“สุเมธ” จี้ “มีชัย” ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีนิสิต ผู้ปกครองเข้าร้องเรียน สกอ.ขอให้ปลดจากตำแหน่ง มมส.ส่วนจะให้ปลดไม่อยู่ในอำนาจของ สกอ.ด้าน “จุฬาฯ” ยังค้านนอกระบบต่อเนื่อง ส่งให้ผตุลาการรัฐธรรมนูญและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตีความ
นายสุเมธ แย้มนุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายคณาจารย์ นิสิต ผู้ปกครองและประชาชน จ.มหาสารคาม นำโดยนายวิญญู สะตะ นักศึกษาปริญญาเอกคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ขอให้ปลด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายกสภา มมส.ออกจากตำแหน่งนายกสภา มมส.เพราะใช้อำนาจหน้าที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแบบผูกขาด ว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว และจะขอให้นายก มมส.ชี้แจงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่างๆ ที่นิสิต ผู้ปกครองและประชาชนร้องเข้ามา
ส่วนเรื่องปลดออกจากตำแหน่งนายก มมส.นั้น สกอ.ไม่มีอำนาจ สำหรับกรณีที่ นายพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่ากระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.มบ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 126 นั้น เป็นเรื่องของผู้ร้องเรียนต้องดำเนินการยื่นเอง แต่ สกอ.จะรับเรื่องมาศึกษารายละเอียด โดยกระบวนการ ก็คงทำได้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญกำหนด
ด้าน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยังคงเดินหน้าคัดค้าน พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะส่งให้ตุลาการรัฐธรรมนูญและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตีความว่ารัฐธรรมนูญหรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียบเรียงประเด็นที่จะส่งให้ตีความ
ส่วนคุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ยินกระแสข่าวหรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คัดค้านเกิดขึ้น ส่วนถ้าจะส่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น เชื่อว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะ พ.ร.บ.จุฬาฯ ได้ประกาศใช้แล้ว ไม่สามารถตีความได้ อีกทั้งเนื้อหาดังกล่าวไม่ได้มีการขัดต่อรัฐธรรมนูญ
นายสุเมธ แย้มนุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายคณาจารย์ นิสิต ผู้ปกครองและประชาชน จ.มหาสารคาม นำโดยนายวิญญู สะตะ นักศึกษาปริญญาเอกคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ขอให้ปลด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายกสภา มมส.ออกจากตำแหน่งนายกสภา มมส.เพราะใช้อำนาจหน้าที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแบบผูกขาด ว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว และจะขอให้นายก มมส.ชี้แจงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่างๆ ที่นิสิต ผู้ปกครองและประชาชนร้องเข้ามา
ส่วนเรื่องปลดออกจากตำแหน่งนายก มมส.นั้น สกอ.ไม่มีอำนาจ สำหรับกรณีที่ นายพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่ากระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.มบ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 126 นั้น เป็นเรื่องของผู้ร้องเรียนต้องดำเนินการยื่นเอง แต่ สกอ.จะรับเรื่องมาศึกษารายละเอียด โดยกระบวนการ ก็คงทำได้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญกำหนด
ด้าน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยังคงเดินหน้าคัดค้าน พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะส่งให้ตุลาการรัฐธรรมนูญและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตีความว่ารัฐธรรมนูญหรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียบเรียงประเด็นที่จะส่งให้ตีความ
ส่วนคุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ยินกระแสข่าวหรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คัดค้านเกิดขึ้น ส่วนถ้าจะส่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น เชื่อว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะ พ.ร.บ.จุฬาฯ ได้ประกาศใช้แล้ว ไม่สามารถตีความได้ อีกทั้งเนื้อหาดังกล่าวไม่ได้มีการขัดต่อรัฐธรรมนูญ