“หมักอบายมุข” ลุยแก้ พ.ร.บ.เหล้าฯ อุ้มนายทุนน้ำเมา เครือข่ายต้านสุรา เผาดอกไม้จันไว้อาลัย ฉะ “สมัคร” มีวาระซ่อนเร้น เอื้อนายทุน "หมอมงคล" ออกโรงเตือนไม่ควรอ้างปฏิบัติไม่ได้ ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลองใช้ ให้คำนึงถึงสังคม นักกฎหมายยัน กม.คุมน้ำเมาปฏิบัติได้ทุกมาตรา ให้นายกฯหยุดหนุนบริษัทน้ำเมา
วานนี้ (11 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพฯประมาณ 200 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านแนวคิดของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในมาตรา 30 ที่ว่าด้วยเรื่องการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบ ลด แลก แจก แถม ซึ่งถือว่าเป็นการมอมเมาประชาชน โดยเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ ได้ทำพิธีกรรม “เผาดอกไม้จัน” เพื่อไว้อาลัยแก่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ หรือ สชอ. ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มทุนบริษัทจัดจำหน่ายสุรา และผู้ผลิตสุรา ประกอบด้วย บริษัท บาร์คาดี (ประเทศไทย) ,ไทยเอเชียแปซิฟิคบริเวอรี่ , ริชมอนเด้ (บางกอก) เพอร์นอตริคาร์ด (ประเทศไทย) และ สยามไวเนอรี่ ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว
นายสมัคร แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า รัฐบาลจะขอแก้ไข พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีผู้ประกอบการร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ จึงขอต่อที่ประชุม ครม.แก้ไขเพื่อให้ปฏิบัติได้
“ยังไม่ขอลงในรายละเอียดเกี่ยวกับสาระสำคัญที่จะปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามต้องให้ผู้ประกอบการปฏิบัติได้ ที่ผ่านมาเขียนกฎหมายในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริงก็แก้ไขเป็นกฎหมาย ไม่มีทางอื่นเลย เพราะได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว”
เมื่อถามว่ากฎหมายใช้มาไม่ทันไรก็แก้ไข นายสมัคร กล่าวว่า รู้ว่าใช้ไม่ได้ก็ต้องแก้ 10 สมาคมเขาเดือดร้อน ทำมาหากินไม่ได้ ก็ต้องแก้ ไม่จำเป็นว่าต้องใช้กันมา 1-2 ปี วันเดียวใช้ไม่ได้ก็ต้องแก้
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายสมัคร ได้หยิบยกกรณี นางวิมลวรรณ อุดมพร ประธานสมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์นำคณะเข้าพบ เพื่อชี้แจงปัญหาผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยแจ้งต่อที่ประชุมว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก มีถึง 10 สมาคม ต้องช่วยเหลือ
แหล่งข่าว กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุม ยังได้ท้วงติงว่า กฎหมายฉบับนี้ออกมาเร็วเกินไป แทนที่จะไปพิจารณาการออกประกาศอัตราภาษีสรรพสามิต (สุรา ) ก่อน แต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงตรงนี้
อย่างไรก็ตามหลังหารือ นายสมัคร ไม่ได้มอบหมายหน่วยงานใดดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ อย่างชัดเจน และไม่ได้ระบุระยะเวลาการแก้ไข
ด้าน นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว.สาธารณสุข (สธ.) และในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กล่าวว่า ขณะนี้เป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วว่า กฎหมายดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นใครที่จะแก้ไขพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสังคม ในเมื่อความสุขในสังคมได้ถูกวางเอาไว้ ก็น่าจะสนับสนุนและส่งเสริมให้อยู่ต่อไป หรือหากเห็นว่าไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ก็หาวิธีใหม่ให้ใช้ได้ ไม่ใช่ทำแบบนี้
“เรื่องนี้ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย แล้วมาพูดว่าปฏิบัติไม่ได้ ความจริงควรต้องลองก่อน ลองคิดดูว่าผู้ป่วยจากอุบัติเหตุที่ต้องนอนในโรงพยาบาลทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ที่ต้องนอนเป็นเหมือนก้อนเนื้ออยู่นั้น เกิดจากน้ำเมาทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมไทยจะมีความสุขดีหรืออย่างไร ซึ่งพวกเราสามารถช่วยเหลือกันไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้นมากกว่านี้" นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่าการลดแลกแจกแถมเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณา ซึ่งเป้าหมายหลักของกฎหมายนี้คือ การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง โดยเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งพ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้เวลานานถึง 7 เดือน ตนเองได้นำเข้าเสนอเป็นวาระแรกๆ แต่กลับถูกพิจารณาเป็นวินาทีสุดท้ายของสภาที่มีการพิจารณาเรื่องกฎหมาย และยืนยันว่า กฎหมายดังกล่าว สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งบุหรี่ ยังสามารถห้ามการโฆษณาทุกรูปแบบ ห้ามลดแลกแจกแถมด้วยเช่นกัน แต่ทำไมเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงทำไม่ได้
ศ.ดร.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่ากฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปฏิบัติได้จริงทุกมาตรา กว่าที่กฎหมายฉบับนี้จะเกิดขึ้นได้ ผ่านการรวบรวมข้อมูลทุกด้านทั้งงานวิชาการ และภาคสังคม มีประชาพิจารณ์ใน 7 เวที ทั่วประเทศ เดิมทีมีการเสนอให้กฎหมายเข้มข้นกว่านี้ แต่คณะผู้ร่างพิถีพิถันและร่างแต่ในสิ่งที่ปฏิบัติได้ จึงออกมาเป็นกฎหมายฉบับนี้
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึง นายสมัคร เพื่อคัดค้านการแก้ พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในมาตรา 30 ตามที่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ(สชอ.)เสนอ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติ และทางจริยธรรม ซึ่งหากนายสมัครยังคงหยิบยกเอาการแก้กฎหมายเหล้ามาเป็นงานเร่งด่วน เครือข่ายฯ จะค้านแนวคิดในการแก้ไข กฎหมายนี้ทุกกรณี เพราะเป็น พ.ร.บ.ฉบับเดียวที่มีองค์กรสนับสนุนถึง 264 องค์กร มีประชาชนลงชื่อสนับสนุนอีกกว่า 13 ล้านรายชื่อ มีเจตนารมณ์ คุ้มครองสุขภาพประชาชน ลดผลกระทบป้องกันการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ดังนั้น การพิจารณาใดๆ ของรัฐบาลต้องยึดเจตนารมณ์นี้ ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของผู้ประกอบการ
นายคำรณ กล่าวอีกว่าสชอ. คือนอมินีของกลุ่มบริษัทเหล้า ตัวประธานคือ นางวิมลวรรณ ที่เข้าพบนายกรัฐมนตรี คือ รองประธานกรรมการบริหารของบริษัทริมอนเด้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตนำเข้าเหล้าหลายยี่ห้อ ทั้งจอนนี่ วอล์กเกอร์ สเปร์ รอยัล สมาชิกคนอื่นๆ ก็อยู่ในบริษัทเหล้า และกลยุทธ์ของริมอนเด้ ที่ประกาศมาตลอดคือ การส่งเสริมการขาย เจาะกลุ่มเยาวชนให้มากที่สุด เจตนาของคนกลุ่มนี้ชัดว่า ต้องการขายน้ำเมาให้มากที่สุด การที่นายกฯไปฟัง และบอกว่าจะแก้กฎหมายโดยรอข้อมูลของกลุ่มนายทุน แสดงว่าไม่เคยคิดจะรับฟังข้อมูลของนักวิชาการ กับประชาชน ส่อว่าอาจปกป้องกลุ่มนายทุนหรือว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้น
วานนี้ (11 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพฯประมาณ 200 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านแนวคิดของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในมาตรา 30 ที่ว่าด้วยเรื่องการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบ ลด แลก แจก แถม ซึ่งถือว่าเป็นการมอมเมาประชาชน โดยเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ ได้ทำพิธีกรรม “เผาดอกไม้จัน” เพื่อไว้อาลัยแก่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ หรือ สชอ. ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มทุนบริษัทจัดจำหน่ายสุรา และผู้ผลิตสุรา ประกอบด้วย บริษัท บาร์คาดี (ประเทศไทย) ,ไทยเอเชียแปซิฟิคบริเวอรี่ , ริชมอนเด้ (บางกอก) เพอร์นอตริคาร์ด (ประเทศไทย) และ สยามไวเนอรี่ ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว
นายสมัคร แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า รัฐบาลจะขอแก้ไข พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีผู้ประกอบการร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ จึงขอต่อที่ประชุม ครม.แก้ไขเพื่อให้ปฏิบัติได้
“ยังไม่ขอลงในรายละเอียดเกี่ยวกับสาระสำคัญที่จะปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามต้องให้ผู้ประกอบการปฏิบัติได้ ที่ผ่านมาเขียนกฎหมายในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริงก็แก้ไขเป็นกฎหมาย ไม่มีทางอื่นเลย เพราะได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว”
เมื่อถามว่ากฎหมายใช้มาไม่ทันไรก็แก้ไข นายสมัคร กล่าวว่า รู้ว่าใช้ไม่ได้ก็ต้องแก้ 10 สมาคมเขาเดือดร้อน ทำมาหากินไม่ได้ ก็ต้องแก้ ไม่จำเป็นว่าต้องใช้กันมา 1-2 ปี วันเดียวใช้ไม่ได้ก็ต้องแก้
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายสมัคร ได้หยิบยกกรณี นางวิมลวรรณ อุดมพร ประธานสมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์นำคณะเข้าพบ เพื่อชี้แจงปัญหาผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยแจ้งต่อที่ประชุมว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก มีถึง 10 สมาคม ต้องช่วยเหลือ
แหล่งข่าว กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุม ยังได้ท้วงติงว่า กฎหมายฉบับนี้ออกมาเร็วเกินไป แทนที่จะไปพิจารณาการออกประกาศอัตราภาษีสรรพสามิต (สุรา ) ก่อน แต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงตรงนี้
อย่างไรก็ตามหลังหารือ นายสมัคร ไม่ได้มอบหมายหน่วยงานใดดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ อย่างชัดเจน และไม่ได้ระบุระยะเวลาการแก้ไข
ด้าน นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว.สาธารณสุข (สธ.) และในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กล่าวว่า ขณะนี้เป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วว่า กฎหมายดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นใครที่จะแก้ไขพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสังคม ในเมื่อความสุขในสังคมได้ถูกวางเอาไว้ ก็น่าจะสนับสนุนและส่งเสริมให้อยู่ต่อไป หรือหากเห็นว่าไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ก็หาวิธีใหม่ให้ใช้ได้ ไม่ใช่ทำแบบนี้
“เรื่องนี้ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย แล้วมาพูดว่าปฏิบัติไม่ได้ ความจริงควรต้องลองก่อน ลองคิดดูว่าผู้ป่วยจากอุบัติเหตุที่ต้องนอนในโรงพยาบาลทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ที่ต้องนอนเป็นเหมือนก้อนเนื้ออยู่นั้น เกิดจากน้ำเมาทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมไทยจะมีความสุขดีหรืออย่างไร ซึ่งพวกเราสามารถช่วยเหลือกันไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้นมากกว่านี้" นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อว่าการลดแลกแจกแถมเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณา ซึ่งเป้าหมายหลักของกฎหมายนี้คือ การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง โดยเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งพ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้เวลานานถึง 7 เดือน ตนเองได้นำเข้าเสนอเป็นวาระแรกๆ แต่กลับถูกพิจารณาเป็นวินาทีสุดท้ายของสภาที่มีการพิจารณาเรื่องกฎหมาย และยืนยันว่า กฎหมายดังกล่าว สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งบุหรี่ ยังสามารถห้ามการโฆษณาทุกรูปแบบ ห้ามลดแลกแจกแถมด้วยเช่นกัน แต่ทำไมเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงทำไม่ได้
ศ.ดร.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่ากฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปฏิบัติได้จริงทุกมาตรา กว่าที่กฎหมายฉบับนี้จะเกิดขึ้นได้ ผ่านการรวบรวมข้อมูลทุกด้านทั้งงานวิชาการ และภาคสังคม มีประชาพิจารณ์ใน 7 เวที ทั่วประเทศ เดิมทีมีการเสนอให้กฎหมายเข้มข้นกว่านี้ แต่คณะผู้ร่างพิถีพิถันและร่างแต่ในสิ่งที่ปฏิบัติได้ จึงออกมาเป็นกฎหมายฉบับนี้
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึง นายสมัคร เพื่อคัดค้านการแก้ พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในมาตรา 30 ตามที่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ(สชอ.)เสนอ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติ และทางจริยธรรม ซึ่งหากนายสมัครยังคงหยิบยกเอาการแก้กฎหมายเหล้ามาเป็นงานเร่งด่วน เครือข่ายฯ จะค้านแนวคิดในการแก้ไข กฎหมายนี้ทุกกรณี เพราะเป็น พ.ร.บ.ฉบับเดียวที่มีองค์กรสนับสนุนถึง 264 องค์กร มีประชาชนลงชื่อสนับสนุนอีกกว่า 13 ล้านรายชื่อ มีเจตนารมณ์ คุ้มครองสุขภาพประชาชน ลดผลกระทบป้องกันการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ดังนั้น การพิจารณาใดๆ ของรัฐบาลต้องยึดเจตนารมณ์นี้ ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของผู้ประกอบการ
นายคำรณ กล่าวอีกว่าสชอ. คือนอมินีของกลุ่มบริษัทเหล้า ตัวประธานคือ นางวิมลวรรณ ที่เข้าพบนายกรัฐมนตรี คือ รองประธานกรรมการบริหารของบริษัทริมอนเด้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตนำเข้าเหล้าหลายยี่ห้อ ทั้งจอนนี่ วอล์กเกอร์ สเปร์ รอยัล สมาชิกคนอื่นๆ ก็อยู่ในบริษัทเหล้า และกลยุทธ์ของริมอนเด้ ที่ประกาศมาตลอดคือ การส่งเสริมการขาย เจาะกลุ่มเยาวชนให้มากที่สุด เจตนาของคนกลุ่มนี้ชัดว่า ต้องการขายน้ำเมาให้มากที่สุด การที่นายกฯไปฟัง และบอกว่าจะแก้กฎหมายโดยรอข้อมูลของกลุ่มนายทุน แสดงว่าไม่เคยคิดจะรับฟังข้อมูลของนักวิชาการ กับประชาชน ส่อว่าอาจปกป้องกลุ่มนายทุนหรือว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้น