ผู้จัดการรายวัน - คณะทำงานฯ เผยผลการศึกษาตลาดหุ้นไทยจำเป็นต้องแปรรูป เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับตลาดหุ้นทั่วโลก ก่อนจะถูกลดบทบาทจนหมดความหมายไปในที่สุด ระบุปัญหาโครงสร้างที่ยังไม่มีเจ้าของที่ชัดเจนเป็นเรื่องแรกที่ต้องเร่งดำเนินการ พร้อมตีกันภาครัฐถือหุ้นใหญ่ หวั่นกลายสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเอกชนถือได้ไม่เกิน 5% เลี่ยงถูกครอบงำกิจการ พร้อมแนะตั้งกองทุนพัฒนาตลาดทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามแนวโน้มตลาดทุนโลก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน ขยายสิทธิในการทำการซื้อขายให้แก่กลุ่มที่ไม่ใช่สมาชิก เพื่อให้มีการเข้าถึงระบบซื้อขายได้มากขึ้น รวมถึงการรวมตัวเป็นพันธมิตรหรือสร้างเครือข่ายเพื่อทำให้มีการประหยัดต่อขนาดในการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ทั้งนี้ หากตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีการปรับตัวอาจจะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงอาจจะลดความน่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน หรือถูกตลาดที่ใหญ่กว่าดึงสภาพคล่องไป จนในที่สุดอาจถูกลดบทบาทลงไปจนหมดความหมายในเวทีโลก (risk of marginalization) ได้
สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาตลาดทุนนั้น หลายประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้การแปรรูป (demutualization) เป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายด้วยเหตุผล เช่น แปรรูปไปเป็นรูปแบบของบริษัททำให้มีการเปลี่ยนแปลง owner shipstructure อย่างแท้จริง มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้หลายประเภทและในวงที่กว้างขึ้น ต่างจากรูปแบบเดิมที่สมาชิกเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการบริหาร (mutual structure)ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตนเอง
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงสร้างที่มีเจ้าของอย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นจะทำให้มีแรงผลักดันให้ตลาดต้องมีการตัดสินใจในเชิงพาณิชย์ จัดให้มีกลไกบรรษัทภิบาลที่ดีบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้การแปรรูปยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้การเข้าเป็นพันธมิตรกับตลาดอื่นสามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของทำให้เกิดการควบรวมหรือแลกเปลี่ยนหุ้นกับตลาดอื่นได้
ส่วนผลการดำเนินงานหลังแปรรูปจากการสำรวจของ International Federation of Stock Exchanges (FIBV) พบว่าตลาดหลักทรัพย์ที่แปรรูปแล้วจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่สูงขึ้น อาทิ ตลาดที่แปรรูปแล้วมีอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพียง 58% ต่างจากตลาดหลักทรัพย์ที่มิได้แปรรูปที่อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้สูงถึง 91% รวมทั้งตลาดหุ้นที่แปรรูปแล้วยังมีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าตลาดหุ้นที่ยังไม่ได้แปรรูป ทั้งกำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิ เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และ ฮ่องกง
พร้อมกันนี้ คณะทำงานได้สรุปผลการศึกษาถึงปัญหาด้านประสิทธิภาพของตลาดหุ้นไทยเกิดจากตลาดหุ้นไทยมีโครงสร้างการบริหารจัดการไม่ชัดเจน ไม่มีผู้เป็นเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ชัดเจน จึงเป็นข้อจำกัดในการสร้างแรงกดดันให้ตลาดหุ้นไทยไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้เต็มที่ เนื่องจากการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญยังต้องอาศัยการประนีประนอม
นอกจากนี้ พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ SET มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งกัน ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะให้ SET ใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพการที่ SET ได้รับการคาดหวังให้ทำงานต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานในความรับผิดชอบหลัก เช่น งาน market education หรืองานสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ ยังนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ให้ความสำคัญต่อ non-commercial functions ในสัดส่วนที่สูง เช่น มีจำนวนพนักงานในสาย market education ถึง 170 คน จากพนักงานทั้งหมด 950 คน หรือมีการให้เงินบริจาคในจำนวนที่สูงกว่ากำไรจากการดำเนินงาน เป็นต้น ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงเกินกว่าที่ควรเป็น
"คณะทำงานเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดหุ้นไทยให้มีเจ้าของที่แท้จริง จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ (key success factor) ดังนั้น การแปรรูปจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากยังต้องการรักษาสถานะและบทบาทในเวทีโลก"
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฯ เห็นว่า การแปรรูปเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับ SET ได้ เนื่องจากการแปรรูปจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นในการพัฒนาตลาดให้เท่าทันประเทศอื่นๆ โดย SET จะต้องดำเนินการด้านอื่นด้วย เช่นการสร้างนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางสากลโดยครอบคลุม, การวางยุทธศาสตร์การแข่งขัน, การสร้างสินค้าใหม่ๆ, การกำหนดราคาบริการต่างๆ, การพัฒนาเทคโนโลยี และการควบคุมต้นทุน หรือการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลังการแปรรูป เป็นต้น
สำหรับข้อควรพิจารณาในการแปรรูป การแบ่งสัดส่วนการเป็นเจ้าของ โดยสมาชิกควรได้รับการแบ่งสัดส่วนที่เป็นธรรมโดยหุ้นที่ได้รับนี้อาจเพิ่มมูลค่าขึ้นได้เมื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเรื่องดังกล่าวภาครัฐไม่ควรเข้าไปถือหุ้นเป็นจำนวนมากเพราะอาจทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ
ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรมีสิทธิในการกำหนดหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญระดับนโยบายของชาติเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมทั้งเพื่อรักษาบทบาทการพัฒนาตลาดทุนไว้ควรแยกหน่วยงานบางส่วนออกจากการดำเนินงานของ SET โดยจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาตลาดทุน โดยแบ่งทรัพย์สินจำนวนหนึ่งออกจาก SET ให้ชัดเจน และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากกำไรของ SET เพื่อส่งเข้ากองทุนเป็นประจำทุกปีด้วย ตามอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ส่วนการจัดการกับข้อกังวล SET จะต้องรักษาความเข้มข้นของการกำกับดูแลและการตรวจสอบโดยทั่วไป เพื่อให้การกำกับตรวจสอบมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่าง SET และบริษัทที่ SET กำกับดูแล ก.ล.ต. ต้องดูแลไม่ให้ SET แสวงหากำไรจากกิจกรรมด้านการกำกับดูแลมากจนเกินไป เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงจากสมาชิกหรือบริษัทจดทะเบียน หรือ กรณีที่ SET เป็นบริษัทจดทะเบียนก็ต้องดูแลไม่ให้คู่แข่งที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับ SET อยู่ในภาวะเสียเปรียบ
นอกจากนี้ การจัดการกับความเสี่ยงจากการถูกครอบงำกิจการ เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของตลาดทุนจึงต้องใช้ความระมัดระวังมิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ที่ไม่เหมาะสมหรือตกเป็นของต่างชาติแนวทางป้องกันจึงควรกำหนดคุณสมบัติด้านการควบคุม และจำกัดสัดส่วนของหุ้นที่ให้ถือได้ (หลายประเทศกำหนดไว้ที่ร้อยละ 5)
สำหรับคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้แทนจากสำนักเศรษฐกิจการคลัง ประธานคณะทำงาน, นายสมชัย จิตสุชน ผู้แทนจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย, นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้แทนจากตลท., นายศักรินทร์ ร่วมรังสี ผู้แทนจากตลท., นายจงรัก ระรวยทรง ผู้แทนจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
นางสุพรรณ โปษยานนท์ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. , นางทิพยสุดา ถาวรามร ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. , นางพราวพร เสนาณรงค์ สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. เลขานุการ นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ได้มีการแต่งตั้ง นายชาลี จันทนยิ่งยง และนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส เป็นที่ปรึกษา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามแนวโน้มตลาดทุนโลก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน ขยายสิทธิในการทำการซื้อขายให้แก่กลุ่มที่ไม่ใช่สมาชิก เพื่อให้มีการเข้าถึงระบบซื้อขายได้มากขึ้น รวมถึงการรวมตัวเป็นพันธมิตรหรือสร้างเครือข่ายเพื่อทำให้มีการประหยัดต่อขนาดในการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ทั้งนี้ หากตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีการปรับตัวอาจจะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงอาจจะลดความน่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน หรือถูกตลาดที่ใหญ่กว่าดึงสภาพคล่องไป จนในที่สุดอาจถูกลดบทบาทลงไปจนหมดความหมายในเวทีโลก (risk of marginalization) ได้
สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาตลาดทุนนั้น หลายประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้การแปรรูป (demutualization) เป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายด้วยเหตุผล เช่น แปรรูปไปเป็นรูปแบบของบริษัททำให้มีการเปลี่ยนแปลง owner shipstructure อย่างแท้จริง มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้หลายประเภทและในวงที่กว้างขึ้น ต่างจากรูปแบบเดิมที่สมาชิกเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการบริหาร (mutual structure)ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตนเอง
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงสร้างที่มีเจ้าของอย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นจะทำให้มีแรงผลักดันให้ตลาดต้องมีการตัดสินใจในเชิงพาณิชย์ จัดให้มีกลไกบรรษัทภิบาลที่ดีบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้การแปรรูปยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้การเข้าเป็นพันธมิตรกับตลาดอื่นสามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากการมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของทำให้เกิดการควบรวมหรือแลกเปลี่ยนหุ้นกับตลาดอื่นได้
ส่วนผลการดำเนินงานหลังแปรรูปจากการสำรวจของ International Federation of Stock Exchanges (FIBV) พบว่าตลาดหลักทรัพย์ที่แปรรูปแล้วจะมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่สูงขึ้น อาทิ ตลาดที่แปรรูปแล้วมีอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพียง 58% ต่างจากตลาดหลักทรัพย์ที่มิได้แปรรูปที่อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้สูงถึง 91% รวมทั้งตลาดหุ้นที่แปรรูปแล้วยังมีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าตลาดหุ้นที่ยังไม่ได้แปรรูป ทั้งกำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิ เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และ ฮ่องกง
พร้อมกันนี้ คณะทำงานได้สรุปผลการศึกษาถึงปัญหาด้านประสิทธิภาพของตลาดหุ้นไทยเกิดจากตลาดหุ้นไทยมีโครงสร้างการบริหารจัดการไม่ชัดเจน ไม่มีผู้เป็นเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ชัดเจน จึงเป็นข้อจำกัดในการสร้างแรงกดดันให้ตลาดหุ้นไทยไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้เต็มที่ เนื่องจากการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญยังต้องอาศัยการประนีประนอม
นอกจากนี้ พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ SET มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งกัน ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะให้ SET ใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพการที่ SET ได้รับการคาดหวังให้ทำงานต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานในความรับผิดชอบหลัก เช่น งาน market education หรืองานสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ ยังนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ให้ความสำคัญต่อ non-commercial functions ในสัดส่วนที่สูง เช่น มีจำนวนพนักงานในสาย market education ถึง 170 คน จากพนักงานทั้งหมด 950 คน หรือมีการให้เงินบริจาคในจำนวนที่สูงกว่ากำไรจากการดำเนินงาน เป็นต้น ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงเกินกว่าที่ควรเป็น
"คณะทำงานเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดหุ้นไทยให้มีเจ้าของที่แท้จริง จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ (key success factor) ดังนั้น การแปรรูปจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากยังต้องการรักษาสถานะและบทบาทในเวทีโลก"
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฯ เห็นว่า การแปรรูปเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับ SET ได้ เนื่องจากการแปรรูปจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นในการพัฒนาตลาดให้เท่าทันประเทศอื่นๆ โดย SET จะต้องดำเนินการด้านอื่นด้วย เช่นการสร้างนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางสากลโดยครอบคลุม, การวางยุทธศาสตร์การแข่งขัน, การสร้างสินค้าใหม่ๆ, การกำหนดราคาบริการต่างๆ, การพัฒนาเทคโนโลยี และการควบคุมต้นทุน หรือการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลังการแปรรูป เป็นต้น
สำหรับข้อควรพิจารณาในการแปรรูป การแบ่งสัดส่วนการเป็นเจ้าของ โดยสมาชิกควรได้รับการแบ่งสัดส่วนที่เป็นธรรมโดยหุ้นที่ได้รับนี้อาจเพิ่มมูลค่าขึ้นได้เมื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเรื่องดังกล่าวภาครัฐไม่ควรเข้าไปถือหุ้นเป็นจำนวนมากเพราะอาจทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ
ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรมีสิทธิในการกำหนดหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญระดับนโยบายของชาติเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมทั้งเพื่อรักษาบทบาทการพัฒนาตลาดทุนไว้ควรแยกหน่วยงานบางส่วนออกจากการดำเนินงานของ SET โดยจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาตลาดทุน โดยแบ่งทรัพย์สินจำนวนหนึ่งออกจาก SET ให้ชัดเจน และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากกำไรของ SET เพื่อส่งเข้ากองทุนเป็นประจำทุกปีด้วย ตามอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ส่วนการจัดการกับข้อกังวล SET จะต้องรักษาความเข้มข้นของการกำกับดูแลและการตรวจสอบโดยทั่วไป เพื่อให้การกำกับตรวจสอบมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่าง SET และบริษัทที่ SET กำกับดูแล ก.ล.ต. ต้องดูแลไม่ให้ SET แสวงหากำไรจากกิจกรรมด้านการกำกับดูแลมากจนเกินไป เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงจากสมาชิกหรือบริษัทจดทะเบียน หรือ กรณีที่ SET เป็นบริษัทจดทะเบียนก็ต้องดูแลไม่ให้คู่แข่งที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับ SET อยู่ในภาวะเสียเปรียบ
นอกจากนี้ การจัดการกับความเสี่ยงจากการถูกครอบงำกิจการ เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของตลาดทุนจึงต้องใช้ความระมัดระวังมิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ที่ไม่เหมาะสมหรือตกเป็นของต่างชาติแนวทางป้องกันจึงควรกำหนดคุณสมบัติด้านการควบคุม และจำกัดสัดส่วนของหุ้นที่ให้ถือได้ (หลายประเทศกำหนดไว้ที่ร้อยละ 5)
สำหรับคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้แทนจากสำนักเศรษฐกิจการคลัง ประธานคณะทำงาน, นายสมชัย จิตสุชน ผู้แทนจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย, นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้แทนจากตลท., นายศักรินทร์ ร่วมรังสี ผู้แทนจากตลท., นายจงรัก ระรวยทรง ผู้แทนจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
นางสุพรรณ โปษยานนท์ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. , นางทิพยสุดา ถาวรามร ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. , นางพราวพร เสนาณรงค์ สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. เลขานุการ นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ได้มีการแต่งตั้ง นายชาลี จันทนยิ่งยง และนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส เป็นที่ปรึกษา