แฉแผนบันได 4 ขั้น แกนนำพปช.ดอดหารือ"แม้ว"ที่อังกฤษ รับคำสั่งดันกม.นิรโทษกรรม ก่อนแก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกคดีที่เกี่ยวข้อง ก่อนประกาศยุบสภา สร้างความชอบธรรมให้แม้วกลับมาเป็นนายกฯ สอดคล้องกับที่ทีของพปช. ที่มีมติจะแก้ไขหลายประเด็น ทั้งม.237 ม.309 รวมทั้งการนิรโทษกรรม โดยไม่สนเสียงประชาชน หรืออาจนำรธน. ปี 40 มาปัดฝุ่นบังคับใช้ โดยไม่แตะต้องหมวด 1 พระมหากษัตริย์ ด้านอดีต ส.ส.ร.ผนึกกำลังขวางแก้รธน. ยันไม่ใช่จงอางหวงไข่ แต่ไม่ยอมให้แก้ไขตามอำเภอใจโจร
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมพรรคพลังประชาชนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แกนนำพรรคระดับกรรมการบริหารพรรคได้มีการหารือนอกรอบ โดยกรรมการบริหารพรรครายหนึ่ง ได้บอกในวงหารือว่า จากการเดินทางไปอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทางการเมืองกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ แนะให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และในระหว่างนี้ ก็ให้ฝ่ายกฎหมายของพรรค ยกร่าง กฎหมายนิรโทษกรรม 111 กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปพร้อมกัน
แหล่งข่าวแจ้งว่า ในวงหารือ มีความเห็นตรงกันว่า ควรดันกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาก่อน ที่จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการที่รัฐบาลเตรียมเสนอแผนนิติบัญญัติแห่งชาติพอดี พร้อมกันนี้ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรเขียนยกเลิกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่เป็นคุณ และกระทบต่อคดีต่างๆของพ.ต.ท.ทักษิณ และพวกพ้องออกไปให้หมด จากนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว ค่อยประกาศยุบสภา
"หากเป็นไปตามแผน 4 ขั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะได้กลับมาเล่นการเมืองใหม่อย่างชอบธรรม โดยจะมานั่งตำแหน่งนายกฯ ส่วนนายสมัคร อาจให้เป็นรองนายกฯ อีกครั้ง" แหล่งข่าว กล่าว
"หมัก"ลุยแก้ประเด็นที่เป็นปัญหา
สำหรับความคืบหน้า ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายสมัคร สุนทรเวช นายรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์หลังประชุม ครม. เมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ว่าตนมีความเห็นว่า จะไม่แก้มาตราเดียว แต่จะแก้ทั้งหมด แก้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปหารือกันภายในพรรค เพราะขณะนี้มันเกิดเหตุที่มองเห็นชัดว่า ฝ่ายตรงข้าม มีการใช้รัฐธรรมนูญเป็นกับดักเพื่อทำลายพรรคการเมืองที่เขาเกลียดชังเท่านั้น
เมื่อถามว่าการแก้รัฐธรรมนูญ มีกำหนดต้องให้เสร็จเมื่อไร นายสมัคร กล่าวว่า จะเสร็จเมื่อไร ก็เมื่อนั้น เมื่อถามว่า ต้องให้เสร็จก่อนคดีนายยงยุทธหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ต้องหรอก เรื่องนี้ไม่ต้องพูดถึง คดีความของนายยงยุทธก็ว่าไป แต่รัฐธรรมนูญต้องแก้ไข เมื่อถามว่าได้หารือกันในพรรคแล้วหรือยัง นายสมัคร กล่าวว่า ก็เดี๋ยวจะหารือกัน ทางพรรคจะไปปรึกษากัน
อ้างมี 316 เสียงไม่สนประชาชน
นายสมัคร กล่าวว่า ถ้าฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไข ก็ตามใจ จะค้านด้วยก็ไม่ว่า เพราะก็ถือว่าเสียงข้างมาก 316 เสียง
"ก็มีคนบอกว่ารับไปก่อนแล้วไปแก้ทีหลัง อ้างเสียง14 ล้าน 10 ล้าน ซึ่ง 14 ล้านคนที่บอกว่ารับไปก่อนแล้วมาแก้ทีหลัง เพื่อให้มีเลือกตั้ง ยืนยันได้เลยว่า รัฐธรรมนูญที่เขียนมานี้ ต้องการทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เตรียมการที่จะฆ่ารัฐบาลที่จะเกิดหลังรัฐธรรมนูญ ถ้ามันไม่ตาย ก็ต้องเอาให้ตายให้ได้ คือถ้าหากเราแพ้ก็จบเรื่องไปแล้ว ดันชนะขึ้นมาก็ต้องมาตามล่าตามล้างกันต่อไปไม่เลิก"
เมื่อถามว่า จะเชิญใครมาร่วมในการแก้ไขบ้าง นายสมัคร กล่าวว่า จะเชิญทุกฝ่าย แต่คงไม่ใช่ประชาชน ไม่จำเป็น ให้เป็นฝ่ายนั่งฟัง ตนก็ไม่อยากจะพูดมาก เพราะเดี๋ยวถูกกล่าวหาว่าเข้าตาจน ก็ไปพึ่งประชาชน แต่เขาเลือกเรามาแล้ว เขาเลือกเสียงข้างมากมาแล้วมี 316 เสียง ยังไงก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ด้วย ตอนนี้ประชาชนเลือกเรามาแล้ว เป็นเสียงข้างมากในสภา ไม่มีปัญหาอะไรหรอก
เมื่อถามว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะยุบสภาหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ยุบ แม้จะแก้วิธีการเลือกตั้งใหม่ ก็หมายความว่า จะใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า
พปช.มีมติแก้ รธน.หลายประเด็น
เวลา 16.30 น. วันเดียวกันนี้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในหลายประเด็น โดยมอบหมายให้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล และฝ่ายกฎหมายของพรรค ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาประเด็นต่างๆ โดยจะทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยยึดเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นหลัก
สำหรับช่องทางในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญนั้น มีช่องทางทั้งสิ้น 3 ช่องทาง คือ 1. ครม.เสนอร่างแก้ไข 2. ส.ส.และส.ว.เสนอ และ 3.ประชาชนเป็นคนเสนอ ซึ่งในเบื้องต้น ที่ประชุมเห็นว่า ช่องทางที่ให้ประชาชนเสนอนั้น จะล่าช้าในการตรวจสอบรายชื่อ จึงควรใช้จำนวน ส.ส.ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ยื่นร่างแก้ไข
เผย เม.ย.ยื่นญัตติแก้ รธน.แน่
สำหรับกรณี ที่วิปรัฐบาลระบุว่าจะใช้เวลาภายใน 1 เดือนนั้น จะเป็นการรวบรัดเกินไปหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า มติที่ประชุมพรรคถือเป็นการตัดสินใจสูงสุด กรณีของวิปรัฐบาลเสนอทางเลือกนั้น ถือเป็นความเคลื่อนไหวระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งที่ประชุมพรรควันนี้ ก็มีมติออกมาแล้วว่า จะแก้ไขในหลายประเด็น และไม่ได้กำหนดเรื่องของระยะเวลาเอาไว้ อยู่ที่การขับเคลื่อนว่าจะทำได้เร็วขนาดไหน ซึ่งคาดว่าเสนอเป็นญัตติได้ในเดือน เม.ย. จากนั้นคาดว่าจะมีการหารือในเดือน พ.ค.
เล็งแก้ ม.309 อีกมาตรา
รท.กุเทพ กล่าวอีกว่ามาตรา 309 เป็นอีกประเด็น ที่ต้องถามว่า องค์กรที่เกิดจากอำนาจเผด็จการ ที่ตั้งโดยคนๆ เดียว ที่ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไม่ได้รับการลงพระปรมาภิไธย ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร แล้วก็มาเขียนรัฐธรรมนูญรับรองไว้ว่า คณะที่หัวหน้าปฏิวัติ ตั้งไว้ให้ถือว่าทำหน้าที่ไปได้เลย ซึ่งแนวโน้มมาตรา 309 ก็จะต้องแก้ไข
"มาตรา 309 เป็นมาตราที่รับรองโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งการกระทำที่องค์กรตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่มีการโปรดเกล้าฯก็ต้องแก้
ยกทิ้ง ม.237 วรรค 2 เปิดช่องนิรโทษ
ร.ท.กุเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับมาตรา 237 จะปรับเปลี่ยนบางถ้อยคำ หรือ ยกบางวรรคออกไป ซึ่ง ที่ประชุมเห็นว่า ควรจะยกวรรคสอง ออกไปทั้งวรรค เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจกว้างขึ้น แต่ว่าโทษในการยุบพรรค ก็ยังมีอยู่ ตรงนี้พอยกวรรคสองออกไปก็อาจจะไปขอนิรโทษกรรมได้ แต่ต้องขอออกเป็น พ.ร.บ. ส่วนคนขอ เป็นใครนั้น ก็อาจเป็นรัฐบาล
ส่วนพรรคประเมินหรือไม่ว่า การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นนี้อาจเป็นแรงกระตุ้นทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกมาเคลื่อนไหว ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า เราได้ประเมินในเรื่องของความเคลื่อนไหวมวลชนด้วย แต่เราเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะจัดการกับปัญหานี้ได้
เมื่อถามว่า อาจจะไม่ตรงกับแนวทางสมานฉันท์ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ มันทีใครทีมัน แต่เราไม่ได้ทำโดยพลการ
อาจปัดฝุ่น รธน.ปี 40 มาใช้
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชนเปิดเผยว่า สำหรับรายชื่อคณะกรรมการศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคพลังประชาชน จำนวน 16 คน ประกอบด้วย นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร,นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา,ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง ส.ส.ศรีสะเกษ, นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน, นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคามนายจุมภฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ,นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายวิทยา บูรณศิริ ส.ส.อยุธยา นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.สัดส่วน,นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ส.ส.กทม. นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย,นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน,นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่,นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นายธงชาติ รัตนวิชา อดีตผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน และอดีต สสร.ปี 2540 เป็นเลขานุการ นายเดโช สวนานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากการประชุมพรรคเสร็จสิ้น ในเวลา17.00น.คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ประชุมหารือเป็นกรณีเร่งด่วนทันที เพื่อพิจารณานำประเด็นต่างๆ ที่จะมีการแก้ไขมาหาข้อสรุป นำไปหารือพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือมีเป็นสองแนวทาง คือ 1 .จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3-4 มาตรา ส่วนแนวทางที่ 2 คือ จะให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาบังคับใช้ โดยไม่แตะต้องในหมวด 1 พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามทั้งสองแนวทางที่ประชุมยังไม่มีข้อยุติ และจะมีการหารืออีกครั้งต่อประชุมใหญ่ต่อไป
อัด"หมัก"ขี้เหนียวไม่ทำประชามติ
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการที่นายสมัคร ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ฟังเสียงประชาชนว่า
"นายกรัฐมนตรีเป็นคนขี้เหนียว 2,500 ล้านบาท ท่านบอกว่ามากไป ถ้า 500 ล้านท่านอาจจะขยับ แต่ผมคิดว่า งานแบบนี้จะเป็น 2,500 หรือ 3,000 ล้านบาทก็ต้องทำ เพราะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตีค่าเป็นเงินไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป ยังต่างคนต่างคิด" นายสมพงษ์ กล่าว
ปชป.ไม่ร่วมแก้เพื่อฟอกผิด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า นายกรัฐมนตรี ก็เคยบอกว่า ต้องมีการศึกษารัฐธรรมนูญให้ครบถ้วนทั้งฉบับ อีกทั้งประเด็นการแก้ไขที่นายสมัคร ได้บอก ก็ไม่ใช่เพียงมาตรา 237 แต่เป็นการพูดถึงปัญหาของวุฒิสภา และการทำงานของรัฐบาลมากกว่า ถ้าไปหยิบเฉพาะมาตรา 237 อาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เพราะเท่ากับ เป็นการแก้กฎหมายสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เท่ากับว่า ผู้กระทำผิด เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็สามารถแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองไม่ผิดได้ ซึ่งจะเป็นจุดที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งทางพรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเหมือนการแก้ไขปัญหาของตัวเองมากกว่าเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
"อยากให้รัฐบาลคิดถึงบ้านเมือง เพราะถ้ากระทำความผิด ต่อไปมีอำนาจ ก็มาแก้ไขกติกา ไม่ให้เป็นความผิด แล้วบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร เพราะนี่จะเป็นจุดที่เป็นชนวนของความขัดแย้ง เพราะก็มีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ผมจึงอยากให้รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาของประชาชนมากกว่า ส่วนเรื่องนี้ก็ปล่อยให้เดินไปตามกระบวนการไป ซึ่งอย่างนี้ จะทำให้เกิดความเข้มแข็งในแง่ของนิติรัฐ และการปกครองในระบบประชาธิปไตย ผมว่ารัฐบาลทำงานไปเถอะ ยังมีหลายเรื่องที่ประชาชนรอการแก้ไข ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ หรือปัญหาชายแดนภาคใต้ และยาเสพติด อยากให้เดินหน้าทำของพวกนี้จะดีกว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อดีต ส.ส.ร.ลั่นไม่แก้ตามใจโจร
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี2550 และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในนามชมรม ส.ส.ร. 50 ประมาณ 20 คน อาทิ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย นายปกรณ์ ปรียากร นายมานิจ สุขสมจิตร ได้นัดประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อหารือถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 โดยส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ที่ แท้จริงของรัฐธรรมนูญที่ต้องการสร้างความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมให้กับการเลือกตั้ง
นายมานิจ สุขสมจิตร กล่าวว่า ขณะนี้ที่พูดกันคือ ส.ส.ร.เป็นพวก"จงอางหวงไข่" ไม่ยอมให้ใครมาแก้รัฐธรรมนูญ ก็ต้องบอกว่ารัฐธรรมนูญแก้ได้ เราจึงมีบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขเอาไว้ แต่การแก้ต้องไม่ใช่การแก้ตามใจ ถ้าจะแก้ตามใจชอบของโจร กฎหมายอาญาทั้งหลายทั้งปวง เรื่องการปล้นฆ่า ชิงทรัพย์ ต้องยกเลิกให้หมดเพราะโจรไม่ชอบแน่นอน รัฐธรรมนูญต้องไม่แก้ตามความพอใจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
นาย เสรี สุวรรณภานนท์ ยืนยันว่า ในระหว่างการร่าง ม.237 ได้ขอความเห็นจากพรรคการเมืองทุกพรรคปรากฎว่าไม่มีใครคัดค้านหรือโต้แย้ง และได้ผ่านการลงประชามติจากประชาชนมาแล้ว แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้เริ่มทำการตรวจสอบนักการเมืองที่ไม่บริสุทธิ์ต่อการเลือกตั้ง พรรคการเมืองเหล่านี้กลับมาขอแก้ไข เห็นชัดเจนว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่เกิดจากคนใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นการแก้ไข เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองอย่างชัดเจน
นายคมสัน โพธิ์คง กล่าวว่า การจะแก้ไขมาตรานี้ เท่ากับว่าพรรคพลังประชาชน พยายามจะหลบหลีกตัวเองให้รอดพ้นจากกระบวนการยุติธรรม ถือว่าไม่มีความชอบธรรม ไร้มารยาททางการเมืองอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างนักโทษที่อยู่ในคุกเมื่อเขาถูกคำสั่งประหารชีวิต เขาก็ต้องปฎิบัติตาม แต่เหตุใดนักการเมืองเมื่อทำความผิดกลับไปแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ทำไมนักการเมืองถึงไม่รับผิดในสิ่งที่ตัวเองกระทำเหมือนที่ประชาชนทั่วไปยอมรับ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชนกำลังบิดเบือนเจตนารมณ์ ม.237 อย่างรุนแรง เช่น อ้างว่ามาตรานี้เป็นการลงโทษทำผิดคนเดียว แต่เหมาเข่งเล่นงานทั้งพรรค ทั้งที่องค์ประกอบความผิดในมาตรานี้ มีถึง 3 เงื่อนไข คือ 1.ต้องสนับสนุนการกระทำความผิด 2. รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำ และ 3. รู้แล้วแต่ปล่อยปละละเลย หากไม่เข้า 1 ใน 3 เงื่อนไขนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นความผิดส่วนตัว
เตือน พปช.ดื้อดึงวุ่นวายแน่
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า ที่พรรคพลังประชาชนอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากท็อปบู๊ต จึงต้องรีบแก้ไข เพื่อให้ต่างชาติเกิดความมั่นใจนั้น ขอเรียนว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับของเรา 50-60 ปีที่ผ่านมาล้วนมาจากท็อปบู๊ตทั้งสิ้น และที่ผ่านมาต่างชาตินั้นเมื่อต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศไทย ก็ไม่เคยสนใจว่ารัฐบาลมาจกความชอบธรรมหรือไม่ คิดเพียงว่าเขาสามารถติดสินบนนักการเมืองของเรา และเข้าถึงผลประโยชน์ของเราได้เท่านั้น แต่เมื่อไรที่เราต้องการแก้ปัญหาภายใน กลับหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
สำหรับ ม.237 นั้นมีการรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองแล้ว แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอให้แก้ไขเลย แต่นี่มาแก้เพราะกระทำผิด แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่การแก้เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองเลย
ดังนั้น เราควรสร้างความรู้สึกร่วมกันกับประชาชนเพื่อตอกย้ำข้อเท็จจริงของเจตนารมณ์มาตรา 237 โดยขอให้ส.ส.ร. ช่วยให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ โดยในวันที่ 5 เม.ย. นี้จะมีการจัดเสวนา เรื่อง"แก้รัฐธรรมนูญใครได้ใครเสีย" ในเวลา 14.00 -15.00 น. โดยมีตัวแทนภาคประชาชนจากทั่วประเทศมาเสวนาร่วมกัน
"ส.ส.ร. 50 ต้องรวมตัวกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญคงไม่มีข้อยุติง่าย เพราะฝ่ายที่จะแก้ เขาทุรนทุรายที่จะแก้ให้ได้ภายใน 1-2 เดือน ดังนั้น เราต้องทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้ ส่วนตัวได้ประเมินสถานการณ์แล้วไม่อยากให้มีเรื่องวุ่นวาย แต่มันคงจะมีหากยังดื้อดึง ไม่มีการฟังเสียงประชาชน" น.ต.ประสงค์กล่าว
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ส.ส.ร.จะมีการประชุมกันทุกวันอังคาร ที่รัฐสภา โดยจะระดมอดีต ส.ส.ร. และอดีตกรรมาธิการทั่วประเทศมาประชุมร่วมกัน เพื่อเกาะติด ตรวจสอบแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลว่ามีความชอบธรรม และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ส่วนตัว
ด้านนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยพุ่งเป้าไปที่ มาตรา 237 ว่า ความจริงรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการร่าง และส่วนตัวมองว่า ควรแก้ไขทั้งฉบับ โดยมีการนำผลงานวิชาการมาเทียบเคียงเพื่อแก้ไข แต่ถ้าพรรคการเมืองเห็นว่าประเด็นใดมีความเร่งด่วนและไม่เป็นธรรมก็สามารถแก้ไขได้ เพราะในสังคมไทยไม่ควรมีกฎหมายที่ไม่ให้ความเป็นธรรม
"ใจผมอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ถ้ามองให้ดีและนำหลักวิชาการมาพิจารณา 7 วันก็น่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ" นายบุญทัน กล่าว
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมพรรคพลังประชาชนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แกนนำพรรคระดับกรรมการบริหารพรรคได้มีการหารือนอกรอบ โดยกรรมการบริหารพรรครายหนึ่ง ได้บอกในวงหารือว่า จากการเดินทางไปอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นทางการเมืองกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ แนะให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และในระหว่างนี้ ก็ให้ฝ่ายกฎหมายของพรรค ยกร่าง กฎหมายนิรโทษกรรม 111 กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปพร้อมกัน
แหล่งข่าวแจ้งว่า ในวงหารือ มีความเห็นตรงกันว่า ควรดันกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาก่อน ที่จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับการที่รัฐบาลเตรียมเสนอแผนนิติบัญญัติแห่งชาติพอดี พร้อมกันนี้ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรเขียนยกเลิกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่เป็นคุณ และกระทบต่อคดีต่างๆของพ.ต.ท.ทักษิณ และพวกพ้องออกไปให้หมด จากนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว ค่อยประกาศยุบสภา
"หากเป็นไปตามแผน 4 ขั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะได้กลับมาเล่นการเมืองใหม่อย่างชอบธรรม โดยจะมานั่งตำแหน่งนายกฯ ส่วนนายสมัคร อาจให้เป็นรองนายกฯ อีกครั้ง" แหล่งข่าว กล่าว
"หมัก"ลุยแก้ประเด็นที่เป็นปัญหา
สำหรับความคืบหน้า ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายสมัคร สุนทรเวช นายรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์หลังประชุม ครม. เมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ว่าตนมีความเห็นว่า จะไม่แก้มาตราเดียว แต่จะแก้ทั้งหมด แก้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปหารือกันภายในพรรค เพราะขณะนี้มันเกิดเหตุที่มองเห็นชัดว่า ฝ่ายตรงข้าม มีการใช้รัฐธรรมนูญเป็นกับดักเพื่อทำลายพรรคการเมืองที่เขาเกลียดชังเท่านั้น
เมื่อถามว่าการแก้รัฐธรรมนูญ มีกำหนดต้องให้เสร็จเมื่อไร นายสมัคร กล่าวว่า จะเสร็จเมื่อไร ก็เมื่อนั้น เมื่อถามว่า ต้องให้เสร็จก่อนคดีนายยงยุทธหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ต้องหรอก เรื่องนี้ไม่ต้องพูดถึง คดีความของนายยงยุทธก็ว่าไป แต่รัฐธรรมนูญต้องแก้ไข เมื่อถามว่าได้หารือกันในพรรคแล้วหรือยัง นายสมัคร กล่าวว่า ก็เดี๋ยวจะหารือกัน ทางพรรคจะไปปรึกษากัน
อ้างมี 316 เสียงไม่สนประชาชน
นายสมัคร กล่าวว่า ถ้าฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไข ก็ตามใจ จะค้านด้วยก็ไม่ว่า เพราะก็ถือว่าเสียงข้างมาก 316 เสียง
"ก็มีคนบอกว่ารับไปก่อนแล้วไปแก้ทีหลัง อ้างเสียง14 ล้าน 10 ล้าน ซึ่ง 14 ล้านคนที่บอกว่ารับไปก่อนแล้วมาแก้ทีหลัง เพื่อให้มีเลือกตั้ง ยืนยันได้เลยว่า รัฐธรรมนูญที่เขียนมานี้ ต้องการทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เตรียมการที่จะฆ่ารัฐบาลที่จะเกิดหลังรัฐธรรมนูญ ถ้ามันไม่ตาย ก็ต้องเอาให้ตายให้ได้ คือถ้าหากเราแพ้ก็จบเรื่องไปแล้ว ดันชนะขึ้นมาก็ต้องมาตามล่าตามล้างกันต่อไปไม่เลิก"
เมื่อถามว่า จะเชิญใครมาร่วมในการแก้ไขบ้าง นายสมัคร กล่าวว่า จะเชิญทุกฝ่าย แต่คงไม่ใช่ประชาชน ไม่จำเป็น ให้เป็นฝ่ายนั่งฟัง ตนก็ไม่อยากจะพูดมาก เพราะเดี๋ยวถูกกล่าวหาว่าเข้าตาจน ก็ไปพึ่งประชาชน แต่เขาเลือกเรามาแล้ว เขาเลือกเสียงข้างมากมาแล้วมี 316 เสียง ยังไงก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ด้วย ตอนนี้ประชาชนเลือกเรามาแล้ว เป็นเสียงข้างมากในสภา ไม่มีปัญหาอะไรหรอก
เมื่อถามว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะยุบสภาหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ยุบ แม้จะแก้วิธีการเลือกตั้งใหม่ ก็หมายความว่า จะใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า
พปช.มีมติแก้ รธน.หลายประเด็น
เวลา 16.30 น. วันเดียวกันนี้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในหลายประเด็น โดยมอบหมายให้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล และฝ่ายกฎหมายของพรรค ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาประเด็นต่างๆ โดยจะทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยยึดเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นหลัก
สำหรับช่องทางในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญนั้น มีช่องทางทั้งสิ้น 3 ช่องทาง คือ 1. ครม.เสนอร่างแก้ไข 2. ส.ส.และส.ว.เสนอ และ 3.ประชาชนเป็นคนเสนอ ซึ่งในเบื้องต้น ที่ประชุมเห็นว่า ช่องทางที่ให้ประชาชนเสนอนั้น จะล่าช้าในการตรวจสอบรายชื่อ จึงควรใช้จำนวน ส.ส.ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ยื่นร่างแก้ไข
เผย เม.ย.ยื่นญัตติแก้ รธน.แน่
สำหรับกรณี ที่วิปรัฐบาลระบุว่าจะใช้เวลาภายใน 1 เดือนนั้น จะเป็นการรวบรัดเกินไปหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า มติที่ประชุมพรรคถือเป็นการตัดสินใจสูงสุด กรณีของวิปรัฐบาลเสนอทางเลือกนั้น ถือเป็นความเคลื่อนไหวระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งที่ประชุมพรรควันนี้ ก็มีมติออกมาแล้วว่า จะแก้ไขในหลายประเด็น และไม่ได้กำหนดเรื่องของระยะเวลาเอาไว้ อยู่ที่การขับเคลื่อนว่าจะทำได้เร็วขนาดไหน ซึ่งคาดว่าเสนอเป็นญัตติได้ในเดือน เม.ย. จากนั้นคาดว่าจะมีการหารือในเดือน พ.ค.
เล็งแก้ ม.309 อีกมาตรา
รท.กุเทพ กล่าวอีกว่ามาตรา 309 เป็นอีกประเด็น ที่ต้องถามว่า องค์กรที่เกิดจากอำนาจเผด็จการ ที่ตั้งโดยคนๆ เดียว ที่ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไม่ได้รับการลงพระปรมาภิไธย ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร แล้วก็มาเขียนรัฐธรรมนูญรับรองไว้ว่า คณะที่หัวหน้าปฏิวัติ ตั้งไว้ให้ถือว่าทำหน้าที่ไปได้เลย ซึ่งแนวโน้มมาตรา 309 ก็จะต้องแก้ไข
"มาตรา 309 เป็นมาตราที่รับรองโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งการกระทำที่องค์กรตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่มีการโปรดเกล้าฯก็ต้องแก้
ยกทิ้ง ม.237 วรรค 2 เปิดช่องนิรโทษ
ร.ท.กุเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับมาตรา 237 จะปรับเปลี่ยนบางถ้อยคำ หรือ ยกบางวรรคออกไป ซึ่ง ที่ประชุมเห็นว่า ควรจะยกวรรคสอง ออกไปทั้งวรรค เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจกว้างขึ้น แต่ว่าโทษในการยุบพรรค ก็ยังมีอยู่ ตรงนี้พอยกวรรคสองออกไปก็อาจจะไปขอนิรโทษกรรมได้ แต่ต้องขอออกเป็น พ.ร.บ. ส่วนคนขอ เป็นใครนั้น ก็อาจเป็นรัฐบาล
ส่วนพรรคประเมินหรือไม่ว่า การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นนี้อาจเป็นแรงกระตุ้นทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกมาเคลื่อนไหว ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า เราได้ประเมินในเรื่องของความเคลื่อนไหวมวลชนด้วย แต่เราเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะจัดการกับปัญหานี้ได้
เมื่อถามว่า อาจจะไม่ตรงกับแนวทางสมานฉันท์ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ มันทีใครทีมัน แต่เราไม่ได้ทำโดยพลการ
อาจปัดฝุ่น รธน.ปี 40 มาใช้
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชนเปิดเผยว่า สำหรับรายชื่อคณะกรรมการศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคพลังประชาชน จำนวน 16 คน ประกอบด้วย นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร,นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา,ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง ส.ส.ศรีสะเกษ, นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน, นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคามนายจุมภฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ,นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายวิทยา บูรณศิริ ส.ส.อยุธยา นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.สัดส่วน,นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ส.ส.กทม. นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย,นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน,นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่,นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นายธงชาติ รัตนวิชา อดีตผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน และอดีต สสร.ปี 2540 เป็นเลขานุการ นายเดโช สวนานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากการประชุมพรรคเสร็จสิ้น ในเวลา17.00น.คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ประชุมหารือเป็นกรณีเร่งด่วนทันที เพื่อพิจารณานำประเด็นต่างๆ ที่จะมีการแก้ไขมาหาข้อสรุป นำไปหารือพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือมีเป็นสองแนวทาง คือ 1 .จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3-4 มาตรา ส่วนแนวทางที่ 2 คือ จะให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาบังคับใช้ โดยไม่แตะต้องในหมวด 1 พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามทั้งสองแนวทางที่ประชุมยังไม่มีข้อยุติ และจะมีการหารืออีกครั้งต่อประชุมใหญ่ต่อไป
อัด"หมัก"ขี้เหนียวไม่ทำประชามติ
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการที่นายสมัคร ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ฟังเสียงประชาชนว่า
"นายกรัฐมนตรีเป็นคนขี้เหนียว 2,500 ล้านบาท ท่านบอกว่ามากไป ถ้า 500 ล้านท่านอาจจะขยับ แต่ผมคิดว่า งานแบบนี้จะเป็น 2,500 หรือ 3,000 ล้านบาทก็ต้องทำ เพราะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตีค่าเป็นเงินไม่ได้ แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป ยังต่างคนต่างคิด" นายสมพงษ์ กล่าว
ปชป.ไม่ร่วมแก้เพื่อฟอกผิด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า นายกรัฐมนตรี ก็เคยบอกว่า ต้องมีการศึกษารัฐธรรมนูญให้ครบถ้วนทั้งฉบับ อีกทั้งประเด็นการแก้ไขที่นายสมัคร ได้บอก ก็ไม่ใช่เพียงมาตรา 237 แต่เป็นการพูดถึงปัญหาของวุฒิสภา และการทำงานของรัฐบาลมากกว่า ถ้าไปหยิบเฉพาะมาตรา 237 อาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เพราะเท่ากับ เป็นการแก้กฎหมายสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เท่ากับว่า ผู้กระทำผิด เมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็สามารถแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองไม่ผิดได้ ซึ่งจะเป็นจุดที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งทางพรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเหมือนการแก้ไขปัญหาของตัวเองมากกว่าเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
"อยากให้รัฐบาลคิดถึงบ้านเมือง เพราะถ้ากระทำความผิด ต่อไปมีอำนาจ ก็มาแก้ไขกติกา ไม่ให้เป็นความผิด แล้วบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร เพราะนี่จะเป็นจุดที่เป็นชนวนของความขัดแย้ง เพราะก็มีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ผมจึงอยากให้รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาของประชาชนมากกว่า ส่วนเรื่องนี้ก็ปล่อยให้เดินไปตามกระบวนการไป ซึ่งอย่างนี้ จะทำให้เกิดความเข้มแข็งในแง่ของนิติรัฐ และการปกครองในระบบประชาธิปไตย ผมว่ารัฐบาลทำงานไปเถอะ ยังมีหลายเรื่องที่ประชาชนรอการแก้ไข ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ หรือปัญหาชายแดนภาคใต้ และยาเสพติด อยากให้เดินหน้าทำของพวกนี้จะดีกว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อดีต ส.ส.ร.ลั่นไม่แก้ตามใจโจร
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี2550 และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในนามชมรม ส.ส.ร. 50 ประมาณ 20 คน อาทิ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย นายปกรณ์ ปรียากร นายมานิจ สุขสมจิตร ได้นัดประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อหารือถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 โดยส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ที่ แท้จริงของรัฐธรรมนูญที่ต้องการสร้างความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมให้กับการเลือกตั้ง
นายมานิจ สุขสมจิตร กล่าวว่า ขณะนี้ที่พูดกันคือ ส.ส.ร.เป็นพวก"จงอางหวงไข่" ไม่ยอมให้ใครมาแก้รัฐธรรมนูญ ก็ต้องบอกว่ารัฐธรรมนูญแก้ได้ เราจึงมีบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขเอาไว้ แต่การแก้ต้องไม่ใช่การแก้ตามใจ ถ้าจะแก้ตามใจชอบของโจร กฎหมายอาญาทั้งหลายทั้งปวง เรื่องการปล้นฆ่า ชิงทรัพย์ ต้องยกเลิกให้หมดเพราะโจรไม่ชอบแน่นอน รัฐธรรมนูญต้องไม่แก้ตามความพอใจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
นาย เสรี สุวรรณภานนท์ ยืนยันว่า ในระหว่างการร่าง ม.237 ได้ขอความเห็นจากพรรคการเมืองทุกพรรคปรากฎว่าไม่มีใครคัดค้านหรือโต้แย้ง และได้ผ่านการลงประชามติจากประชาชนมาแล้ว แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้เริ่มทำการตรวจสอบนักการเมืองที่ไม่บริสุทธิ์ต่อการเลือกตั้ง พรรคการเมืองเหล่านี้กลับมาขอแก้ไข เห็นชัดเจนว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่เกิดจากคนใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นการแก้ไข เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองอย่างชัดเจน
นายคมสัน โพธิ์คง กล่าวว่า การจะแก้ไขมาตรานี้ เท่ากับว่าพรรคพลังประชาชน พยายามจะหลบหลีกตัวเองให้รอดพ้นจากกระบวนการยุติธรรม ถือว่าไม่มีความชอบธรรม ไร้มารยาททางการเมืองอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างนักโทษที่อยู่ในคุกเมื่อเขาถูกคำสั่งประหารชีวิต เขาก็ต้องปฎิบัติตาม แต่เหตุใดนักการเมืองเมื่อทำความผิดกลับไปแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ทำไมนักการเมืองถึงไม่รับผิดในสิ่งที่ตัวเองกระทำเหมือนที่ประชาชนทั่วไปยอมรับ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชนกำลังบิดเบือนเจตนารมณ์ ม.237 อย่างรุนแรง เช่น อ้างว่ามาตรานี้เป็นการลงโทษทำผิดคนเดียว แต่เหมาเข่งเล่นงานทั้งพรรค ทั้งที่องค์ประกอบความผิดในมาตรานี้ มีถึง 3 เงื่อนไข คือ 1.ต้องสนับสนุนการกระทำความผิด 2. รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำ และ 3. รู้แล้วแต่ปล่อยปละละเลย หากไม่เข้า 1 ใน 3 เงื่อนไขนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นความผิดส่วนตัว
เตือน พปช.ดื้อดึงวุ่นวายแน่
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า ที่พรรคพลังประชาชนอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากท็อปบู๊ต จึงต้องรีบแก้ไข เพื่อให้ต่างชาติเกิดความมั่นใจนั้น ขอเรียนว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับของเรา 50-60 ปีที่ผ่านมาล้วนมาจากท็อปบู๊ตทั้งสิ้น และที่ผ่านมาต่างชาตินั้นเมื่อต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศไทย ก็ไม่เคยสนใจว่ารัฐบาลมาจกความชอบธรรมหรือไม่ คิดเพียงว่าเขาสามารถติดสินบนนักการเมืองของเรา และเข้าถึงผลประโยชน์ของเราได้เท่านั้น แต่เมื่อไรที่เราต้องการแก้ปัญหาภายใน กลับหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
สำหรับ ม.237 นั้นมีการรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองแล้ว แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอให้แก้ไขเลย แต่นี่มาแก้เพราะกระทำผิด แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่การแก้เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองเลย
ดังนั้น เราควรสร้างความรู้สึกร่วมกันกับประชาชนเพื่อตอกย้ำข้อเท็จจริงของเจตนารมณ์มาตรา 237 โดยขอให้ส.ส.ร. ช่วยให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ โดยในวันที่ 5 เม.ย. นี้จะมีการจัดเสวนา เรื่อง"แก้รัฐธรรมนูญใครได้ใครเสีย" ในเวลา 14.00 -15.00 น. โดยมีตัวแทนภาคประชาชนจากทั่วประเทศมาเสวนาร่วมกัน
"ส.ส.ร. 50 ต้องรวมตัวกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญคงไม่มีข้อยุติง่าย เพราะฝ่ายที่จะแก้ เขาทุรนทุรายที่จะแก้ให้ได้ภายใน 1-2 เดือน ดังนั้น เราต้องทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้ ส่วนตัวได้ประเมินสถานการณ์แล้วไม่อยากให้มีเรื่องวุ่นวาย แต่มันคงจะมีหากยังดื้อดึง ไม่มีการฟังเสียงประชาชน" น.ต.ประสงค์กล่าว
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ส.ส.ร.จะมีการประชุมกันทุกวันอังคาร ที่รัฐสภา โดยจะระดมอดีต ส.ส.ร. และอดีตกรรมาธิการทั่วประเทศมาประชุมร่วมกัน เพื่อเกาะติด ตรวจสอบแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลว่ามีความชอบธรรม และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ส่วนตัว
ด้านนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยพุ่งเป้าไปที่ มาตรา 237 ว่า ความจริงรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการร่าง และส่วนตัวมองว่า ควรแก้ไขทั้งฉบับ โดยมีการนำผลงานวิชาการมาเทียบเคียงเพื่อแก้ไข แต่ถ้าพรรคการเมืองเห็นว่าประเด็นใดมีความเร่งด่วนและไม่เป็นธรรมก็สามารถแก้ไขได้ เพราะในสังคมไทยไม่ควรมีกฎหมายที่ไม่ให้ความเป็นธรรม
"ใจผมอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ถ้ามองให้ดีและนำหลักวิชาการมาพิจารณา 7 วันก็น่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ" นายบุญทัน กล่าว