เอเอฟพี - ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เตือนว่าเอเชียกำลังเผชิญหน้ากับการขาดแคลนแรงงานมีฝีมืออย่างหนักและอาจจะส่งผลถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะต่อไป ขณะเดียวกันก็พยากรณ์ว่า อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชียปีนี้จะชะลอลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี แต่ภูมิภาคนี้จำเป็นต้องรีบแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อก่อนที่มันจะบานปลายจนควบคุมไม่อยู่
ในรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำปีซึ่งออกมาเมื่อวานนี้(2) เอดีบีกล่าวว่าการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในเอเชียเกิดขึ้นในวงกว้าง สาเหตุสำคัญก็คือสมองไหล เพราะแรงงานมีความชำนัญสูงเหล่านี้เลือกจะไปทำงานในประเทศพัฒนาแล้วมากกว่า กลุ่มที่เห็นได้ชัดว่ามีความขาดแคลนก็คือ นักบัญชี, นักบินสายการบินพาณิชย์, ตำแหน่งผู้จัดการในบริษัทต่าง ๆ, วิศวกร, นักกฎหมาย, แพทย์, นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟท์แวร์
รายงานได้ยกตัวอย่างการขาดแคลนนักบินอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมการบินของจีน ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วที่ผ่านทำให้ความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่กลับขาดแคลนบุคลากรที่จะหนุนให้อุตสาหกรรมพัฒนาไปตามที่ต้องการ
นอกจากนี้ เอดีบีบอกว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือยิ่งรุนแรง อาทิ การพัฒนามาตรฐานให้เทียบเท่าระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม, บรรษัทภิบาล รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางด้านการเงิน การยกระดับเช่นนี้ทำให้เพิ่มความต้องการในบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมทั้งนักบริหารมืออาชีพ
เอดีบีแนะนำว่ารัฐบาลทุกประเทศควรหันมาสนใจระบบการศึกษาอย่างเร่งด่วน เพราะหากว่าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำธุรกิจลดลง และหากปัญหาลุกลามออกไปจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งระบบได้
รายงานชิ้นเดียวกันก็ยังระบุอีกว่าขณะนี้ในเอเชียมีแรงงานอพยพอยู่ถึง 54 ล้านคนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับความยากจนเพราะปีที่แล้ว แรงงานอพยพแห่งเอเชียส่งเงินกลับบ้านเกิดถึง 100,080 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินจำนวนนี้เองที่ทำให้คนยากจนในเขตชนบทมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต่าง ๆควรจะสนับสนุนคนเหล่านี้ด้วยการทำให้การย้ายถิ่นและทำงานของพวกเขาง่ายขึ้น
แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่ก็คือประเทศในแถบนี้มักมีกฏระเบียบที่เข้มงวดมากสำหรับการย้ายถิ่นและการไหลของแรงงานเมื่อเทียบกับการไหลของสินค้า เอดีบีแนะให้ประเทศเอเชียร่วมมือกันและเปิดตลาดแรงงานระหว่างกันให้มากขึ้น ลดระเบียบต่าง ๆลงเพื่อให้ต้นทุนการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างประเทศถูกลง การไหลอย่างเสรีของแรงงานยังจะช่วยให้ลดแรงกดดันจากภาวะว่างงานสูงในหลายประเทศอีกด้วย
เอดีบีก็คล้ายคลึงกับหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกอื่น ๆก็คือทำนายว่าในปีนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียซึ่งประกอบด้วย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลีใต้ และเอเชียกลางจะลดลงเหลือ 7.6% จาก 8.2 % ในคาดการณ์เดิม และเทียบกับ 8.7% เมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขใหม่นี้นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
แต่ปี 2009 เอดีบีมองว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7.8% ภายใต้เงื่อนไขว่าวิกฤตการเงินโลกจะไม่อยู่นานนัก และเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆภายในสิ้นปีนี้ ทว่าปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับประเทศในเอเชียก็คือ เงินเฟ้อจากราคาน้ำมันและอาหารพุ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในภูมิภาคนี้
เอดีบีคาดว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะมีอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในปีนี้อยู่ที่ 5.1% อันเป็นระดับสูงที่สุดนับแต่ปี 1998 ซึ่งเป็นช่วงเกิดวิกฤตการเงินเอเชียซึ่งเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.1%
ในรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำปีซึ่งออกมาเมื่อวานนี้(2) เอดีบีกล่าวว่าการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในเอเชียเกิดขึ้นในวงกว้าง สาเหตุสำคัญก็คือสมองไหล เพราะแรงงานมีความชำนัญสูงเหล่านี้เลือกจะไปทำงานในประเทศพัฒนาแล้วมากกว่า กลุ่มที่เห็นได้ชัดว่ามีความขาดแคลนก็คือ นักบัญชี, นักบินสายการบินพาณิชย์, ตำแหน่งผู้จัดการในบริษัทต่าง ๆ, วิศวกร, นักกฎหมาย, แพทย์, นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟท์แวร์
รายงานได้ยกตัวอย่างการขาดแคลนนักบินอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมการบินของจีน ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วที่ผ่านทำให้ความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่กลับขาดแคลนบุคลากรที่จะหนุนให้อุตสาหกรรมพัฒนาไปตามที่ต้องการ
นอกจากนี้ เอดีบีบอกว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือยิ่งรุนแรง อาทิ การพัฒนามาตรฐานให้เทียบเท่าระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม, บรรษัทภิบาล รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางด้านการเงิน การยกระดับเช่นนี้ทำให้เพิ่มความต้องการในบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมทั้งนักบริหารมืออาชีพ
เอดีบีแนะนำว่ารัฐบาลทุกประเทศควรหันมาสนใจระบบการศึกษาอย่างเร่งด่วน เพราะหากว่าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำธุรกิจลดลง และหากปัญหาลุกลามออกไปจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งระบบได้
รายงานชิ้นเดียวกันก็ยังระบุอีกว่าขณะนี้ในเอเชียมีแรงงานอพยพอยู่ถึง 54 ล้านคนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับความยากจนเพราะปีที่แล้ว แรงงานอพยพแห่งเอเชียส่งเงินกลับบ้านเกิดถึง 100,080 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินจำนวนนี้เองที่ทำให้คนยากจนในเขตชนบทมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต่าง ๆควรจะสนับสนุนคนเหล่านี้ด้วยการทำให้การย้ายถิ่นและทำงานของพวกเขาง่ายขึ้น
แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่ก็คือประเทศในแถบนี้มักมีกฏระเบียบที่เข้มงวดมากสำหรับการย้ายถิ่นและการไหลของแรงงานเมื่อเทียบกับการไหลของสินค้า เอดีบีแนะให้ประเทศเอเชียร่วมมือกันและเปิดตลาดแรงงานระหว่างกันให้มากขึ้น ลดระเบียบต่าง ๆลงเพื่อให้ต้นทุนการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างประเทศถูกลง การไหลอย่างเสรีของแรงงานยังจะช่วยให้ลดแรงกดดันจากภาวะว่างงานสูงในหลายประเทศอีกด้วย
เอดีบีก็คล้ายคลึงกับหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกอื่น ๆก็คือทำนายว่าในปีนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียซึ่งประกอบด้วย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลีใต้ และเอเชียกลางจะลดลงเหลือ 7.6% จาก 8.2 % ในคาดการณ์เดิม และเทียบกับ 8.7% เมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขใหม่นี้นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา
แต่ปี 2009 เอดีบีมองว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7.8% ภายใต้เงื่อนไขว่าวิกฤตการเงินโลกจะไม่อยู่นานนัก และเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆภายในสิ้นปีนี้ ทว่าปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับประเทศในเอเชียก็คือ เงินเฟ้อจากราคาน้ำมันและอาหารพุ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในภูมิภาคนี้
เอดีบีคาดว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะมีอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในปีนี้อยู่ที่ 5.1% อันเป็นระดับสูงที่สุดนับแต่ปี 1998 ซึ่งเป็นช่วงเกิดวิกฤตการเงินเอเชียซึ่งเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.1%