ผู้จัดการรายวัน-จำเลย "ทักษิณ" ไม่ยอมรับผิดคดีทุจริตซื้อที่ดินย่านรัชดา ยันกลางศาลสู้คดี ศาลอนุญาตสืบพยานลับหลังตามร้องขอ นัดสอบบัญชีพยาน 29,30 เม.ย.51 เสนอชื่อ"บรรหาร-ชวน"เป็นพยานประเด็นอำนาจนายกฯดูแลกองทุนฟื้นฟูฯขณะที่กลุ่มหนุนแน่นศาล"ทักษิณ"ตอบผมไม่เป็นไร แต่เมินตอบสื่อ ว่าจะกลับไทยวันไหน
วานนี้(12 มี.ค.)เวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน คดีดำหมายเลขที่ อม. 1/ 2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยที่ 1 -2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 100,122 และ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา33,83,86,90,96 152 และ157 พร้อมองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนออกนั่งบัลลังก์เพื่อสอบคำให้การ พ.ต.ท.ทักษิณ
โดยศาลได้อธิบายคำฟ้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ฟังสรุปว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 –19 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง เป็นเจ้าพนักงานของรัฐตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยป.ป.ช.มีหน้าที่กำกับดูแลควบคุมตรวจสอบกองทุนฟื้นฟูพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเมื่อเดือน ธ.ค.2546 จำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมคู่สมรสประมูลซื้อที่ดินและทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟู ฯ โฉนดเลขที่ 2298 ,2299, 2300 และ 2301 ในราคา 772 ล้านบาทที่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ โดยจำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลกิจการกองทุนฟื้นฟู ฯ เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ม. 4 100,122 และ ประมวลกฎหมายอาญา ม.33,83,86,90,96 152 และ157
จากนั้นศาลสอบถาม พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีสีหน้าเรียบเฉย ยืนยันให้การปฎิเสธทุกข้อกล่าวหา ตามรายละเอียดคำให้การของจำเลยที่ 1 และ 2 ที่ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร จำนวน 121 หน้าต่อศาลเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 ศาลจึงนัดตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 29 – 30 เมษายน เวลา 10.00 น. พร้อมกับนัดสอบคำให้การคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 ในส่วนที่ได้ยื่นคำให้การพร้อมจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 11 มีนาคม นี้ ด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องลงวันที่ 11 มีนาคม 2551 ขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยที่ 1 นั้น ศาลสำเนาคำร้องให้โจทก์แล้วไม่คัดค้าน พิเคราะห์แล้วจึงอนุญาตให้พิจารณาและไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยที่ 1 ได้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
นายพิชิฎ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงประเด็นยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลังจำเลยว่า การยื่นคำร้องได้ให้เหตุผล เพื่อความสะดวก และประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีของศาล เพราะบางเวลา พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะติดขัดเรื่องธุรกิจและมาขอเลื่อนคดี ซึ่งอาจจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล่าช้าไป ส่วนคุณหญิงพจมาน จะขอยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลังอีกหรือไม่นั้น ทีมทนายความต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง
นายพิชิฎ กล่าวย้ำว่า ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะต้องการให้กระบวนการพิจารณาคดีควบคู่ไปกับคุณหญิงพจมาน
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เมื่อศาลรับพยานหลักฐานทั้งหมดแล้วจะส่งสำเนาให้กับอัยการ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้รับอนุญาตจากศาลให้พิจารณาคดีลับหลังได้ ซึ่งหมายความว่าระหว่างการพิจารณาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องเดินทางมารับฟังการพิจารณาด้วยตัวเองได้เพราะมีทนายความทำหน้าที่แทนอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าการเชิญนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายชวน หลีกภัย มาเป็นพยานนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นใดบ้าง นายพงษ์เทพ กล่าวว่า พยานเหล่านี้เราพิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทว่าประเด็นไหนต้องการเรียกพยานคนไหน หากเป็นพยานที่ไม่สามารถมาให้การได้ก็ต้องขอให้ศาลออกหมายเรียก ส่วนนี้ตนเข้าใจว่าคงเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับกรณีที่นายกรัฐมนตรี มีอำนาจกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่มีการโต้แย้งกัน ส่วนคดีที่ดีเอสไอต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มาชี้แจงด้วยตัวเองในวันที่ 3 เม.ย.นั้น เป็นการนัดมาฟังความเท่านั้นว่าอัยการจะสั่งอย่างไรเจ้าตัวไม่จำเป็นต้องมาด้วยตัวเอง ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องก็จบแต่ถ้าสั่งฟ้องก็จะนัดว่าฟ้องเมื่อไหร่จึงจะไปศาลในวันนั้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางมาถึงศาลตั้งแต่เวลา 09.03 น.โดยเดินทางมาพร้อมกับนายพานทองแท้ บุตรชาย ด้วยรถยนต์ โฮเด้น สีเทาดำ ทะเบียน ชย.9894 กทม. ซึ่งบรรดาญาติและผู้ใกล้ชิดเดินทางมาให้กำลังใจอย่างคับคั่ง อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว ,นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา , พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ , นายสรอรรถ กลิ่นประทุม , นายวราเทพ รัตนากร , นายธวัชชัย สัจจกุล และ พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังฆพงษ์
สำหรับการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 นำโดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 ประมาณ 1 กองร้อย มาดูแลรักษาความปลอดภัยรอบศาลอย่างเข้มงวด โดยนำแผงเหล็กมากั้นเพื่อไม่ให้กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีประมาณ 200 คน ซึ่งเตรียมดอกกุหลามามอบให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาให้ก่อความวุ่นวายในบริเวณศาล โดยทั้งหมดยืนรออยู่ด้านนอกศาล บริเวณทางเท้าด้วยความสงบ แต่ยังมีผู้สนับสนุนบางส่วนเล็ดรอดสายตา รปภ. เข้ามาได้
ส่วนบรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี มีบรรดาญาติ สมาชิกกลุ่มการเมือง และผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมรับฟังการสอบคำให้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จนเต็มห้องพิจารณาคดี ทำให้ผู้สนับสนุนและสื่อมวลชนบางส่วน ต้องยืนรอรับฟังการถ่ายทอดเสียงและภาพการพิจารณาคดีผ่านจอโปร์เจกต์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้หน้าห้องพิจารณาคดี โดยระหว่างที่รอให้การต่อศาล พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงสีหน้าไม่ค่อยสู้ดีนัก มีอาการกังวลเล็กน้อย แต่ภายหลังสอบคำให้การแล้วขณะที่เดินออกมาจากห้องพิจารณา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ยิ้มแห้งๆ ให้กับกองทัพผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศที่เฝ้ารอถ่ายภาพและสัมภาษณ์
โดยระหว่างนั้นกลุ่มผู้สื่อข่าวได้พยายามถามว่าจะกลับไทยอีกเมื่อไร พ.ต.ท.ทักษิณ หันมามองแต่ไม่ยอมตอบคำถามใดๆ แล้วจึงเดินไปลงลิฟท์เพื่อเดินทางกลับ ซึ่งระหว่างทางเดินไปที่ลิฟท์ กลุ่มสนับสนุนประมาณ 5 คน มายืนดักรอ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยกลุ่มผู้สนับสนุนถึงกับร่ำไห้และพยายามจะเข้าไปกอด พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินมาจับมือและพูดคุยสั้น ๆว่า “ไม่เป็นไรครับๆ” ก่อนที่จะเดินกลับ
วานนี้(12 มี.ค.)เวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน คดีดำหมายเลขที่ อม. 1/ 2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยที่ 1 -2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 100,122 และ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา33,83,86,90,96 152 และ157 พร้อมองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนออกนั่งบัลลังก์เพื่อสอบคำให้การ พ.ต.ท.ทักษิณ
โดยศาลได้อธิบายคำฟ้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ฟังสรุปว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 –19 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง เป็นเจ้าพนักงานของรัฐตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยป.ป.ช.มีหน้าที่กำกับดูแลควบคุมตรวจสอบกองทุนฟื้นฟูพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเมื่อเดือน ธ.ค.2546 จำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมคู่สมรสประมูลซื้อที่ดินและทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟู ฯ โฉนดเลขที่ 2298 ,2299, 2300 และ 2301 ในราคา 772 ล้านบาทที่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ โดยจำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลกิจการกองทุนฟื้นฟู ฯ เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ม. 4 100,122 และ ประมวลกฎหมายอาญา ม.33,83,86,90,96 152 และ157
จากนั้นศาลสอบถาม พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีสีหน้าเรียบเฉย ยืนยันให้การปฎิเสธทุกข้อกล่าวหา ตามรายละเอียดคำให้การของจำเลยที่ 1 และ 2 ที่ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร จำนวน 121 หน้าต่อศาลเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 ศาลจึงนัดตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 29 – 30 เมษายน เวลา 10.00 น. พร้อมกับนัดสอบคำให้การคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 ในส่วนที่ได้ยื่นคำให้การพร้อมจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 11 มีนาคม นี้ ด้วย
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องลงวันที่ 11 มีนาคม 2551 ขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยที่ 1 นั้น ศาลสำเนาคำร้องให้โจทก์แล้วไม่คัดค้าน พิเคราะห์แล้วจึงอนุญาตให้พิจารณาและไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยที่ 1 ได้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
นายพิชิฎ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงประเด็นยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลังจำเลยว่า การยื่นคำร้องได้ให้เหตุผล เพื่อความสะดวก และประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีของศาล เพราะบางเวลา พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะติดขัดเรื่องธุรกิจและมาขอเลื่อนคดี ซึ่งอาจจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล่าช้าไป ส่วนคุณหญิงพจมาน จะขอยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลังอีกหรือไม่นั้น ทีมทนายความต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง
นายพิชิฎ กล่าวย้ำว่า ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะต้องการให้กระบวนการพิจารณาคดีควบคู่ไปกับคุณหญิงพจมาน
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เมื่อศาลรับพยานหลักฐานทั้งหมดแล้วจะส่งสำเนาให้กับอัยการ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้รับอนุญาตจากศาลให้พิจารณาคดีลับหลังได้ ซึ่งหมายความว่าระหว่างการพิจารณาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องเดินทางมารับฟังการพิจารณาด้วยตัวเองได้เพราะมีทนายความทำหน้าที่แทนอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าการเชิญนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายชวน หลีกภัย มาเป็นพยานนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นใดบ้าง นายพงษ์เทพ กล่าวว่า พยานเหล่านี้เราพิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทว่าประเด็นไหนต้องการเรียกพยานคนไหน หากเป็นพยานที่ไม่สามารถมาให้การได้ก็ต้องขอให้ศาลออกหมายเรียก ส่วนนี้ตนเข้าใจว่าคงเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับกรณีที่นายกรัฐมนตรี มีอำนาจกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่มีการโต้แย้งกัน ส่วนคดีที่ดีเอสไอต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มาชี้แจงด้วยตัวเองในวันที่ 3 เม.ย.นั้น เป็นการนัดมาฟังความเท่านั้นว่าอัยการจะสั่งอย่างไรเจ้าตัวไม่จำเป็นต้องมาด้วยตัวเอง ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องก็จบแต่ถ้าสั่งฟ้องก็จะนัดว่าฟ้องเมื่อไหร่จึงจะไปศาลในวันนั้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางมาถึงศาลตั้งแต่เวลา 09.03 น.โดยเดินทางมาพร้อมกับนายพานทองแท้ บุตรชาย ด้วยรถยนต์ โฮเด้น สีเทาดำ ทะเบียน ชย.9894 กทม. ซึ่งบรรดาญาติและผู้ใกล้ชิดเดินทางมาให้กำลังใจอย่างคับคั่ง อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว ,นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา , พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ , นายสรอรรถ กลิ่นประทุม , นายวราเทพ รัตนากร , นายธวัชชัย สัจจกุล และ พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังฆพงษ์
สำหรับการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 นำโดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 ประมาณ 1 กองร้อย มาดูแลรักษาความปลอดภัยรอบศาลอย่างเข้มงวด โดยนำแผงเหล็กมากั้นเพื่อไม่ให้กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีประมาณ 200 คน ซึ่งเตรียมดอกกุหลามามอบให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาให้ก่อความวุ่นวายในบริเวณศาล โดยทั้งหมดยืนรออยู่ด้านนอกศาล บริเวณทางเท้าด้วยความสงบ แต่ยังมีผู้สนับสนุนบางส่วนเล็ดรอดสายตา รปภ. เข้ามาได้
ส่วนบรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี มีบรรดาญาติ สมาชิกกลุ่มการเมือง และผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมรับฟังการสอบคำให้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จนเต็มห้องพิจารณาคดี ทำให้ผู้สนับสนุนและสื่อมวลชนบางส่วน ต้องยืนรอรับฟังการถ่ายทอดเสียงและภาพการพิจารณาคดีผ่านจอโปร์เจกต์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้หน้าห้องพิจารณาคดี โดยระหว่างที่รอให้การต่อศาล พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงสีหน้าไม่ค่อยสู้ดีนัก มีอาการกังวลเล็กน้อย แต่ภายหลังสอบคำให้การแล้วขณะที่เดินออกมาจากห้องพิจารณา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ยิ้มแห้งๆ ให้กับกองทัพผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศที่เฝ้ารอถ่ายภาพและสัมภาษณ์
โดยระหว่างนั้นกลุ่มผู้สื่อข่าวได้พยายามถามว่าจะกลับไทยอีกเมื่อไร พ.ต.ท.ทักษิณ หันมามองแต่ไม่ยอมตอบคำถามใดๆ แล้วจึงเดินไปลงลิฟท์เพื่อเดินทางกลับ ซึ่งระหว่างทางเดินไปที่ลิฟท์ กลุ่มสนับสนุนประมาณ 5 คน มายืนดักรอ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยกลุ่มผู้สนับสนุนถึงกับร่ำไห้และพยายามจะเข้าไปกอด พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินมาจับมือและพูดคุยสั้น ๆว่า “ไม่เป็นไรครับๆ” ก่อนที่จะเดินกลับ