ผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยทรุดหนักจ่อหลุด 800 จุดอีกครั้งหลังปัจจัยลบโถมใส่ไม่หยุด ทั้งตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปีฉุดดัชนีดาวโจนส์รูดต่ำกว่า 12,000 จุด โบรกฯเตือนตลาดหุ้นไทยยังต้องรอลุ้นปัจจัยการเมืองว่าจะเป็นอย่างไร ชี้คำตัดสินคดียุบพรรคกำหนดทิศทางการลงทุน ด้านตลท.เดินหน้าโรดโชว์แดนปลาดิบ 17-21 มี.ค.นี้ แม้ไร้เงา"ขุนคลัง"ร่วมเดินทางพบนักลงทุน
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (10 มี.ค.) จากปัจจัยลบในต่างประเทศโดยเฉพาะความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั้งในสหรัฐฯและยุโรปปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงหลุดระดับ 12,000 จุดซึ่งถือว่าเป็นแนวรับสำคัญ หลังกระทรวงแรงงานรายงานตัวเลขจ้างงานในสหรัฐลดลง 63,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถิติที่ตกลงสูงที่สุดในรอบ 5 ปี
ในขณะเดียวกับความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศยังเป็นอีกแรงที่ส่งผลทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 806.65 จุด ลดลง 14.92 จุด หรือ 1.82% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 815.18 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.68 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขาย 15,947.50 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,695.11 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 800.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,495.52 ล้านบาท
นางสาวอาภาพร แสวงพรรค ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความกังวลต่อการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯทำให้นักลงทุนทั่วโลกยังเทขายเงินลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน ขณะที่ประเทศไทยยังมีประเด็นเรื่องการเมือง ทั้งการพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิชาธิไตย รวมถึงการเดินทางมาต่อสู้คดีนัดแรกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 12 มี.ค.นี้
นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์หน้าการพิจารณาสำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งให้ทางศาลฎีกาพิจารณาในเรื่องของการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในคดีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งยังถือว่าเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในประเทศค่อนข้างมาก
สำหรับแนวโน้มวันนี้ คงต้องรอดูความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในสหรัฐฯเป็นหลักว่านักลงทุนจะลดความวิตกกังวลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากดัชนีสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อาจจะส่งผลดีต่อจิตวิทยาในการลงทุนต่อตลาดหุ้นทั่วเอเชียด้วย โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยให้แนวรับที่ 810 ไปจนถึง 790 จุด ซึ่งอาจจะมีการรีบาวน์ได้ในระยะสั้นโดยแนวต้านอยู่ที่ 820-830 จุด
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ปัจจัยลบหลายเรื่องที่ยังปกคลุมอยู่ในตลาดหุ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหในประเทศสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศก็เจอปัญหาทางการเมืองส่งผลให้เกิดแรงเทขายทำกำไรจากนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นยังคงจะไม่ฟื้นตัว เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาช่วยฟื้นความมั่นใจ ขณะที่ตลอดสัปดาห์นี้ยังต้องติดตามปัจจัยทางการเมืองโดยเฉพาะเรื่องคำตัดสินผลสอบกรณีการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย และคดี นายยงยุทธ ติยะไพรัช อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยทางการเมือง เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่าและธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งดอกเบี้ยไทยก็น่าจะเป็นในทิศทางเดียวกันน่าจะทำให้ตลาดหุ้นยังเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงโดยประเมินแนวรับที่ 790-795 จุด และแนวต้าน 810 จุด
**ตลท.เดินหน้าโรดโชว์
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึงการเตรียมเดินทางไปโรดโชว์ข้อมูลให้นักลงทุนประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 17-21 มี.ค.นี้ว่า ตลท.เตรียมจะเดินทางไปโรดโชว์ตามกำหนดการเดิม โดยที่ผ่านมาได้มีการเสนอแผนทั้งหมดให้กับนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียบร้อยแล้ว โดยรมว.คลังจะร่วมเดินทางไปโรดโชว์กับตลท.ในช่วงเดือนเม.ย. และ พ.ค.นี้ โดยจะไปโรดโชว์ที่สิงคโปร์ และลอนดอน
ทั้งนี้ ตลท.และบริษัทจดทะเบียน 4 แห่ง จะเดินทางไปร่วมงานโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด, บล.โนมูระ และบล.ยูไนเต็ด เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้จัดการกองทุนรวม และนักลงทุนรายย่อย โดยบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมครั้งนี้ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB , บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA และบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือ ERWAN
"เราส่งแผนโรดโชว์ให้รัฐมนตรีดูแล้วซึ่งในครั้งแรกที่จะไปญี่ปุ่นรัฐมนตรีจะไม่ร่วมเดินทางไปด้วย แต่เราคงไม่เลื่อนเพราะได้เตรียมทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว"นายวิเชฐกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกรณีดังกล่าวว่า รมว.คลังอยู่ระหว่างการทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งหมด 6-7 มาตรการ โดยในเร็วๆนี้เตรียมจะประกาศเพิ่มเติมได้แก่ เรื่องกองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้ โครงการเอสเอ็มแอล และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ วงเงินกว่า 9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ มาตรการต่างๆที่ได้มีการประกาศออกไปรวมถึงกำลังจะประกาศยังถือว่าไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ จึงอาจจะต้องรออีก 2-3 เดือน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลนำไปใช้ในการโรดโชว์ได้
"ถ้าจะไปโรดโชว์ตอนนี้ รัฐบาลคงยังไม่พร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนต่างประเทศ รมว.คลังจึงอยากให้มีการประกาศมาตรการออกมาจนครบ และให้เริ่มมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างจริงจังเพื่อจะให้ข้อมูลต่างๆได้เต็มที่"
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (10 มี.ค.) จากปัจจัยลบในต่างประเทศโดยเฉพาะความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั้งในสหรัฐฯและยุโรปปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงหลุดระดับ 12,000 จุดซึ่งถือว่าเป็นแนวรับสำคัญ หลังกระทรวงแรงงานรายงานตัวเลขจ้างงานในสหรัฐลดลง 63,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถิติที่ตกลงสูงที่สุดในรอบ 5 ปี
ในขณะเดียวกับความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศยังเป็นอีกแรงที่ส่งผลทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 806.65 จุด ลดลง 14.92 จุด หรือ 1.82% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 815.18 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.68 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขาย 15,947.50 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,695.11 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 800.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,495.52 ล้านบาท
นางสาวอาภาพร แสวงพรรค ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความกังวลต่อการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯทำให้นักลงทุนทั่วโลกยังเทขายเงินลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน ขณะที่ประเทศไทยยังมีประเด็นเรื่องการเมือง ทั้งการพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิชาธิไตย รวมถึงการเดินทางมาต่อสู้คดีนัดแรกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 12 มี.ค.นี้
นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์หน้าการพิจารณาสำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งให้ทางศาลฎีกาพิจารณาในเรื่องของการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในคดีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งยังถือว่าเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในประเทศค่อนข้างมาก
สำหรับแนวโน้มวันนี้ คงต้องรอดูความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในสหรัฐฯเป็นหลักว่านักลงทุนจะลดความวิตกกังวลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากดัชนีสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อาจจะส่งผลดีต่อจิตวิทยาในการลงทุนต่อตลาดหุ้นทั่วเอเชียด้วย โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยให้แนวรับที่ 810 ไปจนถึง 790 จุด ซึ่งอาจจะมีการรีบาวน์ได้ในระยะสั้นโดยแนวต้านอยู่ที่ 820-830 จุด
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ปัจจัยลบหลายเรื่องที่ยังปกคลุมอยู่ในตลาดหุ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหในประเทศสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศก็เจอปัญหาทางการเมืองส่งผลให้เกิดแรงเทขายทำกำไรจากนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นยังคงจะไม่ฟื้นตัว เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาช่วยฟื้นความมั่นใจ ขณะที่ตลอดสัปดาห์นี้ยังต้องติดตามปัจจัยทางการเมืองโดยเฉพาะเรื่องคำตัดสินผลสอบกรณีการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย และคดี นายยงยุทธ ติยะไพรัช อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยทางการเมือง เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่าและธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งดอกเบี้ยไทยก็น่าจะเป็นในทิศทางเดียวกันน่าจะทำให้ตลาดหุ้นยังเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงโดยประเมินแนวรับที่ 790-795 จุด และแนวต้าน 810 จุด
**ตลท.เดินหน้าโรดโชว์
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึงการเตรียมเดินทางไปโรดโชว์ข้อมูลให้นักลงทุนประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 17-21 มี.ค.นี้ว่า ตลท.เตรียมจะเดินทางไปโรดโชว์ตามกำหนดการเดิม โดยที่ผ่านมาได้มีการเสนอแผนทั้งหมดให้กับนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียบร้อยแล้ว โดยรมว.คลังจะร่วมเดินทางไปโรดโชว์กับตลท.ในช่วงเดือนเม.ย. และ พ.ค.นี้ โดยจะไปโรดโชว์ที่สิงคโปร์ และลอนดอน
ทั้งนี้ ตลท.และบริษัทจดทะเบียน 4 แห่ง จะเดินทางไปร่วมงานโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด, บล.โนมูระ และบล.ยูไนเต็ด เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้จัดการกองทุนรวม และนักลงทุนรายย่อย โดยบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมครั้งนี้ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB , บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA และบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือ ERWAN
"เราส่งแผนโรดโชว์ให้รัฐมนตรีดูแล้วซึ่งในครั้งแรกที่จะไปญี่ปุ่นรัฐมนตรีจะไม่ร่วมเดินทางไปด้วย แต่เราคงไม่เลื่อนเพราะได้เตรียมทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว"นายวิเชฐกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกรณีดังกล่าวว่า รมว.คลังอยู่ระหว่างการทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งหมด 6-7 มาตรการ โดยในเร็วๆนี้เตรียมจะประกาศเพิ่มเติมได้แก่ เรื่องกองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้ โครงการเอสเอ็มแอล และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ วงเงินกว่า 9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ มาตรการต่างๆที่ได้มีการประกาศออกไปรวมถึงกำลังจะประกาศยังถือว่าไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ จึงอาจจะต้องรออีก 2-3 เดือน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลนำไปใช้ในการโรดโชว์ได้
"ถ้าจะไปโรดโชว์ตอนนี้ รัฐบาลคงยังไม่พร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนต่างประเทศ รมว.คลังจึงอยากให้มีการประกาศมาตรการออกมาจนครบ และให้เริ่มมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างจริงจังเพื่อจะให้ข้อมูลต่างๆได้เต็มที่"