เยอรมนีนับเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก โดยรถยนต์เยอรมนีได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดในด้านวิศวกรรม แต่ปัจจุบันได้เผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญจากรถยนต์คู่แข่งจากต่างประเทศ
โดยเมื่อปี 2428 นาย Karl Benz ซึ่งเป็นวิศวกรชาวเยอรมนี ได้ประดิษฐ์รถยนต์แบบ 3 ล้อขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก จากนั้นในปี 2429 นาย Gottlieb Daimler ได้ประดิษฐ์รถยนต์แบบ 4 ล้อ ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีต้องเผชิญวิกฤตเมื่อพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานรถยนต์ถูกทิ้งระเบิดเนื่องจากถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง อุตสาหกรรมรถยนต์ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้แซงหน้าอิตาลีขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับ 4 ของยุโรปเมื่อปี 2492 ถัดจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา คือปี 2494 ได้แซงหน้าสหภาพโซเวียตขึ้นเป็นอันดับ 3 ของยุโรป ต่อมาได้แซงหน้าฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นอันดับ 1 ของทวีปยุโรปและอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ประเทศเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ต่อมาญี่ปุ่นได้แซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ทำให้เยอรมนีกลายมาเป็นอันดับ 3 และในอนาคตมีการคาดหมายว่าจีนจะแซงหน้าอีกประเทศหนึ่ง ทำให้เยอรมนีหล่นมาเป็นอันดับ 4 ของโลก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์นับเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจเยอรมนี เนื่องจากมีขนาดใหญ่ถึง 11,000,000 ล้านบาท เกินดุลการค้าในสินค้ารถยนต์มากถึงปีละ 4,000,000 ล้านบาท จุดเด่นสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์เยอรมนีมีหลายประการ
ประการแรก ความยอดเยี่ยมในด้านวิศวกรรม ทำให้สามารถออกแบบและผลิตรถยนต์ที่ยากในการที่บริษัทรถยนต์ในประเทศอื่นๆ จะลอกเลียนแบบ
ประการที่สอง บริษัทรถยนต์เยอรมนีสามารถยึดครองตลาดรถยนต์ราคาแพงที่มีกำไรสูงได้อย่างสิ้นเชิง โดยเดิมเยอรมนียึดครองเฉพาะตลาดในส่วนรถยนต์หรูหรา (Luxury) เท่านั้น เช่น รถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์เอสคลาส รถยนต์ BMW ซีรี่ส์ 7 รถยนต์ปอร์เช่ รถยนต์ออดี้ ฯลฯ
แต่ปัจจุบันบริษัทรถยนต์เยอรมนีได้ยึดครองตลาดรถยนต์สุดยอดหรูหรา (Super Luxury) อีกด้วย ภายหลังซื้อกิจการบริษัทรถยนต์ของสหราชอาณาจักร โดยบริษัทเมอร์เซเดสมีรถยนต์มายบัค บริษัท BMW มีรถยนต์โรลสรอยซ์ และบริษัทโฟล์คสวาเก้นมีรถยนต์เบนท์ลีย์
ประการที่สาม เยอรมนีไม่ได้เป็นฐานผลิตของบริษัทต่างชาติแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับเป็นฐานของบริษัทรถยนต์ชั้นนำของตนเอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในระดับโลก ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ มากมาย สามารถตอบสนองความต้องการตั้งแต่ตลาดบนจนถึงตลาดล่าง กล่าวคือ
- บริษัทเดมเลอร์ ประกอบด้วยรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ สมาร์ท และมายบัค
- บริษัท BMW ประกอบด้วยรถยนต์ BMW มินิ และโรลสรอยซ์
- บริษัทโฟล์คสวาเก้น ประกอบด้วยรถยนต์โฟล์คสวาเก้น ออดี้ เซียท สโกด้า เบนท์ลีย์ บูกาตี้ ลัมบอร์กินิ
- บริษัทปอร์เช่ แม้เป็นบริษัทเล็กๆ แต่ประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้นในด้านรถยนต์สมรรถนะสูง และปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโฟล์คสวาเก้น
ประการที่สี่ รถยนต์เยอรมนีแข็งแกร่งในด้านเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งในด้านรูปลักษณ์และภาพลักษณ์ นับว่าแตกต่างจากรถยนต์ของต่างชาติ โดยหากปลดเอาป้ายชื่อและโลโก้ของรถยนต์ออกไปแล้ว แทบจะเดาไม่ได้ว่าเป็นรถยนต์อะไร แต่กรณีของรถยนต์เยอรมนี แม้ไม่ติดป้ายและโลโก้ แต่ก็สามารถเดาได้โดยทันทีว่าเป็นรถยนต์เมอร์เซเดส BMW หรือปอร์เช่
ขณะเดียวกันในด้านภาพลักษณ์ของรถยนต์เยอรมนีก็โดดเด่นมาก เป็นต้นว่า รถยนต์เมอร์เซเดส ที่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านยนตรกรรม รถยนต์ BMW และปอร์เช่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านสมรรถนะการขับขี่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีเผชิญกับปัญหาสำคัญหลายประการ
ประการแรก รถยนต์ของเยอรมนีมีขนาดใหญ่ กินน้ำมันมาก และมีราคาแพง ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ขนาดเล็ก กินน้ำมันน้อย และราคาถูก สำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งตลาดรถยนต์ประเภทนี้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แม้ว่าบริษัทเยอรมนีจะผลิตรถยนต์ขนาดเล็กอยู่บ้าง คือ สมาร์ท เมอร์เซเดสรุ่นเอคลาส และรถยนต์มินิของค่าย BMW แต่ก็ยังมีราคาสูงมาก ยังไม่ได้รถยนต์ราคาถูกอย่างแท้จริง
ประการที่สอง แม้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีนับว่ายอดเยี่ยมในด้านวิศวกรรมรถยนต์ แต่ไม่เก่งในด้านนวัตกรรม โดยปัจจุบันบริษัทรถยนต์ยังตามหลังบริษัทคู่แข่งในด้านเทคโนโลยีรถยนต์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ โดยเฉพาะเทคโนโลยีรถยนต์แบบไฮบริด
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทเดมเลอร์ บริษัท BMW และบริษัท GM ได้ร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาในด้านไฮบริดเพื่อให้ตามทันบริษัทโตโยต้าเป็นผู้นำเทคโนโลยีในด้านนี้ รวมถึงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านวิจัยและพัฒนาลง ซึ่งจะประหยัดกว่าที่แต่ละบริษัทจะวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองทั้งหมด
ด้านนาย Dieter Zetsche ผู้บริหารของบริษัทเดมเลอร์ ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเมื่อปลายปี 2550 โดยเมื่อสอบถามว่าทำไมถึงตามหลังโตโยต้าในเทคโนโลยีด้านไฮบริด เขาตอบกลับไปว่าความจริงแล้วบริษัทเดมเลอร์ ไม่ได้เป็นรองอย่างที่คนทั่วไปคาดคิดกัน
แม้ในส่วนเทคโนโลยีไฮบริดสำหรับรถเก๋ง โตโยต้าจะนำหน้าก็ตาม แต่ในส่วนเทคโนโลยีไฮบริดสำหรับรถบัสแล้ว บริษัทเดมเลอร์ กลับเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยซ้ำ พร้อมกับอธิบายว่ารถบัสนับว่าเป็นยานพาหนะที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำเทคโนโลยีไฮบริดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากรถบัสจะเบรกบ่อยครั้งมากกว่ารถเก๋งเพื่อจอดรับส่งผู้โดยสาร ดังนั้น จึงมีศักยภาพมากกว่าที่จะนำพลังงานที่สูญเสียไปจากการเบรกมาเก็บไว้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไฮบริด
ประการที่สาม ค่าจ้างแรงงานในเยอรมนีสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้น การที่เงินยูโรแข็งตัวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และเงินเยนของญี่ปุ่น กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอย่างมาก ทำให้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตรถยนต์ รวมถึงนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานในต่างประเทศ เป็นต้นว่า บริษัท BMW ได้นำเข้ารถยนต์ BMW ที่ผลิตในประเทศจีนเข้ามาจำหน่ายในเยอรมนี
ประการที่สี่ บริษัทรถยนต์ต่างประเทศเริ่มรุกตลาดรถยนต์หรูหราซึ่งเดิมแทบจะผูกขาดโดยบริษัทเยอรมนี โดยเฉพาะรถยนต์เล็กซัสของค่ายโตโยต้า ซึ่งปัจจุบันครองตลาดรถยนต์หรูหราเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ เป็นต้นว่า ออกแบบดีเยี่ยม ขับขี่นุ่มนวล ห้องโดยสารเงียบ ไม่จุกจิกเสียง่าย ฯลฯ
ประการที่ห้า สหภาพยุโรปมีเป้าหมายกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอัตราเฉลี่ย 160 กรัม/กม. ในปี 2550 ลดลงเหลือไม่เกิน 120 กรัม/กม. ภายในปี 2555 โดยกำหนดให้บริษัทรถยนต์มีส่วนรับผิดชอบต้องลดให้เหลือ 130 กรัม/กม. เท่านั้น ในส่วนที่เหลืออีก 10 กรัม/กม. จะปรับลดในรูปของการออกแบบยางรถยนต์แบบใหม่ที่ลดแรงเสียดทาน การปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ
หากค่ายรถยนต์ใดไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะเสียค่าปรับในอัตราสูง โดยมีการกำหนดเบื้องต้นว่าประมาณ 4,600 บาท ต่อปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ละกรัมในส่วนที่เกิน 130 กรัม/กม. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ทัศนะว่าบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกฎระเบียบข้างต้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทรถยนต์ของฝรั่งเศสหรืออิตาลี เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรถยนต์กินน้ำมันมาก โดยคำนวณว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากถึง 84,000 บาท/คัน โดยรถยนต์ปอร์เช่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมา คือ รถยนต์เมอร์เซเดส BMW และโฟล์คสวาเก้น ตามลำดับ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลเยอรมนี รวมถึงบริษัทรถยนต์ของเยอรมนี จึงได้พยายามล็อบบี้รัฐสภายุโรปเพื่อให้มีมติผ่อนปรนกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมข้างต้น เพื่อบีบหน่วยงานสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปอีกต่อหนึ่ง
โดยล่าสุดรัฐสภายุโรปมีมติเห็นด้วยกับรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นว่าควรผ่อนปรนกฎระเบียบจากเดิม 120 มาเป็น 125 กรัม/กม. โดยชะลอวันเริ่มบังคับใช้จากเดิมปี 2555 มาเป็นไม่ก่อนปี 2558 และมีมติให้ส่งรายงานฉบับนี้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมรับนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยอ้างเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่า
ประการแรก อุตสาหกรรมนับว่าสำคัญมากสำหรับสหภาพยุโรป โดยแต่ละปีผลิตรถยนต์มากถึง 19 ล้านคัน ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงมากถึง 2.3 ล้านคน
ประการที่สอง การผลิตรถยนต์นั้น จะต้องใช้เวลาออกแบบเป็นเวลา 5 - 7 ปีก่อนวางจำหน่าย จึงควรให้เวลาเพิ่มเติมแก่บริษัทรถยนต์ในการออกแบบรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
ประการที่สาม ได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบในด้านความปลอดภัย ส่งผลทำให้ต้องออกแบบรถยนต์ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
โดยเมื่อปี 2428 นาย Karl Benz ซึ่งเป็นวิศวกรชาวเยอรมนี ได้ประดิษฐ์รถยนต์แบบ 3 ล้อขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก จากนั้นในปี 2429 นาย Gottlieb Daimler ได้ประดิษฐ์รถยนต์แบบ 4 ล้อ ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีต้องเผชิญวิกฤตเมื่อพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานรถยนต์ถูกทิ้งระเบิดเนื่องจากถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง อุตสาหกรรมรถยนต์ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้แซงหน้าอิตาลีขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับ 4 ของยุโรปเมื่อปี 2492 ถัดจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา คือปี 2494 ได้แซงหน้าสหภาพโซเวียตขึ้นเป็นอันดับ 3 ของยุโรป ต่อมาได้แซงหน้าฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นอันดับ 1 ของทวีปยุโรปและอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ประเทศเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ต่อมาญี่ปุ่นได้แซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ทำให้เยอรมนีกลายมาเป็นอันดับ 3 และในอนาคตมีการคาดหมายว่าจีนจะแซงหน้าอีกประเทศหนึ่ง ทำให้เยอรมนีหล่นมาเป็นอันดับ 4 ของโลก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์นับเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจเยอรมนี เนื่องจากมีขนาดใหญ่ถึง 11,000,000 ล้านบาท เกินดุลการค้าในสินค้ารถยนต์มากถึงปีละ 4,000,000 ล้านบาท จุดเด่นสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์เยอรมนีมีหลายประการ
ประการแรก ความยอดเยี่ยมในด้านวิศวกรรม ทำให้สามารถออกแบบและผลิตรถยนต์ที่ยากในการที่บริษัทรถยนต์ในประเทศอื่นๆ จะลอกเลียนแบบ
ประการที่สอง บริษัทรถยนต์เยอรมนีสามารถยึดครองตลาดรถยนต์ราคาแพงที่มีกำไรสูงได้อย่างสิ้นเชิง โดยเดิมเยอรมนียึดครองเฉพาะตลาดในส่วนรถยนต์หรูหรา (Luxury) เท่านั้น เช่น รถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์เอสคลาส รถยนต์ BMW ซีรี่ส์ 7 รถยนต์ปอร์เช่ รถยนต์ออดี้ ฯลฯ
แต่ปัจจุบันบริษัทรถยนต์เยอรมนีได้ยึดครองตลาดรถยนต์สุดยอดหรูหรา (Super Luxury) อีกด้วย ภายหลังซื้อกิจการบริษัทรถยนต์ของสหราชอาณาจักร โดยบริษัทเมอร์เซเดสมีรถยนต์มายบัค บริษัท BMW มีรถยนต์โรลสรอยซ์ และบริษัทโฟล์คสวาเก้นมีรถยนต์เบนท์ลีย์
ประการที่สาม เยอรมนีไม่ได้เป็นฐานผลิตของบริษัทต่างชาติแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับเป็นฐานของบริษัทรถยนต์ชั้นนำของตนเอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในระดับโลก ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ มากมาย สามารถตอบสนองความต้องการตั้งแต่ตลาดบนจนถึงตลาดล่าง กล่าวคือ
- บริษัทเดมเลอร์ ประกอบด้วยรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ สมาร์ท และมายบัค
- บริษัท BMW ประกอบด้วยรถยนต์ BMW มินิ และโรลสรอยซ์
- บริษัทโฟล์คสวาเก้น ประกอบด้วยรถยนต์โฟล์คสวาเก้น ออดี้ เซียท สโกด้า เบนท์ลีย์ บูกาตี้ ลัมบอร์กินิ
- บริษัทปอร์เช่ แม้เป็นบริษัทเล็กๆ แต่ประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้นในด้านรถยนต์สมรรถนะสูง และปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโฟล์คสวาเก้น
ประการที่สี่ รถยนต์เยอรมนีแข็งแกร่งในด้านเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งในด้านรูปลักษณ์และภาพลักษณ์ นับว่าแตกต่างจากรถยนต์ของต่างชาติ โดยหากปลดเอาป้ายชื่อและโลโก้ของรถยนต์ออกไปแล้ว แทบจะเดาไม่ได้ว่าเป็นรถยนต์อะไร แต่กรณีของรถยนต์เยอรมนี แม้ไม่ติดป้ายและโลโก้ แต่ก็สามารถเดาได้โดยทันทีว่าเป็นรถยนต์เมอร์เซเดส BMW หรือปอร์เช่
ขณะเดียวกันในด้านภาพลักษณ์ของรถยนต์เยอรมนีก็โดดเด่นมาก เป็นต้นว่า รถยนต์เมอร์เซเดส ที่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านยนตรกรรม รถยนต์ BMW และปอร์เช่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านสมรรถนะการขับขี่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีเผชิญกับปัญหาสำคัญหลายประการ
ประการแรก รถยนต์ของเยอรมนีมีขนาดใหญ่ กินน้ำมันมาก และมีราคาแพง ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ขนาดเล็ก กินน้ำมันน้อย และราคาถูก สำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งตลาดรถยนต์ประเภทนี้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แม้ว่าบริษัทเยอรมนีจะผลิตรถยนต์ขนาดเล็กอยู่บ้าง คือ สมาร์ท เมอร์เซเดสรุ่นเอคลาส และรถยนต์มินิของค่าย BMW แต่ก็ยังมีราคาสูงมาก ยังไม่ได้รถยนต์ราคาถูกอย่างแท้จริง
ประการที่สอง แม้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีนับว่ายอดเยี่ยมในด้านวิศวกรรมรถยนต์ แต่ไม่เก่งในด้านนวัตกรรม โดยปัจจุบันบริษัทรถยนต์ยังตามหลังบริษัทคู่แข่งในด้านเทคโนโลยีรถยนต์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ โดยเฉพาะเทคโนโลยีรถยนต์แบบไฮบริด
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทเดมเลอร์ บริษัท BMW และบริษัท GM ได้ร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาในด้านไฮบริดเพื่อให้ตามทันบริษัทโตโยต้าเป็นผู้นำเทคโนโลยีในด้านนี้ รวมถึงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านวิจัยและพัฒนาลง ซึ่งจะประหยัดกว่าที่แต่ละบริษัทจะวิจัยและพัฒนาด้วยตนเองทั้งหมด
ด้านนาย Dieter Zetsche ผู้บริหารของบริษัทเดมเลอร์ ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเมื่อปลายปี 2550 โดยเมื่อสอบถามว่าทำไมถึงตามหลังโตโยต้าในเทคโนโลยีด้านไฮบริด เขาตอบกลับไปว่าความจริงแล้วบริษัทเดมเลอร์ ไม่ได้เป็นรองอย่างที่คนทั่วไปคาดคิดกัน
แม้ในส่วนเทคโนโลยีไฮบริดสำหรับรถเก๋ง โตโยต้าจะนำหน้าก็ตาม แต่ในส่วนเทคโนโลยีไฮบริดสำหรับรถบัสแล้ว บริษัทเดมเลอร์ กลับเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยซ้ำ พร้อมกับอธิบายว่ารถบัสนับว่าเป็นยานพาหนะที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำเทคโนโลยีไฮบริดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากรถบัสจะเบรกบ่อยครั้งมากกว่ารถเก๋งเพื่อจอดรับส่งผู้โดยสาร ดังนั้น จึงมีศักยภาพมากกว่าที่จะนำพลังงานที่สูญเสียไปจากการเบรกมาเก็บไว้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไฮบริด
ประการที่สาม ค่าจ้างแรงงานในเยอรมนีสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้น การที่เงินยูโรแข็งตัวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และเงินเยนของญี่ปุ่น กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอย่างมาก ทำให้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตรถยนต์ รวมถึงนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานในต่างประเทศ เป็นต้นว่า บริษัท BMW ได้นำเข้ารถยนต์ BMW ที่ผลิตในประเทศจีนเข้ามาจำหน่ายในเยอรมนี
ประการที่สี่ บริษัทรถยนต์ต่างประเทศเริ่มรุกตลาดรถยนต์หรูหราซึ่งเดิมแทบจะผูกขาดโดยบริษัทเยอรมนี โดยเฉพาะรถยนต์เล็กซัสของค่ายโตโยต้า ซึ่งปัจจุบันครองตลาดรถยนต์หรูหราเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ เป็นต้นว่า ออกแบบดีเยี่ยม ขับขี่นุ่มนวล ห้องโดยสารเงียบ ไม่จุกจิกเสียง่าย ฯลฯ
ประการที่ห้า สหภาพยุโรปมีเป้าหมายกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอัตราเฉลี่ย 160 กรัม/กม. ในปี 2550 ลดลงเหลือไม่เกิน 120 กรัม/กม. ภายในปี 2555 โดยกำหนดให้บริษัทรถยนต์มีส่วนรับผิดชอบต้องลดให้เหลือ 130 กรัม/กม. เท่านั้น ในส่วนที่เหลืออีก 10 กรัม/กม. จะปรับลดในรูปของการออกแบบยางรถยนต์แบบใหม่ที่ลดแรงเสียดทาน การปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ
หากค่ายรถยนต์ใดไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะเสียค่าปรับในอัตราสูง โดยมีการกำหนดเบื้องต้นว่าประมาณ 4,600 บาท ต่อปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ละกรัมในส่วนที่เกิน 130 กรัม/กม. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ทัศนะว่าบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกฎระเบียบข้างต้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทรถยนต์ของฝรั่งเศสหรืออิตาลี เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรถยนต์กินน้ำมันมาก โดยคำนวณว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากถึง 84,000 บาท/คัน โดยรถยนต์ปอร์เช่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมา คือ รถยนต์เมอร์เซเดส BMW และโฟล์คสวาเก้น ตามลำดับ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลเยอรมนี รวมถึงบริษัทรถยนต์ของเยอรมนี จึงได้พยายามล็อบบี้รัฐสภายุโรปเพื่อให้มีมติผ่อนปรนกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมข้างต้น เพื่อบีบหน่วยงานสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปอีกต่อหนึ่ง
โดยล่าสุดรัฐสภายุโรปมีมติเห็นด้วยกับรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นว่าควรผ่อนปรนกฎระเบียบจากเดิม 120 มาเป็น 125 กรัม/กม. โดยชะลอวันเริ่มบังคับใช้จากเดิมปี 2555 มาเป็นไม่ก่อนปี 2558 และมีมติให้ส่งรายงานฉบับนี้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมรับนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยอ้างเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่า
ประการแรก อุตสาหกรรมนับว่าสำคัญมากสำหรับสหภาพยุโรป โดยแต่ละปีผลิตรถยนต์มากถึง 19 ล้านคัน ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงมากถึง 2.3 ล้านคน
ประการที่สอง การผลิตรถยนต์นั้น จะต้องใช้เวลาออกแบบเป็นเวลา 5 - 7 ปีก่อนวางจำหน่าย จึงควรให้เวลาเพิ่มเติมแก่บริษัทรถยนต์ในการออกแบบรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
ประการที่สาม ได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบในด้านความปลอดภัย ส่งผลทำให้ต้องออกแบบรถยนต์ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th