เป็นไปแล้ว! แค่ 2 เดือน “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” สามารถทำผลงานชิ้นโบดำได้หลากหลาย เริ่มจากดึงโปรโมชั่นห้างเป็นผลงานปรับลดราคาสินค้า แต่สิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือเงินเฟ้อยังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง ทำหมูพาณิชย์กิโลละ 98 บาท แต่หาซื้อไม่ได้ และยังทำให้ตลาดการค้าป่วนหนัก จากนั้นฉวยโปรโมชั่น โทร.มือถือที่แข่งกันดุเดือดอยู่แล้ว มาประกาศหน้าตาเฉยว่าเป็นผลงานตัวเอง ล่าสุดปั่นราคาข้าวจนเกิดการกักตุน เก็งกำไรไปทั่ว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้เข้ามาบริหารงานในกระทรวงพาณิชย์ และได้มอบนโยบายในการทำงานให้กับข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2551 ที่ผ่านมา ในครั้งนั้น นายมิ่งขวัญได้เริ่มนโยบายด้านการตลาดทันที โดยประกาศว่าจะรื้อโครงสร้างต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพจำนวน 30 รายการ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน
ขณะที่ภาคการส่งออกได้ให้นโยบายโดยขอให้มีการพิจารณาสินค้ารายการใหม่ๆ เพื่อผลักดันการส่งออก เน้นไปที่สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอทอป) เช่น มังคุด ข้าวหอมมะลิ กล้วยไม้ เครื่องเบญจรงค์ มีดอรัญญิกและผลิตภัณฑ์จากหนังจรเข้ เป็นต้น และขอให้มีการเปิดตลาดใหม่ๆ เน้นไปยังตลาดที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หรือตลาดคนรวยใหม่ พร้อมกับขอให้มีการชำแหละสัญญาการค้าระหว่างประเทศว่าไทยได้ประโยชน์อะไร แล้วมาชี้แนะให้คนไทยไปใช้ประโยชน์
ส่วนกฎหมายที่ค้างจากรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง ก็ประกาศว่าจะหารือกับกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายและปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อนว่าจะดำเนินการใดๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการประกาศนโยบายในการทำงาน สิ่งที่นายมิ่งขวัญดำเนินการจริงกลับมีเพียงไม่กี่เรื่อง เริ่มจากการบีบให้สินค้าปรับลดราคา โดยมีสินค้าเป้าหมายออกมาในเบื้องต้น 33 รายการ ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่ายไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ แก๊สหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
หลังจากที่มีสินค้าเป้าหมายแล้ว เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2551 นายมิ่งขวัญได้เชิญผู้ผลิตสินค้าจำนวน 250 รายมาหารือเพื่อขอความร่วมมือในการปรับลดราคาสินค้า และตรึงราคาสินค้า โดยขอให้ผู้ผลิตไปพิจารณารายละเอียดของรายการสินค้าที่จะปรับลดราคาหรือตรึงราคาจัดส่งให้กระทรวงพาณิชย์ก่อนวันที่ 6 มี.ค.2551
ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการศึกษาโครงสร้างต้นทุนสินค้าเป้าหมาย 33 รายการ และรอรายละเอียดรายการสินค้าที่ผู้ผลิตจะจัดส่งให้นั้น เนื้อหมู ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการเป้าหมาย ก็มีการประกาศขึ้นราคาต่อต้านนโยบายทันที
โดยนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงสาเหตุของการปรับขึ้นราคาไว้ว่า กรมการค้าภายในยอมได้ให้ผู้เลี้ยงสุกรปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มปรับราคาขายขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 59-61 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2551 จากที่ราคาเมื่อปลายปีอยู่ที่ 44-45 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้ราคาเนื้อหมูหน้าเขียงปรับราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท โดยสาเหตุที่ต้องมีการปรับราคาหมูเป็น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาเกือบ 100% ตั้งแต่ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา หากไม่ให้มีการปรับราคา ผู้เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ได้ ที่สำคัญ ในขณะนี้ ลูกหมูมีจำนวนลดลงจากการตาย เพราะโรคท้องเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้หมูเป็นเข้าสู่ตลาดน้อยลง
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 5 มี.ค.2551 นายมิ่งขวัญได้แก้เกมเนื้อหมูมีราคาแพง โดยเชิญผู้เลี้ยงสุกร โรงชำแหละ เขียงหมู ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาหารือ และขอความร่วมมือให้ช่วยจัดส่งหมูพาณิชย์กิโลกรัมละ 98 บาทมาให้ โดยมีเหตุผลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน แต่การช่วยเหลือดังกล่าวกลับมีเงื่อนไข คือ หาซื้อได้เฉพาะในร้านค้าปลีก 4 แห่ง คือ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ และแมคโคร ตลาดที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ตลาดใหม่เจริญกรุง ตลาดเก่าเยาวราช ตลาดหัวรถไฟ ตลาดศาลาน้ำเย็น ตลาดพรานนก ตลาดใหม่อินเตอร์มาร์ท ปทุมธานี ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และค้าภายในจังหวัดเท่านั้น โดยมีระยะเวลาขายทั้งสิ้น 2 เดือน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ เกิดความปั่นป่วนในระบบการค้าเนื้อหมู พ่อค้าแม่ค้าที่ขายเนื้อหมูในตลาด ถูกประชาชนต่อว่าทำไมไม่ขายกิโลกรัมละ 98 บาทตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ ทำให้ค้าขายได้ลำบากขึ้น ขณะที่ประชาชนเอง ก็หาซื้อหมู 98 บาทได้ยาก เพราะมีขายเพียงไม่กี่แห่ง ที่สำคัญ หมู 98 บาทยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะผู้ผลิตหลายรายได้กลับลำไม่ยอมจัดส่งเนื้อหมูให้ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้
เมื่อเกิดความปั่นป่วนขึ้น วันที่ 7 มี.ค.2551 พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รมช.พาณิชย์ ได้ออกมาตำหนิถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหมูของนายมิ่งขวัญว่า ไม่มีความชัดเจน ทำให้ประชาชนสับสน พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางออกว่า การแก้ไขปัญหาหมูแพง ควรจะแก้ทั้งระบบ ต้องดูแลตั้งแต่ลูกหมู หมูเป็น จนเป็นหมูชำแหละ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในส่วนของการปรับลดราคาสินค้า เมื่อครบกำหนดวันที่ 6 มี.ค. นายมิ่งขวัญไม่สามารถประกาศรายการสินค้าที่จะลดราคาหรือตรึงราคาได้ โดยให้เหตุผลว่า มีรายการสินค้าไม่ชัดเจน การปรับลดราคาไม่ชัดเจน จึงขอให้กรมการค้าภายในไปหารือกับผู้ผลิตให้ชัดเจน และจะประกาศผลในวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งเมื่อถึงวันที่ 10 มี.ค. นายมิ่งขวัญ ได้ประกาศว่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต 12 ราย ได้แก่ ดูเม็กซ์ มี้ดจอห์นสัน เนสเล่ห์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน สหพัฒน์ พีแซทคัสสัน ยูนิลิเวอร์ ไลอ้อน พีแอนด์จี โอสถสภา คอลเกต และคาโอ นำสินค้าจำนวน 60 รายการมาปรับลดราคา แยกเป็น นมผง 15 รายการ ของใช้ประจำวัน 45 รายการ ได้แก่ ผงซักฟอก 14 รายการ สบู่ 6 รายการ แชมพู 5 รายการ ครีมนวดผม 1 รายการ ยาสีฟัน 7 รายการ แปรงสีฟัน 3 รายการ แป้งโรยตัว 4 รายการ และอื่นๆ 5 รายการ มีระยะเวลา 2-6 เดือน
การประกาศปรับลดรายการสินค้าในครั้งนี้ ผู้ผลิตได้ให้เหตุผลว่า สินค้าที่นำมาลดราคา ปกติผู้ประกอบการก็มีการลดราคาอยู่แล้ว เพราะมีการแข่งขันกันด้านราคาระหว่างผู้ผลิต โดยราคาขายจริงกับข้างกล่องลดลงมากอยู่แล้ว สามารถไปดูในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกได้เลย จนมีการพูดกันว่านายมิ่งขวัญดึงเอาโปรโมชั่นของห้างมาเป็นผลงานของตัวเอง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น สินค้าที่ระบุไว้มีราคาลดลงก็จริง แต่สินค้ารายการอื่นๆ กลับมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้จากตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนก.พ. และมี.ค. ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เองว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% และ 5.3%
นอกจากการปรับลดราคาสินค้า นายมิ่งขวัญยังไปบีบให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และฮัทช์ ปรับลดราคาค่าซิมการ์ด และค่าโทรศัพท์ลงมาอีก ทั้งๆ ที่ค่าโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยต่ำที่สุดในโลกอยู่แล้วในขณะนี้ ซึ่งทางผู้ประกอบการก็ยอมลดราคาให้ โดยนำซิมราคาถูกมาจำหน่ายจำนวน 1 แสนซิมการ์ด โปรโมชั่นโทรนาทีละ 50 สตางค์ เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.2551 แต่จนถึงวันนี้ มีเพียงบางรายเท่านั้นที่ประกาศว่าจะเริ่มขายซิมการ์ดได้
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลงานต่อมา นายมิ่งขวัญได้ทำให้ตลาดข้าวปั่นป่วนอย่างหนัก มีการเก็งกำไรเกิดขึ้น เพราะไปพูดชี้นำว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นถึงตันละ 30,000 บาท จนทำให้พ่อค้าเก็งกำไร มีการกักตุนข้าว ทำให้ข้าวขาดแคลน และการพูดก็พูดไม่ชัดเจนว่าข้าวชนิดใดที่จะราคาสูงถึง 30,000 บาท เพราะข้าวที่จะมีราคาสูงถึงขนาดนี้ได้ ก็มีเพียงข้าวหอมมะลิที่ราคาส่งออกขณะนี้ขยับไปถึงตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐแล้วเท่านั้น
การออกมาระบุเช่นนี้ ทำให้มีการกักตุนข้าว พ่อค้าส่งออกหาซื้อข้าวไม่ได้ พ่อค้าทำข้าวถุง ก็หาซื้อข้าวไม่ได้ เพราะคนเก็งกำไร ก็กักตุนข้าวเอาไว้ขายตอนราคา 30,000 บาท แต่ข้าวที่อยู่ในมือชาวนา ซึ่งเป็นคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆ กลับไม่มีแล้ว เพราะขายไปหมดแล้ว จนในที่สุดนายมิ่งขวัญเห็นทีว่าจะปั่นป่วนกันหนัก ก็เลยออกมาพูดซ้ำว่าให้รีบขายได้แล้ว เพราะราคาถึงเป้าหมายแล้ว
สิ่งที่นายมิ่งขวัญพูด ทั้งสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ สมาคมโรงสีไทย กลุ่มเกษตรกร ต่างไม่เห็นด้วย เพราะคนเป็นผู้กำหนดนโยบายไม่ควรจะเป็นผู้ชี้นำอะไรมากเกินไป และการพูดอะไร ก็ควรจะพูดให้ชัดเจน ราคา 30,000 บาท ไม่ใช่ว่าจะขายได้สำหรับข้าวทุกชนิด มีเพียงข้าวบางชนิดเท่านั้นที่ขายได้ อย่าให้ความหวังโดยไม่เป็นจริง
ส่วนการแก้ไขปัญหาข้าวเพื่อการบริโภคในประเทศที่มีราคาแพงขึ้น นายมิ่งขวัญประกาศไว้ว่าจะนำข้าวในสต๊อกของรัฐที่มีอยู่ 2.1 ล้านตัน โดยแบ่งมาส่วนหนึ่งเพื่อทำข้าวบรรจุถุง 5 กิโลกรัมขายในราคาต้นทุนให้กับประชาชน และมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 เม.ย. อนุมัติให้นำข้าวในสต๊อก 6.5 แสนตันมาบรรจุถุงขายในราคา 72-86 บาท แต่พอมาวันที่ 5 เม.ย. นายมิ่งขวัญกลับประกาศใหม่ว่าจะไม่มีการนำข้าวมาบรรจุถุงขายแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องเก็บไว้เป็นสต๊อกฉุกเฉิน เป็นการกลับตาลปัตรคำพูดในรอบไม่กี่วัน.
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้เข้ามาบริหารงานในกระทรวงพาณิชย์ และได้มอบนโยบายในการทำงานให้กับข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2551 ที่ผ่านมา ในครั้งนั้น นายมิ่งขวัญได้เริ่มนโยบายด้านการตลาดทันที โดยประกาศว่าจะรื้อโครงสร้างต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพจำนวน 30 รายการ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน
ขณะที่ภาคการส่งออกได้ให้นโยบายโดยขอให้มีการพิจารณาสินค้ารายการใหม่ๆ เพื่อผลักดันการส่งออก เน้นไปที่สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอทอป) เช่น มังคุด ข้าวหอมมะลิ กล้วยไม้ เครื่องเบญจรงค์ มีดอรัญญิกและผลิตภัณฑ์จากหนังจรเข้ เป็นต้น และขอให้มีการเปิดตลาดใหม่ๆ เน้นไปยังตลาดที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หรือตลาดคนรวยใหม่ พร้อมกับขอให้มีการชำแหละสัญญาการค้าระหว่างประเทศว่าไทยได้ประโยชน์อะไร แล้วมาชี้แนะให้คนไทยไปใช้ประโยชน์
ส่วนกฎหมายที่ค้างจากรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง ก็ประกาศว่าจะหารือกับกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายและปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อนว่าจะดำเนินการใดๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการประกาศนโยบายในการทำงาน สิ่งที่นายมิ่งขวัญดำเนินการจริงกลับมีเพียงไม่กี่เรื่อง เริ่มจากการบีบให้สินค้าปรับลดราคา โดยมีสินค้าเป้าหมายออกมาในเบื้องต้น 33 รายการ ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่ายไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ แก๊สหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
หลังจากที่มีสินค้าเป้าหมายแล้ว เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2551 นายมิ่งขวัญได้เชิญผู้ผลิตสินค้าจำนวน 250 รายมาหารือเพื่อขอความร่วมมือในการปรับลดราคาสินค้า และตรึงราคาสินค้า โดยขอให้ผู้ผลิตไปพิจารณารายละเอียดของรายการสินค้าที่จะปรับลดราคาหรือตรึงราคาจัดส่งให้กระทรวงพาณิชย์ก่อนวันที่ 6 มี.ค.2551
ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการศึกษาโครงสร้างต้นทุนสินค้าเป้าหมาย 33 รายการ และรอรายละเอียดรายการสินค้าที่ผู้ผลิตจะจัดส่งให้นั้น เนื้อหมู ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการเป้าหมาย ก็มีการประกาศขึ้นราคาต่อต้านนโยบายทันที
โดยนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงสาเหตุของการปรับขึ้นราคาไว้ว่า กรมการค้าภายในยอมได้ให้ผู้เลี้ยงสุกรปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มปรับราคาขายขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 59-61 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2551 จากที่ราคาเมื่อปลายปีอยู่ที่ 44-45 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้ราคาเนื้อหมูหน้าเขียงปรับราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท โดยสาเหตุที่ต้องมีการปรับราคาหมูเป็น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาเกือบ 100% ตั้งแต่ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา หากไม่ให้มีการปรับราคา ผู้เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ได้ ที่สำคัญ ในขณะนี้ ลูกหมูมีจำนวนลดลงจากการตาย เพราะโรคท้องเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้หมูเป็นเข้าสู่ตลาดน้อยลง
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 5 มี.ค.2551 นายมิ่งขวัญได้แก้เกมเนื้อหมูมีราคาแพง โดยเชิญผู้เลี้ยงสุกร โรงชำแหละ เขียงหมู ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาหารือ และขอความร่วมมือให้ช่วยจัดส่งหมูพาณิชย์กิโลกรัมละ 98 บาทมาให้ โดยมีเหตุผลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน แต่การช่วยเหลือดังกล่าวกลับมีเงื่อนไข คือ หาซื้อได้เฉพาะในร้านค้าปลีก 4 แห่ง คือ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ และแมคโคร ตลาดที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ตลาดใหม่เจริญกรุง ตลาดเก่าเยาวราช ตลาดหัวรถไฟ ตลาดศาลาน้ำเย็น ตลาดพรานนก ตลาดใหม่อินเตอร์มาร์ท ปทุมธานี ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และค้าภายในจังหวัดเท่านั้น โดยมีระยะเวลาขายทั้งสิ้น 2 เดือน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ เกิดความปั่นป่วนในระบบการค้าเนื้อหมู พ่อค้าแม่ค้าที่ขายเนื้อหมูในตลาด ถูกประชาชนต่อว่าทำไมไม่ขายกิโลกรัมละ 98 บาทตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ ทำให้ค้าขายได้ลำบากขึ้น ขณะที่ประชาชนเอง ก็หาซื้อหมู 98 บาทได้ยาก เพราะมีขายเพียงไม่กี่แห่ง ที่สำคัญ หมู 98 บาทยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะผู้ผลิตหลายรายได้กลับลำไม่ยอมจัดส่งเนื้อหมูให้ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้
เมื่อเกิดความปั่นป่วนขึ้น วันที่ 7 มี.ค.2551 พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รมช.พาณิชย์ ได้ออกมาตำหนิถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหมูของนายมิ่งขวัญว่า ไม่มีความชัดเจน ทำให้ประชาชนสับสน พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางออกว่า การแก้ไขปัญหาหมูแพง ควรจะแก้ทั้งระบบ ต้องดูแลตั้งแต่ลูกหมู หมูเป็น จนเป็นหมูชำแหละ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในส่วนของการปรับลดราคาสินค้า เมื่อครบกำหนดวันที่ 6 มี.ค. นายมิ่งขวัญไม่สามารถประกาศรายการสินค้าที่จะลดราคาหรือตรึงราคาได้ โดยให้เหตุผลว่า มีรายการสินค้าไม่ชัดเจน การปรับลดราคาไม่ชัดเจน จึงขอให้กรมการค้าภายในไปหารือกับผู้ผลิตให้ชัดเจน และจะประกาศผลในวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งเมื่อถึงวันที่ 10 มี.ค. นายมิ่งขวัญ ได้ประกาศว่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิต 12 ราย ได้แก่ ดูเม็กซ์ มี้ดจอห์นสัน เนสเล่ห์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน สหพัฒน์ พีแซทคัสสัน ยูนิลิเวอร์ ไลอ้อน พีแอนด์จี โอสถสภา คอลเกต และคาโอ นำสินค้าจำนวน 60 รายการมาปรับลดราคา แยกเป็น นมผง 15 รายการ ของใช้ประจำวัน 45 รายการ ได้แก่ ผงซักฟอก 14 รายการ สบู่ 6 รายการ แชมพู 5 รายการ ครีมนวดผม 1 รายการ ยาสีฟัน 7 รายการ แปรงสีฟัน 3 รายการ แป้งโรยตัว 4 รายการ และอื่นๆ 5 รายการ มีระยะเวลา 2-6 เดือน
การประกาศปรับลดรายการสินค้าในครั้งนี้ ผู้ผลิตได้ให้เหตุผลว่า สินค้าที่นำมาลดราคา ปกติผู้ประกอบการก็มีการลดราคาอยู่แล้ว เพราะมีการแข่งขันกันด้านราคาระหว่างผู้ผลิต โดยราคาขายจริงกับข้างกล่องลดลงมากอยู่แล้ว สามารถไปดูในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกได้เลย จนมีการพูดกันว่านายมิ่งขวัญดึงเอาโปรโมชั่นของห้างมาเป็นผลงานของตัวเอง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น สินค้าที่ระบุไว้มีราคาลดลงก็จริง แต่สินค้ารายการอื่นๆ กลับมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้จากตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนก.พ. และมี.ค. ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์เองว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% และ 5.3%
นอกจากการปรับลดราคาสินค้า นายมิ่งขวัญยังไปบีบให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และฮัทช์ ปรับลดราคาค่าซิมการ์ด และค่าโทรศัพท์ลงมาอีก ทั้งๆ ที่ค่าโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยต่ำที่สุดในโลกอยู่แล้วในขณะนี้ ซึ่งทางผู้ประกอบการก็ยอมลดราคาให้ โดยนำซิมราคาถูกมาจำหน่ายจำนวน 1 แสนซิมการ์ด โปรโมชั่นโทรนาทีละ 50 สตางค์ เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.2551 แต่จนถึงวันนี้ มีเพียงบางรายเท่านั้นที่ประกาศว่าจะเริ่มขายซิมการ์ดได้
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลงานต่อมา นายมิ่งขวัญได้ทำให้ตลาดข้าวปั่นป่วนอย่างหนัก มีการเก็งกำไรเกิดขึ้น เพราะไปพูดชี้นำว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นถึงตันละ 30,000 บาท จนทำให้พ่อค้าเก็งกำไร มีการกักตุนข้าว ทำให้ข้าวขาดแคลน และการพูดก็พูดไม่ชัดเจนว่าข้าวชนิดใดที่จะราคาสูงถึง 30,000 บาท เพราะข้าวที่จะมีราคาสูงถึงขนาดนี้ได้ ก็มีเพียงข้าวหอมมะลิที่ราคาส่งออกขณะนี้ขยับไปถึงตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐแล้วเท่านั้น
การออกมาระบุเช่นนี้ ทำให้มีการกักตุนข้าว พ่อค้าส่งออกหาซื้อข้าวไม่ได้ พ่อค้าทำข้าวถุง ก็หาซื้อข้าวไม่ได้ เพราะคนเก็งกำไร ก็กักตุนข้าวเอาไว้ขายตอนราคา 30,000 บาท แต่ข้าวที่อยู่ในมือชาวนา ซึ่งเป็นคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆ กลับไม่มีแล้ว เพราะขายไปหมดแล้ว จนในที่สุดนายมิ่งขวัญเห็นทีว่าจะปั่นป่วนกันหนัก ก็เลยออกมาพูดซ้ำว่าให้รีบขายได้แล้ว เพราะราคาถึงเป้าหมายแล้ว
สิ่งที่นายมิ่งขวัญพูด ทั้งสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ สมาคมโรงสีไทย กลุ่มเกษตรกร ต่างไม่เห็นด้วย เพราะคนเป็นผู้กำหนดนโยบายไม่ควรจะเป็นผู้ชี้นำอะไรมากเกินไป และการพูดอะไร ก็ควรจะพูดให้ชัดเจน ราคา 30,000 บาท ไม่ใช่ว่าจะขายได้สำหรับข้าวทุกชนิด มีเพียงข้าวบางชนิดเท่านั้นที่ขายได้ อย่าให้ความหวังโดยไม่เป็นจริง
ส่วนการแก้ไขปัญหาข้าวเพื่อการบริโภคในประเทศที่มีราคาแพงขึ้น นายมิ่งขวัญประกาศไว้ว่าจะนำข้าวในสต๊อกของรัฐที่มีอยู่ 2.1 ล้านตัน โดยแบ่งมาส่วนหนึ่งเพื่อทำข้าวบรรจุถุง 5 กิโลกรัมขายในราคาต้นทุนให้กับประชาชน และมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 เม.ย. อนุมัติให้นำข้าวในสต๊อก 6.5 แสนตันมาบรรจุถุงขายในราคา 72-86 บาท แต่พอมาวันที่ 5 เม.ย. นายมิ่งขวัญกลับประกาศใหม่ว่าจะไม่มีการนำข้าวมาบรรจุถุงขายแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องเก็บไว้เป็นสต๊อกฉุกเฉิน เป็นการกลับตาลปัตรคำพูดในรอบไม่กี่วัน.