คตส.ได้ฤกษ์ฟ้อง"แม้วกับพวก" 47 คนวันนี้ ฐานยักยอกเงินหวยบนดิน สร้างความเสียหายแก่รัฐ 3.7 หมื่นล้าน พร้อมสะกิดต่อมจริยธรรม"หมัก" เตรียมร่อนหนังสือให้ทราบถึงพฤติกรรม 3 รัฐมนตรี "เลี้ยบ–ป้าอุ–อนุรักษ์" ในครม.ชุดปัจจุบัน พร้อมด้วยข้าราชการระดับสูง ที่ตกเป็นจำเลยร่วม
รายงานข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ถึงความคืบหน้าการเขียนคำฟ้องของคณะอนุกรรมการไต่สวนการออกสลากพิเศษ เลขท้าย 2 และ 3 ตัว หรือหวยบนดิน ที่มีนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส.เป็นประธานอนุกรรมการ เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังจากที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยคตส.ได้ตั้งทีมทนายจากสภาทนายความ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องในคดีนี้
ล่าสุด คตส.กับ ทีมทนายจากสภาทนายความ ได้จัดทำร่างคำฟ้องการคดี หวยบนดิน เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้มีการทำสำเนาจำนวนทั้งสิ้น 18 ชุด ซึ่งจะมอบหมายให้ทีมกฎหมายจากสภาทนายความไปยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกาฯในวันนี้( 10มี.ค.) เวลา 09.00 น. โดยมีจำเลยทั้งสิ้น 47 ราย ทั้งในส่วนที่เป็นบุคคลในครม.รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รายงานข่าวแจ้งว่า คำฟ้องในคดีนี้มีทั้งสิ้น 53 หน้าโดยในส่วนแรกของคำฟ้องเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการตามมติของ ครม.เมื่อวันที่ 8 ก.ค.46 ตั้งแต่การที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ดำเนินการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ตั้งแต่งวดวันที่1 ส.ค.46-26 พ.ย.49 เริ่มต้นตั้งแต่การดำเนินการเกี่ยวกับรายได้ของเงินที่ได้จากโครงการ ที่มีการนำรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้นำรายได้ส่วนที่เหลือไปจ่ายคืนสู่สังคมตาม มติของคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งขึ้นตามมติ ครม. และจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 16,027,505,523.94 บาท ซึ่งตามข้อเท็จจริงตามที่ตรวจสอบได้มีการนำไปจ่ายในโครงการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อน เด็กพิการ ให้ทุนการศึกษา การเขียนเรียงความ จัดซื้อรถพยาบาล การประกันภัย แก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐและจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในคำฟ้องยังสรุปสาระสำคัญในการดำเนินการตามมติครม.ว่า หลังจากที่ครม.มีมติอนุมัติให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3ตัวแล้ว คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีการประชุมอนุมัติให้มีการจ่ายเงินจากโครงการ และได้มีการจ่ายไปแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ปี46-49 เพื่อ ใช้ในงานสาธารณกุศลต่างๆจำนวนมาก
"เงินรายได้ของโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัวตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค.46 ถึงงวดวันที่16 ก.ย.49 มีจำนวนทั้งสิ้น 123,339,890,730.00 บาท และมีรายละเอียดกำหนดการจ่ายเงินโดยสรุปคือ ปีงบประมาณ 2547 จำนวนเงินที่จ่าย 2,449,831,619.00 บาท ปีงบประมาณ 2548 จำนวนที่จ่าย 5,826,727,045.00 บาท ปีงบประมาณ 2549 จำนวนเงินที่จ่าย 5,105,422,319.79 บาท เงินรายได้จากการจำหน่ายสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัวและ3 ตัว ทั้งหมดที่ดำเนินการนั้น นอกจากเงินรายได้ร้อยละ4.5 ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วเงินส่วนอื่นนอกจากนี้ไม่มีการนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 27 แต่อย่างใด"
รายละเอียดในคำฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินรายได้ สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายได้แก่ 1.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น คิดเป็นตัวเงินได้ คือ จำนวนเงินที่ได้อนุมัติให้นำไปจ่ายคืนสู่สังคมจำนวน 13,679,596,802.79บาท และจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2,347,908,433.15บาท รวมเงินที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด จำนวน 16,027,505,235.94บาท ระหว่างการไต่สวนไปแล้วประมาณ 1 ปี มีหน่วยงานที่ได้รับเงินไปแล้ว คืนเงินมาให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 1,165,250,370.00 บาท คงเหลือส่วนที่เสียจำนวน 14,682,254,865.49บาท
ในสำนวนสรุปคำฟ้อง ระบุด้วยว่า จำนวนเงินที่นำออกไปจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามจำนวนดังกล่าว เป็นเงินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว ส่วนการนำเงินไปใช้หลังจากกระทำความผิดนั้น คณะกรรมการตรวจสอบและไต่สวนเห็นว่า เป็นคนละส่วนกับข้อกล่าวหาที่ทางคณะกรรมการตรวจสอบกล่าวหาจำเลยทั้ง 47 คน ที่ดำเนินการให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสียหายโดยเจตนาทุจริต ซึ่งการนำเงินไปใช้ จะใช้ในวัตถุประสงค์อย่างใดนั้น เป็นคนละส่วนกับการนำเงินไปโดยผิดกฎหมาย แต่ข้อที่แสดงให้เห็นเป็นข้อที่พิรุธอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ามีวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ หรือสาธารณประโยชน์ ในทางการกุศลแน่นอนก่อนที่จะมีการอนุมัติเงินแล้ว ก็ไม่มีเหตุใดที่หน่วยงานต่างๆ จะนำเงินที่ได้รับไปนำมาคืนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถึงจำนวน 1,165,250,370.00บาท หลังจากที่มีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนแล้วถึงปีเศษ
2.กระทรวงการคลังในส่วนของการขาดภาษีอากรที่เจ้าหน้าที่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนลดจากการจำหน่ายไว้ จำนวน 161,585,172.84 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดรายได้จากการจำหน่ายสลากตามราคาทั้งหมด เป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่กระทรวงการคลังต้องขาดรายได้ไป 8,809,155,737.38 บาท ซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายในส่วนของกระทรวงการคลังจำนวน 8,970,740,910.22 บาท
3.กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ที่จะต้องชำระตามกฎกระทรวงฉบับที่17 (พ.ศ.2503) ในส่วนที่หักไว้ไม่ครบถ้วน โดยต้องชำระร้อยละ10 ของยอดราคาสลาก แต่หักไว้เพียงร้อยละ0.5 ภาษีส่วนนี้ของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่ไม่ได้ชำระจึงเป็นค่าเสียหายของกระทรวงมหาดไทย รวมเป็นเงินจำนวน 12,792,152,581.50 บาท
4.กรุงเทพมหานคร ในฐานะเป็นส่วนราชการส่วนท้องถิ่น ขาดรายได้ภาษีท้องถิ่นไป ตามกฎกระทรวงฉบับที่17 (พ.ศ.2503) ออกตามพ.ร.บ.การพนันพ.ศ.2478 ข้อ 12 (3วรรคสอง) ในอัตราร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่จะต้องเสียภาษีส่วนนี้ไม่ได้มีการชำระไว้เลย จึงเป็นค่าเสียหายในส่วนของกรุงเทพมหานคร ขาดรายได้ในส่วนนี้เป็นเงินจำนวน 336,635,594.25บาท
สรุปค่าเสียหายของ 4 หน่วยงาน รวมยอดเป็นค่าเสียหายที่คำนวณได้เป็นตัวเงินของรัฐจำนวน 36,960,773,950.91บาท ซึ่งความรับผิดดังกล่าวนี้ บุคคลที่จะต้องรับผิดในการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ ได้แก่ จำเลยที่ 1 -30 จำเลยที่ 31 จำเลยที่ 33 จำเลยที่ 35 จำเลยที่ 37 จำเลยที่ 41 และ จำเลยที่ 42 ซึ่งจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้นจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายของหน่วยงานต่างๆเต็มจำนวน
ส่วนจำเลยอื่นที่เป็นคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมมีมติในการอนุมัติโครงการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น ก็จะต้องรับผิดในความเสียหายในส่วนที่ตนเข้าประชุมและอนุมัติให้นำเงินรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ได้ออกจากการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ2ตัว ที่อนุมัติให้จ่ายคืนสู่สังคมตามจำนวนที่แต่ละคนได้อนุมัติไป
ในท้ายของสำนวนคำฟ้อง สรุปการกระทำความผิดไว้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 47 นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานและพนักงานตามกฎหมาย โดยฐานะจำเลยแต่ละคนได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกระทงต่างกัน คือ การให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย2 ตัวและ3 ตัว เป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและพนักงานตามกฎหมายเป็นการมีมติที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย คือ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 5 และ มาตรา9 และเป็นการกระทำที่แสดงเจตนาให้เห็นว่า ต้องการแสวงหาประโยชน์ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
การให้นำเงินรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินตามโครงการแล้วคืนสู่สังคมนั้น เป็นการลงมติที่ฝ่าฝืนพ.ร.บ.เงินคงคลังพ.ศ.2491 มาตรา4 และมาตรา 13 และฝ่าฝืนพ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2517 มาตรา 23 และมาตรา 27 การปฎิบัติหน้าที่ครม.ที่มีมติให้นำเงินของรัฐออกไปใช้ โดยไม่มีมีสิทธิที่จะนำออกไปใช้ หรือมีมติให้นำออกไปใช้ได้นั้น เป็นการปฎิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นการปฎิบัติหน้าที่ที่แสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบ เป็นการทุจริตเข้าลักษณะที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
การยกเว้นและลดหย่อนภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 และภาษีตามประมวลรัษฎากรนั้น มติดังกล่าวที่ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีโดยถือว่าเป็นสลากการกุศลนั้น เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะเป็นมติที่ฝ่าฝืนต่อพระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 310) พ.ศ.2540 มาตรา 5 จตุทศ (2) และฝ่าฝืนกฎกระทรวงฉบับที่43พ.ศ.2543 ทั้งๆที่ไม่ใช่การออกสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือออกสลากการกุศลงวดพิเศษแต่เป็นการออกสลากกินรวบ มติของครม.จึงเป็นคำบงการเป็นการก่อให้เกิดการละเว้น ไม่เรียกเก็บภาษีอากรของเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา154 และเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริตที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามมาตรา157
ทั้งนี้ในท้ายคำฟ้อง ยังระบุความผิดอาญาของจำเลยทั้ง 47 ที่ได้กระทำความความผิดต่อกฎมายหลายมาตรา หลายกระทงดังนี้ คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,84,86,90,91,147,152,153,154 และ มาตรา157 และความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา3,4,8,910 และมาตรา11
จึงขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 47 คน ตามกฎหมายและขอให้ศาลได้สั่งให้จำเลยทั้ง 47 คน ร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยทั้ง 47 คน มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินไปของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อันถือว่าเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ รวมจำนวน 14,862,254,865.94 บาท และนับโทษจำเลยที่1 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขดำที่อม.1/2550 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย (คดีการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา)
ในสรุปคำฟ้อง ยังได้ระบุตอนท้ายไว้ด้วยว่า ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบ จำเลยทั้ง 47 คน ไม่ถูกควบคุมตัว โจทย์ไม่ได้นำตัวจำเลยทั้ง 47 คน มาศาลพร้อมฟ้อง ขอให้ศาลได้โปรดหมายเรียกตัวจำเลยทั้ง 47 คน ปรากฏตามที่อยู่จริงเอกสารท้ายคำฟ้องมาพิจารณาพิพากษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อจำเลยทั้ง 47 คนประกอบด้วย 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี 3.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี4.นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี 5.นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรี 6.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองนายกรัฐมนตรี 7.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 8.พล.อ.ธรรมรักษ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม 9. ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ รมว.คลัง
10.นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง 11.นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 12.นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมว.พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ 13.นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.เกษตร และสหกรณ์ 14.นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรและสหกรณ์15.นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ รมว.คมนาคม 16.นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช.คมนาคม 17.นายนิกร จำนง รมช.คมนาคม 18.นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 19.นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
20.นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน 21.นายอดิศัย โพธารามิก รมว.พาณิชย์ 22.นายวัฒนา เมืองสุข รมช.พาณิชย์23.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย 24. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม25.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.แรงงาน 26.นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.วัฒนธรรม 27.นายพินิจ จารุสมบัติ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28.นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข29.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมช.สาธารณสุข
30.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.อุตสาหกรรม 31.นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 32.นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง 33.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 34.นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 35.นางสาว สุรีพร ดวงโต ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล36.นายณัฐวิช อินทุภูมิ ผู้แทนสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล37.นายชัยวัฒน์ พสกภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล38.นายกำธร ตติยกวี ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 39.พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้อำนวยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลและเลขานุการ
40.นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 41.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ42.พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 43.นางสตรี ประทีปปะเสน ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 44.นายอำนวยศักดิ์ พูลศิริ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 45.พล.ต.ท.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล46.นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 47.นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ คตส. วันนี้ (10มี.ค.) มีวาระที่น่าสนใจคือ คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีคดีออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (หวยบนดิน) ที่มีนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการคตส.เป็นประธาน เตรียมหารือกับที่ประชุม คตส. ถึงการทำหนังสือถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้รับทราบเกี่ยวกับการฟ้องคดีหวยบนดินของ คตส.ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่า เหตุผลสำคัญที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นว่าต้องทำหนังสือถึงนายกฯเนื่องจากในรายชื่อบัญชีจำเลยคดี 47 รายในคดีหวยบนดินั้น ได้ปรากฏชื่อ รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี (ครม.)ชุดปัจจุบัน จำนวน 3 คน คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน และ นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม รวมไปถึงข้าราชการระดับสูงหลายคนที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยจะขอความเห็นจากที่ประชุม คตส.ว่าจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้
ข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ คตส.ได้เตรียมไว้ 2 ช่องทางคือ ทำจดหมายยื่นนายกรัฐมนตรีไปเลยในช่วงเย็นของวันประชุมเพื่อให้ นายกรัฐมนตรีไช้ดุลพินิจในการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีที่มีรัฐมนตรี และข้าราชการตกเป็นจำเลย หรือ จะรอไปจนกว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะประทับรับฟ้อง นั่นหมายความว่า รัฐมนตรี และ ข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที
รายงานข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ถึงความคืบหน้าการเขียนคำฟ้องของคณะอนุกรรมการไต่สวนการออกสลากพิเศษ เลขท้าย 2 และ 3 ตัว หรือหวยบนดิน ที่มีนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส.เป็นประธานอนุกรรมการ เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังจากที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยคตส.ได้ตั้งทีมทนายจากสภาทนายความ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องในคดีนี้
ล่าสุด คตส.กับ ทีมทนายจากสภาทนายความ ได้จัดทำร่างคำฟ้องการคดี หวยบนดิน เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้มีการทำสำเนาจำนวนทั้งสิ้น 18 ชุด ซึ่งจะมอบหมายให้ทีมกฎหมายจากสภาทนายความไปยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกาฯในวันนี้( 10มี.ค.) เวลา 09.00 น. โดยมีจำเลยทั้งสิ้น 47 ราย ทั้งในส่วนที่เป็นบุคคลในครม.รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รายงานข่าวแจ้งว่า คำฟ้องในคดีนี้มีทั้งสิ้น 53 หน้าโดยในส่วนแรกของคำฟ้องเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการตามมติของ ครม.เมื่อวันที่ 8 ก.ค.46 ตั้งแต่การที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ดำเนินการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ตั้งแต่งวดวันที่1 ส.ค.46-26 พ.ย.49 เริ่มต้นตั้งแต่การดำเนินการเกี่ยวกับรายได้ของเงินที่ได้จากโครงการ ที่มีการนำรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้นำรายได้ส่วนที่เหลือไปจ่ายคืนสู่สังคมตาม มติของคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งขึ้นตามมติ ครม. และจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 16,027,505,523.94 บาท ซึ่งตามข้อเท็จจริงตามที่ตรวจสอบได้มีการนำไปจ่ายในโครงการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อน เด็กพิการ ให้ทุนการศึกษา การเขียนเรียงความ จัดซื้อรถพยาบาล การประกันภัย แก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐและจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในคำฟ้องยังสรุปสาระสำคัญในการดำเนินการตามมติครม.ว่า หลังจากที่ครม.มีมติอนุมัติให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3ตัวแล้ว คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีการประชุมอนุมัติให้มีการจ่ายเงินจากโครงการ และได้มีการจ่ายไปแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ปี46-49 เพื่อ ใช้ในงานสาธารณกุศลต่างๆจำนวนมาก
"เงินรายได้ของโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัวตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค.46 ถึงงวดวันที่16 ก.ย.49 มีจำนวนทั้งสิ้น 123,339,890,730.00 บาท และมีรายละเอียดกำหนดการจ่ายเงินโดยสรุปคือ ปีงบประมาณ 2547 จำนวนเงินที่จ่าย 2,449,831,619.00 บาท ปีงบประมาณ 2548 จำนวนที่จ่าย 5,826,727,045.00 บาท ปีงบประมาณ 2549 จำนวนเงินที่จ่าย 5,105,422,319.79 บาท เงินรายได้จากการจำหน่ายสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัวและ3 ตัว ทั้งหมดที่ดำเนินการนั้น นอกจากเงินรายได้ร้อยละ4.5 ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วเงินส่วนอื่นนอกจากนี้ไม่มีการนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 27 แต่อย่างใด"
รายละเอียดในคำฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินรายได้ สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายได้แก่ 1.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น คิดเป็นตัวเงินได้ คือ จำนวนเงินที่ได้อนุมัติให้นำไปจ่ายคืนสู่สังคมจำนวน 13,679,596,802.79บาท และจ่ายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2,347,908,433.15บาท รวมเงินที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด จำนวน 16,027,505,235.94บาท ระหว่างการไต่สวนไปแล้วประมาณ 1 ปี มีหน่วยงานที่ได้รับเงินไปแล้ว คืนเงินมาให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 1,165,250,370.00 บาท คงเหลือส่วนที่เสียจำนวน 14,682,254,865.49บาท
ในสำนวนสรุปคำฟ้อง ระบุด้วยว่า จำนวนเงินที่นำออกไปจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามจำนวนดังกล่าว เป็นเงินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว ส่วนการนำเงินไปใช้หลังจากกระทำความผิดนั้น คณะกรรมการตรวจสอบและไต่สวนเห็นว่า เป็นคนละส่วนกับข้อกล่าวหาที่ทางคณะกรรมการตรวจสอบกล่าวหาจำเลยทั้ง 47 คน ที่ดำเนินการให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสียหายโดยเจตนาทุจริต ซึ่งการนำเงินไปใช้ จะใช้ในวัตถุประสงค์อย่างใดนั้น เป็นคนละส่วนกับการนำเงินไปโดยผิดกฎหมาย แต่ข้อที่แสดงให้เห็นเป็นข้อที่พิรุธอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ามีวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ หรือสาธารณประโยชน์ ในทางการกุศลแน่นอนก่อนที่จะมีการอนุมัติเงินแล้ว ก็ไม่มีเหตุใดที่หน่วยงานต่างๆ จะนำเงินที่ได้รับไปนำมาคืนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถึงจำนวน 1,165,250,370.00บาท หลังจากที่มีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนแล้วถึงปีเศษ
2.กระทรวงการคลังในส่วนของการขาดภาษีอากรที่เจ้าหน้าที่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนลดจากการจำหน่ายไว้ จำนวน 161,585,172.84 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดรายได้จากการจำหน่ายสลากตามราคาทั้งหมด เป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่กระทรวงการคลังต้องขาดรายได้ไป 8,809,155,737.38 บาท ซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายในส่วนของกระทรวงการคลังจำนวน 8,970,740,910.22 บาท
3.กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ที่จะต้องชำระตามกฎกระทรวงฉบับที่17 (พ.ศ.2503) ในส่วนที่หักไว้ไม่ครบถ้วน โดยต้องชำระร้อยละ10 ของยอดราคาสลาก แต่หักไว้เพียงร้อยละ0.5 ภาษีส่วนนี้ของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่ไม่ได้ชำระจึงเป็นค่าเสียหายของกระทรวงมหาดไทย รวมเป็นเงินจำนวน 12,792,152,581.50 บาท
4.กรุงเทพมหานคร ในฐานะเป็นส่วนราชการส่วนท้องถิ่น ขาดรายได้ภาษีท้องถิ่นไป ตามกฎกระทรวงฉบับที่17 (พ.ศ.2503) ออกตามพ.ร.บ.การพนันพ.ศ.2478 ข้อ 12 (3วรรคสอง) ในอัตราร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่จะต้องเสียภาษีส่วนนี้ไม่ได้มีการชำระไว้เลย จึงเป็นค่าเสียหายในส่วนของกรุงเทพมหานคร ขาดรายได้ในส่วนนี้เป็นเงินจำนวน 336,635,594.25บาท
สรุปค่าเสียหายของ 4 หน่วยงาน รวมยอดเป็นค่าเสียหายที่คำนวณได้เป็นตัวเงินของรัฐจำนวน 36,960,773,950.91บาท ซึ่งความรับผิดดังกล่าวนี้ บุคคลที่จะต้องรับผิดในการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ ได้แก่ จำเลยที่ 1 -30 จำเลยที่ 31 จำเลยที่ 33 จำเลยที่ 35 จำเลยที่ 37 จำเลยที่ 41 และ จำเลยที่ 42 ซึ่งจำเลยดังกล่าวข้างต้นนั้นจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายของหน่วยงานต่างๆเต็มจำนวน
ส่วนจำเลยอื่นที่เป็นคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมมีมติในการอนุมัติโครงการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น ก็จะต้องรับผิดในความเสียหายในส่วนที่ตนเข้าประชุมและอนุมัติให้นำเงินรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ได้ออกจากการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ2ตัว ที่อนุมัติให้จ่ายคืนสู่สังคมตามจำนวนที่แต่ละคนได้อนุมัติไป
ในท้ายของสำนวนคำฟ้อง สรุปการกระทำความผิดไว้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 47 นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานและพนักงานตามกฎหมาย โดยฐานะจำเลยแต่ละคนได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกระทงต่างกัน คือ การให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย2 ตัวและ3 ตัว เป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและพนักงานตามกฎหมายเป็นการมีมติที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย คือ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 5 และ มาตรา9 และเป็นการกระทำที่แสดงเจตนาให้เห็นว่า ต้องการแสวงหาประโยชน์ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
การให้นำเงินรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินตามโครงการแล้วคืนสู่สังคมนั้น เป็นการลงมติที่ฝ่าฝืนพ.ร.บ.เงินคงคลังพ.ศ.2491 มาตรา4 และมาตรา 13 และฝ่าฝืนพ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2517 มาตรา 23 และมาตรา 27 การปฎิบัติหน้าที่ครม.ที่มีมติให้นำเงินของรัฐออกไปใช้ โดยไม่มีมีสิทธิที่จะนำออกไปใช้ หรือมีมติให้นำออกไปใช้ได้นั้น เป็นการปฎิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นการปฎิบัติหน้าที่ที่แสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบ เป็นการทุจริตเข้าลักษณะที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
การยกเว้นและลดหย่อนภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 และภาษีตามประมวลรัษฎากรนั้น มติดังกล่าวที่ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีโดยถือว่าเป็นสลากการกุศลนั้น เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะเป็นมติที่ฝ่าฝืนต่อพระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 310) พ.ศ.2540 มาตรา 5 จตุทศ (2) และฝ่าฝืนกฎกระทรวงฉบับที่43พ.ศ.2543 ทั้งๆที่ไม่ใช่การออกสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือออกสลากการกุศลงวดพิเศษแต่เป็นการออกสลากกินรวบ มติของครม.จึงเป็นคำบงการเป็นการก่อให้เกิดการละเว้น ไม่เรียกเก็บภาษีอากรของเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา154 และเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริตที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตามมาตรา157
ทั้งนี้ในท้ายคำฟ้อง ยังระบุความผิดอาญาของจำเลยทั้ง 47 ที่ได้กระทำความความผิดต่อกฎมายหลายมาตรา หลายกระทงดังนี้ คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,84,86,90,91,147,152,153,154 และ มาตรา157 และความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา3,4,8,910 และมาตรา11
จึงขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 47 คน ตามกฎหมายและขอให้ศาลได้สั่งให้จำเลยทั้ง 47 คน ร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยทั้ง 47 คน มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินไปของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อันถือว่าเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ รวมจำนวน 14,862,254,865.94 บาท และนับโทษจำเลยที่1 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขดำที่อม.1/2550 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย (คดีการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา)
ในสรุปคำฟ้อง ยังได้ระบุตอนท้ายไว้ด้วยว่า ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบ จำเลยทั้ง 47 คน ไม่ถูกควบคุมตัว โจทย์ไม่ได้นำตัวจำเลยทั้ง 47 คน มาศาลพร้อมฟ้อง ขอให้ศาลได้โปรดหมายเรียกตัวจำเลยทั้ง 47 คน ปรากฏตามที่อยู่จริงเอกสารท้ายคำฟ้องมาพิจารณาพิพากษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อจำเลยทั้ง 47 คนประกอบด้วย 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี 3.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี4.นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี 5.นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรี 6.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองนายกรัฐมนตรี 7.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 8.พล.อ.ธรรมรักษ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม 9. ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ รมว.คลัง
10.นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง 11.นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 12.นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมว.พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ 13.นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.เกษตร และสหกรณ์ 14.นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรและสหกรณ์15.นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ รมว.คมนาคม 16.นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช.คมนาคม 17.นายนิกร จำนง รมช.คมนาคม 18.นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 19.นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
20.นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน 21.นายอดิศัย โพธารามิก รมว.พาณิชย์ 22.นายวัฒนา เมืองสุข รมช.พาณิชย์23.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย 24. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม25.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.แรงงาน 26.นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.วัฒนธรรม 27.นายพินิจ จารุสมบัติ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28.นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข29.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมช.สาธารณสุข
30.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.อุตสาหกรรม 31.นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 32.นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง 33.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 34.นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 35.นางสาว สุรีพร ดวงโต ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล36.นายณัฐวิช อินทุภูมิ ผู้แทนสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล37.นายชัยวัฒน์ พสกภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล38.นายกำธร ตติยกวี ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 39.พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้อำนวยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลและเลขานุการ
40.นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 41.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ42.พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 43.นางสตรี ประทีปปะเสน ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 44.นายอำนวยศักดิ์ พูลศิริ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 45.พล.ต.ท.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล46.นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล 47.นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ คตส. วันนี้ (10มี.ค.) มีวาระที่น่าสนใจคือ คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีคดีออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (หวยบนดิน) ที่มีนายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการคตส.เป็นประธาน เตรียมหารือกับที่ประชุม คตส. ถึงการทำหนังสือถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้รับทราบเกี่ยวกับการฟ้องคดีหวยบนดินของ คตส.ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่า เหตุผลสำคัญที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นว่าต้องทำหนังสือถึงนายกฯเนื่องจากในรายชื่อบัญชีจำเลยคดี 47 รายในคดีหวยบนดินั้น ได้ปรากฏชื่อ รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี (ครม.)ชุดปัจจุบัน จำนวน 3 คน คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน และ นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม รวมไปถึงข้าราชการระดับสูงหลายคนที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยจะขอความเห็นจากที่ประชุม คตส.ว่าจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้
ข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ คตส.ได้เตรียมไว้ 2 ช่องทางคือ ทำจดหมายยื่นนายกรัฐมนตรีไปเลยในช่วงเย็นของวันประชุมเพื่อให้ นายกรัฐมนตรีไช้ดุลพินิจในการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีที่มีรัฐมนตรี และข้าราชการตกเป็นจำเลย หรือ จะรอไปจนกว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะประทับรับฟ้อง นั่นหมายความว่า รัฐมนตรี และ ข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที