หนังสือคำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์ หนังสือเกี่ยวกับลัทธิมาร์คเลนิน สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง สรรนิพนธ์การทหาร ลัทธิประชาธิปไตยรวมศูนย์ ทฤษฎีวิภาษวิธี หนังสือวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ หนังสือว่าด้วยการปฏิบัติ ว่าด้วยความขัดแย้ง ว่าด้วยการแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชน และหนังสือเกี่ยวกับประวัติการต่อสู้ของนักปฏิวัติต่าง ๆ และอะไรต่อมิอะไรในลักษณะเดียวกันนี้ได้ไหลซึมเข้ามาอย่างเงียบ ๆ แต่ก็แผ่เป็นวงกว้าง
แล้วมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันอ่าน และอภิปรายประเด็นปัญหาต่าง ๆ อย่างเงียบ ๆ มาถึงวันนี้ก็พอคาดได้ว่าปรากฏการณ์นี้มีการเคลื่อนไหวของชาวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเข้ามาในขบวนการนักศึกษาแล้ว
ความจริงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่ห้วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเริ่มต้นขึ้นในหมู่กรรมกรคนจีนก่อน โดยเฉพาะคือกรรมกรโรงสี ซึ่งในอดีตนั้นวันดีคืนดีก็มีการเอาธงของพรรคคอมมิวนิสต์ไปแอบปักซ่อนไว้ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า
ในขณะนั้นสะพานพระพุทธยอดฟ้ายังสามารถเปิดได้และจะเปิดเมื่อมีเรือรบหลวงผ่านไปมา ดังนั้นเมื่อเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพื่อให้เรือรบหลวงผ่านไป ธงแดงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่แอบซ่อนไว้ก็ชูเด่นเป็นสง่าต้อนรับเรือรบหลวงไปโดยปริยาย
รัฐบาลถือว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูหมายเลข 1 ของประเทศไทย และเป็นการถือตามคำบงการครอบงำขององค์กรสืบราชการลับซีไอเอแห่งสหรัฐอเมริกาและต่อมาก็ได้มีการตรากฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
รัฐบาลยิ่งปราบ แทนที่คอมมิวนิสต์จะหมดไป กลับกลายเป็นว่าคอมมิวนิสต์ยิ่งขยายตัวและจัดตั้งองค์กรลับขยายออกไปในองค์กรประชาชนต่างๆ ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ หนักเข้าก็ลุกลามเข้ามาในวงการการศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย
ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และคราวนี้เป็นประโยชน์ร่วมกันของนิสิตนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยและประชาชนด้วย นั่นคือประเด็นปัญหาที่รัฐบาลแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลสามารถควบคุมครอบงำอำนาจตุลาการได้
โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจโยกย้ายผู้พิพากษาได้ตามความประสงค์ เช่นเดียวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารหรือพลเรือนอื่น ๆ ซึ่งเป็นการพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินขบวนการยุติธรรม
เพราะแต่ไหนแต่ไรมาอำนาจตุลาการต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล การแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร และกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการตุลาการเพื่อเป็นหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาตุลาการทั้งปวง
ความคิดดังกล่าวนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะรัฐบาลนั้นเห็นว่าแม้จะมีอำนาจครอบคลุมถึงหน่วยราชการทุกหน่วยแล้วก็ตาม แต่ยังคงเหลือศาลสถิตยุติธรรมที่ยังคงเป็นอิสระอยู่
แต่ในครั้งนั้นพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญที่ค้ำยันค้ำจุนและค้ำชูรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มิให้เดินหลงทิศผิดทางได้คัดค้านอย่างหนักแน่นว่า การที่ศาลดำรงความเป็นอิสระนั้น คือการดำรงรักษาความนับถือเชื่อมั่นต่อประเทศและรัฐบาลในสายตานานาชาติ และทำให้ประชาชนยังมีที่พึ่งสุดท้าย
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฟังคำท้วงติงดังกล่าวนี้จึงทำให้ตลอดระยะเวลาของรัฐบาลนั้นไม่มีการแตะต้องหรือก้าวก่ายความเป็นอิสระของศาลเลย จึงทำให้สภาพรัฐบาลเผด็จการมีภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่มีความยุติธรรมดำรงอยู่ควบคู่กันไปด้วย และเป็นผลทำให้รัฐบาลนั้นได้รับการยอมรับนับถือเป็นอันมาก แม้กระทั่งถึงวันนี้ก็ยังมีผู้กล่าวขวัญอยู่เสมอ
การที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จะออกกฎหมายครอบงำอำนาจตุลาการเช่นนี้จึงกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อหลักการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย และสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
เป็นประเด็นที่ขบวนการนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยเข้าใจประเด็นปัญหา ผลได้ผลเสียและอันตรายร้ายแรงอย่างแจ้งชัดโดยง่าย ดังนั้นจึงมีการประสานงานแกนนำนิสิตนักศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย รวมทั้งพวกแรงงานในรัฐวิสาหกิจเพื่อจัดชุมนุมขึ้นที่บริเวณกระทรวงยุติธรรมด้านคลองหลอด เพื่อประท้วงรัฐบาล
เรียกการประท้วงครั้งนี้ว่าการประท้วงคัดค้านกฎหมายโบดำ ที่รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนั้นคือหลวงจำรูญเนติศาสตร์เป็นรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืนเป็นครั้งแรก นอกจากการอภิปราย ปราศรัยแล้ว ยังมีการจัดรายการแสดงละครบ้าง ลำตัดบ้าง ลิเกบ้าง และอ่านบทกวีบ้าง เป็นการเกิดขึ้นของรูปแบบใหม่ในการชุมนุมประท้วงที่จะเป็นต้นแบบให้แก่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาและประชาชนในกาลต่อไป
ผมทำหน้าที่ด้านวัฒนธรรม มีหน้าที่ในการเขียนบทกวีต่าง ๆ ให้พิธีกรขึ้นไปอ่านในระหว่างพักการปราศรัย โดยในขณะนั้นก็มีเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นได้เริ่มแต่งเพลงสั้น ๆ เพื่อใช้ในการประท้วงด้วย และนี่ก็คือการกำเนิดขึ้นของการสร้างสรรค์บทเพลงในการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาและประชาชน
พวกเราชุมนุมประท้วงประมาณ 3 วัน รัฐบาลก็ยอมถอนร่างกฎหมายที่ครอบงำอำนาจตุลาการนั้นเสีย เป็นเรื่องราวที่ท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ซึ่งความจริงท่านก็เป็นครูบาอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของนักกฎหมายไทยในยุคนั้นถูกตำหนิติเตียนและด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย
ผมเคยพบท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว เคยต่อว่าท่านถึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาที่ว่าทำไมเวลาสอนในมหาวิทยาลัยท่านอาจารย์สอนอย่างหนึ่ง เวลาไปเป็นรัฐมนตรีจึงทำไปเสียอีกอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ก็แก้ว่า ความคิดคนเรามันอยู่นิ่งเสียเมื่อไหร่ เป็นอาจารย์สอนหนังสือก็ต้องคิดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง เป็นรัฐมนตรีก็ต้องทำตามนโยบายของรัฐบาล มันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
เพราะความคิดแบบนี้กระมังจึงทำให้นักการเมืองไทยในรุ่นหลัง ๆ ต่อมากลายเป็นนักการเมืองที่ไม่ยึดถือหลักการใด ๆ ทำเอาแต่สิ่งที่จะเอื้อประโยชน์เฉพาะหน้า โดยไม่คำนึงถึงอนาคตว่าจะเกิดความวิบัติใด ๆ กับชาติบ้านเมืองและลูกหลานของตน
ชัยชนะในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะใหญ่และเป็นประสบการณ์ใหม่ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทยหลังยุค 25 พุทธศตวรรษ
เพราะเป็นการเคลื่อนไหวร่วมกันของนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย โดยมีประชาชนเข้าร่วมด้วย เป็นการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืนเป็นครั้งแรกหลังจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกยึดครอง และเป็นการชุมนุมประท้วงที่ยาวนานข้ามวันข้ามคืนเป็นเวลาถึง 3 วัน ทั้งได้ก่อเกิดรูปแบบการชุมนุมประท้วงที่เป็นแบบอย่างให้แก่การเคลื่อนไหวในระยะหลัง คือมีทั้งอภิปราย ปราศรัย อ่านบทกวี เล่นละคร ลิเก ลำตัด
ซึ่งถือได้ว่านี่คือการสร้างสรรค์รูปแบบที่มีการนำเอาพลังอำนาจทางวัฒนธรรมเข้ามาประสมประสานในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่านี่คือสิ่งที่จุดประกายความคิดให้เกิดเพลงเพื่อชีวิตขึ้นมาในชั้นหลัง
ที่สำคัญที่สุดจากเรื่องนี้ก็คือการก่อตัวขึ้นของระบบการประสานงานระหว่างแกนนำนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งพัฒนาเติบใหญ่ไปโดยลำดับ กระทั่งก่อตัวเป็นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทนำในการเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516.
โปรดติดตามตอนที่ 72 “ในสังสารวัฏ ตอน 1” ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2551
แล้วมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันอ่าน และอภิปรายประเด็นปัญหาต่าง ๆ อย่างเงียบ ๆ มาถึงวันนี้ก็พอคาดได้ว่าปรากฏการณ์นี้มีการเคลื่อนไหวของชาวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเข้ามาในขบวนการนักศึกษาแล้ว
ความจริงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่ห้วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเริ่มต้นขึ้นในหมู่กรรมกรคนจีนก่อน โดยเฉพาะคือกรรมกรโรงสี ซึ่งในอดีตนั้นวันดีคืนดีก็มีการเอาธงของพรรคคอมมิวนิสต์ไปแอบปักซ่อนไว้ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า
ในขณะนั้นสะพานพระพุทธยอดฟ้ายังสามารถเปิดได้และจะเปิดเมื่อมีเรือรบหลวงผ่านไปมา ดังนั้นเมื่อเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพื่อให้เรือรบหลวงผ่านไป ธงแดงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่แอบซ่อนไว้ก็ชูเด่นเป็นสง่าต้อนรับเรือรบหลวงไปโดยปริยาย
รัฐบาลถือว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูหมายเลข 1 ของประเทศไทย และเป็นการถือตามคำบงการครอบงำขององค์กรสืบราชการลับซีไอเอแห่งสหรัฐอเมริกาและต่อมาก็ได้มีการตรากฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
รัฐบาลยิ่งปราบ แทนที่คอมมิวนิสต์จะหมดไป กลับกลายเป็นว่าคอมมิวนิสต์ยิ่งขยายตัวและจัดตั้งองค์กรลับขยายออกไปในองค์กรประชาชนต่างๆ ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ หนักเข้าก็ลุกลามเข้ามาในวงการการศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย
ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และคราวนี้เป็นประโยชน์ร่วมกันของนิสิตนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยและประชาชนด้วย นั่นคือประเด็นปัญหาที่รัฐบาลแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลสามารถควบคุมครอบงำอำนาจตุลาการได้
โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจโยกย้ายผู้พิพากษาได้ตามความประสงค์ เช่นเดียวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารหรือพลเรือนอื่น ๆ ซึ่งเป็นการพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินขบวนการยุติธรรม
เพราะแต่ไหนแต่ไรมาอำนาจตุลาการต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล การแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาไม่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร และกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการตุลาการเพื่อเป็นหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาตุลาการทั้งปวง
ความคิดดังกล่าวนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะรัฐบาลนั้นเห็นว่าแม้จะมีอำนาจครอบคลุมถึงหน่วยราชการทุกหน่วยแล้วก็ตาม แต่ยังคงเหลือศาลสถิตยุติธรรมที่ยังคงเป็นอิสระอยู่
แต่ในครั้งนั้นพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญที่ค้ำยันค้ำจุนและค้ำชูรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มิให้เดินหลงทิศผิดทางได้คัดค้านอย่างหนักแน่นว่า การที่ศาลดำรงความเป็นอิสระนั้น คือการดำรงรักษาความนับถือเชื่อมั่นต่อประเทศและรัฐบาลในสายตานานาชาติ และทำให้ประชาชนยังมีที่พึ่งสุดท้าย
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฟังคำท้วงติงดังกล่าวนี้จึงทำให้ตลอดระยะเวลาของรัฐบาลนั้นไม่มีการแตะต้องหรือก้าวก่ายความเป็นอิสระของศาลเลย จึงทำให้สภาพรัฐบาลเผด็จการมีภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่มีความยุติธรรมดำรงอยู่ควบคู่กันไปด้วย และเป็นผลทำให้รัฐบาลนั้นได้รับการยอมรับนับถือเป็นอันมาก แม้กระทั่งถึงวันนี้ก็ยังมีผู้กล่าวขวัญอยู่เสมอ
การที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จะออกกฎหมายครอบงำอำนาจตุลาการเช่นนี้จึงกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อหลักการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย และสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
เป็นประเด็นที่ขบวนการนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยเข้าใจประเด็นปัญหา ผลได้ผลเสียและอันตรายร้ายแรงอย่างแจ้งชัดโดยง่าย ดังนั้นจึงมีการประสานงานแกนนำนิสิตนักศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย รวมทั้งพวกแรงงานในรัฐวิสาหกิจเพื่อจัดชุมนุมขึ้นที่บริเวณกระทรวงยุติธรรมด้านคลองหลอด เพื่อประท้วงรัฐบาล
เรียกการประท้วงครั้งนี้ว่าการประท้วงคัดค้านกฎหมายโบดำ ที่รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนั้นคือหลวงจำรูญเนติศาสตร์เป็นรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืนเป็นครั้งแรก นอกจากการอภิปราย ปราศรัยแล้ว ยังมีการจัดรายการแสดงละครบ้าง ลำตัดบ้าง ลิเกบ้าง และอ่านบทกวีบ้าง เป็นการเกิดขึ้นของรูปแบบใหม่ในการชุมนุมประท้วงที่จะเป็นต้นแบบให้แก่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาและประชาชนในกาลต่อไป
ผมทำหน้าที่ด้านวัฒนธรรม มีหน้าที่ในการเขียนบทกวีต่าง ๆ ให้พิธีกรขึ้นไปอ่านในระหว่างพักการปราศรัย โดยในขณะนั้นก็มีเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นได้เริ่มแต่งเพลงสั้น ๆ เพื่อใช้ในการประท้วงด้วย และนี่ก็คือการกำเนิดขึ้นของการสร้างสรรค์บทเพลงในการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาและประชาชน
พวกเราชุมนุมประท้วงประมาณ 3 วัน รัฐบาลก็ยอมถอนร่างกฎหมายที่ครอบงำอำนาจตุลาการนั้นเสีย เป็นเรื่องราวที่ท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ซึ่งความจริงท่านก็เป็นครูบาอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของนักกฎหมายไทยในยุคนั้นถูกตำหนิติเตียนและด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย
ผมเคยพบท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว เคยต่อว่าท่านถึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาที่ว่าทำไมเวลาสอนในมหาวิทยาลัยท่านอาจารย์สอนอย่างหนึ่ง เวลาไปเป็นรัฐมนตรีจึงทำไปเสียอีกอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ก็แก้ว่า ความคิดคนเรามันอยู่นิ่งเสียเมื่อไหร่ เป็นอาจารย์สอนหนังสือก็ต้องคิดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง เป็นรัฐมนตรีก็ต้องทำตามนโยบายของรัฐบาล มันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
เพราะความคิดแบบนี้กระมังจึงทำให้นักการเมืองไทยในรุ่นหลัง ๆ ต่อมากลายเป็นนักการเมืองที่ไม่ยึดถือหลักการใด ๆ ทำเอาแต่สิ่งที่จะเอื้อประโยชน์เฉพาะหน้า โดยไม่คำนึงถึงอนาคตว่าจะเกิดความวิบัติใด ๆ กับชาติบ้านเมืองและลูกหลานของตน
ชัยชนะในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะใหญ่และเป็นประสบการณ์ใหม่ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทยหลังยุค 25 พุทธศตวรรษ
เพราะเป็นการเคลื่อนไหวร่วมกันของนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย โดยมีประชาชนเข้าร่วมด้วย เป็นการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืนเป็นครั้งแรกหลังจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกยึดครอง และเป็นการชุมนุมประท้วงที่ยาวนานข้ามวันข้ามคืนเป็นเวลาถึง 3 วัน ทั้งได้ก่อเกิดรูปแบบการชุมนุมประท้วงที่เป็นแบบอย่างให้แก่การเคลื่อนไหวในระยะหลัง คือมีทั้งอภิปราย ปราศรัย อ่านบทกวี เล่นละคร ลิเก ลำตัด
ซึ่งถือได้ว่านี่คือการสร้างสรรค์รูปแบบที่มีการนำเอาพลังอำนาจทางวัฒนธรรมเข้ามาประสมประสานในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่านี่คือสิ่งที่จุดประกายความคิดให้เกิดเพลงเพื่อชีวิตขึ้นมาในชั้นหลัง
ที่สำคัญที่สุดจากเรื่องนี้ก็คือการก่อตัวขึ้นของระบบการประสานงานระหว่างแกนนำนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งพัฒนาเติบใหญ่ไปโดยลำดับ กระทั่งก่อตัวเป็นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทนำในการเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516.
โปรดติดตามตอนที่ 72 “ในสังสารวัฏ ตอน 1” ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2551