วานนี้ (27 ก.พ.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ได้เปิดศูนย์สายตรงถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งส.ว.โดยใช้นิสิต นักศึกษารวม 85 คน ที่ได้รับการอบรม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส.ว.โทรศัพท์ สายตรงไปยังผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อแจ้งเตือนให้ช่วยกันออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และสามารถตอบคำถามข้อข้องใจ ของผู้มีสิทธิได้ทันที
นายอภิชาต กล่าวว่า นักศึกษาที่มาร่วมรณรงค์นี้ เป็นผู้ได้รับการอบรมข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.จาก กกต.เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งนี้ยอมรับว่า จากการตรวจเยี่ยมการลงคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ว.ล่วงหน้านั้น มีผู้มาใช้สิทธิน้อยมาก ยิ่งใกล้เวลาลงคะแนนเลือกตั้งยิ่งเห็นว่า ประชาสัมพันธ์มีปัญหา เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดว่า ภายใน 150 วันจะต้องมี ส.ส.และ ส.ว. ครบทั้งสองสภา ดังนั้นจึงถือว่าเราใช้เวลา 3 เดือนไปกับการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.และอีก 2 เดือนในการจัดหา ส.ว. ซึ่งถือเป็นเรื่องยาก ที่จะทำได้ ซึ่งหลายคนก็ไม่เข้าใจว่าเมื่อมี ส.ส.แล้วจะมี ส.ว.ไปอีกทำไม
"ยอมรับว่างานนี้เป็นงานหนัก เพราะบรรยากาศการเลือกตั้งส.ว.มีความแตกต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะช่วงเวลาการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใกล้กันมากเกินไป ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้ง ส.ว. แต่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้คงมีแค่ครั้งเดียว ซึ่งผมก็เห็นว่า ผลการประชาสัมพันธ์ไม่เป็นที่พอใจ เพราะประชาชนมีความเบื่อหน่าย แต่การเลือกตั้งส.ว.ก็มีความจำเป็น เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หวังว่าโครงการนี้จะทำให้มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น" นายอภิชาต กล่าว และว่า ดังนั้นการเลือกตั้งส.ว.มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 มี.ค.นี้ เวลา 8.00 น. - 15.00 น. และขอให้เลือกคนดีที่ไม่ผูกพันกับการเมือง และไม่มีพฤติกรรมซื้อสิทธิ ขายเสียง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ยืนยันว่า นักเรียน และนักศึกษาทั้งหมด จะสามารถให้ข้อมูลได้เพียง การออกไปใช้สิทธิ หรือ บทบาทหน้าที่ของ กกต.เท่านั้น ส่วนการตัดสินใจจะเลือกใครนั้น ขอให้เป็นการตัดสินใจของประชาชนในแต่ละคน โดย อาสาสมัครทั้งหมดจะไม่สามารถชักชวน หรือแนะนำให้เลือกผู้สมัครรายใดได้
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจความสำคัญของ ส.ว. ในการอบรมนักศึกษาจึงให้เน้นความสำคัญของส.ว. เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้ดุลยพินิจตัดสินใจว่า จะมาเลือก ส.ว.หรือไม่ ซึ่ง กกต.จะกระตุ้นประชาสัมพันธ์อีกครั้ง เพื่อดึงความสนใจของประชาชนจากเรื่องอื่นๆ ให้เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งส.ว.วันที่ 2 มี.ค. และ หากไม่ไปใช้สิทธิจะเสียสิทธิอะไรบ้าง
นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา กกต.ได้เดินทางไปพบกับ รมว.แรงงาน เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ว. เช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา และขอให้รณรงค์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ว. เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องอำนวยความสะดวกตามสมควรให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์ หากนายจ้างขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวก็จะถูกดำเนินคดีอาญาได้
นอกจากนี้ กกต.จะทำหนังสือไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อ ขอลดราคาค่าโดยสารทั้ง ขสมก. หรือ ค่าทางด่วน รถไฟฟ้า หรือรถไฟ ตามดุลพินิจของ รมว.คมนาคม โดยเบื้องต้นขอให้รมว.แรงงานประสานเป็นการภายในกับรมว.คมนาคม ก่อน ซึ่งถือเป็นประโยชน์กับประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและต้องกลับไปใช้สิทธิ และถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
"เรื่องนี้ กกต.ไม่ได้รณรงค์ช้า เพราะมีแรงงานกว่า 23 ล้านคน ถ้าเทียบกับยอดการเลือกตั้งล่วงหน้าส.ส. มีเพียง 3 ล้านคน จึงมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ยังไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และทางกระทรวงแรงงานก็เห็นว่าจำเป็นต้องรณรงค์โค้งสุดท้าย เพื่อให้ประชาชนที่เป็นแรงงานมาใช้สิทธิ์ให้มากขึ้น" นายสุทธิพล กล่าว
เมื่อถามว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะเสนอรัฐบาลให้มีมติวันที่ 3 มี.ค. เป็นวันหยุดชดเชย นายสุทธิพล กล่าวว่า จากการประเมินดูแล้ว คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องกำหนดให้วันที่ 3 เป็นวันหยุดชดเชย เพราะการหยุดชดเชยหลังเลือกตั้ง ส.ส. ก็มีทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อีกทั้ง กระทรวงแรงงาน ก็ได้วิเคราะห์ไว้ว่าไม่จำเป็นต้องมีหยุดชดเชย
ทั้งนี้ การที่จะขอให้รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดชดเชย ก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ครม.โดยต้องนำเข้าภายในวันอังคาร (26 ก.พ. 51) ซึ่งมันเลยเวลาไปแล้ว
**"ขวัญชัย"ชวนเชื่อเลือกส.ว.สายพปช.
ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวอุดรธานีหลายคนว่า ขณะนี้ได้มีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในการหาเสียงเลือกตั้งส.ว. ที่จ.อุดรธานี โดยนายขวัญชัย ไพรพนา นักจัดรายการคลื่นมวลชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุชุมชนได้จัดรายการหาเสียงช่วยผู้สมัครส.ว.2 ราย คือหมายเลข 3 นายอนุชา หงษ์ทอง และนายพิชา วิจิตรศิลป์ หมายเลข 5 โดยนายขวัญชัย ประกาศผ่านรายการวิทยุ เชิญชวนให้สมาชิกชมรมคนรักอุดรฯ เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งใน 2 คนนี้ โดยอ้างว่าจะได้เข้าไปผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ
ทั้งนี้ ผู้สมัครทั้ง 2 ราย ถือว่าเป็นคนใกล้ชิดของผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชาชน โดยนายอนุชา หงษ์ทอง มี นายประจวบ ไชยสาส์น ให้การสนับสนุน ซึ่งปัจจุบันลูกชายทั้งสองคนของนายประจวบ ก็เป็น ส.ส.พรรคพลังประชาชน ขณะที่นายพิชา นั้นเป็นหนึ่งในทีมทนายความของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง กกต. ประจำจังหวัดอุดรธานี โดยว่าที่ร้อยตรีดุสิต พรมสิทธิ์ กล่าวว่า ทาง กกต.อุดรธานี ยังไม่ทราบเรื่อง และยังไม่มีผู้ใดร้องเรียนมา หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาก็จะจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป
นายอภิชาต กล่าวว่า นักศึกษาที่มาร่วมรณรงค์นี้ เป็นผู้ได้รับการอบรมข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.จาก กกต.เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งนี้ยอมรับว่า จากการตรวจเยี่ยมการลงคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ว.ล่วงหน้านั้น มีผู้มาใช้สิทธิน้อยมาก ยิ่งใกล้เวลาลงคะแนนเลือกตั้งยิ่งเห็นว่า ประชาสัมพันธ์มีปัญหา เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดว่า ภายใน 150 วันจะต้องมี ส.ส.และ ส.ว. ครบทั้งสองสภา ดังนั้นจึงถือว่าเราใช้เวลา 3 เดือนไปกับการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.และอีก 2 เดือนในการจัดหา ส.ว. ซึ่งถือเป็นเรื่องยาก ที่จะทำได้ ซึ่งหลายคนก็ไม่เข้าใจว่าเมื่อมี ส.ส.แล้วจะมี ส.ว.ไปอีกทำไม
"ยอมรับว่างานนี้เป็นงานหนัก เพราะบรรยากาศการเลือกตั้งส.ว.มีความแตกต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะช่วงเวลาการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใกล้กันมากเกินไป ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้ง ส.ว. แต่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้คงมีแค่ครั้งเดียว ซึ่งผมก็เห็นว่า ผลการประชาสัมพันธ์ไม่เป็นที่พอใจ เพราะประชาชนมีความเบื่อหน่าย แต่การเลือกตั้งส.ว.ก็มีความจำเป็น เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หวังว่าโครงการนี้จะทำให้มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น" นายอภิชาต กล่าว และว่า ดังนั้นการเลือกตั้งส.ว.มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 มี.ค.นี้ เวลา 8.00 น. - 15.00 น. และขอให้เลือกคนดีที่ไม่ผูกพันกับการเมือง และไม่มีพฤติกรรมซื้อสิทธิ ขายเสียง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ยืนยันว่า นักเรียน และนักศึกษาทั้งหมด จะสามารถให้ข้อมูลได้เพียง การออกไปใช้สิทธิ หรือ บทบาทหน้าที่ของ กกต.เท่านั้น ส่วนการตัดสินใจจะเลือกใครนั้น ขอให้เป็นการตัดสินใจของประชาชนในแต่ละคน โดย อาสาสมัครทั้งหมดจะไม่สามารถชักชวน หรือแนะนำให้เลือกผู้สมัครรายใดได้
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจความสำคัญของ ส.ว. ในการอบรมนักศึกษาจึงให้เน้นความสำคัญของส.ว. เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้ดุลยพินิจตัดสินใจว่า จะมาเลือก ส.ว.หรือไม่ ซึ่ง กกต.จะกระตุ้นประชาสัมพันธ์อีกครั้ง เพื่อดึงความสนใจของประชาชนจากเรื่องอื่นๆ ให้เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งส.ว.วันที่ 2 มี.ค. และ หากไม่ไปใช้สิทธิจะเสียสิทธิอะไรบ้าง
นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา กกต.ได้เดินทางไปพบกับ รมว.แรงงาน เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ว. เช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา และขอให้รณรงค์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ว. เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องอำนวยความสะดวกตามสมควรให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิ์ หากนายจ้างขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวก็จะถูกดำเนินคดีอาญาได้
นอกจากนี้ กกต.จะทำหนังสือไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อ ขอลดราคาค่าโดยสารทั้ง ขสมก. หรือ ค่าทางด่วน รถไฟฟ้า หรือรถไฟ ตามดุลพินิจของ รมว.คมนาคม โดยเบื้องต้นขอให้รมว.แรงงานประสานเป็นการภายในกับรมว.คมนาคม ก่อน ซึ่งถือเป็นประโยชน์กับประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและต้องกลับไปใช้สิทธิ และถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
"เรื่องนี้ กกต.ไม่ได้รณรงค์ช้า เพราะมีแรงงานกว่า 23 ล้านคน ถ้าเทียบกับยอดการเลือกตั้งล่วงหน้าส.ส. มีเพียง 3 ล้านคน จึงมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ยังไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และทางกระทรวงแรงงานก็เห็นว่าจำเป็นต้องรณรงค์โค้งสุดท้าย เพื่อให้ประชาชนที่เป็นแรงงานมาใช้สิทธิ์ให้มากขึ้น" นายสุทธิพล กล่าว
เมื่อถามว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะเสนอรัฐบาลให้มีมติวันที่ 3 มี.ค. เป็นวันหยุดชดเชย นายสุทธิพล กล่าวว่า จากการประเมินดูแล้ว คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องกำหนดให้วันที่ 3 เป็นวันหยุดชดเชย เพราะการหยุดชดเชยหลังเลือกตั้ง ส.ส. ก็มีทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อีกทั้ง กระทรวงแรงงาน ก็ได้วิเคราะห์ไว้ว่าไม่จำเป็นต้องมีหยุดชดเชย
ทั้งนี้ การที่จะขอให้รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดชดเชย ก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ครม.โดยต้องนำเข้าภายในวันอังคาร (26 ก.พ. 51) ซึ่งมันเลยเวลาไปแล้ว
**"ขวัญชัย"ชวนเชื่อเลือกส.ว.สายพปช.
ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวอุดรธานีหลายคนว่า ขณะนี้ได้มีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในการหาเสียงเลือกตั้งส.ว. ที่จ.อุดรธานี โดยนายขวัญชัย ไพรพนา นักจัดรายการคลื่นมวลชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุชุมชนได้จัดรายการหาเสียงช่วยผู้สมัครส.ว.2 ราย คือหมายเลข 3 นายอนุชา หงษ์ทอง และนายพิชา วิจิตรศิลป์ หมายเลข 5 โดยนายขวัญชัย ประกาศผ่านรายการวิทยุ เชิญชวนให้สมาชิกชมรมคนรักอุดรฯ เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งใน 2 คนนี้ โดยอ้างว่าจะได้เข้าไปผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ
ทั้งนี้ ผู้สมัครทั้ง 2 ราย ถือว่าเป็นคนใกล้ชิดของผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชาชน โดยนายอนุชา หงษ์ทอง มี นายประจวบ ไชยสาส์น ให้การสนับสนุน ซึ่งปัจจุบันลูกชายทั้งสองคนของนายประจวบ ก็เป็น ส.ส.พรรคพลังประชาชน ขณะที่นายพิชา นั้นเป็นหนึ่งในทีมทนายความของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง กกต. ประจำจังหวัดอุดรธานี โดยว่าที่ร้อยตรีดุสิต พรมสิทธิ์ กล่าวว่า ทาง กกต.อุดรธานี ยังไม่ทราบเรื่อง และยังไม่มีผู้ใดร้องเรียนมา หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาก็จะจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป