“หมอตุลย์” บุกแพทยสภายื่นหนังสือร้องเรียน จี้ให้ตรวจสอบ พฤติกรรม “หมอเหวง” ทั้งเป็นแกนนำการชุมนุมหน้าบ้านสี่เสา-สนับสนุนผู้กระทำผิดต่อชีวิตสุขภาพ ชี้ เสื่อมเสียต่อวงการแพทย์ ระบุ ไม่ได้ต้องการให้ลงโทษรุนแรง แต่เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานสำหรับแพทย์ที่ออกมาพูดเรื่องการเมือง ด้าน เลขาธิการแพทยสภา รับเรื่องเตรียมพิจารณาว่ามีมูลความผิดจริงหรือไม่ เผย ถ้าผิดมีโทษตั้งแต่ตักเตือน-เพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ เผย หมอเหวง ส่งแฟกซ์ต่อว่า ไม่ให้ใช้คำนำหน้า นพ.
วันที่ 29 ก.ค.ที่แพทยสภา ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกแพทยสภา ได้เดินทางมายื่นหนังสือ เรื่อง ร้องเรียนให้สอบสวนพฤติกรรมของ นพ.เหวง โตจิราการ พร้อมได้นำข่าวเหตุการณ์การชุมนุมหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2550 และรายนามแพทย์ร่วมร้องเรียนให้สอบสวน 40 รายชื่อ โดยมี นพ.อำนาจ กุศลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
สำหรับหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าว ระบุว่า นพ.เหวง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของแพทยสภา ต้องพึงรักษาเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ หากข่าวการโทรศัพท์แสดงความยินดี กับกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งก่อเหตุความรุนแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความจริง แสดงว่า นพ.เหวง ให้การสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติทำร้ายประชาชน อันก่อให้เกิดความบาดเจ็บล้มตามของประชาชน ซึ่งเป็นการกระทำที่อุกอาจ ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ
ทั้งนี้ นพ.เหวง ยังเคยร่วมเป็นผู้นำในการก่อการชุมนุมประท้วงด้วยความรุนแรง ที่บริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ให้ลาออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งศาลออกหมายจับ นพ.เหวง และพวก ในคดีหมายเลขดำ ที่ พ.1526/2550 โดยศาลกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามผู้ต้องหาประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องของฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก พฤติกรรมเยี่ยงนี้ของ นพ.เหวง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำของ นพ.เหวง ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม และภายหลังยังให้การสนับสนุนผู้ที่กระทำผิดต่อชีวิต และสุขภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการของวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นแพทย์ นำความเสื่อมเสียมาสู่วงการแพทย์เป็นอย่างมาก
นพ.ตุลย์ กล่าวว่า การเดินทางมายื่นหนังสือในวันนี้ มาในฐานะสมาชิกแพทยสภาคนหนึ่ง ไม่ได้มาในนามของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะ นพ.เหวง ถือเป็นสมาชิกแพทยสภาเช่นกัน การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียกับแพทย์โดยรวม เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปกป้องหน้าที่ของแพทย์ไว้ การให้แพทยสภาตรวจสอบในเรื่องนี้ ถือเป็นกิจกรรมแพทย์ต่อแพทย์ ซึ่งผู้เป็นแพทย์ควรเคารพต่อกฎของแพทยสภา และจริยธรรมของวิชาชีพด้วย ไม่ได้ต้องการให้แพทยสภาลงโทษขั้นรุนแรง เพียงแต่ต้องการให้มีการตรวจสอบการกระทำเหล่านี้ว่า เหมาะสมหรือไม่ และควรมีการตักเตือนเพื่อให้เป็นบันทัดฐานต่อไป สำหรับแพทย์ที่จะออกมาพูดหรือดำเนินกิจการทางการเมือง
นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคงต้องใช้เวลาในการพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลความผิดมากน้อยเพียงใด และจะนำเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมเพื่อสอบสวนหรือไม่ โดยคณะกรรมการแพทยสภาจะมีวาระการประชุมทุกเดือน ซึ่งจะนำเรื่องนี้เข้าไปพิจารณาด้วย แต่จากการอ่านเอกสารเบื้องต้นคงยังไม่สามารถสรุปได้ทันที เพราะมีบางประเด็นอาจจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเชิญใครมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ส่วนขั้นตอนทั้งหมด คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ส่วนโทษที่จะได้รับมีตั้งแต่ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ ไปจนถึงพักใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตั้งแต่ 15 วัน - 2 ปี หรือ เพิกถอนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
“ไม่หนักใจอะไร เพราะแพทยสภาปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม และมีแบบแผนชัดเจนในการดำเนินการ รวมทั้งมีคณะกรรมการที่พิจารณาอย่ารอบคอบเป็นกลาง ซึ่งในช่วงเช้าวันเดียวกันได้รับทราบจาก นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ว่า นพ.เหวง ได้ส่งแฟ็กส์มาถึง โดยมีเนื้อหาลักษณะต่อว่า ที่มีการให้ข่าวว่าไม่ควรใช้คำนำหน้า ว่า นพ. สำหรับแพทย์ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแพทย์ด้วย” นพ.อำนาจ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการยื่นหนังสือดังกล่าวมี นพ.ตุลย์ เดินทางมายื่นหนังสือเพียงคนเดียว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.อ.นนทบุรี ประมาณ 10 นาย ได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพราะเกรงว่า กลุ่มพันธมิตรฯ จะเดินทางมาร่วมยื่นหนังสือดังกล่าวด้วย
วันที่ 29 ก.ค.ที่แพทยสภา ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกแพทยสภา ได้เดินทางมายื่นหนังสือ เรื่อง ร้องเรียนให้สอบสวนพฤติกรรมของ นพ.เหวง โตจิราการ พร้อมได้นำข่าวเหตุการณ์การชุมนุมหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2550 และรายนามแพทย์ร่วมร้องเรียนให้สอบสวน 40 รายชื่อ โดยมี นพ.อำนาจ กุศลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
สำหรับหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าว ระบุว่า นพ.เหวง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของแพทยสภา ต้องพึงรักษาเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ หากข่าวการโทรศัพท์แสดงความยินดี กับกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งก่อเหตุความรุนแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความจริง แสดงว่า นพ.เหวง ให้การสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติทำร้ายประชาชน อันก่อให้เกิดความบาดเจ็บล้มตามของประชาชน ซึ่งเป็นการกระทำที่อุกอาจ ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ
ทั้งนี้ นพ.เหวง ยังเคยร่วมเป็นผู้นำในการก่อการชุมนุมประท้วงด้วยความรุนแรง ที่บริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ให้ลาออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งศาลออกหมายจับ นพ.เหวง และพวก ในคดีหมายเลขดำ ที่ พ.1526/2550 โดยศาลกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามผู้ต้องหาประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องของฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก พฤติกรรมเยี่ยงนี้ของ นพ.เหวง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำของ นพ.เหวง ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม และภายหลังยังให้การสนับสนุนผู้ที่กระทำผิดต่อชีวิต และสุขภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการของวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นแพทย์ นำความเสื่อมเสียมาสู่วงการแพทย์เป็นอย่างมาก
นพ.ตุลย์ กล่าวว่า การเดินทางมายื่นหนังสือในวันนี้ มาในฐานะสมาชิกแพทยสภาคนหนึ่ง ไม่ได้มาในนามของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะ นพ.เหวง ถือเป็นสมาชิกแพทยสภาเช่นกัน การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียกับแพทย์โดยรวม เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปกป้องหน้าที่ของแพทย์ไว้ การให้แพทยสภาตรวจสอบในเรื่องนี้ ถือเป็นกิจกรรมแพทย์ต่อแพทย์ ซึ่งผู้เป็นแพทย์ควรเคารพต่อกฎของแพทยสภา และจริยธรรมของวิชาชีพด้วย ไม่ได้ต้องการให้แพทยสภาลงโทษขั้นรุนแรง เพียงแต่ต้องการให้มีการตรวจสอบการกระทำเหล่านี้ว่า เหมาะสมหรือไม่ และควรมีการตักเตือนเพื่อให้เป็นบันทัดฐานต่อไป สำหรับแพทย์ที่จะออกมาพูดหรือดำเนินกิจการทางการเมือง
นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคงต้องใช้เวลาในการพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลความผิดมากน้อยเพียงใด และจะนำเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมเพื่อสอบสวนหรือไม่ โดยคณะกรรมการแพทยสภาจะมีวาระการประชุมทุกเดือน ซึ่งจะนำเรื่องนี้เข้าไปพิจารณาด้วย แต่จากการอ่านเอกสารเบื้องต้นคงยังไม่สามารถสรุปได้ทันที เพราะมีบางประเด็นอาจจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เมื่อพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเชิญใครมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ส่วนขั้นตอนทั้งหมด คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ส่วนโทษที่จะได้รับมีตั้งแต่ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ ไปจนถึงพักใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตั้งแต่ 15 วัน - 2 ปี หรือ เพิกถอนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
“ไม่หนักใจอะไร เพราะแพทยสภาปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม และมีแบบแผนชัดเจนในการดำเนินการ รวมทั้งมีคณะกรรมการที่พิจารณาอย่ารอบคอบเป็นกลาง ซึ่งในช่วงเช้าวันเดียวกันได้รับทราบจาก นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ว่า นพ.เหวง ได้ส่งแฟ็กส์มาถึง โดยมีเนื้อหาลักษณะต่อว่า ที่มีการให้ข่าวว่าไม่ควรใช้คำนำหน้า ว่า นพ. สำหรับแพทย์ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแพทย์ด้วย” นพ.อำนาจ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการยื่นหนังสือดังกล่าวมี นพ.ตุลย์ เดินทางมายื่นหนังสือเพียงคนเดียว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.อ.นนทบุรี ประมาณ 10 นาย ได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพราะเกรงว่า กลุ่มพันธมิตรฯ จะเดินทางมาร่วมยื่นหนังสือดังกล่าวด้วย