กรมกร๊วกอ้าแขนรับพนักงานพีทีวี ผุดสำนักข่าวแห่งชาติ "จักรภพ" ปฏิเสธปิด "พีทีวี" ดึงคนเสริมทัพ NBT อ้างเปิดรับต้องทำตามระเบียบกรมประชาฯ ฉุนถูก "เนชั่น" วิจารณ์ดึงบริษัทใกล้ชิด "เนวิน" ร่วมงาน ปากดี ยุพนักงานASTVหนี "สนธิ" ด้าน ผอ.ASTV สวนขออยู่ข้างความถูกต้อง
นายเผชิญ ขำโพธิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยถึงกรณี สถานีโทรทัศน์ PTV ที่ได้ปิดตัวลงไปในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมาว่า เรื่องดังกล่าวมองว่าไม่ใช่เรื่องทางการเมืองแต่อย่างไร ขณะเดียวกันเมื่อถามว่าคนพีทีวี จะมาอยู่ที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือช่อง 11 ที่ขึ้นตรงกับกรมประชาสัมพันธ์นั้น ตอนนี้เชื่อว่าไม่มีแน่นอน
แต่ในอนาคตอันใกล้ จากการที่เอ็นบีทีจะมีการเปิดรับสมัครพนักงานในอีก 3 เดือนข้างหน้า การที่จะมีคนจากพีทีวีเข้าไปสมัครก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสามารถทำได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆที่เข้ามาสมัครด้วยเช่นกัน เพราะการรับสมัครบุคคลเข้ามาทำงานครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดกว้าง เช่นเดียวกับที่สถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส ได้เปิดรับสมัครอย่างที่กำลังดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตามเมื่อสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเข้าสู่สภาวะปกติ สามารถดำเนินงานต่อไปได้แล้ว ซึ่งในวันที่ 1 เม.ย.นี้ จะเป็นวันแรกของการเปลี่ยนแปลงทั้งชื่อใหม่และโลโก้ใหม่ พร้อมผังรายการข่าวที่มีทีมข่าวทีไอทีวีเดิมร่วมรายงานข่าวด้วย
ส่วนทางกรมประชาสัมพันธ์ก็จะมีการขยายงานด้านสำนักข่าวแห่งชาติอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องถัดไป โดยสำนักข่าวดังกล่าวจะทำหน้าที่รายงานข่าวเพื่อเผยแพร่สำหรับในประเทศและต่างประเทศ ผ่านทางช่องทางเอกสารสารข่าว อินเทอร์เน็ต รวมทั้งสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการในขั้นต้นไปบ้างแล้วบางส่วน และในระยะต่อไปคาดว่าจะมีการเปิดรับสมัครเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านข่าวให้มากยิ่งขึ้น
โดยที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์มีสำนักข่าวของกรมประชาสัมพันธ์อยู่ก่อนแล้ว แต่ได้มีการจัดระบบการทำงานขึ้นใหม่ คือ นักข่าววิทยุให้ขึ้นตรงกับวิทยุแห่งประเทศไทย ส่วนนักข่าวโทรทัศน์ให้ขึ้นตรงกับทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ส่วนนักข่าวอื่นๆรวมทั้งคอนเท้นท์ข่าวที่เหลือไม่ว่าจะเป็น ข่าวที่มีผลกระทบกับบ้านเมืองทั้งหลาย ให้ขึ้นตรงกับสำนักข่าวแห่งชาตินี้ โดยขณะนี้สามารถติดตามข่าว และนำไปเผยแพร่ต่อได้ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำขึ้น 2 ภาษาหลัก คือ ไทย และอังกฤษ รวมถึงภาษาพื้นบ้านอย่าง ลาว เขมร และเวียดนาม ที่สามารถรับฟังได้ทางคลื่นความถี่ของทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย
ด้าน นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกสถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส หรือ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับไทยพีบีเอสเอง ได้มีการปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์จะเข้ามาร่วมงานกับทางไทยพีบีเอส ตั้งแต่วันที่ 16-19 มกราคมที่ผ่านมา จึงเชื่อว่าคงจะไม่มีคนในพีทีวีเข้ามาสมัครแต่อย่างไร ซึ่งระหว่างนี้การรับสมัครดังกล่าว กำลังอยู่ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ คาดว่าภายในสิ้นเดือนเม.ย.นี้น่าจะเรียบร้อย ส่วนอนาคตหากจะมีการรับสมัครพนักงานเพิ่มเติม ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีพนักงานจากพีทีวีเข้ามาสมัคร
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตุว่า การปิดตัวของพีทีวีเป็นช่วงเวลาเดียวกับการที่นายจักรภพ เข้ามากำกับและปรับโฉมช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า พนักงานของพีทีวีส่วนใหญ่จะโยกย้ายเข้ามาทำงานในช่อง 11 โฉมใหม่นี้ ซึ่งกำลังถูกจับตามองจากสังคมอย่างมาก เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริงย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างมาก
"เพ็ญ" ปัดดิจิตอลสนิท "เนวิน"
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการปิด สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีทีวี ที่มีการวิจารณ์กันว่า อาจจะมีผู้บริหารหรือพนักงานบางส่วนเข้ามามีบทบาทในสถานีโทรทัศน์ NBT (National Broadcast Television) ว่า ยืนยันว่าส่วนใดก็ตามที่เป็นการดำเนินการของ พีทีวี ในอดีตที่ผ่านมา จะไม่มีมาอยู่ที่ NBT อย่างแน่นอน แต่ที่เป็นข่าวเพราะมีความพยายามของคนที่นำไปผูกโยงกัน เพราะเนื่องจากมีช่วงเวลาที่ตรงกันพอดี
อย่างไรก็ตาม การปิดพีทีวีนั้น เท่าที่ทราบเขาปิดด้วยเหตุผลด้านธุรกิจที่ดำเนินการทางการเมืองมากกว่าธุรกิจ และไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องของบริษัทเอกชน เป็นสิทธิของเขา ดังนั้นการปรับปรุงสื่อของรัฐ โดยเฉพาะNBT นั้นไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับภาคเอกชน
ส่วนที่มีการมองกันว่าเมื่อกลุ่มพันธมิตรฯมีการเคลื่อนไหว แต่ทำไมพีทีวีจึงปิดตัวนั้นนายจักรภพ กล่าวว่า ก็เป็นอย่างนี้ ถ้าพีทีวียังอยู่ก็จะบอกว่าทำไม พีทีวียังอยู่ แต่พอปิดตัวลงก็สงสัยอีกว่าทำไมจึงปิดตัว
นายจักรภพ ยังกล่าวถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง NBT ว่า ยังเป็นไปตามแผนเดิมทุกอย่าง โดยวันนี้เวลา 06.00 น. จะมีการเปลี่ยนภาคข่าว 1 ใน 3 ของผัง และในวันที่ 11 ก.ค. ก็จะมีการเปลี่ยนส่วนที่เหลือของผังในส่วนที่เป็นรายการ ดังนั้นการเข้ามาของใครก็ตาม จะต้องเป็นไปตามสารบบที่กรมประชาสัมพันธ์ได้วางระเบียบไว้ ไม่มีนโยบายใดๆ จากการเมืองลงไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้ามาผลิตรายการของบริษัทต่างๆใน NBT มีความเป็นห่วงกันว่า มีความโปร่งใสหรือไม่ นายจักรภพกล่าวว่า มีความโปร่งใสทุกขั้นตอน แต่เรื่องนี้ต้องถามทางกรมประชาสัมพันธ์ว่าเขารู้สึกหรือไม่ว่าไม่โปร่งใส ซึ่งความจริงเราไม่ต้องห่วงแทนเขาก็ได้ เพราะหากบริษัทเหล่านั้นเข้ามาโดยไม่โปร่งใส คนที่ต้องโวยก่อนก็คือคนในกรมประชาสัมพันธ์เอง
"การที่ทุกอย่างราบรื่นอย่างนี้ ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครที่ต้องเป็นธุระเดือดร้อนอะไร ยกเว้นว่าสื่อของตนเองยังไม่ได้เข้าไป ก็เลยใช้วิธีตีกินไปก่อน อย่างนี้คงไม่ใช่วิธีที่ได้ผล" รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า มีการวิจารณ์กันว่า บริษัท ดิจิตอล มีเดียฯ ที่เข้าไปผลิตรายการใน NBT มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจักรภพ กล่าวว่า "ก็เห็นมีแต่ที่เนชั่น วิจารณ์อยู่คนเดียว ไม่เห็นมีใครพูดเลย"
ผู้สื่อข่าวถามว่า กดดันหรือไม่ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 6 คณะ เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวท่านเองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อ นายจักรภพ กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กลุ่มพันธมิตรฯ หรอก เพราะถ้าวันไหนพันธมิตรฯไม่วิจารณ์ตน ตนก็จะต้องรีบไปดู ASTV เลย เพราะแสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติแล้ว ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เกิดผลสะเทือนเลยสำหรับตน ซึ่งตนรู้สึกว่าการประณามกันนั้น เมื่อครบวงจรคนก็จะเบื่อไปเอง
"ความจริงคนในASTV มีคนเก่งๆ อยู่มาก ผมก็รู้จักเป็นการส่วนตัวหลายคน แต่ทำไมมาจำกัดตัวเองอยู่แค่ภารกิจโฆษณาชวนเชื่อก็ไม่รู้ ทำไมจึงไม่ลงลึกในการชี้ปัญหาของประเทศชาติมากขึ้น คนเก่งๆ ทั้งนั้นใน ASTV เพราะเขาเตรียมไว้สำหรับการทำสถานีโทรทัศน์ที่เต็มรูปแบบ ไม่ใช่แค่โทรทัศน์ดาวเทียม ผมกำลังมองว่า คนที่คอยสั่งการให้คนใน ASTV ใช้คำหยาบคาย ใช้การโจมตีก้าวร้าวนั้น เขาจะได้ใจจากพนักงานของเขาเองไปได้นานแค่ไหน เพราะพนักงานที่นั่นเป็นมืออาชีพ หลายคนไม่ใช่ลูกจ้างของใคร หรือใช้เงินล่อ แต่หลายคนก็ถลำตัวเข้าไปแล้ว แต่ไม่รู้จะถอนตัวอย่างไร ตรงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ผมไม่ได้ห่วงผู้บริหาร ASTV หรือพันธมิตรฯ แต่ผมห่วงพนักงาน ASTV ที่มีความรู้ความสามารถ และผมก็อยากจะชี้ทางว่า หากมองโอกาสใดก็ตามที่จะกลับมาเป็นสื่อมวลชนที่เป็นกลาง และเป็นมืออาชีพได้ ก็ขอให้คิดได้ตั้งแต่บัดนี้เลย"นายจักรภพ กล่าว
“เอเอสทีวี” ขออยู่ข้างความถูกต้อง
นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี กล่าวว่า ขอบคุณนายจักรภพ ที่เห็นฝีมือของพนักงานเอเอสทีวี เพราะ 4 ปีที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า จุดยืนของเอเอสทีวีอยู่ตรงไหน แตกต่างจากพีทีวี ที่มีเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ขณะที่เอเอสทีวียังอยู่ แต่พีทีวีต้องปิดตัวลงไปก่อน ส่วนเอเอสทีวีเราก็เป็นมืออาชีพอยู่แล้ว และเราไม่ขอเป็นสื่อมวลชนที่เป็นกลางใจรัฐบาล แต่จะขอเป็นสื่อที่อยู่ข้างความถูกต้องมากกว่า
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะอดีตรองประธานสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี กล่าวกรณีที่พนักงานพีทีวีไปสมัครงานที่ช่อง 11 ว่า เป็นสิทธิ์ของพนักงาน นายจักรภพมีความรู้สึกเจ็บปวดที่มีการปิด แต่ในฐานะรัฐมนตรีคงจะไม่สามารถเข้ามาช่วยอะไรได้ ทั้งนี้ บริษัทได้จ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานด้วย คือ อายุงาน 1 ปี ชดเชยให้ 5 เดือนบวกเงินเดือนอีก 1 เดือนเป็น 6 เดือน ขณะที่พนักงานที่มีอายุงาน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี ชดเชยให้ 3 เดือนบวกเงินเดือน 1 เดือนเป็น 4 เดือน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปิดตัวลงอย่างกระทันหันอาจจะทำให้ถูกมองว่า การตั้งพีทีวีเป็นการตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือพรรคพลังประชาชน นายจตุพร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความเจ็บปวดของทุกๆ คน แต่ต้องมองตามสภาพความเป็นจริงว่า บริษัทไม่สามารถเดินต่อไปได้จึงต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ การช่วยเหลือพนักงานก่อน ตนเชื่อว่าพนักงานพีทีวีมีคุณภาพ ในฐานะที่ร่วมต่อสู้ทางการเมืองด้วยกันมา หากไม่นับเรื่องของปัญหาการเงิน เชื่อว่าพีทีวีมีบุคคลกรที่มีคุณภาพซึ่งจะสามารถเดินต่อไปได้
นายเผชิญ ขำโพธิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยถึงกรณี สถานีโทรทัศน์ PTV ที่ได้ปิดตัวลงไปในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมาว่า เรื่องดังกล่าวมองว่าไม่ใช่เรื่องทางการเมืองแต่อย่างไร ขณะเดียวกันเมื่อถามว่าคนพีทีวี จะมาอยู่ที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือช่อง 11 ที่ขึ้นตรงกับกรมประชาสัมพันธ์นั้น ตอนนี้เชื่อว่าไม่มีแน่นอน
แต่ในอนาคตอันใกล้ จากการที่เอ็นบีทีจะมีการเปิดรับสมัครพนักงานในอีก 3 เดือนข้างหน้า การที่จะมีคนจากพีทีวีเข้าไปสมัครก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสามารถทำได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆที่เข้ามาสมัครด้วยเช่นกัน เพราะการรับสมัครบุคคลเข้ามาทำงานครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดกว้าง เช่นเดียวกับที่สถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส ได้เปิดรับสมัครอย่างที่กำลังดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตามเมื่อสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเข้าสู่สภาวะปกติ สามารถดำเนินงานต่อไปได้แล้ว ซึ่งในวันที่ 1 เม.ย.นี้ จะเป็นวันแรกของการเปลี่ยนแปลงทั้งชื่อใหม่และโลโก้ใหม่ พร้อมผังรายการข่าวที่มีทีมข่าวทีไอทีวีเดิมร่วมรายงานข่าวด้วย
ส่วนทางกรมประชาสัมพันธ์ก็จะมีการขยายงานด้านสำนักข่าวแห่งชาติอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องถัดไป โดยสำนักข่าวดังกล่าวจะทำหน้าที่รายงานข่าวเพื่อเผยแพร่สำหรับในประเทศและต่างประเทศ ผ่านทางช่องทางเอกสารสารข่าว อินเทอร์เน็ต รวมทั้งสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการในขั้นต้นไปบ้างแล้วบางส่วน และในระยะต่อไปคาดว่าจะมีการเปิดรับสมัครเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านข่าวให้มากยิ่งขึ้น
โดยที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์มีสำนักข่าวของกรมประชาสัมพันธ์อยู่ก่อนแล้ว แต่ได้มีการจัดระบบการทำงานขึ้นใหม่ คือ นักข่าววิทยุให้ขึ้นตรงกับวิทยุแห่งประเทศไทย ส่วนนักข่าวโทรทัศน์ให้ขึ้นตรงกับทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ส่วนนักข่าวอื่นๆรวมทั้งคอนเท้นท์ข่าวที่เหลือไม่ว่าจะเป็น ข่าวที่มีผลกระทบกับบ้านเมืองทั้งหลาย ให้ขึ้นตรงกับสำนักข่าวแห่งชาตินี้ โดยขณะนี้สามารถติดตามข่าว และนำไปเผยแพร่ต่อได้ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำขึ้น 2 ภาษาหลัก คือ ไทย และอังกฤษ รวมถึงภาษาพื้นบ้านอย่าง ลาว เขมร และเวียดนาม ที่สามารถรับฟังได้ทางคลื่นความถี่ของทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย
ด้าน นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกสถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส หรือ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับไทยพีบีเอสเอง ได้มีการปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์จะเข้ามาร่วมงานกับทางไทยพีบีเอส ตั้งแต่วันที่ 16-19 มกราคมที่ผ่านมา จึงเชื่อว่าคงจะไม่มีคนในพีทีวีเข้ามาสมัครแต่อย่างไร ซึ่งระหว่างนี้การรับสมัครดังกล่าว กำลังอยู่ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ คาดว่าภายในสิ้นเดือนเม.ย.นี้น่าจะเรียบร้อย ส่วนอนาคตหากจะมีการรับสมัครพนักงานเพิ่มเติม ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีพนักงานจากพีทีวีเข้ามาสมัคร
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตุว่า การปิดตัวของพีทีวีเป็นช่วงเวลาเดียวกับการที่นายจักรภพ เข้ามากำกับและปรับโฉมช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า พนักงานของพีทีวีส่วนใหญ่จะโยกย้ายเข้ามาทำงานในช่อง 11 โฉมใหม่นี้ ซึ่งกำลังถูกจับตามองจากสังคมอย่างมาก เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริงย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างมาก
"เพ็ญ" ปัดดิจิตอลสนิท "เนวิน"
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการปิด สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีทีวี ที่มีการวิจารณ์กันว่า อาจจะมีผู้บริหารหรือพนักงานบางส่วนเข้ามามีบทบาทในสถานีโทรทัศน์ NBT (National Broadcast Television) ว่า ยืนยันว่าส่วนใดก็ตามที่เป็นการดำเนินการของ พีทีวี ในอดีตที่ผ่านมา จะไม่มีมาอยู่ที่ NBT อย่างแน่นอน แต่ที่เป็นข่าวเพราะมีความพยายามของคนที่นำไปผูกโยงกัน เพราะเนื่องจากมีช่วงเวลาที่ตรงกันพอดี
อย่างไรก็ตาม การปิดพีทีวีนั้น เท่าที่ทราบเขาปิดด้วยเหตุผลด้านธุรกิจที่ดำเนินการทางการเมืองมากกว่าธุรกิจ และไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องของบริษัทเอกชน เป็นสิทธิของเขา ดังนั้นการปรับปรุงสื่อของรัฐ โดยเฉพาะNBT นั้นไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับภาคเอกชน
ส่วนที่มีการมองกันว่าเมื่อกลุ่มพันธมิตรฯมีการเคลื่อนไหว แต่ทำไมพีทีวีจึงปิดตัวนั้นนายจักรภพ กล่าวว่า ก็เป็นอย่างนี้ ถ้าพีทีวียังอยู่ก็จะบอกว่าทำไม พีทีวียังอยู่ แต่พอปิดตัวลงก็สงสัยอีกว่าทำไมจึงปิดตัว
นายจักรภพ ยังกล่าวถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง NBT ว่า ยังเป็นไปตามแผนเดิมทุกอย่าง โดยวันนี้เวลา 06.00 น. จะมีการเปลี่ยนภาคข่าว 1 ใน 3 ของผัง และในวันที่ 11 ก.ค. ก็จะมีการเปลี่ยนส่วนที่เหลือของผังในส่วนที่เป็นรายการ ดังนั้นการเข้ามาของใครก็ตาม จะต้องเป็นไปตามสารบบที่กรมประชาสัมพันธ์ได้วางระเบียบไว้ ไม่มีนโยบายใดๆ จากการเมืองลงไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้ามาผลิตรายการของบริษัทต่างๆใน NBT มีความเป็นห่วงกันว่า มีความโปร่งใสหรือไม่ นายจักรภพกล่าวว่า มีความโปร่งใสทุกขั้นตอน แต่เรื่องนี้ต้องถามทางกรมประชาสัมพันธ์ว่าเขารู้สึกหรือไม่ว่าไม่โปร่งใส ซึ่งความจริงเราไม่ต้องห่วงแทนเขาก็ได้ เพราะหากบริษัทเหล่านั้นเข้ามาโดยไม่โปร่งใส คนที่ต้องโวยก่อนก็คือคนในกรมประชาสัมพันธ์เอง
"การที่ทุกอย่างราบรื่นอย่างนี้ ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครที่ต้องเป็นธุระเดือดร้อนอะไร ยกเว้นว่าสื่อของตนเองยังไม่ได้เข้าไป ก็เลยใช้วิธีตีกินไปก่อน อย่างนี้คงไม่ใช่วิธีที่ได้ผล" รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า มีการวิจารณ์กันว่า บริษัท ดิจิตอล มีเดียฯ ที่เข้าไปผลิตรายการใน NBT มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจักรภพ กล่าวว่า "ก็เห็นมีแต่ที่เนชั่น วิจารณ์อยู่คนเดียว ไม่เห็นมีใครพูดเลย"
ผู้สื่อข่าวถามว่า กดดันหรือไม่ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 6 คณะ เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวท่านเองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อ นายจักรภพ กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กลุ่มพันธมิตรฯ หรอก เพราะถ้าวันไหนพันธมิตรฯไม่วิจารณ์ตน ตนก็จะต้องรีบไปดู ASTV เลย เพราะแสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติแล้ว ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เกิดผลสะเทือนเลยสำหรับตน ซึ่งตนรู้สึกว่าการประณามกันนั้น เมื่อครบวงจรคนก็จะเบื่อไปเอง
"ความจริงคนในASTV มีคนเก่งๆ อยู่มาก ผมก็รู้จักเป็นการส่วนตัวหลายคน แต่ทำไมมาจำกัดตัวเองอยู่แค่ภารกิจโฆษณาชวนเชื่อก็ไม่รู้ ทำไมจึงไม่ลงลึกในการชี้ปัญหาของประเทศชาติมากขึ้น คนเก่งๆ ทั้งนั้นใน ASTV เพราะเขาเตรียมไว้สำหรับการทำสถานีโทรทัศน์ที่เต็มรูปแบบ ไม่ใช่แค่โทรทัศน์ดาวเทียม ผมกำลังมองว่า คนที่คอยสั่งการให้คนใน ASTV ใช้คำหยาบคาย ใช้การโจมตีก้าวร้าวนั้น เขาจะได้ใจจากพนักงานของเขาเองไปได้นานแค่ไหน เพราะพนักงานที่นั่นเป็นมืออาชีพ หลายคนไม่ใช่ลูกจ้างของใคร หรือใช้เงินล่อ แต่หลายคนก็ถลำตัวเข้าไปแล้ว แต่ไม่รู้จะถอนตัวอย่างไร ตรงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ผมไม่ได้ห่วงผู้บริหาร ASTV หรือพันธมิตรฯ แต่ผมห่วงพนักงาน ASTV ที่มีความรู้ความสามารถ และผมก็อยากจะชี้ทางว่า หากมองโอกาสใดก็ตามที่จะกลับมาเป็นสื่อมวลชนที่เป็นกลาง และเป็นมืออาชีพได้ ก็ขอให้คิดได้ตั้งแต่บัดนี้เลย"นายจักรภพ กล่าว
“เอเอสทีวี” ขออยู่ข้างความถูกต้อง
นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี กล่าวว่า ขอบคุณนายจักรภพ ที่เห็นฝีมือของพนักงานเอเอสทีวี เพราะ 4 ปีที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า จุดยืนของเอเอสทีวีอยู่ตรงไหน แตกต่างจากพีทีวี ที่มีเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ขณะที่เอเอสทีวียังอยู่ แต่พีทีวีต้องปิดตัวลงไปก่อน ส่วนเอเอสทีวีเราก็เป็นมืออาชีพอยู่แล้ว และเราไม่ขอเป็นสื่อมวลชนที่เป็นกลางใจรัฐบาล แต่จะขอเป็นสื่อที่อยู่ข้างความถูกต้องมากกว่า
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะอดีตรองประธานสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี กล่าวกรณีที่พนักงานพีทีวีไปสมัครงานที่ช่อง 11 ว่า เป็นสิทธิ์ของพนักงาน นายจักรภพมีความรู้สึกเจ็บปวดที่มีการปิด แต่ในฐานะรัฐมนตรีคงจะไม่สามารถเข้ามาช่วยอะไรได้ ทั้งนี้ บริษัทได้จ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานด้วย คือ อายุงาน 1 ปี ชดเชยให้ 5 เดือนบวกเงินเดือนอีก 1 เดือนเป็น 6 เดือน ขณะที่พนักงานที่มีอายุงาน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี ชดเชยให้ 3 เดือนบวกเงินเดือน 1 เดือนเป็น 4 เดือน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปิดตัวลงอย่างกระทันหันอาจจะทำให้ถูกมองว่า การตั้งพีทีวีเป็นการตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือพรรคพลังประชาชน นายจตุพร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความเจ็บปวดของทุกๆ คน แต่ต้องมองตามสภาพความเป็นจริงว่า บริษัทไม่สามารถเดินต่อไปได้จึงต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ การช่วยเหลือพนักงานก่อน ตนเชื่อว่าพนักงานพีทีวีมีคุณภาพ ในฐานะที่ร่วมต่อสู้ทางการเมืองด้วยกันมา หากไม่นับเรื่องของปัญหาการเงิน เชื่อว่าพีทีวีมีบุคคลกรที่มีคุณภาพซึ่งจะสามารถเดินต่อไปได้