อดีตปลัด กทม.ยื่นดีเอสไอ สอบประมูลจัดซื้อรถเมล์บีอาร์ที ของ กทม.มูลค่ากว่า 300 ล้าน หลังพบพิรุธซื้อแพงกว่าราคาท้องตลาดถึงคันละ3 ล้าน ด้านรองผู้ว่าฯ แจงซื่อรถแพงเพราะรวมค่าซ่อมบำรุง 3 ปี ด้านอภิรักษ์ ปฎิเสธที่จะชี้แจง อ้างอยู่ระหว่างการพักงาน
วานนี้ (31 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร ได้เข้าพบพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อยื่นเอกสารให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการประกวดราคาจัดซื้อรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษของกรุงเทพมหานคร (BRT) จำนวน 45 คัน เป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท เมื่อกลางปี 2550 เบื้องต้นดีเอสไอรับเรื่องไว้ตรวจสอบ
สำหรับรถเมล์รุ่นดังกล่าวเป็นโครงการของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยจะเปิดประเดิมวิ่งบริการเป็นเส้นทางแรกช่วงช่องนนทรี-ราชพฤกษ์
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า คุณหญิงณฐนนท ได้เข้าพบ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาราชการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อยื่นเอกสารให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการประกวดราคาจัดซื้อรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ของกรุงเทพมหานคร (BRT) จำนวน 45 คัน เป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า การประมูลตามโครงการดังกล่าวมีการเปิดประมูลมาตั้งแต่กลางปี 2550 ในขั้นตอนการประมูลมีบริษัทเอกชน 2 ราย ที่ผ่านการคัดเลือก เพราะมีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมตามเงื่อนไข
โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวอีกว่า สำหรับบริษัทที่ชนะประมูลราคาได้เสนอขายรถให้ กทม.คันละ 7 ล้านบาทเศษ ทั้งที่ราคารถดังกล่าวที่ขายในท้องตลาด ราคาเพียง 4 ล้านบาทเศษ สูงกว่าราคาท้องตลาดถึงคันละประมาณ 3 ล้านบาท อดีตปลัดกทม.จึงต้องการให้ ดีเอสไอ ช่วยดำเนินการตรวจสอบว่าการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณไปจำนวนมากอย่างไร เบื้องต้นดีเอสไอรับเรื่องไว้ตรวจสอบเพราะกฎหมายให้ดีเอสไอ มีอำนาจสืบสวนสอบสวนโดยไม่ต้องขออำนาจคณะกรรมการคดีพิเศษ เหมือนเมื่อก่อน ทั้งนี้หากผลการตรวจสอบมีมูล จะนำเข้าเป็นคดีพิเศษต่อไป
ด้าน คุณหญิงณฐนนท กล่าวว่า ได้ยื่นเอกสารให้ตรวจสอบความโปร่งใส่ของการจัดซื้อรถบีอาร์ที หลังรับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการ กทม. ส่วนรายละเอียดลึกๆไม่ทราบ
เมื่อถามว่า อาจถูกมองว่าการมายื่นครั้งนี้อาจหวังให้กระทบ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือไม่ อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่เป็นเรื่องของการประกวดราคา ต่อข้อถามว่าทราบเรื่องนี้มานานหรือยัง อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า เพิ่งทราบเรื่องไม่นาน
ด้าน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ โดยบอกว่า ขณะนี้ตนอยู่ระหว่างการยุติบทบาทการทำหน้าผู้ว่าฯ กทม. ดังนั้นจึงอยากให้นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม. รักษาการผู้ว่าฯกทม. เป็นผู้ชี้แจง
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่าในฐานะที่ตนกำกับดูแลโครงการ ยืนยันว่า ดำเนินการประมูลจัดซื้อรถบีอาร์ที อย่างโปร่งใส ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-auction) ซึ่งการที่ผู้ร้องระบุว่า การจัดซื้อตัวรถแพงเกินจริงจากราคาตลาดคันละ 4 ล้านบาทแต่กทม.จัดซื้อคันละ 7 ล้านบาทนั้น เชื่อว่าผู้ร้องรับทราบข้อมูลในเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ไม่ครบถ้วน เพราะในจำนวน 7 ล้านบาทนั้น ได้รวมค่าซ่อมบำรุงตัวรถเป็นเวลา 3 ปีด้วย ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรระหว่างการวิ่งให้บริการ ผู้จัดซื้อจะต้องรับภาระในการซ่อมบำรุงทั้งหมด ซึ่งหากดูสเปกรถบีอาร์ที จะเห็นว่ามีคุณภาพมาตรฐานที่ดีกว่ารถโดยสารของ ขสมก. เพราะนำแบบรถมาจากอเมริกา และเกาหลี เป็นรถใช้เชื้อเพลิง เอ็นจีวี กำลังขับ 230 แรงม้า มีดิสเบรกล้อ มีจอแอลซีดี ด้านหน้ารถด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ในการเปิดประมูลครั้งแรกได้มีเอกชนมารับซองประมูล 18 ราย แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองกลับไม่มีเอกชนรายใดมายื่นซอง ซึ่งจากการสอบถามเหตุผล บริษัทส่วนใหญ่ระบุว่า ราคาที่ กทม.ตั้งไว้ต่ำเกินไปจึงไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ ทำให้ กทม.ต้องล้มการประมูลครั้งแรกไป และเปิดประมูลครั้งที่ 2 โดยใช้ TOR เดิม โดยไม่มีการเพิ่มราคากลาง เพราะราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มาจากกระทรวงการคลัง และเปรียบเทียบราคาจากการจัดซื้อรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เรียบร้อยแล้ว
เมื่อเปิดประมูลครั้งที่ 2 มีเอกชนเข้ายื่นซอง 2 ราย ได้แก่ บริษัทเบสลินท์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ปริญ อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต ซึ่งสุดท้ายบริษัท เบสลินท์ ชนะการประมูลด้วยวงเงินกว่า 370 ล้านบาท ในการจัดซื้อรถบีอาร์ที จำนวน 45 คัน
รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า โครงการบีอาร์ที กทม.ตั้งใจอยากให้เสร็จตรงตามเป้าที่กำหนดไว้ ซึ่งครั้งแรกที่ต้องล้มประมูลก็เป็นห่วงมาก แต่วันนี้ก็ยืนยันเปิดวิ่งบริการในเดือนส.ค.นี้ ทั้งนี้ในการออกมายื่นเรื่องกับ ดีเอสไอ ครั้งนี้ เชื่อว่าจะไม่ทำให้โครงการดังกล่าวต้องสะดุด หรือล่าช้าออกไปอีก แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ เป็นเพราะต้องการให้โครงการบีอาร์ที ของ กทม.ต้องล่าช้าหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีรถ โครงการก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเล่นเกมการเมือง แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้นึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งเลย
"ยอมรับว่า กทม.ซื้อแพง แต่ในสัญญานี้รวมราคาตัวรถ และค่าซ่อมบำรุงถึง 3 ปี ดังนั้นผู้ร้องควรกลับไปดูรายละเอียด TOR ให้แน่นอนก่อน และอยากถามกลับไปว่าแพงตรงไหน ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่อยากมองเป็นประเด็นการเมือง เพราะช่วงนี้ก็ใกล้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในเดือน ก.ย. ซึ่งข่าวที่ออกมาเช่นนี้เป็นผลในเชิงลบกับ กทม.และคณะผู้บริหาร กทม.อยู่แล้ว และผมมั่นใจว่าคณะกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวข้องกับโครงการบีอาร์ทีสามารถชี้แจงได้ทุกประเด็น แต่ก็พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบแม้โครงการจะชะงักไปก็ตาม"รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุ
วานนี้ (31 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร ได้เข้าพบพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อยื่นเอกสารให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการประกวดราคาจัดซื้อรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษของกรุงเทพมหานคร (BRT) จำนวน 45 คัน เป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท เมื่อกลางปี 2550 เบื้องต้นดีเอสไอรับเรื่องไว้ตรวจสอบ
สำหรับรถเมล์รุ่นดังกล่าวเป็นโครงการของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยจะเปิดประเดิมวิ่งบริการเป็นเส้นทางแรกช่วงช่องนนทรี-ราชพฤกษ์
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า คุณหญิงณฐนนท ได้เข้าพบ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาราชการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อยื่นเอกสารให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตรวจสอบความไม่โปร่งใสของโครงการประกวดราคาจัดซื้อรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ของกรุงเทพมหานคร (BRT) จำนวน 45 คัน เป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า การประมูลตามโครงการดังกล่าวมีการเปิดประมูลมาตั้งแต่กลางปี 2550 ในขั้นตอนการประมูลมีบริษัทเอกชน 2 ราย ที่ผ่านการคัดเลือก เพราะมีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมตามเงื่อนไข
โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวอีกว่า สำหรับบริษัทที่ชนะประมูลราคาได้เสนอขายรถให้ กทม.คันละ 7 ล้านบาทเศษ ทั้งที่ราคารถดังกล่าวที่ขายในท้องตลาด ราคาเพียง 4 ล้านบาทเศษ สูงกว่าราคาท้องตลาดถึงคันละประมาณ 3 ล้านบาท อดีตปลัดกทม.จึงต้องการให้ ดีเอสไอ ช่วยดำเนินการตรวจสอบว่าการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณไปจำนวนมากอย่างไร เบื้องต้นดีเอสไอรับเรื่องไว้ตรวจสอบเพราะกฎหมายให้ดีเอสไอ มีอำนาจสืบสวนสอบสวนโดยไม่ต้องขออำนาจคณะกรรมการคดีพิเศษ เหมือนเมื่อก่อน ทั้งนี้หากผลการตรวจสอบมีมูล จะนำเข้าเป็นคดีพิเศษต่อไป
ด้าน คุณหญิงณฐนนท กล่าวว่า ได้ยื่นเอกสารให้ตรวจสอบความโปร่งใส่ของการจัดซื้อรถบีอาร์ที หลังรับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการ กทม. ส่วนรายละเอียดลึกๆไม่ทราบ
เมื่อถามว่า อาจถูกมองว่าการมายื่นครั้งนี้อาจหวังให้กระทบ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือไม่ อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่เป็นเรื่องของการประกวดราคา ต่อข้อถามว่าทราบเรื่องนี้มานานหรือยัง อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า เพิ่งทราบเรื่องไม่นาน
ด้าน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ โดยบอกว่า ขณะนี้ตนอยู่ระหว่างการยุติบทบาทการทำหน้าผู้ว่าฯ กทม. ดังนั้นจึงอยากให้นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม. รักษาการผู้ว่าฯกทม. เป็นผู้ชี้แจง
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่าในฐานะที่ตนกำกับดูแลโครงการ ยืนยันว่า ดำเนินการประมูลจัดซื้อรถบีอาร์ที อย่างโปร่งใส ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-auction) ซึ่งการที่ผู้ร้องระบุว่า การจัดซื้อตัวรถแพงเกินจริงจากราคาตลาดคันละ 4 ล้านบาทแต่กทม.จัดซื้อคันละ 7 ล้านบาทนั้น เชื่อว่าผู้ร้องรับทราบข้อมูลในเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ไม่ครบถ้วน เพราะในจำนวน 7 ล้านบาทนั้น ได้รวมค่าซ่อมบำรุงตัวรถเป็นเวลา 3 ปีด้วย ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรระหว่างการวิ่งให้บริการ ผู้จัดซื้อจะต้องรับภาระในการซ่อมบำรุงทั้งหมด ซึ่งหากดูสเปกรถบีอาร์ที จะเห็นว่ามีคุณภาพมาตรฐานที่ดีกว่ารถโดยสารของ ขสมก. เพราะนำแบบรถมาจากอเมริกา และเกาหลี เป็นรถใช้เชื้อเพลิง เอ็นจีวี กำลังขับ 230 แรงม้า มีดิสเบรกล้อ มีจอแอลซีดี ด้านหน้ารถด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ในการเปิดประมูลครั้งแรกได้มีเอกชนมารับซองประมูล 18 ราย แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองกลับไม่มีเอกชนรายใดมายื่นซอง ซึ่งจากการสอบถามเหตุผล บริษัทส่วนใหญ่ระบุว่า ราคาที่ กทม.ตั้งไว้ต่ำเกินไปจึงไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ ทำให้ กทม.ต้องล้มการประมูลครั้งแรกไป และเปิดประมูลครั้งที่ 2 โดยใช้ TOR เดิม โดยไม่มีการเพิ่มราคากลาง เพราะราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มาจากกระทรวงการคลัง และเปรียบเทียบราคาจากการจัดซื้อรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เรียบร้อยแล้ว
เมื่อเปิดประมูลครั้งที่ 2 มีเอกชนเข้ายื่นซอง 2 ราย ได้แก่ บริษัทเบสลินท์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ปริญ อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต ซึ่งสุดท้ายบริษัท เบสลินท์ ชนะการประมูลด้วยวงเงินกว่า 370 ล้านบาท ในการจัดซื้อรถบีอาร์ที จำนวน 45 คัน
รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า โครงการบีอาร์ที กทม.ตั้งใจอยากให้เสร็จตรงตามเป้าที่กำหนดไว้ ซึ่งครั้งแรกที่ต้องล้มประมูลก็เป็นห่วงมาก แต่วันนี้ก็ยืนยันเปิดวิ่งบริการในเดือนส.ค.นี้ ทั้งนี้ในการออกมายื่นเรื่องกับ ดีเอสไอ ครั้งนี้ เชื่อว่าจะไม่ทำให้โครงการดังกล่าวต้องสะดุด หรือล่าช้าออกไปอีก แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ เป็นเพราะต้องการให้โครงการบีอาร์ที ของ กทม.ต้องล่าช้าหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีรถ โครงการก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเล่นเกมการเมือง แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้นึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งเลย
"ยอมรับว่า กทม.ซื้อแพง แต่ในสัญญานี้รวมราคาตัวรถ และค่าซ่อมบำรุงถึง 3 ปี ดังนั้นผู้ร้องควรกลับไปดูรายละเอียด TOR ให้แน่นอนก่อน และอยากถามกลับไปว่าแพงตรงไหน ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่อยากมองเป็นประเด็นการเมือง เพราะช่วงนี้ก็ใกล้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในเดือน ก.ย. ซึ่งข่าวที่ออกมาเช่นนี้เป็นผลในเชิงลบกับ กทม.และคณะผู้บริหาร กทม.อยู่แล้ว และผมมั่นใจว่าคณะกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวข้องกับโครงการบีอาร์ทีสามารถชี้แจงได้ทุกประเด็น แต่ก็พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบแม้โครงการจะชะงักไปก็ตาม"รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุ