ดูเหมือนว่า ขณะนี้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย กำลังตกอยู่ในการตัดสินใจของผู้บริหารไม่กี่คนในรัฐบาล คือ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอาจจะรวมไปถึงบรรดารัฐมนตรีช่วยในกระทรวงการคลัง อาทิ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นต้น
ผมเห็นว่า คนกลุ่มนี้ กำลังนำพาการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศของเราไปอย่างน่าเป็นห่วง
ขณะนี้ เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาวะข้าวของราคาแพง โดยสินค้าทั่วไปมีราคาสูงขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใดเท่านั้น หากแต่เป็นสินค้าแทบทุกชนิดที่มีราคาแพงขึ้น
ปรากฏการณ์นี้ ไม่ใช่สถานการณ์แปลกใหม่ในทางเศรษฐกิจ นั่นคือ อาการของสภาวะเงินเฟ้อ
หมายความว่า เงินที่อยู่ในมือของประชาชนเสมือนหนึ่งด้อยค่าลงไป
โดยจำนวนเงินเท่าเดิม จะสามารถซื้อสินค้าได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะแม้รายได้จะไม่ลดน้อยลง ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบากขึ้น หรือแม้แต่คนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเพิ่มไม่ทันราคาสินค้า ชีวิตปากท้องความเป็นอยู่ก็ยังยากลำบากเช่นกัน
ผมเห็นว่า มุมมอง แนวคิด แนวทาง ตลอดจนท่าทีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศของคนในรัฐบาล มีปัญหา
และผมขออนุญาตเรียนตรงๆ ว่า เหมือนเป็น “อนุบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ”
1. นายสมัคร - ผู้นำรัฐบาล
ผมไม่อยากเห็น “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่คิดง่ายๆ หยาบๆ ด้วยเศษสตางค์”
การพยายามอธิบายแบบ “เอามั่วเข้าร่าย เอาง่ายเข้าว่า” โดยพูดจาประสางูๆ ปลาๆ ในทำนองว่า สาเหตุที่สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นเพราะในท้องตลาดขาดเศษสตางค์ ขาดเงินเหรียญบาทเหรียญสลึง ทำให้พ่อค้าแม่ขายปรับราคาขึ้นไปตามหน่วยของเงินที่ใหญ่ขึ้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยว ปรับราคาจาก 20-25 บาท ขึ้นไปเป็น 25-30 บาท ซึ่งเป็นการขึ้นราคาถึง 5 บาท แทนที่จะขยับราคาเป็นหน่วยเงินเล็กๆ มีเศษบาทเศษสลึง เช่น 20.25 – 20.50 – 20.75 – 21 -22 บาท เป็นต้น
ถามว่า การขาดเหรียญบาทเหรียญสลึง เป็นสาเหตุทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีพฤติกรรมปรับราคาสินค้าของตัวเช่นนั้น จริงหรือไม่ ?
ประการแรก ข้อเท็จจริง คือ เหรียญบาท เหรียญสลึง ไม่ได้ขาดตลาด
ประการที่สอง ในมุมของผู้ผลิตผู้ขาย สินค้าหลายๆ ชนิด มีต้นทุนแปรผันขึ้นลงทุกวัน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะฉะนั้น ต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าหลายชนิดจึงขึ้น-ลงทุกวัน วันละนิดละน้อย แต่ผู้ผลิตผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคสับสน ก็ลองคิดดูสิ ถ้าราคาก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวแกงขึ้นราคาจาก 20 บาทเป็น 22 บาท แล้ววันต่อไปลดราคาลงเหลือ 21 บาท แล้วเมื่อต้นทุนสูงขึ้นก็ขึ้นราคาเป็น 24 บาท ผู้ซื้อผู้ขายจะสับสนอย่างไร วิธีการที่ผู้ผลิตผู้ขายใช้ คือ การตั้งราคาโดยประเมินจากราคาถัวเฉลี่ย
เมื่อต้นทุนแปรผันขึ้นต่อเนื่อง เขาก็จะต้องปรับราคาขายขึ้นไป จาก 20 บาท ขึ้นเป็น 25 บาท ซึ่งหากการขึ้นราคา 5 บาท ดูจะสูงเกินไป เขาก็จะสามารถปรับเปลี่ยนสินค้า เช่น เพิ่มปริมาณก๋วยเตี๋ยว หรือข้าวแกงให้มากขึ้นในหนึ่งจาน
ตรงกันข้าม หากไปห้ามขึ้นราคา เขาก็จะหาทางแอบลดคุณภาพสินค้า และปริมาณสินค้า ลวงผู้บริโภคว่ายังซื้อได้เท่าเดิม
ในความเป็นจริง ขณะนี้ สินค้าโดยทั่วไปมีราคาแพงขึ้นแทบทุกอย่าง และส่วนใหญ่ก็ค่อยๆ ปรับราคาขึ้นมา คงมีแต่เพียงบางประเภทเท่านั้นที่ปรับราคาขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งก็มักจะเป็นสินค้าจำพวกอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุนที่มีการแปรผันหลายๆ อย่าง
ผู้นำประเทศต้องไม่เอาแต่บ่น และฟุ้งฝันอยู่กับความรู้สึกส่วนตัว ที่ไม่ได้ช่วยชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชนเลย อาศัยแค่ว่าคำพูด “เศษสตางค์” มันคล้องกับ “เศรษฐกิจ” ก็เลยหยิบมาขาย ประดิษฐ์คำเหมือนนักพูดนักโต้วาที เพื่ออวดภูมิแบบงูๆ ปลาๆ โดยไม่ดูความเป็นจริง หรือไม่เข้าใจการทำงานของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
2. นพ.สุรพงษ์-มิ่งขวัญ กับการคลัง -การเงิน –การพาณิชย์ และการเศรษฐกิจ
ขณะนี้ นพ.สุรพงษ์ และนายมิ่งขวัญ สองหัวเรี่ยวหัวแรงเศรษฐกิจ กำลังมีปัญหาในการวินิจฉัยโรคของเศรษฐกิจไทย
ภาวะที่ข้าวของโดยทั่วไปราคาแพง โดยไม่ใช่แค่สินค้าดัวใดตัวหนึ่ง แต่เป็นสินค้าโดยทั่วๆ ไป แทบทุกชนิด เป็นอาการของภาวะเงินเฟ้อ
ถ้าเปรียบกับการตรวจรักษาโรค ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เศรษฐกิจก็เหมือนสุขภาพร่างกายคน ขณะนี้ ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะจุดตรงอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ใช่อาการเจ็บปวดนิ้วเท้า หรือข้อเท้า แต่เป็นอาการป่วยที่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้น การรักษาไม่อาจจะแก้เฉพาะจุด ทายา พันแผลเฉพาะจุด หรือการไปตรวจดูสินค้าเป็นรายตัวเท่านั้น แต่ต้องตรวจรักษาที่กระแสโลหิต ระบบการไหลเวียนของเลือดที่มีผลทั้งร่างกาย
การแก้ไขภาวะข้าวของราคาแพง จึงต้องพิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะต้องออกนโยบายการคลังและการเงินมาใช้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์
เครื่องมือที่เกี่ยวข้องใกล้ๆ ตัว คือ การใช้จ่ายงบประมาณกับการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ จะมีผลต่อการไหลเวียนของเงินในระบบ มีผลต่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และมีผลต่อระดับราคาสินค้า
ถ้าไม่อยากให้เงินเฟ้อหนักกว่าเดิม รัฐบาลก็ต้องมีนโยบายการคลังที่เข้มงวดกว่าเดิม มีวินัยการคลังมากขึ้น เลิกใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อและการโปรยหว่านเงินงบประมาณเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น ทั้งโครงการลงทุน โครงการก่อสร้าง โครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เพราะการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลจะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน กระตุ้นการบริโภค การจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะกดดันให้ข้าวของราคาแพงขึ้นไปอีก
ส่วนในด้านการเงิน รัฐบาลก็จะต้องประสานข้อมูลและทิศทางให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะที่แบงก์ชาติเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลในด้านการเงินโดยตรง
ถ้าไม่อยากให้เงินเฟ้อหนักกว่านี้ ก็จะต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อลดการลงทุน ลดการบริโภค ลดการใช้จ่ายเงินของผู้คนลง และจะต้องมีมาตรการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ โดยจำกัดการปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ให้น้อยลง
นโยบายการคลังและการเงิน จะต้องสอดรับกัน เพราะถ้าฝ่ายหนึ่งเหยีบเบรค อีกฝ่ายเหยียบคันเร่ง บ้านเมืองก็อาจจะพลิกคว่ำได้ สำคัญที่รัฐบาลอย่าไปเหยียบคันเร่ง กระตุ้นเศรษฐกิจ อัดเงินเข้าระบบแบบไม่ลืมหูลืมตา หวังผลทางการเมืองจนเศรษฐกิจโป่งบวม
การโยนงานแก้ปัญหาภาวะข้าวของราคาแพงในขณะนี้ไปให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ในฐานะรัฐมนตรีพาณิชย์ ไม่ต่างอะไรกับการโยนการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ไปให้กับหมอรักษาข้อเท้าอักเสบ
การไปเจรจากับผู้ผลิตผู้ขายสินค้าเพื่อขอให้คงราคาสินค้าไว้ หรือแม้กระทั่งลดราคาลง เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด เฉพาะสินค้าเป็นรายๆ ไป ซึ่งมีสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำได้ดีกว่านั้น คือ การสร้างให้มีการแข่งขันทางการค้า จนผู้ผลิตผู้ค้าไม่กล้าขึ้นราคาตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้สูญเสียลูกค้าไป กระทรวงพาณิชย์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งสินค้าแทบทุกชนิดกำลังปรับราคาขึ้นไป ไม่ใช่ราคาแพงขึ้นบางตัว
“มิ่งขวัญ” อาจช่วยรักษาหน้าให้รัฐบาลได้บ้าง ช่วยสร้างภาพได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาแน่ๆ เพราะปัญหาในขณะนี้ ต้องยอมรับเสียก่อนว่า ราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกชนิด
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ เมื่อเห็นว่า ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น จะดูแค่ราคาสินค้าอย่างเดียว ไม่ได้
การใช้เคล็ดวิชาท่องจำเป็นสูตรสำเร็จตายตัว ประเภทว่า ราคาขายหมูเนื้อแดง = (ราคาหมูเป็น X 2) + 2 บาท คงจะช่วยไม่ได้
หมูเป็นหนึ่งตัว เมื่อนำมาชำแหละแล้ว จะกลายเป็นเนื้อแดง มันหมู กระดูกหมู หนังหมู ฯลฯ ก็จะเห็นว่า แต่ละตัวเกี่ยวข้องกับกับปัจจัยแปรผันอื่นๆ อีกมาก เช่น เมื่อน้ำมันปิโตรเลียมราคาแพง ทำให้มีการใช้พืชน้ำมันมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืชจึงมีราคาแพงขึ้น น้ำมันหมูก็ราคาแพงขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น ในด้านความต้องการบริโภค “เนื้อหมู” หลังจากที่มีปัญหาไข้หวัดนก และมีข่าวหนักในช่วงต้นรัฐบาลชุดนี้ ประชาชนก็กินไก่น้อยลง บางส่วนหันมากินเนื้อหมูแทน ก็ทำให้เนื้อหมูราคาแพง แล้วไหนจะต้นทุนค่าขนส่งที่มีน้ำมันปิโตรเลียมเป็นตัวแปรสำคัญ และนอกจากต้นทุนตัวหมูเป็นที่จะนำมาฆ่าชำแหละแล้ว ยังมีต้นทุนโรงฆ่าสัตว์ ที่มีการผูกขาด ทำให้มีการหากำไรพิเศษจากการผูกขาดอยู่อีกด้วย
การจะให้เนื้อหมูราคาลดลงหรือเพิ่มขึ้น จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ มากมาย แต่ถึงที่สุด หากรัฐบาลไม่รู้จักใช้นโยบายการคลังและการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสินค้าราคาแพง โดยเน้นที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย สภาวะเงินเฟ้อจะแก้ไม่ได้
ยิ่งหากรัฐบาลใช้นโยบายการเงินการคลังแบบบ้าระห่ำ มุ่งฉีดเงินเข้าไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น กระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากขึ้น ก็จะทับถมปัญหาเงินให้เฟ้อมากขึ้นไปอีก
ทั้งหมด จึงอดเป็นห่วงเศรษฐกิจปากท้องของชาวบ้านผู้มีรายได้ประจำและรายได้คงที่ไม่ได้
รัฐบาลชุดนี้ จะนำพาเศรษฐกิจไปทางไหน ด้วยความรู้และความมั่นใจเท่ากับอนุบาลทางเศรษฐศาสตร์
โชคดีนะ ประเทศไทย
ผมเห็นว่า คนกลุ่มนี้ กำลังนำพาการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศของเราไปอย่างน่าเป็นห่วง
ขณะนี้ เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาวะข้าวของราคาแพง โดยสินค้าทั่วไปมีราคาสูงขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใดเท่านั้น หากแต่เป็นสินค้าแทบทุกชนิดที่มีราคาแพงขึ้น
ปรากฏการณ์นี้ ไม่ใช่สถานการณ์แปลกใหม่ในทางเศรษฐกิจ นั่นคือ อาการของสภาวะเงินเฟ้อ
หมายความว่า เงินที่อยู่ในมือของประชาชนเสมือนหนึ่งด้อยค่าลงไป
โดยจำนวนเงินเท่าเดิม จะสามารถซื้อสินค้าได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะแม้รายได้จะไม่ลดน้อยลง ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบากขึ้น หรือแม้แต่คนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเพิ่มไม่ทันราคาสินค้า ชีวิตปากท้องความเป็นอยู่ก็ยังยากลำบากเช่นกัน
ผมเห็นว่า มุมมอง แนวคิด แนวทาง ตลอดจนท่าทีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศของคนในรัฐบาล มีปัญหา
และผมขออนุญาตเรียนตรงๆ ว่า เหมือนเป็น “อนุบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ”
1. นายสมัคร - ผู้นำรัฐบาล
ผมไม่อยากเห็น “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่คิดง่ายๆ หยาบๆ ด้วยเศษสตางค์”
การพยายามอธิบายแบบ “เอามั่วเข้าร่าย เอาง่ายเข้าว่า” โดยพูดจาประสางูๆ ปลาๆ ในทำนองว่า สาเหตุที่สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นเพราะในท้องตลาดขาดเศษสตางค์ ขาดเงินเหรียญบาทเหรียญสลึง ทำให้พ่อค้าแม่ขายปรับราคาขึ้นไปตามหน่วยของเงินที่ใหญ่ขึ้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยว ปรับราคาจาก 20-25 บาท ขึ้นไปเป็น 25-30 บาท ซึ่งเป็นการขึ้นราคาถึง 5 บาท แทนที่จะขยับราคาเป็นหน่วยเงินเล็กๆ มีเศษบาทเศษสลึง เช่น 20.25 – 20.50 – 20.75 – 21 -22 บาท เป็นต้น
ถามว่า การขาดเหรียญบาทเหรียญสลึง เป็นสาเหตุทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีพฤติกรรมปรับราคาสินค้าของตัวเช่นนั้น จริงหรือไม่ ?
ประการแรก ข้อเท็จจริง คือ เหรียญบาท เหรียญสลึง ไม่ได้ขาดตลาด
ประการที่สอง ในมุมของผู้ผลิตผู้ขาย สินค้าหลายๆ ชนิด มีต้นทุนแปรผันขึ้นลงทุกวัน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะฉะนั้น ต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าหลายชนิดจึงขึ้น-ลงทุกวัน วันละนิดละน้อย แต่ผู้ผลิตผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคสับสน ก็ลองคิดดูสิ ถ้าราคาก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวแกงขึ้นราคาจาก 20 บาทเป็น 22 บาท แล้ววันต่อไปลดราคาลงเหลือ 21 บาท แล้วเมื่อต้นทุนสูงขึ้นก็ขึ้นราคาเป็น 24 บาท ผู้ซื้อผู้ขายจะสับสนอย่างไร วิธีการที่ผู้ผลิตผู้ขายใช้ คือ การตั้งราคาโดยประเมินจากราคาถัวเฉลี่ย
เมื่อต้นทุนแปรผันขึ้นต่อเนื่อง เขาก็จะต้องปรับราคาขายขึ้นไป จาก 20 บาท ขึ้นเป็น 25 บาท ซึ่งหากการขึ้นราคา 5 บาท ดูจะสูงเกินไป เขาก็จะสามารถปรับเปลี่ยนสินค้า เช่น เพิ่มปริมาณก๋วยเตี๋ยว หรือข้าวแกงให้มากขึ้นในหนึ่งจาน
ตรงกันข้าม หากไปห้ามขึ้นราคา เขาก็จะหาทางแอบลดคุณภาพสินค้า และปริมาณสินค้า ลวงผู้บริโภคว่ายังซื้อได้เท่าเดิม
ในความเป็นจริง ขณะนี้ สินค้าโดยทั่วไปมีราคาแพงขึ้นแทบทุกอย่าง และส่วนใหญ่ก็ค่อยๆ ปรับราคาขึ้นมา คงมีแต่เพียงบางประเภทเท่านั้นที่ปรับราคาขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งก็มักจะเป็นสินค้าจำพวกอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุนที่มีการแปรผันหลายๆ อย่าง
ผู้นำประเทศต้องไม่เอาแต่บ่น และฟุ้งฝันอยู่กับความรู้สึกส่วนตัว ที่ไม่ได้ช่วยชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชนเลย อาศัยแค่ว่าคำพูด “เศษสตางค์” มันคล้องกับ “เศรษฐกิจ” ก็เลยหยิบมาขาย ประดิษฐ์คำเหมือนนักพูดนักโต้วาที เพื่ออวดภูมิแบบงูๆ ปลาๆ โดยไม่ดูความเป็นจริง หรือไม่เข้าใจการทำงานของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
2. นพ.สุรพงษ์-มิ่งขวัญ กับการคลัง -การเงิน –การพาณิชย์ และการเศรษฐกิจ
ขณะนี้ นพ.สุรพงษ์ และนายมิ่งขวัญ สองหัวเรี่ยวหัวแรงเศรษฐกิจ กำลังมีปัญหาในการวินิจฉัยโรคของเศรษฐกิจไทย
ภาวะที่ข้าวของโดยทั่วไปราคาแพง โดยไม่ใช่แค่สินค้าดัวใดตัวหนึ่ง แต่เป็นสินค้าโดยทั่วๆ ไป แทบทุกชนิด เป็นอาการของภาวะเงินเฟ้อ
ถ้าเปรียบกับการตรวจรักษาโรค ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เศรษฐกิจก็เหมือนสุขภาพร่างกายคน ขณะนี้ ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะจุดตรงอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ใช่อาการเจ็บปวดนิ้วเท้า หรือข้อเท้า แต่เป็นอาการป่วยที่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้น การรักษาไม่อาจจะแก้เฉพาะจุด ทายา พันแผลเฉพาะจุด หรือการไปตรวจดูสินค้าเป็นรายตัวเท่านั้น แต่ต้องตรวจรักษาที่กระแสโลหิต ระบบการไหลเวียนของเลือดที่มีผลทั้งร่างกาย
การแก้ไขภาวะข้าวของราคาแพง จึงต้องพิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะต้องออกนโยบายการคลังและการเงินมาใช้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์
เครื่องมือที่เกี่ยวข้องใกล้ๆ ตัว คือ การใช้จ่ายงบประมาณกับการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ จะมีผลต่อการไหลเวียนของเงินในระบบ มีผลต่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และมีผลต่อระดับราคาสินค้า
ถ้าไม่อยากให้เงินเฟ้อหนักกว่าเดิม รัฐบาลก็ต้องมีนโยบายการคลังที่เข้มงวดกว่าเดิม มีวินัยการคลังมากขึ้น เลิกใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อและการโปรยหว่านเงินงบประมาณเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น ทั้งโครงการลงทุน โครงการก่อสร้าง โครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เพราะการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลจะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน กระตุ้นการบริโภค การจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะกดดันให้ข้าวของราคาแพงขึ้นไปอีก
ส่วนในด้านการเงิน รัฐบาลก็จะต้องประสานข้อมูลและทิศทางให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะที่แบงก์ชาติเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลในด้านการเงินโดยตรง
ถ้าไม่อยากให้เงินเฟ้อหนักกว่านี้ ก็จะต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อลดการลงทุน ลดการบริโภค ลดการใช้จ่ายเงินของผู้คนลง และจะต้องมีมาตรการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ โดยจำกัดการปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ให้น้อยลง
นโยบายการคลังและการเงิน จะต้องสอดรับกัน เพราะถ้าฝ่ายหนึ่งเหยีบเบรค อีกฝ่ายเหยียบคันเร่ง บ้านเมืองก็อาจจะพลิกคว่ำได้ สำคัญที่รัฐบาลอย่าไปเหยียบคันเร่ง กระตุ้นเศรษฐกิจ อัดเงินเข้าระบบแบบไม่ลืมหูลืมตา หวังผลทางการเมืองจนเศรษฐกิจโป่งบวม
การโยนงานแก้ปัญหาภาวะข้าวของราคาแพงในขณะนี้ไปให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ในฐานะรัฐมนตรีพาณิชย์ ไม่ต่างอะไรกับการโยนการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ไปให้กับหมอรักษาข้อเท้าอักเสบ
การไปเจรจากับผู้ผลิตผู้ขายสินค้าเพื่อขอให้คงราคาสินค้าไว้ หรือแม้กระทั่งลดราคาลง เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด เฉพาะสินค้าเป็นรายๆ ไป ซึ่งมีสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำได้ดีกว่านั้น คือ การสร้างให้มีการแข่งขันทางการค้า จนผู้ผลิตผู้ค้าไม่กล้าขึ้นราคาตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้สูญเสียลูกค้าไป กระทรวงพาณิชย์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งสินค้าแทบทุกชนิดกำลังปรับราคาขึ้นไป ไม่ใช่ราคาแพงขึ้นบางตัว
“มิ่งขวัญ” อาจช่วยรักษาหน้าให้รัฐบาลได้บ้าง ช่วยสร้างภาพได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาแน่ๆ เพราะปัญหาในขณะนี้ ต้องยอมรับเสียก่อนว่า ราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกชนิด
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ เมื่อเห็นว่า ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น จะดูแค่ราคาสินค้าอย่างเดียว ไม่ได้
การใช้เคล็ดวิชาท่องจำเป็นสูตรสำเร็จตายตัว ประเภทว่า ราคาขายหมูเนื้อแดง = (ราคาหมูเป็น X 2) + 2 บาท คงจะช่วยไม่ได้
หมูเป็นหนึ่งตัว เมื่อนำมาชำแหละแล้ว จะกลายเป็นเนื้อแดง มันหมู กระดูกหมู หนังหมู ฯลฯ ก็จะเห็นว่า แต่ละตัวเกี่ยวข้องกับกับปัจจัยแปรผันอื่นๆ อีกมาก เช่น เมื่อน้ำมันปิโตรเลียมราคาแพง ทำให้มีการใช้พืชน้ำมันมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืชจึงมีราคาแพงขึ้น น้ำมันหมูก็ราคาแพงขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น ในด้านความต้องการบริโภค “เนื้อหมู” หลังจากที่มีปัญหาไข้หวัดนก และมีข่าวหนักในช่วงต้นรัฐบาลชุดนี้ ประชาชนก็กินไก่น้อยลง บางส่วนหันมากินเนื้อหมูแทน ก็ทำให้เนื้อหมูราคาแพง แล้วไหนจะต้นทุนค่าขนส่งที่มีน้ำมันปิโตรเลียมเป็นตัวแปรสำคัญ และนอกจากต้นทุนตัวหมูเป็นที่จะนำมาฆ่าชำแหละแล้ว ยังมีต้นทุนโรงฆ่าสัตว์ ที่มีการผูกขาด ทำให้มีการหากำไรพิเศษจากการผูกขาดอยู่อีกด้วย
การจะให้เนื้อหมูราคาลดลงหรือเพิ่มขึ้น จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ มากมาย แต่ถึงที่สุด หากรัฐบาลไม่รู้จักใช้นโยบายการคลังและการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสินค้าราคาแพง โดยเน้นที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย สภาวะเงินเฟ้อจะแก้ไม่ได้
ยิ่งหากรัฐบาลใช้นโยบายการเงินการคลังแบบบ้าระห่ำ มุ่งฉีดเงินเข้าไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น กระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากขึ้น ก็จะทับถมปัญหาเงินให้เฟ้อมากขึ้นไปอีก
ทั้งหมด จึงอดเป็นห่วงเศรษฐกิจปากท้องของชาวบ้านผู้มีรายได้ประจำและรายได้คงที่ไม่ได้
รัฐบาลชุดนี้ จะนำพาเศรษฐกิจไปทางไหน ด้วยความรู้และความมั่นใจเท่ากับอนุบาลทางเศรษฐศาสตร์
โชคดีนะ ประเทศไทย