ผู้จัดการรายวัน - นายกสมาคมโบรกฯ งงหลังต่างชาติกระหน่ำขายหุ้น ระบุเท่าที่รู้มีเพียง 2-3 กองทุนเท่านั้น เปรยอาจจะมีการขายเพิ่มอีกเร็วๆนี้ โดยยอดฝรั่งขายผ่านบล.ไทยพาณิชย์มากสุด ด้านสมาคมบล.เผยผลสำรวจนักวิเคราะห์คาดภายใน 1 เดือนค่าเงินบาทแข็งแตะ 30.80 บาท "สมบัติ" ระบุหุ้นไทยไม่ตอบรับยกเลิกมาตรการ30%-แผนกระตุ้นศก.เหตุรับรู้มานานแล้ว ขณะที่บล.ทรีนิตี้ คาดระยะสั้นดัชนีจ่อหลุด 800 จุด ยังเชื่อตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนระบุ 4 ปีที่ผ่านมารีเทิร์นแค่ 16%
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (5 มี.ค.) ตลาดหุ้นไทยยังถูกปกคลุมด้วยปัจจัยหลายเรื่องที่ยังไม่มีความชัดเจนโดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีทุจริตการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งจะมีการแถลงคำตัดสินในสัปดาห์หน้า รวมถึงการพิจารณาคดีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งอาจจะนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน
ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนทำให้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศเริ่มขายหุ้นที่ถือครองเพื่อเปลี่ยนไปถือครองเงินสดมากขึ้น ส่งผลทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยรวมถึงตลาดหุ้นทั่วเอเชียปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 824.98 จุด ลดลง 6.43 จุด หรือ 0.77% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 830.73 จุดและจุดต่ำสุดอยู่ที่ 823.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 18,345.41 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,539.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 48.83 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,588.12 ล้านบาท
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่าจากการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ถึงผลของการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยส่วนใหญ่ 80% เห็นด้วยในการยกเลิกมาตรการ 30% ขณะที่15% ไม่เห็นด้วย และอีก 5 %ไม่มีความเห็น
ทั้งนี้นักวิเคราะห์ 60% เห็นว่าการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ และจะมีเงินทุนไหลเข้ามากขึ้นจากบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นโดยมีนักวิเคราะห์ 30% เห็นว่าไม่มีผลใด ๆ หรือมีน้อยเนื่องจากมาตรการนี้ไม่ได้ใช้กับตลาดทุนโดยตรงอยู่แล้วและตลาดทุนอาจได้รับผลดีบ้างในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น แต่ผลที่ได้ไม่มากนัก
สำหรับการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนนักวิเคราะห์ 65% คาดว่าใน 4 สัปดาห์ข้างหน้า จะแข็งค่าขึ้นโดยมีอัตราเฉลี่ยที่ระดับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีนักวิเคราะห์เพียง 10% ที่ประเมินว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 31.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากได้รับผลดีจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% และกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศรวมทั้งโครงการลงทุนของภาครัฐ เช่น กลุ่มธนาคาร และพลังงาน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มส่งออก ขณะที่มีนักวิเคราะห์บางรายเตือนสถานการณ์โดยรวมตลาดหุ้นว่ายังไม่น่าไว้วางใจและอาจปรับฐานลงในระยะสั้น
นายสมบัติ กล่าวว่าส่วนตัวมองว่าการที่ดัชนีหุ้นไทยไม่ตอบรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการยกเลิก30% เนื่องจากเป็นไปตามคาดประกอบกับตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นรับข่าวก่อนหน้านี้แล้วซึ่งจากนี้ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ เช่น การดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลดอกเบี้ย โดยในขณะนี้ยังไม่มีการชี้ชัดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจากนี้ดัชนีอาจจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 800 จุดแต่จะต่ำกว่า 800จุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจอเมริกาปัญหาซัพไพรม์และปัจจัยการเมืองในประเทศ
โบรกฯงงกองทุนนอกขายทิ้ง
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวว่า แรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงสัปดาห์นี้เป็นการขายจากสถาบันเพียง 2-3 เท่านั้นแต่เป็นการขายค่อนข้างมากซึ่งยังไม่ทราบเหตุผลในการขายในครั้งนี้ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนสถาบันจากต่างประเทศอาจจะมีการขายหุ้นที่ถือครองในตลาดหุ้นไทยออกมาอีก ซึ่งเหตุผลการขายอาจเป็นแค่ความต้องการที่จะโยกย้ายเงินลงทุนเท่านั้น
"ยอดขายสุทธิของต่างชาติที่ออกมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเท่าที่สอบถามเป็นการขายจากนักลงทุนเพียง 2-3 รายเท่านั้นแต่ในอนาคตอาจจะมีการขายเพิ่มมาอีกหรือไม่ยังตอบยาก และเหตุผลในการขายออกมาในครั้งนี้ยังไม่ชัดเจนว่าทำไม อาจจะต้องการโยกเงินไปลงทุนอย่างอื่นหรือในตลาดหุ้นอื่นก็ได้"มล.ทองมกุฎกล่าว
ฝรั่งขายทิ้งผ่านบล.ไทยพาณิชย์
แหล่งข่าวบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ยอดการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่ผ่านมาเป็นการขายผ่านบล.ไทยพาณิชย์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนต่างชาติเป็นหลักโดยจากการขายที่มีมูลค่าค่อนข้างสูงทำให้มาร์เกตแชร์ของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เชื่อว่าในเร็วๆนี้นักลงทุนต่างขาติจะยังมีการขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยโดยเฉพาะความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาความผิดที่อาจจะนำไปสู่การยุบพรรค รวมถึงประเด็นการพิจารณาการทำผิดกฎหมายเรื่องตั้งของรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
นอกจากนี้ประเด็นลบจากต่างประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯซึ่งแม้ว่าเรื่องดังกล่าวนักลงทุนจะรับรู้มาค่อนข้างนานแล้ว แต่ปัญหาที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดทำให้เป็นแรงกดดันนักลงทุนอาจจะชะลอการลงทุนโดยเน้นการถือครองเงินสดมากขึ้น
สำหรับส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามาร์เกตแชร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากโดยในวันที่ 3 มี.ค. บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CSปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.30%, ขณะที่บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.9%, บล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) อยู่ที่ 2.45% โดยหากเทียบกับมาร์เกตแชร์ตั้งแต่ 2 ม.ค.-4 มี.ค. 51 พบว่า CS มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 5.17% , UBS มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 3.6% และ CLSA มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 2.9%
นอกจากนี้จากการตรวจสอบยอดการขายสุทธิในช่วงวันที่ 4 มี.ค. 51 พบว่าบล.ไทยพาณิชย์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิมากถึง 4,103 ล้านบาท และมียอดซื้อสุทธิเพียง 1,086 ล้านบาท ขณะที่เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 51 มียอดขายสุทธิ 2,733 ล้านบาท และมียอดซื้อสุทธิ 1,424 ล้านบาท
**"ทรีนิตี้"คาดSETจ่อหลุด800จุด
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุว่า หลังธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศยกเลิกมาตรการ 30% คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 780 - 860 จุด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน โดยในระยะสั้นมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงแตะระดับ 800 จุดอีกครั้งท เนื่องมีบริษัทจดทะเบียนประกาศจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นตัวสนับสนุนความเสี่ยงขาลงอยู่
ทั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังไม่ขายสุทธิออกมาไม่มาก เนื่องจากในช่วงเดือนที่ผ่านมาพึ่งเพิ่มการลงทุนในหุ้นบ้านเรา โดยกองทุนบำนาญของต่างประเทศ ในขณะที่นักลงทุนสถาบันจะยังคงถือหุ้นอยู่จนถึงช่วงเวลาของการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากเงินปันผลที่ให้กับนักลงทุนสถาบันไม่ถูกเก็บภาษี
นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากตลาดหุ้นประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทย เนื่องจากช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา หุ้นฟิลิปปินส์ให้ผลตอบแทน 250% และหุ้นอินโดนีเซีย ให้ผลตอบแทน 150% ในขณะที่ประเทศไทยให้ผลตอบแทนแค่ 16% เท่านั้น ทำให้คาดการณ์ว่า SET มีโอกาสทดสอบ 900 จุด ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าจะมีการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME ขณะที่กลุ่มธนาคาร(เช่าซื้อ) มีแนวโน้มว่าความต้องการในการซื้อรถยนต์จากภาคประชาชนจะเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่ายอดการซื้อรถยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน 5%
ส่วนกลุ่มที่ยังไม่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เนื่องจากแนวโน้มอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยดีนัก แม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะยังคงโครงการ Mega Project แต่อาจจะมีการอนุมัติโครงการล่าช้าเนื่องจากเป็นรัฐบาลผสม รวมถึงกลุ่มพลังงาน ซึ่งแม้ปีนี้จะมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี แต่ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการแทรกแซงราคาน้ำมันจากรัฐบาล ค่าเงินบาท และความผันผวนในช่วงสั้นๆค่อนข้างมาก
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (5 มี.ค.) ตลาดหุ้นไทยยังถูกปกคลุมด้วยปัจจัยหลายเรื่องที่ยังไม่มีความชัดเจนโดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีทุจริตการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งจะมีการแถลงคำตัดสินในสัปดาห์หน้า รวมถึงการพิจารณาคดีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งอาจจะนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน
ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนทำให้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศเริ่มขายหุ้นที่ถือครองเพื่อเปลี่ยนไปถือครองเงินสดมากขึ้น ส่งผลทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยรวมถึงตลาดหุ้นทั่วเอเชียปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 824.98 จุด ลดลง 6.43 จุด หรือ 0.77% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 830.73 จุดและจุดต่ำสุดอยู่ที่ 823.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 18,345.41 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,539.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 48.83 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,588.12 ล้านบาท
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่าจากการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ถึงผลของการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยส่วนใหญ่ 80% เห็นด้วยในการยกเลิกมาตรการ 30% ขณะที่15% ไม่เห็นด้วย และอีก 5 %ไม่มีความเห็น
ทั้งนี้นักวิเคราะห์ 60% เห็นว่าการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ และจะมีเงินทุนไหลเข้ามากขึ้นจากบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นโดยมีนักวิเคราะห์ 30% เห็นว่าไม่มีผลใด ๆ หรือมีน้อยเนื่องจากมาตรการนี้ไม่ได้ใช้กับตลาดทุนโดยตรงอยู่แล้วและตลาดทุนอาจได้รับผลดีบ้างในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น แต่ผลที่ได้ไม่มากนัก
สำหรับการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนนักวิเคราะห์ 65% คาดว่าใน 4 สัปดาห์ข้างหน้า จะแข็งค่าขึ้นโดยมีอัตราเฉลี่ยที่ระดับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีนักวิเคราะห์เพียง 10% ที่ประเมินว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 31.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากได้รับผลดีจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% และกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศรวมทั้งโครงการลงทุนของภาครัฐ เช่น กลุ่มธนาคาร และพลังงาน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มส่งออก ขณะที่มีนักวิเคราะห์บางรายเตือนสถานการณ์โดยรวมตลาดหุ้นว่ายังไม่น่าไว้วางใจและอาจปรับฐานลงในระยะสั้น
นายสมบัติ กล่าวว่าส่วนตัวมองว่าการที่ดัชนีหุ้นไทยไม่ตอบรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการยกเลิก30% เนื่องจากเป็นไปตามคาดประกอบกับตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นรับข่าวก่อนหน้านี้แล้วซึ่งจากนี้ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มได้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ เช่น การดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลดอกเบี้ย โดยในขณะนี้ยังไม่มีการชี้ชัดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจากนี้ดัชนีอาจจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 800 จุดแต่จะต่ำกว่า 800จุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจอเมริกาปัญหาซัพไพรม์และปัจจัยการเมืองในประเทศ
โบรกฯงงกองทุนนอกขายทิ้ง
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวว่า แรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงสัปดาห์นี้เป็นการขายจากสถาบันเพียง 2-3 เท่านั้นแต่เป็นการขายค่อนข้างมากซึ่งยังไม่ทราบเหตุผลในการขายในครั้งนี้ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนสถาบันจากต่างประเทศอาจจะมีการขายหุ้นที่ถือครองในตลาดหุ้นไทยออกมาอีก ซึ่งเหตุผลการขายอาจเป็นแค่ความต้องการที่จะโยกย้ายเงินลงทุนเท่านั้น
"ยอดขายสุทธิของต่างชาติที่ออกมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเท่าที่สอบถามเป็นการขายจากนักลงทุนเพียง 2-3 รายเท่านั้นแต่ในอนาคตอาจจะมีการขายเพิ่มมาอีกหรือไม่ยังตอบยาก และเหตุผลในการขายออกมาในครั้งนี้ยังไม่ชัดเจนว่าทำไม อาจจะต้องการโยกเงินไปลงทุนอย่างอื่นหรือในตลาดหุ้นอื่นก็ได้"มล.ทองมกุฎกล่าว
ฝรั่งขายทิ้งผ่านบล.ไทยพาณิชย์
แหล่งข่าวบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ยอดการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่ผ่านมาเป็นการขายผ่านบล.ไทยพาณิชย์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนต่างชาติเป็นหลักโดยจากการขายที่มีมูลค่าค่อนข้างสูงทำให้มาร์เกตแชร์ของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เชื่อว่าในเร็วๆนี้นักลงทุนต่างขาติจะยังมีการขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยโดยเฉพาะความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาความผิดที่อาจจะนำไปสู่การยุบพรรค รวมถึงประเด็นการพิจารณาการทำผิดกฎหมายเรื่องตั้งของรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
นอกจากนี้ประเด็นลบจากต่างประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯซึ่งแม้ว่าเรื่องดังกล่าวนักลงทุนจะรับรู้มาค่อนข้างนานแล้ว แต่ปัญหาที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดทำให้เป็นแรงกดดันนักลงทุนอาจจะชะลอการลงทุนโดยเน้นการถือครองเงินสดมากขึ้น
สำหรับส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามาร์เกตแชร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากโดยในวันที่ 3 มี.ค. บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CSปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.30%, ขณะที่บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.9%, บล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) อยู่ที่ 2.45% โดยหากเทียบกับมาร์เกตแชร์ตั้งแต่ 2 ม.ค.-4 มี.ค. 51 พบว่า CS มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 5.17% , UBS มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 3.6% และ CLSA มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 2.9%
นอกจากนี้จากการตรวจสอบยอดการขายสุทธิในช่วงวันที่ 4 มี.ค. 51 พบว่าบล.ไทยพาณิชย์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิมากถึง 4,103 ล้านบาท และมียอดซื้อสุทธิเพียง 1,086 ล้านบาท ขณะที่เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 51 มียอดขายสุทธิ 2,733 ล้านบาท และมียอดซื้อสุทธิ 1,424 ล้านบาท
**"ทรีนิตี้"คาดSETจ่อหลุด800จุด
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุว่า หลังธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศยกเลิกมาตรการ 30% คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 780 - 860 จุด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน โดยในระยะสั้นมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงแตะระดับ 800 จุดอีกครั้งท เนื่องมีบริษัทจดทะเบียนประกาศจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นตัวสนับสนุนความเสี่ยงขาลงอยู่
ทั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังไม่ขายสุทธิออกมาไม่มาก เนื่องจากในช่วงเดือนที่ผ่านมาพึ่งเพิ่มการลงทุนในหุ้นบ้านเรา โดยกองทุนบำนาญของต่างประเทศ ในขณะที่นักลงทุนสถาบันจะยังคงถือหุ้นอยู่จนถึงช่วงเวลาของการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากเงินปันผลที่ให้กับนักลงทุนสถาบันไม่ถูกเก็บภาษี
นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากตลาดหุ้นประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทย เนื่องจากช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา หุ้นฟิลิปปินส์ให้ผลตอบแทน 250% และหุ้นอินโดนีเซีย ให้ผลตอบแทน 150% ในขณะที่ประเทศไทยให้ผลตอบแทนแค่ 16% เท่านั้น ทำให้คาดการณ์ว่า SET มีโอกาสทดสอบ 900 จุด ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าจะมีการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME ขณะที่กลุ่มธนาคาร(เช่าซื้อ) มีแนวโน้มว่าความต้องการในการซื้อรถยนต์จากภาคประชาชนจะเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่ายอดการซื้อรถยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน 5%
ส่วนกลุ่มที่ยังไม่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เนื่องจากแนวโน้มอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยดีนัก แม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะยังคงโครงการ Mega Project แต่อาจจะมีการอนุมัติโครงการล่าช้าเนื่องจากเป็นรัฐบาลผสม รวมถึงกลุ่มพลังงาน ซึ่งแม้ปีนี้จะมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี แต่ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการแทรกแซงราคาน้ำมันจากรัฐบาล ค่าเงินบาท และความผันผวนในช่วงสั้นๆค่อนข้างมาก