เครือข่ายต้านเหล้า ฉะ “สมัคร” มีวาระซ่อนเร้น เอื้อนายทุน บ้านเมืองมีปัญหาอื่นไม่ทำ แต่มาเร่งแก้ กม.เหล้า แฉสมาพันธ์ช่วยลดปัญหาน้ำเมาฯ ที่แท้นอมินีบริษัทเหล้า ไม่เคยช่วยชาติ ดีแต่สร้างภาพ หาช่องป้องประโยชน์ตัวเอง ด้านนักกฎหมายยัน กม.คุมแอลกอฮอล์ ปฏิบัติได้ทุกข้อ บอกนายกฯ หยุดหนุนบริษัทน้ำเมา คิดถึงเด็กไทยบ้าง
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการแก้ พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในมาตรา 30 ที่ว่าด้วยเรื่องการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบ ลด แลก แจก แถม ตามที่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (สชอ.) เสนอ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติ และทางจริยธรรม ซึ่งหากนายสมัครยังคงหยิบยกเอาการแก้กฎหมายเหล้า มาเป็นงานเร่งด่วน ขอยืนยันว่า เครือข่ายฯค้านแนวคิดในการแก้ไขกฎหมายนี้ทุกกรณี เพราะเป็น พ.ร.บ.ฉบับเดียวที่มีองค์กรสนับสนุนถึง 264 องค์กร มีประชาชนลงชื่อสนับสนุนอีกกว่า 13 ล้านรายชื่อ มีเจตนารมณ์คุ้มครองสุขภาพประชาชน ลดผลกระทบป้องกันการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ดังนั้น การพิจารณาใดๆ ของรัฐบาลต้องยึดเจตนารมณ์นี้ ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของผู้ประกอบการ
นายคำรณ กล่าวอีกว่า สชอ.คือ นอมินีของกลุ่มบริษัทเหล้า ตัวประธาน คือ นางวิมลวรรณ อุดมพร ที่เป็นคนเข้าไปพบ นายกรัฐมนตรี คือ รองประธานกรรมการบริหารของบริษัท ริมอนเด้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตนำเข้าเหล้าหลายยี่ห้อ ทั้ง จอนนี่ วอล์กเกอร์ สเปย์ รอยัล สมาชิกคนอื่นๆ ก็อยู่ในบริษัทเหล้า เช่น บริษัท บาคาร์ดีฯ บริษัท สยามไวเนอรี่ฯ และกลยุทธ์ของริมอนเด้ ที่ประกาศมาตลอด คือ การส่งเสริมการขาย เจาะกลุ่มเยาวชนให้มากที่สุด เจตนาของคนกลุ่มนี้ชัดว่า ทำยังไงก็ได้ให้ขายน้ำเมาให้มากที่สุด
“การเคลื่อนไหวของ สชอ.มีแต่จะลดผลกระทบต่อธุรกิจเหล้า ไม่เคยพูด ไม่เคยทำอะไร ที่จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากเหล้า แล้วมาตั้งชื่อว่าเป็นสมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างไร ทำไมผู้ที่เป็นนายกฯ ไปฟัง ซ้ำยังบอกว่าจะแก้กฎหมายโดยรอข้อมูลของกลุ่มนายทุน แสดงว่าไม่เคยคิดจะรับฟังข้อมูลของนักวิชาการ กับประชาชนเลย ส่อว่าอาจปกป้องกลุ่มนายทุนหรือว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้นอยู่” นายคำรณ กล่าว
นายคำรณ กล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกบริษัทควรมีความจริงใจ รีบทำตามกฎหมาย หยุดคอยหาช่อง หาโอกาสสร้างนอมินีมาเคลื่อนไหว สร้างภาพปกป้องผลประโยชน์ตัวเองเสียที และขอเตือนว่า รัฐบาลอย่าดูแคลนหัวจิตหัวใจของประชาชน ที่สนับสนุนและร่วมตัวต่อสู้ให้ได้มาซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะนั่นจะกลายเป็นการเร่งปฏิกิริยา ขยายวงนำสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ ที่เครือข่ายภาคประชาชนมีอนาคตของลูกหลานไทยเป็นเดิมพัน พวกเราจะไม่ยอมแน่นอน
ด้าน ศ.ดร.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปฏิบัติได้จริงในทุกมาตรา การที่นายกฯ อยากแก้กฎหมายในมาตรา 30 แล้วให้เหตุผลว่าปฏิบัติไม่ได้นั้น ไม่เป็นความจริง กว่าที่กฎหมายฉบับนี้จะเกิดขึ้นได้ ผ่านการรวบรวมข้อมูลทุกด้านทั้งงานวิชาการ และภาคสังคม มีประชาพิจารณ์ใน 7 เวที ทั่วประเทศ เดิมทีมีการเสนอให้กฎหมายเข้มข้นกว่านี้ แต่คณะผู้ร่างพิถีพิถัน และร่างแต่ในสิ่งที่ปฏิบัติได้ จึงออกมาเป็นกฎหมายฉบับนี้
“วันนี้เด็กและเยาวชนจำนวนมากกลายเป็นทาสน้ำเมา ความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบของเหล้านับไม่ถ้วน การห้าม ลด แลก แจก แถม คือหนึ่งในมาตรการสำคัญที่จะลดนักดื่มหน้าใหม่ได้ ผมอยากฝากไปถึงคุณสมัคร และกลุ่มนายทุนเหล้าว่า พอเถอะครับ หยุดสนับสนุนความร่ำรวยบนความเจ็บปวด ทุกข์ใจแสนสาหัสของคนไทยด้วยกัน ถึงเวลาแล้วที่เราจะห่วงใยเด็กและเยาวชนไทย ทำอะไรเพื่อลูกหลานของเราเถอะครับ” ศ.ดร.แสวง กล่าว
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการแก้ พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในมาตรา 30 ที่ว่าด้วยเรื่องการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบ ลด แลก แจก แถม ตามที่สมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (สชอ.) เสนอ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติ และทางจริยธรรม ซึ่งหากนายสมัครยังคงหยิบยกเอาการแก้กฎหมายเหล้า มาเป็นงานเร่งด่วน ขอยืนยันว่า เครือข่ายฯค้านแนวคิดในการแก้ไขกฎหมายนี้ทุกกรณี เพราะเป็น พ.ร.บ.ฉบับเดียวที่มีองค์กรสนับสนุนถึง 264 องค์กร มีประชาชนลงชื่อสนับสนุนอีกกว่า 13 ล้านรายชื่อ มีเจตนารมณ์คุ้มครองสุขภาพประชาชน ลดผลกระทบป้องกันการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ดังนั้น การพิจารณาใดๆ ของรัฐบาลต้องยึดเจตนารมณ์นี้ ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของผู้ประกอบการ
นายคำรณ กล่าวอีกว่า สชอ.คือ นอมินีของกลุ่มบริษัทเหล้า ตัวประธาน คือ นางวิมลวรรณ อุดมพร ที่เป็นคนเข้าไปพบ นายกรัฐมนตรี คือ รองประธานกรรมการบริหารของบริษัท ริมอนเด้ ซึ่งเป็นผู้ผลิตนำเข้าเหล้าหลายยี่ห้อ ทั้ง จอนนี่ วอล์กเกอร์ สเปย์ รอยัล สมาชิกคนอื่นๆ ก็อยู่ในบริษัทเหล้า เช่น บริษัท บาคาร์ดีฯ บริษัท สยามไวเนอรี่ฯ และกลยุทธ์ของริมอนเด้ ที่ประกาศมาตลอด คือ การส่งเสริมการขาย เจาะกลุ่มเยาวชนให้มากที่สุด เจตนาของคนกลุ่มนี้ชัดว่า ทำยังไงก็ได้ให้ขายน้ำเมาให้มากที่สุด
“การเคลื่อนไหวของ สชอ.มีแต่จะลดผลกระทบต่อธุรกิจเหล้า ไม่เคยพูด ไม่เคยทำอะไร ที่จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากเหล้า แล้วมาตั้งชื่อว่าเป็นสมาพันธ์เพื่อช่วยภาครัฐลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างไร ทำไมผู้ที่เป็นนายกฯ ไปฟัง ซ้ำยังบอกว่าจะแก้กฎหมายโดยรอข้อมูลของกลุ่มนายทุน แสดงว่าไม่เคยคิดจะรับฟังข้อมูลของนักวิชาการ กับประชาชนเลย ส่อว่าอาจปกป้องกลุ่มนายทุนหรือว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้นอยู่” นายคำรณ กล่าว
นายคำรณ กล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกบริษัทควรมีความจริงใจ รีบทำตามกฎหมาย หยุดคอยหาช่อง หาโอกาสสร้างนอมินีมาเคลื่อนไหว สร้างภาพปกป้องผลประโยชน์ตัวเองเสียที และขอเตือนว่า รัฐบาลอย่าดูแคลนหัวจิตหัวใจของประชาชน ที่สนับสนุนและร่วมตัวต่อสู้ให้ได้มาซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะนั่นจะกลายเป็นการเร่งปฏิกิริยา ขยายวงนำสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ ที่เครือข่ายภาคประชาชนมีอนาคตของลูกหลานไทยเป็นเดิมพัน พวกเราจะไม่ยอมแน่นอน
ด้าน ศ.ดร.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปฏิบัติได้จริงในทุกมาตรา การที่นายกฯ อยากแก้กฎหมายในมาตรา 30 แล้วให้เหตุผลว่าปฏิบัติไม่ได้นั้น ไม่เป็นความจริง กว่าที่กฎหมายฉบับนี้จะเกิดขึ้นได้ ผ่านการรวบรวมข้อมูลทุกด้านทั้งงานวิชาการ และภาคสังคม มีประชาพิจารณ์ใน 7 เวที ทั่วประเทศ เดิมทีมีการเสนอให้กฎหมายเข้มข้นกว่านี้ แต่คณะผู้ร่างพิถีพิถัน และร่างแต่ในสิ่งที่ปฏิบัติได้ จึงออกมาเป็นกฎหมายฉบับนี้
“วันนี้เด็กและเยาวชนจำนวนมากกลายเป็นทาสน้ำเมา ความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบของเหล้านับไม่ถ้วน การห้าม ลด แลก แจก แถม คือหนึ่งในมาตรการสำคัญที่จะลดนักดื่มหน้าใหม่ได้ ผมอยากฝากไปถึงคุณสมัคร และกลุ่มนายทุนเหล้าว่า พอเถอะครับ หยุดสนับสนุนความร่ำรวยบนความเจ็บปวด ทุกข์ใจแสนสาหัสของคนไทยด้วยกัน ถึงเวลาแล้วที่เราจะห่วงใยเด็กและเยาวชนไทย ทำอะไรเพื่อลูกหลานของเราเถอะครับ” ศ.ดร.แสวง กล่าว