การปฏิวัติในความหมายของการที่ทหารใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐสภา แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เสร็จแล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลใหม่ที่เชื่อกันว่า เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยอย่างที่ผ่านๆ มา หรือครั้งสุดท้ายที่มีการทำกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นล้าสมัยไปแล้วละครับ
เชื่อว่าวิธีการอันล้าสมัยนี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงเวลา 10-20 ปีที่จะถึงนี้ ทั้งนี้เพราะวิธีการดังกล่าวล้าสมัย ประชาชนไทยและประชาชนทั่วโลกไม่ยอมรับ
รัฐบาลจะเลวแค่ไหน ชั่วช้าสามานย์อย่างไร ถ้าหากยึดอำนาจแล้วมีเวลาแค่ 1 ปีในการจัดการกับปัญหาความเลวร้าย ก็ป่วยการที่จะทำการยึดอำนาจ ดังเช่นที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร, พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำเมื่อปี 2533 หรือที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำเมื่อปี 2549
จะยึดอำนาจให้นานไปกว่า 1 ปีอย่างที่สฤษดิ์ ถนอม ประภาส ทำในกาลก่อน ก็ไม่อาจจะทำได้ เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกของประชาธิปไตย เป็นโลกของการยอมรับการเลือกตั้ง รวมทั้งทุนทั้งที่เรียกกันว่า สามานย์ หรือไม่สามานย์ ต่างก็ไม่อาจจะยอมรับการยึดอำนาจหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยการใช้กำลังทหารได้
ยกเว้น การยินยอมพร้อมใจของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 หรือพฤษภาคม 2535
การยึดอำนาจโดยทหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2549 อาจจะสำเร็จในระดับหนึ่งคือ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หมดสิ้นลง แต่คณะปฏิวัติของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็มีเวลาที่อยู่ในอำนาจไม่ถึง 2 เดือน ก็ต้องยกอำนาจให้กับรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศ การปัดกวาดสิ่งเลวร้ายออกไปจากสังคมไทยเป็นหน้าที่ของรัฐบาลขิงแก่ ที่ถนัดไปในทางที่จะต้องสมานฉันท์ จับไม้จับมือกันเสียเป็นส่วนใหญ่ 1 ปีของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จึงไม่ได้ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าทั้งหลาย รู้ถึงความเลวร้ายของรัฐบาลทักษิณ ประกอบกับทักษิณเป็นอัครมหาเศรษฐีที่มีเงินทองเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท ใช้ไม่รู้จักหมดสามารถต่อท่อน้ำเลี้ยงให้กับบริษัทบริวารได้อยู่เป็นปกติ
การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม บริษัทบริวารของพ.ต.ท.ทักษิณจึงได้รับการเลือกตั้ง
ใครที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเขตไหน อย่างไร หรือเมื่อชนะเลือกตั้งแล้ว ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ใครจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ใครจะได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือแม้กระทั่งตำแหน่งโฆษก รองโฆษกอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะให้หรือไม่ให้เท่านั้นเอง
อาจจะมีทหารบางกลุ่มเสียดายโอกาส ก็ได้แต่เพียงเสียดายเพราะความเป็นจริงคือเมื่อยึดอำนาจแล้ว มีเวลาจริงๆ ไม่ถึง 2 เดือนด้วยซ้ำเช่นกรณีของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
การยึดอำนาจครั้งต่อไปจึงไม่เชื่อว่า ทหารจะทำให้เปลืองตัว
แต่จะเป็นการยึดอำนาจโดยประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
เงื่อนไขของการยึดอำนาจก็คือรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลที่ชั่วช้าสามานย์หรือรัฐบาลทรราช รัฐบาลไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
หรือว่ากันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ รัฐบาลที่ประชาชนไม่เอา
กรณีอย่างไรที่ประชาชนไม่ยอมรับนับถือ ไม่ศรัทธาต่อรัฐบาล
กรณี 14 ตุลาคม 2516 และกรณีพฤษภาคม 2535 เป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างดีที่สุด
ปี 2514 ประชาชนนักเรียน นิสิต นักศึกษาเพียงแต่ต้องการรัฐธรรมนูญสำหรับปกครองประเทศ พวกเขาเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ (ขณะนั้นยังไม่มีการพูดถึงเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ) แต่รัฐบาลถนอม ประภาสยอมรับไม่ได้ จับกุมคุมขังกลุ่มบุคคลที่เป็นหัวหอกในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนกระทั่งเกิดเหตุบานปลายกลายเป็นการปะทะกันระหว่างนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนกับรัฐบาล
ในที่สุดรัฐบาลทรราชก็ล้มครืนลง
เดือนพฤษภาคม 2535 ประชาชนนักเรียน นิสิต นักศึกษาไม่พอใจรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจาก รสช.แต่ไม่มีเงื่อนไขอย่างอื่นนอกจากขอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งคือ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ พล.อ.สุจินดา คราประยูรไม่ฟัง
มาวันนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าเป็นรัฐบาลหุ่นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้จะรู้ว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี การแต่งตั้งรัฐมนตรีหลายต่อหลายตำแหน่งเป็นการตบหน้าประชาชน ตบหน้า คมช. (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) แต่เมื่อเขามาจากการเลือกตั้งก็ทนหวานอมขมกลืน
อดทนต่อไป
เงื่อนไขการลุกขึ้นมาของประชาชนอยู่ที่การกระทำของรัฐบาลเอง นั่นคือ ถ้าหากรัฐบาลไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลเหิมเกริม ทำตามอำเภอใจ ด้วยเข้าใจว่ามีเสียงข้างมากในสภาฯ จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญจากที่พรรคร่วมรัฐบาลทำผิดให้เป็นไม่ผิด
หรือพยายามหาช่องทางในการแก้ไขกฎหมายเพื่อที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีคดีอยู่ในศาล 2-3 คดี และจะมีอีกไม่ต้องขึ้นศาล ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม หรือพยายามที่จะแทรกแซงขบวนการยุติธรรม
เมื่อนั้นประชาชนก็จะเดินออกจากบ้านมาชุมนุมกันตามท้องถนน ตามบนลานพระบรมรูปฯ เต็มถนนราชดำเนิน
นี่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ผมเตือนรัฐบาลนี้ไว้ อยากเห็นรัฐบาลนี้บริหารประเทศต่อไปสักระยะ เพราะคนไทยยังเป็นโรคอ้วนอยู่ การบริหารราชการนานๆ ของรัฐบาลนี้อาจจะช่วยคนไทยได้บ้างอย่างที่ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา ว่าไว้บนเวทีพันธมิตรฯ วันก่อนที่ธรรมศาสตร์
อย่าเพิ่งคิดจะล้มหายตายจากไปเร็วนักเลย
เชื่อว่าวิธีการอันล้าสมัยนี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงเวลา 10-20 ปีที่จะถึงนี้ ทั้งนี้เพราะวิธีการดังกล่าวล้าสมัย ประชาชนไทยและประชาชนทั่วโลกไม่ยอมรับ
รัฐบาลจะเลวแค่ไหน ชั่วช้าสามานย์อย่างไร ถ้าหากยึดอำนาจแล้วมีเวลาแค่ 1 ปีในการจัดการกับปัญหาความเลวร้าย ก็ป่วยการที่จะทำการยึดอำนาจ ดังเช่นที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร, พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำเมื่อปี 2533 หรือที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำเมื่อปี 2549
จะยึดอำนาจให้นานไปกว่า 1 ปีอย่างที่สฤษดิ์ ถนอม ประภาส ทำในกาลก่อน ก็ไม่อาจจะทำได้ เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกของประชาธิปไตย เป็นโลกของการยอมรับการเลือกตั้ง รวมทั้งทุนทั้งที่เรียกกันว่า สามานย์ หรือไม่สามานย์ ต่างก็ไม่อาจจะยอมรับการยึดอำนาจหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยการใช้กำลังทหารได้
ยกเว้น การยินยอมพร้อมใจของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 หรือพฤษภาคม 2535
การยึดอำนาจโดยทหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2549 อาจจะสำเร็จในระดับหนึ่งคือ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หมดสิ้นลง แต่คณะปฏิวัติของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็มีเวลาที่อยู่ในอำนาจไม่ถึง 2 เดือน ก็ต้องยกอำนาจให้กับรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศ การปัดกวาดสิ่งเลวร้ายออกไปจากสังคมไทยเป็นหน้าที่ของรัฐบาลขิงแก่ ที่ถนัดไปในทางที่จะต้องสมานฉันท์ จับไม้จับมือกันเสียเป็นส่วนใหญ่ 1 ปีของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จึงไม่ได้ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าทั้งหลาย รู้ถึงความเลวร้ายของรัฐบาลทักษิณ ประกอบกับทักษิณเป็นอัครมหาเศรษฐีที่มีเงินทองเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท ใช้ไม่รู้จักหมดสามารถต่อท่อน้ำเลี้ยงให้กับบริษัทบริวารได้อยู่เป็นปกติ
การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม บริษัทบริวารของพ.ต.ท.ทักษิณจึงได้รับการเลือกตั้ง
ใครที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเขตไหน อย่างไร หรือเมื่อชนะเลือกตั้งแล้ว ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ใครจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ใครจะได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือแม้กระทั่งตำแหน่งโฆษก รองโฆษกอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะให้หรือไม่ให้เท่านั้นเอง
อาจจะมีทหารบางกลุ่มเสียดายโอกาส ก็ได้แต่เพียงเสียดายเพราะความเป็นจริงคือเมื่อยึดอำนาจแล้ว มีเวลาจริงๆ ไม่ถึง 2 เดือนด้วยซ้ำเช่นกรณีของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
การยึดอำนาจครั้งต่อไปจึงไม่เชื่อว่า ทหารจะทำให้เปลืองตัว
แต่จะเป็นการยึดอำนาจโดยประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
เงื่อนไขของการยึดอำนาจก็คือรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลที่ชั่วช้าสามานย์หรือรัฐบาลทรราช รัฐบาลไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
หรือว่ากันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ รัฐบาลที่ประชาชนไม่เอา
กรณีอย่างไรที่ประชาชนไม่ยอมรับนับถือ ไม่ศรัทธาต่อรัฐบาล
กรณี 14 ตุลาคม 2516 และกรณีพฤษภาคม 2535 เป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างดีที่สุด
ปี 2514 ประชาชนนักเรียน นิสิต นักศึกษาเพียงแต่ต้องการรัฐธรรมนูญสำหรับปกครองประเทศ พวกเขาเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ (ขณะนั้นยังไม่มีการพูดถึงเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ) แต่รัฐบาลถนอม ประภาสยอมรับไม่ได้ จับกุมคุมขังกลุ่มบุคคลที่เป็นหัวหอกในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนกระทั่งเกิดเหตุบานปลายกลายเป็นการปะทะกันระหว่างนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนกับรัฐบาล
ในที่สุดรัฐบาลทรราชก็ล้มครืนลง
เดือนพฤษภาคม 2535 ประชาชนนักเรียน นิสิต นักศึกษาไม่พอใจรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจาก รสช.แต่ไม่มีเงื่อนไขอย่างอื่นนอกจากขอให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งคือ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ พล.อ.สุจินดา คราประยูรไม่ฟัง
มาวันนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าเป็นรัฐบาลหุ่นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้จะรู้ว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี การแต่งตั้งรัฐมนตรีหลายต่อหลายตำแหน่งเป็นการตบหน้าประชาชน ตบหน้า คมช. (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) แต่เมื่อเขามาจากการเลือกตั้งก็ทนหวานอมขมกลืน
อดทนต่อไป
เงื่อนไขการลุกขึ้นมาของประชาชนอยู่ที่การกระทำของรัฐบาลเอง นั่นคือ ถ้าหากรัฐบาลไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลเหิมเกริม ทำตามอำเภอใจ ด้วยเข้าใจว่ามีเสียงข้างมากในสภาฯ จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญจากที่พรรคร่วมรัฐบาลทำผิดให้เป็นไม่ผิด
หรือพยายามหาช่องทางในการแก้ไขกฎหมายเพื่อที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีคดีอยู่ในศาล 2-3 คดี และจะมีอีกไม่ต้องขึ้นศาล ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม หรือพยายามที่จะแทรกแซงขบวนการยุติธรรม
เมื่อนั้นประชาชนก็จะเดินออกจากบ้านมาชุมนุมกันตามท้องถนน ตามบนลานพระบรมรูปฯ เต็มถนนราชดำเนิน
นี่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ผมเตือนรัฐบาลนี้ไว้ อยากเห็นรัฐบาลนี้บริหารประเทศต่อไปสักระยะ เพราะคนไทยยังเป็นโรคอ้วนอยู่ การบริหารราชการนานๆ ของรัฐบาลนี้อาจจะช่วยคนไทยได้บ้างอย่างที่ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา ว่าไว้บนเวทีพันธมิตรฯ วันก่อนที่ธรรมศาสตร์
อย่าเพิ่งคิดจะล้มหายตายจากไปเร็วนักเลย