ไล่ถอดถอน “ไชยา” ลามทั่วประเทศ เผยล่า 2 วันกว่า 1 พันรายแล้ว พร้อมเปิดโต๊ะที่จุฬาฯ เดินสาย 5 จังหวัด เสียงตอบรับเพียบ ขนาดคนนครปฐมยังร่วมแจม ด้าน “สมัคร” แอ่นอกยันรมว.สธ.ไม่ได้ฮั้วบริษัทยา ขณะที่แพทย์ตจว.มอบดอกไม้ให้กำลังใจรมว.สธ.ด้าน "ไชยา" รุกของบ 2,000 ล้านซื้อเครื่องฉายรังสีแจก อ้างหมอรังสีระบุยามะเร็งไม่จำเป็น “หมอตุลย์”สวนทันควันพูดความจริงไม่หมด ส่วนคณะทำงานเคาะข้อมูลยามะเร็ง 3 รายการใหม่ เผย 5 ปีประหยัดงบชาติร่วม 4 พันล้านบาท
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่าการล่ารายชื่อถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ขณะนี้มีผู้ที่ร่วมลงรายชื่อ ตั้งแต่วันที่ 6 -7 มี.ค.จำนวน 1,000 รายชื่อแล้ว โดยวานนี้(7 มี.ค.)ตลอดทั้งวันมีผู้มาลงรายชื่อที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกว่า 100 คน นอกจากนี้ยังไม่รวมที่มีการเปิดตู้ปณ.เพื่อให้ส่งรายชื่อที่ร่วมถอดถอน ขณะเดียวกันในวันที่ 10 มี.ค.ตั้งแต่เวลา 14.00 น.จะให้มีการตั้งโต๊ะที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้มีผู้ติดต่อให้ไปตั้งโต๊ะที่โรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งจะต้องขออนุญาตผู้บริหาร รวมถึงมีเครือข่ายประชาชนในจังหวัดต่างๆ 5 จังหวัดร่วมล่ารายชื่อด้วย อาทิ นครปฐม กาญจนบุรี ชลบุรี มหาสารคาม ขอนแก่น นอกจากนี้มีการจัดให้ความรู้เกี่ยวกับซีแอลที่จ.เชียงใหม่และจ.สงขลาด้วย
**ระดมหมอเชียร์ให้อยู่นานๆ
วานนี้ (7 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่มีการแจ้งว่าจะมีการแถลงข่าวด่วน เวลา 10.00 น. ทำให้มีผู้สื่อข่าวจำนวนมากเตรียมรอทำข่าวอย่างคึกคัก โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีการชี้แจงเรื่องการโยกย้าย นพ.พงศ์เทพให้มาทำงานหน้าห้องนั้น
แต่ปรากฏว่า เมื่อเวลา 11.00น. มีตัวแทนชมรมโรงพยาบาลชุมชน ตัวแทนสมาคมรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งวิทยา รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 7 คนเดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้เพื่อให้กำลังใจนายไชยา สะสมทรัพย์
ทั้งนี้ นายไชยากล่าวว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีแพทย์มาจากต่างจังหวัดมาให้กำลังใจตนเอง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มแพทย์มาจากชนบทเช่นกัน แต่ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจ การพูดคุยวันนี้เพื่อปัญหาในสธ. และความต้องการของกลุ่มแพทย์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในฐานะผู้บังคับบัญชาอะไรที่ไม่สบายใจก็สามารถจับเข่าคุยกันได้ โดยพร้อมที่จะรับฟังปัญหาเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น
ส่วนโยกย้ายนพ.พงศ์เทพนั้น นายไชยาให้สัมภาษณ์สั้นๆว่า คงไม่ย้ายแล้ว เพราะท่านเป็นหมอไม่ใช่เป็นเสมียน
นพ.ศิววงศ์ เหมือนละมัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางเลน จ.นครปฐม กล่าวว่า ตนดูแล้วรัฐมนตรีมีความตั้งใจในการทำงาน จึงขอร้องให้โอกาสในการทำงานก่อน เพราะยังไม่ได้ทำงานเลย ซึ่งนโยบายของรัฐมนตรีก็ให้การดูแลทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มีความเป็นห่วงแพทย์พยาบาล มีแนวทางที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับพวกเราที่ทำงานในห้องฉุกเฉิน รวมทั้งการผลักดันให้หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ซี 7 ซี8 ซึ่งคนกลุ่มนี้ทำงานหนักมาก รวมถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ ดังนั้นจึงอยากให้ท่านอยู่ในตำแหน่งนานๆ
ด้านนพ.ประทีป ลิ่มประสาน ประธานผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน กล่าวว่า ขอแสดงความยินดี กับรัฐมนตรีในการเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งอยากให้รัฐมนตรีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรรวมถึงสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เพราะเท่าที่ตนทำงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน 30 ปี มองเห็นว่าที่ผ่านมา แพทย์พยาบาลทำงานหนักมาก
**ขอ 2,000 ล.ซื้อเครื่องฉายรังสีแจก
จากนั้นนายไชยาได้เปิดแถลงข่าวโดยกล่าวว่า โรคมะเร็ง 1 ใน 3 รักษาหายขาด อีก 1 ใน 3 ป้องกันได้ โดยวิธีรักษาโรงมะเร็งที่สำคัญและได้ผลมากที่สุดคือ การผ่าตัดและการฉายแสง หากรักษาในระยะที่ 1-2 ซึ่งโรคยังไม่ลุกลามมีโอกาสหายขาด ส่วนการกินยานั้นไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เป็นเพียงการช่วยเสริมให้การรักษาได้ผลมากขึ้น
“หากไม่มีอุบัติเหตุทางการเมือง ผมสามารถอยู่ที่สธ.ต่อไป จะเสนอโครงการซื้อเครื่องฉายรังสีให้โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ เพราะเป็นทางเลือกที่ดี โดยจะรีบเร่งนำเสนอเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของสธ. เสนอในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้ ถือว่า 5 ปี จำนวนงบประมาณ 2 พันล้านบาทไม่มาก เพราะการทำซีแอลยาก็ใช้งบประมาณดังกล่าวเช่นกัน”นายไชยากล่าว
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการทำซีแอลปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดสธ.และนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ.หรือมิสเตอร์ซีแอลดำเนินการต่อไป แต่ถ้าหากราคายาของบริษัทต้นตำรับลดจาก 100 บาทเหลือ 20-30 บาท ขณะที่ยาสามัญจากประเทศอินเดียมีราคา 10 บาท ก็จะเชิญเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็ง องค์กรพัฒนาเอกชนมาตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ยาจากแหล่งใด
ทั้งนี้ นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์ นายกสมาคมรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่สธ.ประกาศซีแอลยารักษาโรคมะเร็ง 4 รายการ ทั้งหมดถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดหมด เพราะจริงๆ แล้วทำซีแอลก็ไม่สามารถรักษาโรคได้จริง เพราะหากป่วยระยะ1-3 สามารถผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีสามารถทำให้หายขาดได้ มีเฉพาะผู้ป่วยระยะที่ 4 เท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ยา และผู้ป่วยบางรายในระยะนี้เท่านั้นที่ต้องใช้ยา 4 รายาที่ทำซีแอล ซึ่งมีโอกาสที่จะหายเพิ่มอีก 5 %
“ผมอ่านข่าวเรื่องซีแอลแล้วเศร้าใจ เพราะผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมดก็เสียชีวิต ทั้งนี้เงินพันล้านบาทสำหรับการทำซีแอลยามะเร็งไปใช้ในการรักษาใครก็ไม่รู้ แต่ผมขอ 2พันล้านบาทใช้เวลา 5 ปี ที่จะดำเนินการให้โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศกว่า 25 แห่งมีเครื่องฉายรังสีครบทั้งประเทศ”นพ.ยงยุทธ กล่าว
**หมอตุลย์สวนพูดความจริงไม่หมด
ขณะที่ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หน่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาทางนรีเวช หนึ่งในคณะทำงานสรุปข้อมูลยามะเร็ง 4 รายการที่ทำซีแอล กล่าวว่า การให้ข้อมูลว่าการใช้ยารักษาโรคมะเร็งกับผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะสุดท้ายจะไม่ได้ผล เมื่อเทียบกับการฉายรังสีกับผู้ป่วยระยะ1-3 ไม่ได้นั้น เป็นความจริงในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง 100% เพราะรักษา เนื่องจากการตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดจากโรคก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง และยายังคงจำเป็นต่อการรักษาโรคมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็งก็มีวิธีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป การให้ข้อมูลว่าการฉายรังสีเป็นเรื่องที่ดีนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
“ขอยืนยันว่ายา 4 รายการนี้แม้ว่าผู้ป่วยจะมีเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน แต่เวลาที่เหลืออยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตายอย่างมีศักดิ์ศรี ตายอย่างมีความสุข จากเดิมที่หมดหวังว่าป่วยแล้วต้องไปวัด ดอกไม้จันเท่านั้น จาก7 วันถึง3เดือนเป็น6 เดือน -1 ปี การพูดเรื่องการฉายรังสีว่าเป็นสิ่งสำคัญกว่ายานั้น ถ้าคนไม่รู้พูดให้คนไม่รู้ฟังก็พอมั่วๆกันไปได้ ซึ่งซีแอลไม่ได้ทำเปรอะไปหมด เราทำเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ยอมรับว่าทำให้ผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่หากใครไม่เป็นไม่รู้ว่าเกิดความทุกข์เพียงใด ”นพ.ตุลย์ กล่าว
**หมักบอกแค่ลองของ รธน.
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่ภาคประชาชนรวบรวมรายชื่อเพื่อขอปลดนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ.ว่า รัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ก่อนต้อง 5 หมื่นชื่อ เดี๋ยวนี้ใช้ 2 หมื่นชื่อ ถ้าต่อเหลือ 5 พันยุ่งเลย เอาให้เขานับจำนวนดูก่อน เขาก็ทดลองรัฐธรรมนูญ
ส่วนเรื่องซีแอลนั้น นายสมัครกล่าวว่ายังไม่ได้ดำเนินการ ยังไม่ได้ทำ ขอให้ใจเย็นสักนิดหนึ่ง ดูก่อนว่าอะไรเป็นอะไร ขณะนี้รัฐมนตรีไชยาเลวทรามต่ำช้าไปแล้ว โดนหาว่าไปหากินกับบริษัทยาไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ถ้าคุณเป็นรัฐมนตรีไชยา คุณจะรู้สึกอย่างไร ถามจริงๆ
เมื่อถามว่า การโยกย้ายในสธ. จะมีผลต่อการบริหารงานหรือไม่ เพราะขณะนี้ดูเหมือนเป็นการตอบโต้ โดยเฉพาะการย้าย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้มาทำงานหน้าห้องของนายไชยา ทั้งที่รัฐมนตรีไม่มีอำนาจสั่งย้ายข้าราชการระดับซี 8 นายสมัคร กล่าวว่า อันนี้ตนจะไปดูว่าเกิดอะไร เพราะที่ผ่านมาอ่านแต่ข่าว รัฐมนตรีก็ไม่ได้เจอหน้า
"ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็ตลกดี ผมเจอก็จะบอกให้ว่าไม่ใช่หน้าที่รัฐมนตรี ย้ายซี 8 เป็นอำนาจปลัดกระทรวง ถูกไหม" นายสมัครกล่าว
**สรุปทำ CL 3ยามะเร็งเซฟ 4 พันล้าน
วันเดียวกันในการประชุมคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศใช้ซีแอลได้สรุปขั้นสุดท้ายก่อนเสนอสธ.โดยมีตัวแทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตัวแทนจากสถาบันมะเร็ง โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครือข่ายผู้ป่วย มูลนิธิผู้บริโภค ร่วมกันหาข้อสรุปจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องใช้ยามะเร็ง 4 รายการ เพื่อเสนอ สธ.พิจารณาขั้นสุดท้าย
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ในฐานะรักษาการเลขาธิการ สปสช.กล่าวภายหลังการประชุมหารือคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิบัตรว่า ที่ประชุมได้สรุปยารักษาโรคมะเร็ง 3 รายการ คือ ยารักษามะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล ยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เลทโทรโซล และ ยารักษาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ โดยมีการสรุปผลและนำเสนอตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ.ในฐานะมิสเตอร์ซีแอล ได้ทำหนังสือทักท้วงให้คณะทำงานสรุปข้อมูลโดยใช้ตัวเลขราคายาที่มีการต่อรองราคาแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลก่อนการเจรจา
ทั้งนี้ ยามะเร็ง 3 รายการ เมื่อคำนวณระยะเวลา 5 ปี ราคาบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรก่อนต่อรองจะอยู่ที่ 3,746 -9,376 ล้านบาท ราคาหลังต่อรองที่เสนอกระทรวงฯ จำนวน 2,409-4,625 ล้านบาท ซึ่งจะประหยัดได้ 1,337-4,752 ล้านบาท แต่หากทำซีแอลโดยซื้อจากบริษัทอินเดีย เมื่อรวม 5 ปีมีมูลค่ารวมในการซื้อเพียง 321-909 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทียบกับยาเจ้าของสิทธิบัตรที่ต่อรองลง มาแล้วเทียบกับราคา ที่ทำ CL จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ 2,088-3,748 ล้านบาท ทั้งนี้ ข้อสรุปที่ได้จากคณะทำงานฯในครั้งนี้จะนำเสนอสธ.พิจารณา
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่าการล่ารายชื่อถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ขณะนี้มีผู้ที่ร่วมลงรายชื่อ ตั้งแต่วันที่ 6 -7 มี.ค.จำนวน 1,000 รายชื่อแล้ว โดยวานนี้(7 มี.ค.)ตลอดทั้งวันมีผู้มาลงรายชื่อที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกว่า 100 คน นอกจากนี้ยังไม่รวมที่มีการเปิดตู้ปณ.เพื่อให้ส่งรายชื่อที่ร่วมถอดถอน ขณะเดียวกันในวันที่ 10 มี.ค.ตั้งแต่เวลา 14.00 น.จะให้มีการตั้งโต๊ะที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้มีผู้ติดต่อให้ไปตั้งโต๊ะที่โรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งจะต้องขออนุญาตผู้บริหาร รวมถึงมีเครือข่ายประชาชนในจังหวัดต่างๆ 5 จังหวัดร่วมล่ารายชื่อด้วย อาทิ นครปฐม กาญจนบุรี ชลบุรี มหาสารคาม ขอนแก่น นอกจากนี้มีการจัดให้ความรู้เกี่ยวกับซีแอลที่จ.เชียงใหม่และจ.สงขลาด้วย
**ระดมหมอเชียร์ให้อยู่นานๆ
วานนี้ (7 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่มีการแจ้งว่าจะมีการแถลงข่าวด่วน เวลา 10.00 น. ทำให้มีผู้สื่อข่าวจำนวนมากเตรียมรอทำข่าวอย่างคึกคัก โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีการชี้แจงเรื่องการโยกย้าย นพ.พงศ์เทพให้มาทำงานหน้าห้องนั้น
แต่ปรากฏว่า เมื่อเวลา 11.00น. มีตัวแทนชมรมโรงพยาบาลชุมชน ตัวแทนสมาคมรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งวิทยา รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 7 คนเดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้เพื่อให้กำลังใจนายไชยา สะสมทรัพย์
ทั้งนี้ นายไชยากล่าวว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีแพทย์มาจากต่างจังหวัดมาให้กำลังใจตนเอง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มแพทย์มาจากชนบทเช่นกัน แต่ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจ การพูดคุยวันนี้เพื่อปัญหาในสธ. และความต้องการของกลุ่มแพทย์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในฐานะผู้บังคับบัญชาอะไรที่ไม่สบายใจก็สามารถจับเข่าคุยกันได้ โดยพร้อมที่จะรับฟังปัญหาเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น
ส่วนโยกย้ายนพ.พงศ์เทพนั้น นายไชยาให้สัมภาษณ์สั้นๆว่า คงไม่ย้ายแล้ว เพราะท่านเป็นหมอไม่ใช่เป็นเสมียน
นพ.ศิววงศ์ เหมือนละมัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางเลน จ.นครปฐม กล่าวว่า ตนดูแล้วรัฐมนตรีมีความตั้งใจในการทำงาน จึงขอร้องให้โอกาสในการทำงานก่อน เพราะยังไม่ได้ทำงานเลย ซึ่งนโยบายของรัฐมนตรีก็ให้การดูแลทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มีความเป็นห่วงแพทย์พยาบาล มีแนวทางที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับพวกเราที่ทำงานในห้องฉุกเฉิน รวมทั้งการผลักดันให้หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ซี 7 ซี8 ซึ่งคนกลุ่มนี้ทำงานหนักมาก รวมถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ ดังนั้นจึงอยากให้ท่านอยู่ในตำแหน่งนานๆ
ด้านนพ.ประทีป ลิ่มประสาน ประธานผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน กล่าวว่า ขอแสดงความยินดี กับรัฐมนตรีในการเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งอยากให้รัฐมนตรีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรรวมถึงสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เพราะเท่าที่ตนทำงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน 30 ปี มองเห็นว่าที่ผ่านมา แพทย์พยาบาลทำงานหนักมาก
**ขอ 2,000 ล.ซื้อเครื่องฉายรังสีแจก
จากนั้นนายไชยาได้เปิดแถลงข่าวโดยกล่าวว่า โรคมะเร็ง 1 ใน 3 รักษาหายขาด อีก 1 ใน 3 ป้องกันได้ โดยวิธีรักษาโรงมะเร็งที่สำคัญและได้ผลมากที่สุดคือ การผ่าตัดและการฉายแสง หากรักษาในระยะที่ 1-2 ซึ่งโรคยังไม่ลุกลามมีโอกาสหายขาด ส่วนการกินยานั้นไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เป็นเพียงการช่วยเสริมให้การรักษาได้ผลมากขึ้น
“หากไม่มีอุบัติเหตุทางการเมือง ผมสามารถอยู่ที่สธ.ต่อไป จะเสนอโครงการซื้อเครื่องฉายรังสีให้โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ เพราะเป็นทางเลือกที่ดี โดยจะรีบเร่งนำเสนอเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของสธ. เสนอในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้ ถือว่า 5 ปี จำนวนงบประมาณ 2 พันล้านบาทไม่มาก เพราะการทำซีแอลยาก็ใช้งบประมาณดังกล่าวเช่นกัน”นายไชยากล่าว
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการทำซีแอลปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดสธ.และนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ.หรือมิสเตอร์ซีแอลดำเนินการต่อไป แต่ถ้าหากราคายาของบริษัทต้นตำรับลดจาก 100 บาทเหลือ 20-30 บาท ขณะที่ยาสามัญจากประเทศอินเดียมีราคา 10 บาท ก็จะเชิญเครือข่ายผู้ป่วยโรคมะเร็ง องค์กรพัฒนาเอกชนมาตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ยาจากแหล่งใด
ทั้งนี้ นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์ นายกสมาคมรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่สธ.ประกาศซีแอลยารักษาโรคมะเร็ง 4 รายการ ทั้งหมดถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดหมด เพราะจริงๆ แล้วทำซีแอลก็ไม่สามารถรักษาโรคได้จริง เพราะหากป่วยระยะ1-3 สามารถผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีสามารถทำให้หายขาดได้ มีเฉพาะผู้ป่วยระยะที่ 4 เท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ยา และผู้ป่วยบางรายในระยะนี้เท่านั้นที่ต้องใช้ยา 4 รายาที่ทำซีแอล ซึ่งมีโอกาสที่จะหายเพิ่มอีก 5 %
“ผมอ่านข่าวเรื่องซีแอลแล้วเศร้าใจ เพราะผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมดก็เสียชีวิต ทั้งนี้เงินพันล้านบาทสำหรับการทำซีแอลยามะเร็งไปใช้ในการรักษาใครก็ไม่รู้ แต่ผมขอ 2พันล้านบาทใช้เวลา 5 ปี ที่จะดำเนินการให้โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศกว่า 25 แห่งมีเครื่องฉายรังสีครบทั้งประเทศ”นพ.ยงยุทธ กล่าว
**หมอตุลย์สวนพูดความจริงไม่หมด
ขณะที่ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา หน่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาทางนรีเวช หนึ่งในคณะทำงานสรุปข้อมูลยามะเร็ง 4 รายการที่ทำซีแอล กล่าวว่า การให้ข้อมูลว่าการใช้ยารักษาโรคมะเร็งกับผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะสุดท้ายจะไม่ได้ผล เมื่อเทียบกับการฉายรังสีกับผู้ป่วยระยะ1-3 ไม่ได้นั้น เป็นความจริงในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง 100% เพราะรักษา เนื่องจากการตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดจากโรคก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง และยายังคงจำเป็นต่อการรักษาโรคมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็งก็มีวิธีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป การให้ข้อมูลว่าการฉายรังสีเป็นเรื่องที่ดีนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
“ขอยืนยันว่ายา 4 รายการนี้แม้ว่าผู้ป่วยจะมีเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน แต่เวลาที่เหลืออยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตายอย่างมีศักดิ์ศรี ตายอย่างมีความสุข จากเดิมที่หมดหวังว่าป่วยแล้วต้องไปวัด ดอกไม้จันเท่านั้น จาก7 วันถึง3เดือนเป็น6 เดือน -1 ปี การพูดเรื่องการฉายรังสีว่าเป็นสิ่งสำคัญกว่ายานั้น ถ้าคนไม่รู้พูดให้คนไม่รู้ฟังก็พอมั่วๆกันไปได้ ซึ่งซีแอลไม่ได้ทำเปรอะไปหมด เราทำเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ยอมรับว่าทำให้ผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่หากใครไม่เป็นไม่รู้ว่าเกิดความทุกข์เพียงใด ”นพ.ตุลย์ กล่าว
**หมักบอกแค่ลองของ รธน.
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่ภาคประชาชนรวบรวมรายชื่อเพื่อขอปลดนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ.ว่า รัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ก่อนต้อง 5 หมื่นชื่อ เดี๋ยวนี้ใช้ 2 หมื่นชื่อ ถ้าต่อเหลือ 5 พันยุ่งเลย เอาให้เขานับจำนวนดูก่อน เขาก็ทดลองรัฐธรรมนูญ
ส่วนเรื่องซีแอลนั้น นายสมัครกล่าวว่ายังไม่ได้ดำเนินการ ยังไม่ได้ทำ ขอให้ใจเย็นสักนิดหนึ่ง ดูก่อนว่าอะไรเป็นอะไร ขณะนี้รัฐมนตรีไชยาเลวทรามต่ำช้าไปแล้ว โดนหาว่าไปหากินกับบริษัทยาไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ถ้าคุณเป็นรัฐมนตรีไชยา คุณจะรู้สึกอย่างไร ถามจริงๆ
เมื่อถามว่า การโยกย้ายในสธ. จะมีผลต่อการบริหารงานหรือไม่ เพราะขณะนี้ดูเหมือนเป็นการตอบโต้ โดยเฉพาะการย้าย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้มาทำงานหน้าห้องของนายไชยา ทั้งที่รัฐมนตรีไม่มีอำนาจสั่งย้ายข้าราชการระดับซี 8 นายสมัคร กล่าวว่า อันนี้ตนจะไปดูว่าเกิดอะไร เพราะที่ผ่านมาอ่านแต่ข่าว รัฐมนตรีก็ไม่ได้เจอหน้า
"ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็ตลกดี ผมเจอก็จะบอกให้ว่าไม่ใช่หน้าที่รัฐมนตรี ย้ายซี 8 เป็นอำนาจปลัดกระทรวง ถูกไหม" นายสมัครกล่าว
**สรุปทำ CL 3ยามะเร็งเซฟ 4 พันล้าน
วันเดียวกันในการประชุมคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศใช้ซีแอลได้สรุปขั้นสุดท้ายก่อนเสนอสธ.โดยมีตัวแทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตัวแทนจากสถาบันมะเร็ง โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครือข่ายผู้ป่วย มูลนิธิผู้บริโภค ร่วมกันหาข้อสรุปจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องใช้ยามะเร็ง 4 รายการ เพื่อเสนอ สธ.พิจารณาขั้นสุดท้าย
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ในฐานะรักษาการเลขาธิการ สปสช.กล่าวภายหลังการประชุมหารือคณะทำงานศึกษาข้อมูลยามะเร็งที่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิบัตรว่า ที่ประชุมได้สรุปยารักษาโรคมะเร็ง 3 รายการ คือ ยารักษามะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล ยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เลทโทรโซล และ ยารักษาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ โดยมีการสรุปผลและนำเสนอตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ.ในฐานะมิสเตอร์ซีแอล ได้ทำหนังสือทักท้วงให้คณะทำงานสรุปข้อมูลโดยใช้ตัวเลขราคายาที่มีการต่อรองราคาแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลก่อนการเจรจา
ทั้งนี้ ยามะเร็ง 3 รายการ เมื่อคำนวณระยะเวลา 5 ปี ราคาบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรก่อนต่อรองจะอยู่ที่ 3,746 -9,376 ล้านบาท ราคาหลังต่อรองที่เสนอกระทรวงฯ จำนวน 2,409-4,625 ล้านบาท ซึ่งจะประหยัดได้ 1,337-4,752 ล้านบาท แต่หากทำซีแอลโดยซื้อจากบริษัทอินเดีย เมื่อรวม 5 ปีมีมูลค่ารวมในการซื้อเพียง 321-909 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทียบกับยาเจ้าของสิทธิบัตรที่ต่อรองลง มาแล้วเทียบกับราคา ที่ทำ CL จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ 2,088-3,748 ล้านบาท ทั้งนี้ ข้อสรุปที่ได้จากคณะทำงานฯในครั้งนี้จะนำเสนอสธ.พิจารณา