สพท.ลุยขยายตลาดฟิล์มโลเกชันแบบไดเร็กเซลล์ สบช่องออกงานเทรดโชว์ นัดผู้สร้างคุยถึงถิ่น ระบุระดับหัวหน้าลงพื้นที่เองหวังสร้างความเชื่อมั่นให้ชนะใจผู้สร้างภาพยนตร์ ซื้อเวลาจนกว่าจะผลักดันให้มีอินเซนทมีฟในด้านอื่น ล่าสุดลุยเปิดตลาดฮ่องกง มาเก๊าและจีนตอนใต้ ในงาน ฮ่องกง โลเกชันเวิลด์ พร้อมลุยต่อในงาน AFCI ที่อเมริกาในเดือนหน้า
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า สพท.ได้ปรับแผนการทำงานเน้นเชิงรุกมากขึ้น โดยประเดิมกลยุทธ์ดังกล่าวที่งานฮ่องกง ฟิล์ม เฟสติวัน และงานฮ่องกง โลเกชันเวิลด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะงานฮ่องกงโลเกชันเวิลด์ ที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 สพท. ต้องการใช้ช่องทางนี้ นำเสนอโลเกชันในการถ่ายทำภาพยนตร์ รวมถึงบริการพีโพสต์โปรดักชันของประเทศไทยออกสู่ตลาดมาเก๊า และจีนตอนใต้
ทั้งนี้ยังได้นัดคุยกับผู้สร้างภาพยนตร์ในฮ่องกง จีน มาเก๊า ด้วย โดยนำข้อมูลด้านการให้บริการของ สพท. ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ ความพร้อมของประเทศไทยและภาคเอกชนของคนไทย ตลอดจนภาพโลเกชันในสถานที่ต่างๆ ไปนำเสนอ เพื่อหวังสร้างความมั่นใจและโน้มน้าวให้ผู้สร้างเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ
"สพท.จะเดินกลยุทธ์แบบขายตรงไปนำเสนอเป็นรายบุคคลหรือรายบริษัท ทั้งโลเกชันบริการที่จะได้รับ และบริการพีโพสต์โปรดักชัน หากเขาเห็นว่า เรามีความพร้อมแบบครบวงจร ก็น่าจะตัดสินใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ขณะที่ภารกิจต่อไปของ สพท. คือจะต้องผลักดัน ให้ รัฐบาลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้อินเซ็นทีฟ กองถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อเป็นแรงจูงใจเพิ่มขึ้น เช่น การยกเว้นภาษีVAT เป็นต้น"
สำหรับ 2 เดือนแรกปีนี้ รายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย มีมูลค่าถึง 596 ล้านบาท จากหนังทั้งหมด 104 เรื่อง สูงว่า ปีก่อน 247% โดยปีก่อนในช่วงเดียวกัน ประเทศไทย มีรายได้จากธุรกิจนี้ราว 171 ล้านบาท สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ การเลิกประท้วงของผู้เขียนบทจากฮอลีวู้ด ตลาดก็กลับมาคึกคัดอีกครั้ง แต่หนังฟอร์มยักษ์ที่ชะลอการถ่ายทำออกไปก็ยังไม่มีกำหนดว่าจะเข้ามาถ่ายทำเมื่อใด ที่เข้ามาถ่ายทำสูงสุดคือ หนังโฆษณา 51 เรื่อง ,สารคดี 31 เรื่อง ,ละครทีวี 10 เรื่อง ,มิวสิค วิดีโอ 6 เรื่อง และ ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ 6 เรื่อง ประเทศที่ เข้ามาใช้สถานที่สูงสุด คือ ญี่ปุ่น 35 เรื่อง อินเดีย 15 เรื่อง ประเทศในกลุ่ม ยุโรป 22 เรื่อง ที่เหลือ เป็นประเทศอื่นๆ
ทำตลาดแบบเคาะประตูถึงบ้าน
ทางด้านนางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กล่าวว่า สพท.จะใช้วิธีไดเร็กเซลล์ในทุกๆตลาด ที่ เดินทางไปเทรดโชว์และโรดโชว์ โดยจะนัดบริษัทผู้สร้างหนัง มาให้ข้อมูลรายละเอียด ซึ่งในงาน Association of Film Commissioners International หรือ AFCI Locations Trade Show 2008 ซึ่งเป็นงาน โลเกชันเทรดโชว์ ที่ใหญ่สุดในอเมริกา โดยจะจัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนนี้ สพท. ก็ได้เตรียมทำนัดไว้กับผู้สร้างภาพยนตร์จากฮอลีวู้ดไว้เช่นกัน
"มองว่า การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในระดับผู้อำนวยการ หรือระดับหัวหน้า ลงพื้นที่ และให้ข้อมูลอย่างใกล้ชิด จะทำให้ผู้สร้างหนังในต่างประเทศ เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น ว่าหากเขามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ก็เหมือนเป็นแขกพิเศษที่ภาครัฐจะคอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ "
สำหรับปีนี้มีประเทศใหม่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์มากขึ้น เช่น เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ส่วนหนังที่มาถ่าย เช่น ภาพยนตร์ มินิซีรี่ย์ซึ่งทำให้อยู่นานวันขึ้น จากดอดีตจะมาถ่ายเฉพาะหนังโฆษณาซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน ดังนั้น ในงาน AFTI กองกิจการภาพยนตร์ จำนำซีดี โลเกชันถ่ายทำภาพยนตร์ไปแจกจ่าย ให้ผู้สร้างได้เห็นในหลายๆมุมของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามสพท.ได้เตรียมเสนอแนวทางการส่งเสริมธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ต่อนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยงานในวันนี้(24 มี.ค.51) ถึงการผลักดันให้เกิดโครงการมูฟวี่ ฟรีเทรดโซน หรือการสนับสนุนให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนในธุรกิจถ่ายหนัง เช่น การสร้างสตูดิโอ เป็นต้น ภาครัฐอาจต้องให้อินเซนทีฟเรื่องภาษี
โดยการหารือครั้งนี้ สพท.จะเสนอให้รมว.วีระศักดิ์ ช่วยประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม ดูเรื่องกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ด้วยว่าสมควรที่จะมีการแก้ไขให้เหมาะกับปัจจุบันได้อย่างไร โดยก่อนหน้านี้สพท.ได้หารือในระดับเจ้าหน้าที่ของบีโอไอ เพื่อให้เข้าใจตรงกันในระดับหนึ่งแล้ว เบื้องต้นเสนอไว้ 2 แนวทาง ได้แก่ เสนอเป็นเรื่องใหม่ของการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาหรือให้ บีโอไอเพิ่มประเภทการส่งเสริม ซึ่งจะใช้เวลาเร็วกว่าอย่างแรก
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า สพท.ได้ปรับแผนการทำงานเน้นเชิงรุกมากขึ้น โดยประเดิมกลยุทธ์ดังกล่าวที่งานฮ่องกง ฟิล์ม เฟสติวัน และงานฮ่องกง โลเกชันเวิลด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะงานฮ่องกงโลเกชันเวิลด์ ที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 สพท. ต้องการใช้ช่องทางนี้ นำเสนอโลเกชันในการถ่ายทำภาพยนตร์ รวมถึงบริการพีโพสต์โปรดักชันของประเทศไทยออกสู่ตลาดมาเก๊า และจีนตอนใต้
ทั้งนี้ยังได้นัดคุยกับผู้สร้างภาพยนตร์ในฮ่องกง จีน มาเก๊า ด้วย โดยนำข้อมูลด้านการให้บริการของ สพท. ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ ความพร้อมของประเทศไทยและภาคเอกชนของคนไทย ตลอดจนภาพโลเกชันในสถานที่ต่างๆ ไปนำเสนอ เพื่อหวังสร้างความมั่นใจและโน้มน้าวให้ผู้สร้างเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ
"สพท.จะเดินกลยุทธ์แบบขายตรงไปนำเสนอเป็นรายบุคคลหรือรายบริษัท ทั้งโลเกชันบริการที่จะได้รับ และบริการพีโพสต์โปรดักชัน หากเขาเห็นว่า เรามีความพร้อมแบบครบวงจร ก็น่าจะตัดสินใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ขณะที่ภารกิจต่อไปของ สพท. คือจะต้องผลักดัน ให้ รัฐบาลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้อินเซ็นทีฟ กองถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อเป็นแรงจูงใจเพิ่มขึ้น เช่น การยกเว้นภาษีVAT เป็นต้น"
สำหรับ 2 เดือนแรกปีนี้ รายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย มีมูลค่าถึง 596 ล้านบาท จากหนังทั้งหมด 104 เรื่อง สูงว่า ปีก่อน 247% โดยปีก่อนในช่วงเดียวกัน ประเทศไทย มีรายได้จากธุรกิจนี้ราว 171 ล้านบาท สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ การเลิกประท้วงของผู้เขียนบทจากฮอลีวู้ด ตลาดก็กลับมาคึกคัดอีกครั้ง แต่หนังฟอร์มยักษ์ที่ชะลอการถ่ายทำออกไปก็ยังไม่มีกำหนดว่าจะเข้ามาถ่ายทำเมื่อใด ที่เข้ามาถ่ายทำสูงสุดคือ หนังโฆษณา 51 เรื่อง ,สารคดี 31 เรื่อง ,ละครทีวี 10 เรื่อง ,มิวสิค วิดีโอ 6 เรื่อง และ ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ 6 เรื่อง ประเทศที่ เข้ามาใช้สถานที่สูงสุด คือ ญี่ปุ่น 35 เรื่อง อินเดีย 15 เรื่อง ประเทศในกลุ่ม ยุโรป 22 เรื่อง ที่เหลือ เป็นประเทศอื่นๆ
ทำตลาดแบบเคาะประตูถึงบ้าน
ทางด้านนางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กล่าวว่า สพท.จะใช้วิธีไดเร็กเซลล์ในทุกๆตลาด ที่ เดินทางไปเทรดโชว์และโรดโชว์ โดยจะนัดบริษัทผู้สร้างหนัง มาให้ข้อมูลรายละเอียด ซึ่งในงาน Association of Film Commissioners International หรือ AFCI Locations Trade Show 2008 ซึ่งเป็นงาน โลเกชันเทรดโชว์ ที่ใหญ่สุดในอเมริกา โดยจะจัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนนี้ สพท. ก็ได้เตรียมทำนัดไว้กับผู้สร้างภาพยนตร์จากฮอลีวู้ดไว้เช่นกัน
"มองว่า การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในระดับผู้อำนวยการ หรือระดับหัวหน้า ลงพื้นที่ และให้ข้อมูลอย่างใกล้ชิด จะทำให้ผู้สร้างหนังในต่างประเทศ เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น ว่าหากเขามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ก็เหมือนเป็นแขกพิเศษที่ภาครัฐจะคอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ "
สำหรับปีนี้มีประเทศใหม่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์มากขึ้น เช่น เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ส่วนหนังที่มาถ่าย เช่น ภาพยนตร์ มินิซีรี่ย์ซึ่งทำให้อยู่นานวันขึ้น จากดอดีตจะมาถ่ายเฉพาะหนังโฆษณาซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน ดังนั้น ในงาน AFTI กองกิจการภาพยนตร์ จำนำซีดี โลเกชันถ่ายทำภาพยนตร์ไปแจกจ่าย ให้ผู้สร้างได้เห็นในหลายๆมุมของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามสพท.ได้เตรียมเสนอแนวทางการส่งเสริมธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ต่อนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยงานในวันนี้(24 มี.ค.51) ถึงการผลักดันให้เกิดโครงการมูฟวี่ ฟรีเทรดโซน หรือการสนับสนุนให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนในธุรกิจถ่ายหนัง เช่น การสร้างสตูดิโอ เป็นต้น ภาครัฐอาจต้องให้อินเซนทีฟเรื่องภาษี
โดยการหารือครั้งนี้ สพท.จะเสนอให้รมว.วีระศักดิ์ ช่วยประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม ดูเรื่องกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ด้วยว่าสมควรที่จะมีการแก้ไขให้เหมาะกับปัจจุบันได้อย่างไร โดยก่อนหน้านี้สพท.ได้หารือในระดับเจ้าหน้าที่ของบีโอไอ เพื่อให้เข้าใจตรงกันในระดับหนึ่งแล้ว เบื้องต้นเสนอไว้ 2 แนวทาง ได้แก่ เสนอเป็นเรื่องใหม่ของการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาหรือให้ บีโอไอเพิ่มประเภทการส่งเสริม ซึ่งจะใช้เวลาเร็วกว่าอย่างแรก