รัฐบาลใช้ NBT ถ่ายทอดสดสัมมนารัฐธรรมนูญ ระดม ส.ส.-นักวิชาการเครือข่าย "ทักษิณ" กรอกหูชาวบ้านหนุนแก้ไข รธน. โจมตีฝ่ายคัดค้าน "วรพล" ยกแม่น้ำทั้ง 5 กล่าวหา รธน.ไม่เป็นประชาธิปไตย อ้างตุลาการศาล รธน.จับมือ กกต.คุกคามนักการเมือง การแก้ไขต้องเผชิญหน้ากับ "ก๊กอำนาจผสม" แขวะ "ธีรยุทธ์ บุญมี" อินไซเดอร์ปั่นหุ้นการเมือง "เจิมศักดิ์" เฉ่งรัฐบาลปล่อยถ่ายทอดสดบิดเบือนข้อมูล ท้าแน่จริงเชิญ 2 ฝ่ายไปออกทีวีพร้อมกัน
วานนี้ (7 เม.ย.) ที่โรงแรงรามาการ์เดนส์ ชมรมสมาชิกวุมิสภา 2543-2549 ร่วมกับสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย แสะสหภาพครูแห่งชาติร่วมกันจัดสัมมนา "แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เพื่อใคร ประชาชนได้อะไร" โดยมีอดีตส.ว.ที่มีสายสัมพันธ์กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก อาทิ นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภาปี 2543 นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว.กทม. นายไสว พราหมมณี อดีตส.ว.นครราชสีมา นายคำนวณ ชโลปถัมน์ อดีตส.ว. สิงห์บุรี นายสามารถ รัตนประทีปพร อดีตส.ว หนองบัวลำภู พ.อ.สมคิด ศรีสังคม ส.ว.อุดรธานี นายบุญทัน ดอกไทสง อดีตส.ว.นครราชสีมา พล.อ.มนัส อร่ามศรี อดีตส.ว.สุพรรณบุรี ขณะเดียวกันยังมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ NBT หรือเดิมคือช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับชมด้วย
นายกมล ทองธรรมชาติ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการเพิ่มสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนไม่เคยได้รับมาก่อนถึง 53 ประเด็นด้วยกัน และได้มีการรับรองสิทธิของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และ ต้องการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้เกิดขึ้นภายในประเทศแต่ถึงแม้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะดีอย่างไรมันก็ยังมีจุดบกพร่องที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในหลายส่วนคือ 1. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เพราะหลักของการกำหนดความสัมพันธ์ของรัฐบาลและรัฐสภาว่าใครควรจะคุมกันอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ส.ว.สามารถตรวจสอบฝ่ายบริหาร ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองได้ แต่ส.ว.ปี 2550 ไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นส.ว.ที่มาจาประชาชนเพราะส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา การให้อำนาจคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งปลดคนที่มาจากการเลือกตั้งจะทำได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้น่าจะได้รับการแก้ไข เพื่อความเป็นประชาธิปไตยและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
***"วรพล"อ้าง รธน.เป็น ปชต.น้อย
นายวรพล พรหมิกบุตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นประชาธิปไตยน้อยมาก สาระของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีบทบัญญัติประกอบเข้าด้วยกันจนหลายเป็นการกดขี่อำนาจอธิปไตยของประชาชนมากที่สุด เพราะอำนาจ 2 ใน 3 ส่วนหลัก ประชาชนถูกแย่งไปใช้โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง เช่นอำนาจนิติบัญญัติที่สามารถยับยั้งพิจารณาถ่วงดุลการใช้กฎหมายอย่าง ส.ว. ที่ยึดโยงกับหลักการประชาธิปไตยแต่ ส.ว.ชุดนี้มี 74 คนที่ยึดโยงจากการรัฐประหาร ซึ่งได้มาจากการสรรหา จากคนกลุ่มแคบที่ได้สิทธิพิเศษจากอำนาจเผด็จการแต่งตั้งขึ้นและเมื่อมีการสรรหาก็จัดให้พวกพ้องตนเอง
ดังนั้นส.ว.สรรหาทั้ง. 74 จึงทำหน้าที่แย่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย จนจะกลายเป็นฝ่ายค้านในสภา อำนาจประชาชนในการใช่อำนาจนิติบัญญัติถูกปล้นไปใช้จากส.ว.สรรหาทั้ง 74 คน
ส่วนอำนาจตุลการ ก็มีการแบ่งแยกออกเป็นหลายส่วนคือตุลาการสมัยใหม่ ที่มี ตุลาการรัฐธรรรมนูญที่ ส.ว. 74 คนมาจากการสรรหาทำการรับรองและเป็นตุลาการ ที่มาจาก คมช. ที่แต่งตั้งโดย คปค.และได้รับอภิสิทธิ์พิเศษและใช้อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจตุลาการการเมือง เหตุการณ์แบบนี้เป็นการดึงเอาคนจากตุลาการ มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในคดียุบพรรค ซึ่งเหมือนกับกรณีที่พรรคไทยรักไทย ที่ถูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ตนได้ต่อสู้มาตลอดว่าเป็นการขัดหลักนิติธรรม
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญถ้าเป็นศาลการเมืองต้องมีอำนาจยึดโยง การเมือง แต่ศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้กำลังจะคุกคามนักการเมืองโดยการร่วมมือกับกกต.โดยออกคำสั่งยุบพรรคและอาศัยอำนาจส.ว.ในการถอนถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองทุกตำแหน่งซึ่งอำนาจของ ส.ว.นี้เป็นอำนาจเด็ดขาดการ ซึ่งการถอดถอน ของ ส.ว.ให้ใช้การถอนถอน 3 ใน 5 ซึ่ง ส.ว. 74 คนที่มาจากอภิสิทธิ์ชนไปหา ส.ว. จากการเลือกตั้งอีก 16 คน รวมกันเป็น 90 คนก็สามารถถอนถอนหรือปลดนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงจะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่กดขี่อำนาจประชาชนคนไทยมากที่สุด
***ซัดกลุ่มขวางแก้เป็น"ก๊กอำนาจผสม"
นายวรพลกล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ผู้ที่ต้องการแก้ไขจะเผชิญกับนักวิชาการ สื่อมวลชนที่เป็นเครือข่ายอุปถัมน์หรือเป็น "ก๊กอำนาจผสม" ใช้ช่องทางรัฐประหารและส่งคนของตนเองมาสู่การเมืองและเอาเปรียบประชาชนยิ่งกว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต ซึ่งก๊กเหล่านี้มีสมาชิกส่วนหนึ่งเป็นนักการเมือง นักวิชาการ และนักสื่อสารมวลชน คนของก๊กนี้จะเคลื่อนออกมาต้านทานประชาชนที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งในแวดวงวิชาการที่เป็นส่วนหนี่ง ของก๊กนี้ และได้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งข้อมูลผ่านสื่อมวลชนให้ประชาชนเข้าใจผิด กระบวนการตรงส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
"วันนี้ผมขอแตะการวิเคราะห์ของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ที่ท่านได้ออกมาพูด ยอมรับว่าได้วิเคราะห์ผิดในเรื่องคะแนนเสียงของพรรคพลังประชาชน ผมอยากจะบอกว่าที่ท่านวิเคราะห์ผิดนั้นเป็นเพราะท่านมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ล่วงหน้า ท่านเป็นอินไซด์เดอร์มีข้อมูลวงในที่เป็นหุ้นทางการเมือง ในการรัฐประหาร19 ก.ย. ท่านรู้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และเมื่อท่านตั้งวัตถุประสงค์จนได้เนื้อหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็แถลงข่าวยืนยันวัตถุประสงค์ที่ท่านเชื่อโดยการแถลงข่าวโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้าใจ อาจารย์ธีรยุทธไม่เข้าใจว่าโครงสร้างประชาธิปไตยไม่เคยถูกทำลายเพียงแต่เปลี่ยนถ่ายจากพรรคไทยรักไทยไปสู่ชื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการแถลงข่าวของอาจารย์ธีรยุทธในครั้งนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อการ การต่อสู้ของเราเพราะแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ธีรยุทธได้ข่าวอินไซด์เดอร์มาแล้วว่าจะมีการยุบพรรคพลังประชาชนแน่"
***ปล่อย นปก.ถล่มฝ่ายค้านออกอากาศ
นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้หลาบฝ่รยลดทิฐิความเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ และอยากให้นำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี2550 มาปรับใช่ร่วมกัน ซึ่งหากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันไม่เกิน 3 เดือนก็น่าจะเสร็จ อย่าเอารัฐธรรมนูญมาเป็นเงื่อนไขเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการช่วงท้ายของการสัมมนา วิทยากรได้เปิดโอกาส ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนส่วนใหญ่มาจาก ชุนชนย่านคลองเตย และประชาชนที่ร่วมไฮปาร์คกับ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.)ได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกล่าวโจมตีผู้ที่คัดค้านผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 โดยไม่ตัด
***เฉ่งปล่อยช่อง 11 ถ่ายทอดบิดเบือน
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ส.ร.และ อดีต ส.ว.ปี 2543 ให้สัมภาษณ์ถึงการสัมมนาของชมรมสมาชิกวุฒิสภาฯครั้งนี้ว่า เจตนาในการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อต้องการ รับใช้กลุ่มระบอบทักษิณ ซึ่งบุคคลทั้งหมดที่เป็นวิทยากรในวันนี้ก็เป็นกลุ่มของระบอบทักษิณอย่างนายกระมล ก็เป็นหนึ่งในตุลการศาลรัฐธรรมนูญที่ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง ซึ่งให้ระวังว่าจะถูกลงโทษ และการตัดสินคดีซุกหุ้นภาค 1 ชอง พ.ต.ท.ทักษิณ นายกมล ก็ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด ซึ่งเจตนารมณ์ของคนแหล่านี้ก็เห็นชัดเจนว่ารับใช้ใคร โดยเจตนาที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ต้องการแก้ไขรัฐธรรมเพียงแค่ 2 มาตราคือ 237 และ 309 ส่วนมาตราอื่นเป็นแค่ตัวหลอกเพื่อต้องการให้ดูดี
ส่วนที่วิทยากรบางคนกล่าวในการสัมมนาว่าการได้มาของ ส.ว.ครั้งนี้มาจาก อภิสิทธิ์ชนที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คมช.นั้น นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 ซึ่งตนก็เป็นหนึ่งในส.ว.ชุดนั้นได้ทำเรื่องงามหน้า ไว้มากมายเกินคำบรรยาย ซึ่งหากจะมี ส.ว.เลือกตั้งเพียงอย่างเดียวตนมองว่า ไม่ควรมีด้วยซ้ำ มีเพียงส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งก็เพียงพอแล้วเพราะเลือกตั้งส.ว.มาก็เป็นเหมือนส.ส.ทำงานเหมือนสภาเดียวเสียงบประมาณไปอีกปีละพันล้าน
"ผมอยากถามว่าที่ผ่านในการทำงานของ ส.ว.ปี 2543 ที่มีนายสุชน ชาลีเครือ เป็นประธานวุฒิสภาได้ทำเรื่องงามหน้าไว้มาก เรายังไม่รู้สึกละอายใจกันอีกเหรอ อย่างไรก็ตามการที่ส.ส.ร.ได้ร่างรูปแบบการได้มาของ ส.ว.แบบสรรหาเนื่องจาก ต้องการให้มีการถ่วงดุล และอยากให้เปิดโอกาสให้คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยได้มีโอกาส ดูในกฎหมายของตนเองในแต่ละอาชีพ"
นายเจิมศักดิ์ ยังกล่างถึงการที่รัฐบาลให้ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสดการสัมมนาสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโจมตีฝ่ายที่คัดค้านว่า เห็นได้ชัดเจนว่าใครอยากจะออกรายการหรือถ่ายทอดสดการสัมมนาอะไรก็แล้วแต่จะต้องเป็นคนของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ช่อง 11 ได้กลายเป็นช่องถ่ายทอดเพื่อโฆษณา ให้รัฐมีการบิดเบือน ตนอยากฝากเตือนไว้ว่าสักวันหนึ่งจะไม่ไม่ใครดูช่องนี้เพราะครั้งนี้ฝ่ายการเมืองได้เข้ามายึดช่อง 11 ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครเชื่อถือ ซึ่งหากช่อง 11 แน่จริงควรให้ทั้งสองฝ่ายได้ออกรายการเพื่อพูดอธิบายอย่างเท่าเทียมกัน
"ผมไม่เข้าใจว่าช่อง 11 ไม่เชิญผมไม่พูดบ้างหรือเพราะกลัวผมกลัวความจริง ความฉลาดและความมีเหตุผลที่ผมมีจึงไม่กล้าเชิญผมไปออกรายการด้วย ทั้งนี้ในการ ประชุมของส.ส.ร.ในวันอังคารที่ 8 เม.ย.นี้ก็จะนำเรื่องเหล่านี้เข้าหารือกันด้วย ซึ่งเราก็ช่วยบ้านเมืองได้เท่าที่เราจะทำได้ นอกจากนั้นประชาชนก็จะต้องช่วยตัวเองด้วย"
***ชี้รัฐบาลทำน่าเกียจแก้ รธน.เพื่อตัวเอง
นายคมสัน โพธิ์คง อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 ปฎิเสธข้อกล่าวหาของ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า คนที่ร่างรัฐธรรมนูญทำเพื่อตัวเองเพราะ ส.ส.ร. สามารถไปดำรงตำแหน่งต่างๆ ได้หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะองค์กรอิสระ ยกเว้นตำแหน่งเดียว คือ ส.ส. ว่าส.ส.ร.ไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง หากจะลง ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งคนเลือกเข้ามาก็คือประชาชน หรือคนที่มีหน้าที่ในการเลือกเข้ามา เพราะหาก ส.ส.ร.จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองก็ต้องเขียนระบุให้ตัวเองไปเลยไม่ดีกว่าหรือ
"สิ่งที่พรรคร่วมรัฐบาลมีความพยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญในขณะนี้นั้นเป็นการไปแก้เพื่อหนีความผิดของตัวเอง ที่ได้ก่อขึ้นหลังกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้วและแก้เพื่อให้ตัวเองพ้นผิดจากการกระทำ ตรงนี้ถือเป็นการแก้รัฐธรรมนูญที่น่าเกลียดมาก"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะแก้รัฐธรรมนูญทีละมาตราหรือแก้ทั้งฉบับ นายคมสัน กล่าวว่า ทาง ส.ส.ร.ไม่ได้คัดค้านในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากพรรคร่วมรัฐบาลจะแก้ไขทั้งฉบับก็เป็นสิทธิ แต่ควรดูให้ดี เพราะบางเรื่องยังไม่ได้บังคับใช้ แล้วจะมีปัญหาตามมาได้อย่างไร นอกจากนี้ผู้ที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการศึกษาและทำวิจัยบ้างหรือไม่ว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้เมื่อปลาย ส.ค.2550 ซึ่งผ่านมา 7 เดือนกว่า มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ อย่ามาอาศัยเพียงแค่ความรู้สึก แก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง
วานนี้ (7 เม.ย.) ที่โรงแรงรามาการ์เดนส์ ชมรมสมาชิกวุมิสภา 2543-2549 ร่วมกับสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย แสะสหภาพครูแห่งชาติร่วมกันจัดสัมมนา "แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เพื่อใคร ประชาชนได้อะไร" โดยมีอดีตส.ว.ที่มีสายสัมพันธ์กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก อาทิ นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภาปี 2543 นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว.กทม. นายไสว พราหมมณี อดีตส.ว.นครราชสีมา นายคำนวณ ชโลปถัมน์ อดีตส.ว. สิงห์บุรี นายสามารถ รัตนประทีปพร อดีตส.ว หนองบัวลำภู พ.อ.สมคิด ศรีสังคม ส.ว.อุดรธานี นายบุญทัน ดอกไทสง อดีตส.ว.นครราชสีมา พล.อ.มนัส อร่ามศรี อดีตส.ว.สุพรรณบุรี ขณะเดียวกันยังมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ NBT หรือเดิมคือช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับชมด้วย
นายกมล ทองธรรมชาติ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการเพิ่มสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนไม่เคยได้รับมาก่อนถึง 53 ประเด็นด้วยกัน และได้มีการรับรองสิทธิของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และ ต้องการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้เกิดขึ้นภายในประเทศแต่ถึงแม้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะดีอย่างไรมันก็ยังมีจุดบกพร่องที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในหลายส่วนคือ 1. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เพราะหลักของการกำหนดความสัมพันธ์ของรัฐบาลและรัฐสภาว่าใครควรจะคุมกันอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ส.ว.สามารถตรวจสอบฝ่ายบริหาร ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองได้ แต่ส.ว.ปี 2550 ไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นส.ว.ที่มาจาประชาชนเพราะส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา การให้อำนาจคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งปลดคนที่มาจากการเลือกตั้งจะทำได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้น่าจะได้รับการแก้ไข เพื่อความเป็นประชาธิปไตยและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
***"วรพล"อ้าง รธน.เป็น ปชต.น้อย
นายวรพล พรหมิกบุตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นประชาธิปไตยน้อยมาก สาระของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีบทบัญญัติประกอบเข้าด้วยกันจนหลายเป็นการกดขี่อำนาจอธิปไตยของประชาชนมากที่สุด เพราะอำนาจ 2 ใน 3 ส่วนหลัก ประชาชนถูกแย่งไปใช้โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง เช่นอำนาจนิติบัญญัติที่สามารถยับยั้งพิจารณาถ่วงดุลการใช้กฎหมายอย่าง ส.ว. ที่ยึดโยงกับหลักการประชาธิปไตยแต่ ส.ว.ชุดนี้มี 74 คนที่ยึดโยงจากการรัฐประหาร ซึ่งได้มาจากการสรรหา จากคนกลุ่มแคบที่ได้สิทธิพิเศษจากอำนาจเผด็จการแต่งตั้งขึ้นและเมื่อมีการสรรหาก็จัดให้พวกพ้องตนเอง
ดังนั้นส.ว.สรรหาทั้ง. 74 จึงทำหน้าที่แย่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย จนจะกลายเป็นฝ่ายค้านในสภา อำนาจประชาชนในการใช่อำนาจนิติบัญญัติถูกปล้นไปใช้จากส.ว.สรรหาทั้ง 74 คน
ส่วนอำนาจตุลการ ก็มีการแบ่งแยกออกเป็นหลายส่วนคือตุลาการสมัยใหม่ ที่มี ตุลาการรัฐธรรรมนูญที่ ส.ว. 74 คนมาจากการสรรหาทำการรับรองและเป็นตุลาการ ที่มาจาก คมช. ที่แต่งตั้งโดย คปค.และได้รับอภิสิทธิ์พิเศษและใช้อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจตุลาการการเมือง เหตุการณ์แบบนี้เป็นการดึงเอาคนจากตุลาการ มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในคดียุบพรรค ซึ่งเหมือนกับกรณีที่พรรคไทยรักไทย ที่ถูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ตนได้ต่อสู้มาตลอดว่าเป็นการขัดหลักนิติธรรม
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญถ้าเป็นศาลการเมืองต้องมีอำนาจยึดโยง การเมือง แต่ศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้กำลังจะคุกคามนักการเมืองโดยการร่วมมือกับกกต.โดยออกคำสั่งยุบพรรคและอาศัยอำนาจส.ว.ในการถอนถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองทุกตำแหน่งซึ่งอำนาจของ ส.ว.นี้เป็นอำนาจเด็ดขาดการ ซึ่งการถอดถอน ของ ส.ว.ให้ใช้การถอนถอน 3 ใน 5 ซึ่ง ส.ว. 74 คนที่มาจากอภิสิทธิ์ชนไปหา ส.ว. จากการเลือกตั้งอีก 16 คน รวมกันเป็น 90 คนก็สามารถถอนถอนหรือปลดนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงจะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่กดขี่อำนาจประชาชนคนไทยมากที่สุด
***ซัดกลุ่มขวางแก้เป็น"ก๊กอำนาจผสม"
นายวรพลกล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ผู้ที่ต้องการแก้ไขจะเผชิญกับนักวิชาการ สื่อมวลชนที่เป็นเครือข่ายอุปถัมน์หรือเป็น "ก๊กอำนาจผสม" ใช้ช่องทางรัฐประหารและส่งคนของตนเองมาสู่การเมืองและเอาเปรียบประชาชนยิ่งกว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต ซึ่งก๊กเหล่านี้มีสมาชิกส่วนหนึ่งเป็นนักการเมือง นักวิชาการ และนักสื่อสารมวลชน คนของก๊กนี้จะเคลื่อนออกมาต้านทานประชาชนที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งในแวดวงวิชาการที่เป็นส่วนหนี่ง ของก๊กนี้ และได้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งข้อมูลผ่านสื่อมวลชนให้ประชาชนเข้าใจผิด กระบวนการตรงส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
"วันนี้ผมขอแตะการวิเคราะห์ของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ที่ท่านได้ออกมาพูด ยอมรับว่าได้วิเคราะห์ผิดในเรื่องคะแนนเสียงของพรรคพลังประชาชน ผมอยากจะบอกว่าที่ท่านวิเคราะห์ผิดนั้นเป็นเพราะท่านมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ล่วงหน้า ท่านเป็นอินไซด์เดอร์มีข้อมูลวงในที่เป็นหุ้นทางการเมือง ในการรัฐประหาร19 ก.ย. ท่านรู้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และเมื่อท่านตั้งวัตถุประสงค์จนได้เนื้อหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็แถลงข่าวยืนยันวัตถุประสงค์ที่ท่านเชื่อโดยการแถลงข่าวโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้าใจ อาจารย์ธีรยุทธไม่เข้าใจว่าโครงสร้างประชาธิปไตยไม่เคยถูกทำลายเพียงแต่เปลี่ยนถ่ายจากพรรคไทยรักไทยไปสู่ชื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการแถลงข่าวของอาจารย์ธีรยุทธในครั้งนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อการ การต่อสู้ของเราเพราะแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ธีรยุทธได้ข่าวอินไซด์เดอร์มาแล้วว่าจะมีการยุบพรรคพลังประชาชนแน่"
***ปล่อย นปก.ถล่มฝ่ายค้านออกอากาศ
นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้หลาบฝ่รยลดทิฐิความเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ และอยากให้นำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี2550 มาปรับใช่ร่วมกัน ซึ่งหากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันไม่เกิน 3 เดือนก็น่าจะเสร็จ อย่าเอารัฐธรรมนูญมาเป็นเงื่อนไขเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการช่วงท้ายของการสัมมนา วิทยากรได้เปิดโอกาส ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนส่วนใหญ่มาจาก ชุนชนย่านคลองเตย และประชาชนที่ร่วมไฮปาร์คกับ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.)ได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกล่าวโจมตีผู้ที่คัดค้านผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 โดยไม่ตัด
***เฉ่งปล่อยช่อง 11 ถ่ายทอดบิดเบือน
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ส.ร.และ อดีต ส.ว.ปี 2543 ให้สัมภาษณ์ถึงการสัมมนาของชมรมสมาชิกวุฒิสภาฯครั้งนี้ว่า เจตนาในการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อต้องการ รับใช้กลุ่มระบอบทักษิณ ซึ่งบุคคลทั้งหมดที่เป็นวิทยากรในวันนี้ก็เป็นกลุ่มของระบอบทักษิณอย่างนายกระมล ก็เป็นหนึ่งในตุลการศาลรัฐธรรมนูญที่ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง ซึ่งให้ระวังว่าจะถูกลงโทษ และการตัดสินคดีซุกหุ้นภาค 1 ชอง พ.ต.ท.ทักษิณ นายกมล ก็ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด ซึ่งเจตนารมณ์ของคนแหล่านี้ก็เห็นชัดเจนว่ารับใช้ใคร โดยเจตนาที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ต้องการแก้ไขรัฐธรรมเพียงแค่ 2 มาตราคือ 237 และ 309 ส่วนมาตราอื่นเป็นแค่ตัวหลอกเพื่อต้องการให้ดูดี
ส่วนที่วิทยากรบางคนกล่าวในการสัมมนาว่าการได้มาของ ส.ว.ครั้งนี้มาจาก อภิสิทธิ์ชนที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คมช.นั้น นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 ซึ่งตนก็เป็นหนึ่งในส.ว.ชุดนั้นได้ทำเรื่องงามหน้า ไว้มากมายเกินคำบรรยาย ซึ่งหากจะมี ส.ว.เลือกตั้งเพียงอย่างเดียวตนมองว่า ไม่ควรมีด้วยซ้ำ มีเพียงส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งก็เพียงพอแล้วเพราะเลือกตั้งส.ว.มาก็เป็นเหมือนส.ส.ทำงานเหมือนสภาเดียวเสียงบประมาณไปอีกปีละพันล้าน
"ผมอยากถามว่าที่ผ่านในการทำงานของ ส.ว.ปี 2543 ที่มีนายสุชน ชาลีเครือ เป็นประธานวุฒิสภาได้ทำเรื่องงามหน้าไว้มาก เรายังไม่รู้สึกละอายใจกันอีกเหรอ อย่างไรก็ตามการที่ส.ส.ร.ได้ร่างรูปแบบการได้มาของ ส.ว.แบบสรรหาเนื่องจาก ต้องการให้มีการถ่วงดุล และอยากให้เปิดโอกาสให้คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยได้มีโอกาส ดูในกฎหมายของตนเองในแต่ละอาชีพ"
นายเจิมศักดิ์ ยังกล่างถึงการที่รัฐบาลให้ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสดการสัมมนาสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโจมตีฝ่ายที่คัดค้านว่า เห็นได้ชัดเจนว่าใครอยากจะออกรายการหรือถ่ายทอดสดการสัมมนาอะไรก็แล้วแต่จะต้องเป็นคนของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ช่อง 11 ได้กลายเป็นช่องถ่ายทอดเพื่อโฆษณา ให้รัฐมีการบิดเบือน ตนอยากฝากเตือนไว้ว่าสักวันหนึ่งจะไม่ไม่ใครดูช่องนี้เพราะครั้งนี้ฝ่ายการเมืองได้เข้ามายึดช่อง 11 ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครเชื่อถือ ซึ่งหากช่อง 11 แน่จริงควรให้ทั้งสองฝ่ายได้ออกรายการเพื่อพูดอธิบายอย่างเท่าเทียมกัน
"ผมไม่เข้าใจว่าช่อง 11 ไม่เชิญผมไม่พูดบ้างหรือเพราะกลัวผมกลัวความจริง ความฉลาดและความมีเหตุผลที่ผมมีจึงไม่กล้าเชิญผมไปออกรายการด้วย ทั้งนี้ในการ ประชุมของส.ส.ร.ในวันอังคารที่ 8 เม.ย.นี้ก็จะนำเรื่องเหล่านี้เข้าหารือกันด้วย ซึ่งเราก็ช่วยบ้านเมืองได้เท่าที่เราจะทำได้ นอกจากนั้นประชาชนก็จะต้องช่วยตัวเองด้วย"
***ชี้รัฐบาลทำน่าเกียจแก้ รธน.เพื่อตัวเอง
นายคมสัน โพธิ์คง อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 ปฎิเสธข้อกล่าวหาของ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า คนที่ร่างรัฐธรรมนูญทำเพื่อตัวเองเพราะ ส.ส.ร. สามารถไปดำรงตำแหน่งต่างๆ ได้หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะองค์กรอิสระ ยกเว้นตำแหน่งเดียว คือ ส.ส. ว่าส.ส.ร.ไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง หากจะลง ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งคนเลือกเข้ามาก็คือประชาชน หรือคนที่มีหน้าที่ในการเลือกเข้ามา เพราะหาก ส.ส.ร.จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองก็ต้องเขียนระบุให้ตัวเองไปเลยไม่ดีกว่าหรือ
"สิ่งที่พรรคร่วมรัฐบาลมีความพยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญในขณะนี้นั้นเป็นการไปแก้เพื่อหนีความผิดของตัวเอง ที่ได้ก่อขึ้นหลังกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้วและแก้เพื่อให้ตัวเองพ้นผิดจากการกระทำ ตรงนี้ถือเป็นการแก้รัฐธรรมนูญที่น่าเกลียดมาก"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะแก้รัฐธรรมนูญทีละมาตราหรือแก้ทั้งฉบับ นายคมสัน กล่าวว่า ทาง ส.ส.ร.ไม่ได้คัดค้านในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากพรรคร่วมรัฐบาลจะแก้ไขทั้งฉบับก็เป็นสิทธิ แต่ควรดูให้ดี เพราะบางเรื่องยังไม่ได้บังคับใช้ แล้วจะมีปัญหาตามมาได้อย่างไร นอกจากนี้ผู้ที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการศึกษาและทำวิจัยบ้างหรือไม่ว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้เมื่อปลาย ส.ค.2550 ซึ่งผ่านมา 7 เดือนกว่า มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ อย่ามาอาศัยเพียงแค่ความรู้สึก แก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง