ผู้จัดการรายวัน-“มิ่งขวัญ”กล่อมผู้ผลิตปุ๋ยเฉือนเนื้อ ส่งปุ๋ยราคาหักส่วนลดตันละ 200-1,000 บาทจำนวน 1.3 แสนตันให้พาณิชย์ขาย เริ่ม 18 เม.ย.จนถึงสิ้นเดือน พร้อมเดินหน้าดูโครงสร้างปุ๋ยทั้งระบบก่อนกำหนดราคาแนะนำ นัดชาวนา ผู้ผลิตข้าวถุง ผู้ส่งออก ผู้ผลิตปุ๋ย ถกใหญ่ 5 เม.ย.นี้ “บรรยิน”ตามสอนมวยเรื่องปุ๋ย แนะให้ปรับมาตรการควบคุม แฉปุ๋ยออกจากโรงงานถึงมือเกษตรกรฟันกำไรตันละ 5 พัน มันสูงไป บอกให้นำเข้ามาขายเองจะดีกว่า
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้ผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่จำนวน 6 ราย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 75% ซึ่งทางผู้ผลิตได้แจ้งว่าจะนำปุ๋ยจำนวน 1.3 แสนตัน สำหรับใช้ปลูกข้าวและพืชชนิดอื่นๆ โดยหักส่วนลดประมาณตันละ 200-1,000 บาท ออกมาจำหน่ายให้กับเกษตรกร และให้กระทรวงพาณิชย์เป็นคนกลางในการจัดจำหน่าย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.จนถึงสิ้นเดือนนี้
“ตอนนี้ใครที่สนใจให้ติดต่อมายังกรมการค้าภายใน โดยจะขายหลังจากสงกรานต์ไปแล้ว ราคาก็เป็นราคาที่หักส่วนลดแล้ว ซึ่งปุ๋ยที่นำมาจำหน่ายจำนวนนี้ คิดเป็น 33% ของการใช้ปุ๋ยในเดือนเม.ย. ซึ่งจะช่วยบรรเทาเรื่องปุ๋ยมีราคาแพงให้กับเกษตรกรได้ส่วนหนึ่ง โดยผลจากการหักส่วนลดดังกล่าว ผู้ผลิตจะเสียรายได้ประมาณ 70 ล้านบาท”นายมิ่งขวัญกล่าว
สำหรับผู้ประกอบการทั้ง 6 ราย ได้แก่ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตร บริษัท เจียไต๋ จำกัด บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) บริษัท โรจน์กสิกิจ เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด บริษัท ไอซีพี เฟอทิไลเซอร์ จำกัด และบริษัท สหายเกษตรเคมีภัณฑ์ จำกัด
นายมิ่งขวัญกล่าวว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง ต่อไปจะเป็นเรื่องของคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ย ที่มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน จะเป็นผู้พิจารณา โดยจะดูต้นทุนของปุ๋ยทั้งหมด และกำหนดราคาที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งระบบมาหารือ ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวถุง ผู้ส่งออก และผู้ผลิตปุ๋ย มาหารือร่วมกัน ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยต้องการให้ทุกฝ่ายมาชี้แจงปัญหาของแต่ละฝ่าย ไม่อยากให้พูดกันไปคนละทิศละทาง เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะไม่ได้ข้อยุติ
นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรกรไทย กล่าวว่า หากกระทรวงพาณิชย์สามารถจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยราคาถูกให้กับผู้ผลิตได้ ผู้ผลิตก็พร้อมที่จะปรับลดราคาลงมาตามที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการได้ เพราะวัตถุดิบปุ๋ยยังมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ต้นทุนในการขนส่งก็ยังปรับเพิ่มอีก 20% ทำให้ราคาปุ๋ยต้องปรับเพิ่มขึ้นตาม ส่วนกรณีที่ผู้ผลิตปุ๋ยแจ้งราคานำเข้าสูงเกินจริง ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากข้อมูลการนำเข้าทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้
พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรว่าปุ๋ยมีราคาแพงมาก โดยมีราคาสูงถึงตันละ 19,000 บาท แต่ราคาจากโรงงานแค่ 14,000 บาท ซึ่งส่วนต่างอีก 5,000 บาทมาจากไหน ไปเพิ่มตรงไหน ทำไมไม่เข้าไปดู ซึ่งหากไปตรวจสอบตรงนี้ เชื่อว่าปุ๋ยจะมีราคาถูกลง และเห็นอีกว่าควรจะปรับมาตรการดูแลปุ๋ยใหม่ เพราะการดูแลราคาหน้าโรงงาน ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพงได้เลย
“ต้องมีการปรับปรุงมาตรการควบคุมปุ๋ยใหม่ ไปดูทำไมแค่หน้าโรงงาน ต้องดูทั้งระบบ ไม่ใช่ออกจากโรงงานราคา 14,000 บาท ไปถึงชาวนา 19,000 บาท บวกเพิ่มกันอีก 5,000 บาท ไม่รู้กี่ต่อ ผมว่าถ้าอยากจะแก้ปัญหาปุ๋ย ถ้ามันแพงอย่างนี้ ทำไมไม่นำเข้า แล้วมาจัดสรรเอง ต้นทุนก็ถูกกว่า ขายให้ชาวนาก็ได้ราคาถูกกว่า ผมว่าชาวนาอย่างเห็นตรงนี้มากกว่า ไม่ใช่ว่าราคาข้าวสูงขึ้น แต่ปุ๋ยแพง มันจะได้กำไรยังไง”พ.ต.ท.บรรยิน กล่าว
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้ผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่จำนวน 6 ราย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 75% ซึ่งทางผู้ผลิตได้แจ้งว่าจะนำปุ๋ยจำนวน 1.3 แสนตัน สำหรับใช้ปลูกข้าวและพืชชนิดอื่นๆ โดยหักส่วนลดประมาณตันละ 200-1,000 บาท ออกมาจำหน่ายให้กับเกษตรกร และให้กระทรวงพาณิชย์เป็นคนกลางในการจัดจำหน่าย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.จนถึงสิ้นเดือนนี้
“ตอนนี้ใครที่สนใจให้ติดต่อมายังกรมการค้าภายใน โดยจะขายหลังจากสงกรานต์ไปแล้ว ราคาก็เป็นราคาที่หักส่วนลดแล้ว ซึ่งปุ๋ยที่นำมาจำหน่ายจำนวนนี้ คิดเป็น 33% ของการใช้ปุ๋ยในเดือนเม.ย. ซึ่งจะช่วยบรรเทาเรื่องปุ๋ยมีราคาแพงให้กับเกษตรกรได้ส่วนหนึ่ง โดยผลจากการหักส่วนลดดังกล่าว ผู้ผลิตจะเสียรายได้ประมาณ 70 ล้านบาท”นายมิ่งขวัญกล่าว
สำหรับผู้ประกอบการทั้ง 6 ราย ได้แก่ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตร บริษัท เจียไต๋ จำกัด บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) บริษัท โรจน์กสิกิจ เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด บริษัท ไอซีพี เฟอทิไลเซอร์ จำกัด และบริษัท สหายเกษตรเคมีภัณฑ์ จำกัด
นายมิ่งขวัญกล่าวว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง ต่อไปจะเป็นเรื่องของคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ย ที่มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน จะเป็นผู้พิจารณา โดยจะดูต้นทุนของปุ๋ยทั้งหมด และกำหนดราคาที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งระบบมาหารือ ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวถุง ผู้ส่งออก และผู้ผลิตปุ๋ย มาหารือร่วมกัน ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยต้องการให้ทุกฝ่ายมาชี้แจงปัญหาของแต่ละฝ่าย ไม่อยากให้พูดกันไปคนละทิศละทาง เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะไม่ได้ข้อยุติ
นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรกรไทย กล่าวว่า หากกระทรวงพาณิชย์สามารถจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยราคาถูกให้กับผู้ผลิตได้ ผู้ผลิตก็พร้อมที่จะปรับลดราคาลงมาตามที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการได้ เพราะวัตถุดิบปุ๋ยยังมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ต้นทุนในการขนส่งก็ยังปรับเพิ่มอีก 20% ทำให้ราคาปุ๋ยต้องปรับเพิ่มขึ้นตาม ส่วนกรณีที่ผู้ผลิตปุ๋ยแจ้งราคานำเข้าสูงเกินจริง ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากข้อมูลการนำเข้าทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้
พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรว่าปุ๋ยมีราคาแพงมาก โดยมีราคาสูงถึงตันละ 19,000 บาท แต่ราคาจากโรงงานแค่ 14,000 บาท ซึ่งส่วนต่างอีก 5,000 บาทมาจากไหน ไปเพิ่มตรงไหน ทำไมไม่เข้าไปดู ซึ่งหากไปตรวจสอบตรงนี้ เชื่อว่าปุ๋ยจะมีราคาถูกลง และเห็นอีกว่าควรจะปรับมาตรการดูแลปุ๋ยใหม่ เพราะการดูแลราคาหน้าโรงงาน ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพงได้เลย
“ต้องมีการปรับปรุงมาตรการควบคุมปุ๋ยใหม่ ไปดูทำไมแค่หน้าโรงงาน ต้องดูทั้งระบบ ไม่ใช่ออกจากโรงงานราคา 14,000 บาท ไปถึงชาวนา 19,000 บาท บวกเพิ่มกันอีก 5,000 บาท ไม่รู้กี่ต่อ ผมว่าถ้าอยากจะแก้ปัญหาปุ๋ย ถ้ามันแพงอย่างนี้ ทำไมไม่นำเข้า แล้วมาจัดสรรเอง ต้นทุนก็ถูกกว่า ขายให้ชาวนาก็ได้ราคาถูกกว่า ผมว่าชาวนาอย่างเห็นตรงนี้มากกว่า ไม่ใช่ว่าราคาข้าวสูงขึ้น แต่ปุ๋ยแพง มันจะได้กำไรยังไง”พ.ต.ท.บรรยิน กล่าว