิจกว่า 5 แสนล้าน
น.พ.สุรพงษ์กล่าวถึงนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจว่า ต้องมีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงประสิทธิภาพ เพราะรัฐวิสาหกิจมีทรัพย์สินและบุคลลากรจำนวนมาก สามารถพัฒนาขึ้นมาให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ และบางแห่งถ้าพัฒนาไม่ให้มีผลขาดทุนก็จะไม่เป้นภาระต่อรัฐบาล เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้า แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องจบที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานเท่านั้น
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ได้จัดทำประมาณการความเสี่ยงด้านการคลัง โดยนำรัฐวิสาหกิจจำนวน 9 แห่งที่มีผลขาดทุนมาโดยตลอด มาวิเคราะห์ในรายละเอียด ซึ่งพบว่าในระยะ 5 ปี ข้างหน้า (2551-2555) รัฐบาลจะมีภาระงบประมาณที่ต้องนำมาอุดหนุนให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมากถึง 525,208 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ต้องนำมาอุดหนุนให้แก่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยงสูงสุด เพราะมีหนี้สูงและขาดทุนมาตลอด ที่สำคัญยังไม่สามารถนำผลการดำเนินงานมาใช้หนี้ได้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังมีรัฐวิสาหกิจ อีก 3 แห่งคือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีความเสี่ยงปานกลาง เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องนำงบประมาณมาอุดหนุนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และยังมีรัฐวิสาหกิจอีก 4 แห่ง ที่มีความเสี่ยงต่ำ คือการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) การกีฬาแห่งประเทศไทย (กทท.) และองค์การสวนยาง
เมื่อนำเปรียบเทียบกับงบประมาณที่สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนรัฐวิสาหกิจในแต่ละปี และแนวโน้มข้างหน้าอีก 5 ปีข้างหน้า รวมเป็นเงินกว่า 280,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีภาระอีกกว่า 200,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลต้องหาเงินมาอุดหนุน ซึ่งรัฐบาลควรหาทางปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในปี 51วงเงินที่รัฐวิสาหกิจต้องดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลกว่า 95,000 ล้านบาท ประเมินว่าจะมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง 13,000 ล้านบาท โครงการแอร์พอร์ต ลิงค์ 30,000 ล้านบาท โครงการทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ 26,000 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร เฟส 3 อีกส่วนหนึ่ง ส่วนในปี 54 ที่คาดว่าจะใช้งบดำเนินโครงการถึงกว่า 1 แสนล้านบาทนั้น ประเมินว่าจะมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกว่า 40,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีก 73,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตัวเลขทั้งหมดเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่อาจปรับปรุงอีกครั้ง
ลุยฟื้นหวยบนดินเอาใจรากหญ้า
นพ.สุรพงษ์เปิดเผยว่า นโยบายในการจัดจำหน่ายสลากเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว (หวยบนดิน) นั้น ยืนยันว่าจะมีการเดินหน้าโครงการหวยบนดิน แต่ส่วนเรื่องระยะเวลาและรูปแบบที่เหมาะสมนั้น คงต้องรอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมพิจารณาว่า พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2550 ที่ผ่านการพิจารราของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้นเป็นกฎหมายทางการเงินหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ
“การที่ต้องรอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเสียก่อน เนื่องจากผมไม่ต้องการที่จะทำอะไรอย่างไม่ชัดเจน แม้ว่ากฎหมายเดิมจะปิดชอ่งให้ดำเนินการได้ แต่ในเมื่อมีกฏหมายใหม่เกิดขึ้นมาแล้วก็ควรจะรอให้มีความชัดเจนเรื่องกฏหมายใหม่ก่อน เพราะเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมีความครอบคลุมที่สุดและได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ 3 แล้วผมเห็นว่าอะไรที่เป็นความเสี่ยงคงไม่ดำเนินการ” นพ.สุรพงษ์ กล่าว
สำหรับเรื่องรูปแบบในการดำเนินการหวยบนดินนั้น ในหลักการไม่ต้องการที่จะให้มีการจำหน่ายที่เป็นการมอมเมา หรือ มีลักษณะส่งเสริมให้ประชาชนเล่นหวยกันอย่างแพร่หลาย แต่จะเป็นรูปแบบใดนั้นจะมีการพิจารณาในรายละเอียดในอนาคต เมื่อมีความชัดเจนด้านกฎหมาย
นายวันชัย สุระกุล รักษาการผู้อำนวยการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า แนวทางในการจำหน่ายหวยบนดินที่สำนักงานเตรียมไว้เสนอรัฐบาล หากรัฐบาลตัดสินใจจำหน่ายหวยบนดินด้วยเครื่องออนไลน์ คือ การจัดสรรรางวัลแบบการแปรผัน ด้วยการนำเงินรางวัลมาหารด้วยจำนวนผู้ถูกรางวัล เงินที่ได้รับจึงขึ้นลงตามผู้ถูกรางวัล จากเดิมการออกหวยบนดินจะเป็นรางวัลแบบคงที่ เช่น รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รับเงิน 550 บาท เลขโต๊ดรับเงิน 100 บาท แต่เพื่อให้แข่งกับหวยใต้ดินได้ แม้รางวัลจะแปรผันขึ้นลงได้ไม่จูงใจนัก จึงเตรียมกำหนดกลยุทธ์ มีรางวัล แจ็กพอต โดยเงินรางวัลจะมาจากเงินกำไรส่วนเกินของสำนักงาน
“สิ่งที่เตรียมไว้เสอนคือ การเปลี่ยนรางวัลเป็นแปรผันตามจำนวนคนที่ถูกรางวัลแล้วนำมาหารกัน แต่หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรดังกล่าวจะกันมาให้เป็นเงินแจ๊คพอต เช่น ถ้าขายหวยบนดินงวดนี้ได้กำไร 100 ล้านบาท แต่กฎหมายกำหนดว่าเงินรางวัลต้องไม่เกิน 60% ของ 100 ล้านบาท แต่หากงวดนั้นมีคนถูกรางวัลเพียง 50 ล้านบาท ก็จะมีส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาทที่จะนำมาจ่ายเป็นรางวัลแจ๊คพอตเป็นต้น” นายวันชัยกล่าว
ทั้งนี้ ภายใต้กรองกฏหมายเดิมกำหนดให้การออกหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว ต้องจัดสรรรายได้ตาม โดยจ่ายเป็นเงินรางวัล 60% ของยอดจำหน่าย ส่วน 28% ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน อีก 12% เป็นค่าบริหารจัดการ ส่วนตามกฏหมายใหม่นั้นระบุให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการในการกำหนดกรอบการจัดสรรเงินรายได้ดังกล่าว