ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าเร่งเอกชนระดมทุน สนับสนุนเงินอัดฉีดเงิน 1-3 แสนล้านบาทให้บริษัทที่ยื่นไฟลิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ - เอ็มเอไอ ตั้งแต่เม.ย.-มิ.ย.นี้ บนเงื่อนไขต้องมีนักลงทุนหน้าใหม่อย่างน้อย 300 ราย และ 100 ราย ด้าน "ภัทรียา" เผยต้องการจูงใจให้บริษัทระดมทุน แต่ไม่อยากให้กระจุกตัวแค่ช่วงปลายปี
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 300,000 บาท สำหรับบริษัทที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน หรือ ไฟลิ่ง (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายในดือนมิถุนายน 2551 และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในปี 2551
ทั้งนี้ บริษัทที่จะมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่ บริษัทที่ได้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนตามเกณฑ์การรับหลักทรัพย์เฉพาะกิจไว้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2550 จำนวน 107 บริษัท รวมถึงบริษัทที่สนใจจะเข้ามาระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และต้องการเข้าซื้อขายภายในปี 2551 นี้
สำหรับเงื่อนไขในการได้รับเงินสนับสนุนในครั้งนี้ จะแตกต่างกันตามระยะเวลาของการยื่นไฟลิ่ง โดยบริษัทที่สามารถยื่นไฟลิ่งได้ภายในเดือนเมษายน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่าย 300,000 บาท หากยื่นไฟลิ่งภายในเดือนพฤษภาคม จะได้รับงบสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท และกรณีที่ยื่นไฟลิ่งภายในเดือนมิถุนายน จะได้รับงบสนับสนุน 100,000 บาท
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนรายใหม่ บริษัทจะต้องมีจำนวนลูกค้าใหม่ซึ่งไม่เคยเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มาก่อนเข้ามาถือหุ้นของบริษัท โดยหากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องมีผู้ถือหุ้นใหม่จำนวนอย่างน้อย 300 ราย และกรณีเข้าจดทะเบียนใน mai ต้องมีผู้ถือหุ้นใหม่อย่างน้อย 100 ราย ทั้งนี้ แต่ละรายต้องถือหุ้นอย่างน้อย 1 board lot (100 หุ้น)
"เราเห็นว่ามีบริษัทที่ยื่นคำขอไว้ล่วงหน้าแล้วจำนวน 107 แห่งในปี 2550 หากไม่เร่งให้บริษัททยอยมาจดทะเบียนเฉลี่ยทั้งปี อาจจะเกิดปัญหาการกระจุกตัวปลายปี เป็นผลให้การกระจายการลงทุนไม่ดีเท่าที่ควร " นางภัทรียากล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขยายฐานผู้ลงทุน กล่าวว่า จากแผนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมเพิ่มจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการตลท.ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าการเพิ่มฐานผู้ลงทุนของทุกกลุ่มมีความสำคัญ โดยจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ เห็นว่าการเพิ่มสินค้าที่น่าสนใจ เป็นแรงดึงดูด สำคัญที่จะทำให้มีการเข้ามาลงทุนมากขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ เช่น กองทุนรวม กองทุนประกันสังคม เงินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และบริษัทประกันภัยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างเสถียรภาพของราคาหลักทรัพย์ โดยจากสัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยในปัจจุบันประมาณร้อยละ 11 - 17 ถือว่ายังไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรมี การพิจารณาสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้ลงทุนสถาบันกลุ่มนี้เข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับรายชื่อคณะอนุกรรมการขยายฐานผู้ลงทุน ประกอบด้วย นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการฯ, นายศานิต ร่างน้อย, นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์, นายประเวช องอาจสิทธิกุล, นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, นายวิสิฐ ตันติสุนทร, นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายสาระ ล่ำซำ, นายรพี สุจริตกุล , นายสุเทพ พีตกานนท์, นายนิพัทธ พุกกะณะสุต, นายชัยพันธ์ พงศ์ธนากร, นายสรรเสริญ นิลรัตน์, นางภัทรียา เบญจพลชัย และนายวิเชฐ ตันติวานิช
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 300,000 บาท สำหรับบริษัทที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน หรือ ไฟลิ่ง (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายในดือนมิถุนายน 2551 และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในปี 2551
ทั้งนี้ บริษัทที่จะมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่ บริษัทที่ได้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนตามเกณฑ์การรับหลักทรัพย์เฉพาะกิจไว้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2550 จำนวน 107 บริษัท รวมถึงบริษัทที่สนใจจะเข้ามาระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และต้องการเข้าซื้อขายภายในปี 2551 นี้
สำหรับเงื่อนไขในการได้รับเงินสนับสนุนในครั้งนี้ จะแตกต่างกันตามระยะเวลาของการยื่นไฟลิ่ง โดยบริษัทที่สามารถยื่นไฟลิ่งได้ภายในเดือนเมษายน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่าย 300,000 บาท หากยื่นไฟลิ่งภายในเดือนพฤษภาคม จะได้รับงบสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท และกรณีที่ยื่นไฟลิ่งภายในเดือนมิถุนายน จะได้รับงบสนับสนุน 100,000 บาท
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนรายใหม่ บริษัทจะต้องมีจำนวนลูกค้าใหม่ซึ่งไม่เคยเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มาก่อนเข้ามาถือหุ้นของบริษัท โดยหากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องมีผู้ถือหุ้นใหม่จำนวนอย่างน้อย 300 ราย และกรณีเข้าจดทะเบียนใน mai ต้องมีผู้ถือหุ้นใหม่อย่างน้อย 100 ราย ทั้งนี้ แต่ละรายต้องถือหุ้นอย่างน้อย 1 board lot (100 หุ้น)
"เราเห็นว่ามีบริษัทที่ยื่นคำขอไว้ล่วงหน้าแล้วจำนวน 107 แห่งในปี 2550 หากไม่เร่งให้บริษัททยอยมาจดทะเบียนเฉลี่ยทั้งปี อาจจะเกิดปัญหาการกระจุกตัวปลายปี เป็นผลให้การกระจายการลงทุนไม่ดีเท่าที่ควร " นางภัทรียากล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขยายฐานผู้ลงทุน กล่าวว่า จากแผนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมเพิ่มจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการตลท.ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าการเพิ่มฐานผู้ลงทุนของทุกกลุ่มมีความสำคัญ โดยจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ เห็นว่าการเพิ่มสินค้าที่น่าสนใจ เป็นแรงดึงดูด สำคัญที่จะทำให้มีการเข้ามาลงทุนมากขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ เช่น กองทุนรวม กองทุนประกันสังคม เงินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และบริษัทประกันภัยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างเสถียรภาพของราคาหลักทรัพย์ โดยจากสัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยในปัจจุบันประมาณร้อยละ 11 - 17 ถือว่ายังไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรมี การพิจารณาสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้ลงทุนสถาบันกลุ่มนี้เข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับรายชื่อคณะอนุกรรมการขยายฐานผู้ลงทุน ประกอบด้วย นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการฯ, นายศานิต ร่างน้อย, นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์, นายประเวช องอาจสิทธิกุล, นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, นายวิสิฐ ตันติสุนทร, นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายสาระ ล่ำซำ, นายรพี สุจริตกุล , นายสุเทพ พีตกานนท์, นายนิพัทธ พุกกะณะสุต, นายชัยพันธ์ พงศ์ธนากร, นายสรรเสริญ นิลรัตน์, นางภัทรียา เบญจพลชัย และนายวิเชฐ ตันติวานิช