พาณิชย์ในยุคมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นั่งเป็นรัฐมนตรี กลายเป็นกระทรวงที่มี ‘ข่าวดี’ ทุกๆ สัปดาห์ สวนทางกับ ครม.ขี้เหร่เจ้าอื่นๆ ที่ขยันมี ‘ข่าวอื้อฉาว’ ตลอดเวลา
วันก่อนก็มีข่าวดีที่ว่า พาณิชย์กำราบผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ 12 รายให้ยอมปรับลดราคาลงได้กว่า 60 รายการ ก่อนหน้านั้นก็เป็นข่าว มิ่งขวัญสั่งหั่นราคาหมูที่ราคาพุ่งสูงกว่า 100 ลงมาเหลือ 98 ต่อกิโลกรัม
แถมสัปดาห์หน้าก็ยังจะมีข่าวดี ลดค่าบริการโทร.มือถือ ค่ายารักษาโรค และอื่นๆ ซึ่งกำลังสั่งให้เจ้าหน้าที่ศึกษาต้นทุน หากว่าพร้อมก็จะทำ
ข่าวดีทำนองนี้ไหลมาอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ผิดกับยุคสมัยขิงแก่ราวกระต่ายกับเต่า จึงไม่น่าแปลกใจที่จะทำให้มิ่งขวัญโกยคะแนนนิยมทางการเมืองไปเต็มๆ
พูดง่ายๆ ถ้าเปรียบ มิ่งขวัญ เป็นสาวงามผู้เข้าประกวด ‘มิส’ อะไรซักอย่างก็ต้องบอกว่า ถึงวินาทีนี้เธอคว้าตำแหน่งขวัญใจช่างภาพไปเรียบร้อย
ทั้งโพสต์ท่า สร้างภาพออกมาได้งามน่าดูชม!
ถามว่า สุดท้ายเธอจะชนะเลิศคว้าตำแหน่ง ‘มิส’ ด้วยหรือไม่? ก็ไม่แน่ เพราะคณะกรรมการจะพินิจพิเคราะห์องค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาด้วย อาทิ การตอบคำถาม ปฏิภาณไหวพริบ กิริยาอื่นๆ
ฉันใดฉันนั้น โครงการ ‘พาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง’ เฉพาะหน้า ดูเหมือนทำให้ประชาชนยิ้มได้เมื่อผู้ผลิตยอมลดราคาสินค้าลงก็จริง แต่ต้องดูกันยาวๆ ต่อไปว่า อะไรจะเกิดขึ้น!
ก่อนอื่นต้องไม่ลืมว่า ปกติในยามใดที่ข้าวยากหมากแพง มาตรการของพาณิชย์ที่ผ่านๆ มาก็คือเข็นโครงการ ‘ธงฟ้าราคาประหยัด’ ออกมาให้ประชาชนได้ซื้อของในราคาถูกบรรเทาความเดือดร้อนกันไป เพียงแต่พะยี่ห้อของมิ่งขวัญที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญด้านสร้างภาพลักษณ์ และ ประชาสัมพันธ์ถ้าทำแค่ธงฟ้า ก็กระไรไป จากธงฟ้า ที่ดูเชยๆ ก็เลยกลายเป็นโครงการกิ๊บเก๋ในชื่อ ‘พาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง’ ซึ่งข้อที่เหมือนกันก็คือ เป็นมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวนั่นเอง
แต่ธงฟ้า และโครงการชื่อกิ๊บเก๋ใหม่ของมิ่งขวัญ ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่ คือ การแทรกแซงกลไกตลาดของธงฟ้าจะจำกัดอยู่ในวงแคบๆ เช่น จัดซุ้มตามงานกาชาด หน้ากระทรวง สนามหลวง แล้วก็จัดโปรโมชันร่วมกับห้างสรรพสินค้า
ส่วนมาตรการที่เข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดใหม่ของมิ่งขวัญ เขาประกาศแล้วว่า สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์สั่งแทรกแซงครั้งนี้ให้กระจายไปทุกประเทศ นั่นหมายถึง ทุกร้านที่ขายสินค้าในรายการที่ลด ทุกโชว์ห่วย ต้องขายในราคาเดียวกันหมด
พาณิชย์กำลังก้าวล้ำไปในเขตของการบิดเบือนกลไกตลาดฝืนกับความเป็นจริงในโลกของทุนนิยมที่เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรี หลายฝ่ายกำลังจับตามอง และเตือนมาบ้างแล้ว
เมื่อการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ผลที่ตามมาตรงนี้ ไม่แน่ใจว่า มิ่งขวัญ คิดเผื่อไว้หรือไม่ว่า จะมีผู้ผลิตขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ไม่ได้มีสายป่านยาวในระบบซักกี่มากน้อยจะได้รับผลกระทบ
บางรายอาจเป็นผู้ผลิตสินค้าโอทอปมียอดขายพอเลี้ยงตัวได้ บางรายกู้เงินแบงก์ บางรายกำลังขยายกิจการเจอภาวะแบบนี้เกิดอยู่ไม่ได้ หรือ หากหนักขึ้นไปก็อาจจะถึงขั้นล้มหายตายจาก มีคนตกงานแค่ไหน เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม
สุดท้ายมาตรการอย่างหนึ่งได้กับคนส่วนหนึ่ง แต่ไปทำร้ายคนอีกส่วน ถ้าเช่นนั้นจะมีประโยชน์อย่างไร?
ประการต่อมา จำได้ว่า หนึ่งในเหตุผลที่มิ่งขวัญ ยกมาทั้งขู่ ทั้งบีบผู้ผลิตให้ยอมลดราคาสินค้า คือ สินค้าบางตัวเป็นลักษณะทุนผูกขาด เป็นรายใหญ่ที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดไว้ในมือเอาเปรียบผู้บริโภคมานานแล้วยังไงๆ ก็ต้องขอให้ลด ก็อยากจะถามกลับว่า ปตท.ที่ผูกขาดตลาดน้ำมันวันนี้ อยู่ในข่ายนี้ด้วยหรือไม่?
ในลิสต์รายการสินค้าที่ ฯพณฯ มิ่งขวัญจะดำเนินการมีราคาน้ำมันรวมด้วยมั้ย? ราคาน้ำมัน 3 ลิตรร้อยในปัจจุบันประกอบไปด้วยต้นทุนอะไรบ้าง เปิดเผยออกมาให้ประชาชนรับทราบได้หรือเปล่า
เช่นเดียวกับภาษีจิปาถะที่เก็บลิตรละ 1 ใน 3 ของราคาขายนั้น ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ รัฐยังจำเป็นต้องเก็บมากมายอย่างนี้อีกหรือ เหล่านี้ประชาชนก็ต้องการทราบว่า เอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่
ไหนๆ จะประกาศลดค่าบริการโทร.มือถือ ค่ายารักษาโรค รมว.พาณิชย์ก็น่าจะบรรจุราคาน้ำมันไปอีกรายการ ไม่งั้นสิ่งที่หลายคน หรือแม้กระทั่งรมช.ของท่านเองที่มองว่า ท่านทำไปก็เพื่อสร้างภาพ นั้นไม่ใช่แค่ข้อครหา ใช่-ไม่ใช่?
ประการสุดท้าย มิ่งขวัญบอกว่า เขารู้เรื่องราคาสินค้า ต้นทุน และกลไกต่างๆ ดี เพราะคลุกคลีเป็นนักธุรกิจมากว่า 30 ปี การลดราคา 60 รายการจากผู้ผลิตรายใหญ่ดังกล่าวนั้นเชื่อว่า ประชาชนจะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มแน่นอน
จริงอยู่..แม้จะไม่ใช่คนที่ทำธุรกิจเหมือนท่าน แต่หากใครซื้อของเข้าบ้านทุกสัปดาห์ และจ่ายตลาดสดบ้างบางครั้งคราว ก็จะตอบได้ทันทีว่า เงินในกระเป๋าไม่ได้เพิ่มจากมาตรการนี้ซักเท่าไหร่หรอก เพราะ สินค้า 60 รายการที่ว่าลดราคานั้น จริงๆแล้วห้างใหญ่ๆ ก็จัดโปรโมชันอยู่ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน
บางห้างซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง ขณะที่มีสินค้าเฮาส์แบรด์ที่ใช้ทดแทนในราคาถูกกว่าพวกแบรนด์เนมเป็นเท่าตัวก็มี เพียงแต่ไม่ทราบ มิ่งขวัญ เคยเดินห้างครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่เท่านั้น
ดังนั้น มิ่งขวัญ และโครงการพาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง จึงต้องดูกันไป ยิ่งภายใต้ภาวะน้ำมันที่ยังแพงระยับ และส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต กลไกตลาดที่บิดเบี้ยว พ้นจากระยะ 2-6 เดือนที่มาตรการกำหนด จะเกิดอะไรขึ้นอีก?
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนไทยจะไม่ถูก ‘มายาภาพ’ เป็นเหยื่อของนโยบายประชานิยมซ้ำแล้วซ้ำเล่า.
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
วันก่อนก็มีข่าวดีที่ว่า พาณิชย์กำราบผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ 12 รายให้ยอมปรับลดราคาลงได้กว่า 60 รายการ ก่อนหน้านั้นก็เป็นข่าว มิ่งขวัญสั่งหั่นราคาหมูที่ราคาพุ่งสูงกว่า 100 ลงมาเหลือ 98 ต่อกิโลกรัม
แถมสัปดาห์หน้าก็ยังจะมีข่าวดี ลดค่าบริการโทร.มือถือ ค่ายารักษาโรค และอื่นๆ ซึ่งกำลังสั่งให้เจ้าหน้าที่ศึกษาต้นทุน หากว่าพร้อมก็จะทำ
ข่าวดีทำนองนี้ไหลมาอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ผิดกับยุคสมัยขิงแก่ราวกระต่ายกับเต่า จึงไม่น่าแปลกใจที่จะทำให้มิ่งขวัญโกยคะแนนนิยมทางการเมืองไปเต็มๆ
พูดง่ายๆ ถ้าเปรียบ มิ่งขวัญ เป็นสาวงามผู้เข้าประกวด ‘มิส’ อะไรซักอย่างก็ต้องบอกว่า ถึงวินาทีนี้เธอคว้าตำแหน่งขวัญใจช่างภาพไปเรียบร้อย
ทั้งโพสต์ท่า สร้างภาพออกมาได้งามน่าดูชม!
ถามว่า สุดท้ายเธอจะชนะเลิศคว้าตำแหน่ง ‘มิส’ ด้วยหรือไม่? ก็ไม่แน่ เพราะคณะกรรมการจะพินิจพิเคราะห์องค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาด้วย อาทิ การตอบคำถาม ปฏิภาณไหวพริบ กิริยาอื่นๆ
ฉันใดฉันนั้น โครงการ ‘พาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง’ เฉพาะหน้า ดูเหมือนทำให้ประชาชนยิ้มได้เมื่อผู้ผลิตยอมลดราคาสินค้าลงก็จริง แต่ต้องดูกันยาวๆ ต่อไปว่า อะไรจะเกิดขึ้น!
ก่อนอื่นต้องไม่ลืมว่า ปกติในยามใดที่ข้าวยากหมากแพง มาตรการของพาณิชย์ที่ผ่านๆ มาก็คือเข็นโครงการ ‘ธงฟ้าราคาประหยัด’ ออกมาให้ประชาชนได้ซื้อของในราคาถูกบรรเทาความเดือดร้อนกันไป เพียงแต่พะยี่ห้อของมิ่งขวัญที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญด้านสร้างภาพลักษณ์ และ ประชาสัมพันธ์ถ้าทำแค่ธงฟ้า ก็กระไรไป จากธงฟ้า ที่ดูเชยๆ ก็เลยกลายเป็นโครงการกิ๊บเก๋ในชื่อ ‘พาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง’ ซึ่งข้อที่เหมือนกันก็คือ เป็นมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวนั่นเอง
แต่ธงฟ้า และโครงการชื่อกิ๊บเก๋ใหม่ของมิ่งขวัญ ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่ คือ การแทรกแซงกลไกตลาดของธงฟ้าจะจำกัดอยู่ในวงแคบๆ เช่น จัดซุ้มตามงานกาชาด หน้ากระทรวง สนามหลวง แล้วก็จัดโปรโมชันร่วมกับห้างสรรพสินค้า
ส่วนมาตรการที่เข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดใหม่ของมิ่งขวัญ เขาประกาศแล้วว่า สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์สั่งแทรกแซงครั้งนี้ให้กระจายไปทุกประเทศ นั่นหมายถึง ทุกร้านที่ขายสินค้าในรายการที่ลด ทุกโชว์ห่วย ต้องขายในราคาเดียวกันหมด
พาณิชย์กำลังก้าวล้ำไปในเขตของการบิดเบือนกลไกตลาดฝืนกับความเป็นจริงในโลกของทุนนิยมที่เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรี หลายฝ่ายกำลังจับตามอง และเตือนมาบ้างแล้ว
เมื่อการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ผลที่ตามมาตรงนี้ ไม่แน่ใจว่า มิ่งขวัญ คิดเผื่อไว้หรือไม่ว่า จะมีผู้ผลิตขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ไม่ได้มีสายป่านยาวในระบบซักกี่มากน้อยจะได้รับผลกระทบ
บางรายอาจเป็นผู้ผลิตสินค้าโอทอปมียอดขายพอเลี้ยงตัวได้ บางรายกู้เงินแบงก์ บางรายกำลังขยายกิจการเจอภาวะแบบนี้เกิดอยู่ไม่ได้ หรือ หากหนักขึ้นไปก็อาจจะถึงขั้นล้มหายตายจาก มีคนตกงานแค่ไหน เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม
สุดท้ายมาตรการอย่างหนึ่งได้กับคนส่วนหนึ่ง แต่ไปทำร้ายคนอีกส่วน ถ้าเช่นนั้นจะมีประโยชน์อย่างไร?
ประการต่อมา จำได้ว่า หนึ่งในเหตุผลที่มิ่งขวัญ ยกมาทั้งขู่ ทั้งบีบผู้ผลิตให้ยอมลดราคาสินค้า คือ สินค้าบางตัวเป็นลักษณะทุนผูกขาด เป็นรายใหญ่ที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดไว้ในมือเอาเปรียบผู้บริโภคมานานแล้วยังไงๆ ก็ต้องขอให้ลด ก็อยากจะถามกลับว่า ปตท.ที่ผูกขาดตลาดน้ำมันวันนี้ อยู่ในข่ายนี้ด้วยหรือไม่?
ในลิสต์รายการสินค้าที่ ฯพณฯ มิ่งขวัญจะดำเนินการมีราคาน้ำมันรวมด้วยมั้ย? ราคาน้ำมัน 3 ลิตรร้อยในปัจจุบันประกอบไปด้วยต้นทุนอะไรบ้าง เปิดเผยออกมาให้ประชาชนรับทราบได้หรือเปล่า
เช่นเดียวกับภาษีจิปาถะที่เก็บลิตรละ 1 ใน 3 ของราคาขายนั้น ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ รัฐยังจำเป็นต้องเก็บมากมายอย่างนี้อีกหรือ เหล่านี้ประชาชนก็ต้องการทราบว่า เอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่
ไหนๆ จะประกาศลดค่าบริการโทร.มือถือ ค่ายารักษาโรค รมว.พาณิชย์ก็น่าจะบรรจุราคาน้ำมันไปอีกรายการ ไม่งั้นสิ่งที่หลายคน หรือแม้กระทั่งรมช.ของท่านเองที่มองว่า ท่านทำไปก็เพื่อสร้างภาพ นั้นไม่ใช่แค่ข้อครหา ใช่-ไม่ใช่?
ประการสุดท้าย มิ่งขวัญบอกว่า เขารู้เรื่องราคาสินค้า ต้นทุน และกลไกต่างๆ ดี เพราะคลุกคลีเป็นนักธุรกิจมากว่า 30 ปี การลดราคา 60 รายการจากผู้ผลิตรายใหญ่ดังกล่าวนั้นเชื่อว่า ประชาชนจะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มแน่นอน
จริงอยู่..แม้จะไม่ใช่คนที่ทำธุรกิจเหมือนท่าน แต่หากใครซื้อของเข้าบ้านทุกสัปดาห์ และจ่ายตลาดสดบ้างบางครั้งคราว ก็จะตอบได้ทันทีว่า เงินในกระเป๋าไม่ได้เพิ่มจากมาตรการนี้ซักเท่าไหร่หรอก เพราะ สินค้า 60 รายการที่ว่าลดราคานั้น จริงๆแล้วห้างใหญ่ๆ ก็จัดโปรโมชันอยู่ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน
บางห้างซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง ขณะที่มีสินค้าเฮาส์แบรด์ที่ใช้ทดแทนในราคาถูกกว่าพวกแบรนด์เนมเป็นเท่าตัวก็มี เพียงแต่ไม่ทราบ มิ่งขวัญ เคยเดินห้างครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่เท่านั้น
ดังนั้น มิ่งขวัญ และโครงการพาณิชย์ใส่ใจอยากให้คนไทยยิ้มกว้าง จึงต้องดูกันไป ยิ่งภายใต้ภาวะน้ำมันที่ยังแพงระยับ และส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต กลไกตลาดที่บิดเบี้ยว พ้นจากระยะ 2-6 เดือนที่มาตรการกำหนด จะเกิดอะไรขึ้นอีก?
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนไทยจะไม่ถูก ‘มายาภาพ’ เป็นเหยื่อของนโยบายประชานิยมซ้ำแล้วซ้ำเล่า.
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th