ผู้จัดการรายวัน - กลุ่มปตท.โกยกำไรปี 50 เฉียด 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 10% นำโด่งโดยปตท. ฟันกำไรสุทธิ 9.7 หมื่นล้านบาท ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนและธุรกิจการกลั่น-ปิโตรเคมีดีขึ้น ขณะที่ "ไออาร์พีซี" หลังเปลี่ยนชื่อใหม่กำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่าตัวเป็น 1.3 หมื่นล้านบาท
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลการดำเนินงานในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ประจำปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รวมทั้งหมด 7 บริษัท พบว่า กลุ่มปตท.มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2549 โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 197,370.00 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิรวม 179,837.17 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 17,532.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วน 9.75% (ตารางประกอบข่าว)
โดยบริษัทที่มีกำไรสุทธิรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กำไรสุทธิรวม 97,803.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.32% บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP กำไรสุทธิ 28,455.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.46% และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กำไรสุทธิ 19,175.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.59%
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. กล่าวว่า ในปี 2550 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2,221.40 ล้านบาท หรือ 2.32% เกิดจากกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนและส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากผลประกอบการของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีที่ดีขึ้น จากค่าการกลั่นและส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product
to Feed Margin) ของธุรกิจปิโตรเคมีที่สูงขึ้น
พร้อมกันนี้ ปตท. ได้รับรู้ผลประกอบการของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ตามวิธีส่วนได้เสียเต็มปีในปี 2550 หลังจากที่ ปตท.เริ่มบันทึกบัญชีเงินลงทุนใน IRPC ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549
ไออาร์พีซีกำไรเพิ่มเท่าตัว
ขณะที่ บมจ. ไออาร์พีซี ได้แจ้งผลประกอบการประจำปี 2550 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 12,985.99 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.67 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 6,822.57 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.35 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6,163.42 ล้านบาท คิดเป็น 90.34%
นายประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา ปตท.มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง และผลของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดซึ่ง ปตท.ได้แบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลฯ ให้กับกระทรวงการคลังพร้อมทั้งดำเนินการเช่าทรัพย์สินดังกล่าวจากกระทรวงการคลัง ส่งผลให้ ปตท.มีค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาในปี 2550 จำนวน 2,824 ล้านบาท
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ปตท.และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 892,351 ล้านบาท หนี้สินรวม 493,700 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 244,885 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะยาว 212,387 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 398,651 ล้านบาท
ค่าการกลั่นพุ่งหนุนกำไรบางจาก
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจากปิโตรเลียม กล่าวถึง สาเหตุที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ว่า ในปี 2550 บริษัทมี EBITDA อยู่ที่ 3,977 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่มี 1,613 ล้านบาท แบ่งเป็น EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 3,768 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1,141 ล้านบาท โดยในปี 2550 บริษัทมีค่าการกลั่นรวม 5.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กำลังการผลิตที่ 66.3 พันบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ 2.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และกำลังการผลิตที่ 56.3 พันบาร์เรลต่อวัน
ด้านบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR แจ้งว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 18,018.42 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.08 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 13,248.45 บ้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 4.68 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,769.97 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.00%
โดยบริษัทมี EBITDA 26,588 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 9,130 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52% เนื่องจากธุรกิจการกลั่นมีค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ธุรกิจอะโรเมติกส์ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิตจึงทำให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์สำหรับการขายเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน PTTAR ยังกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง 1,042 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2549 บริษัทมีกำไรที่เกิดจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราและขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าประมาณ 600 ล้านบาท รวมถึงอัตราการแข็งค่าของเงินบาท ณ สิ้นปี 2549 เทียบกับปี 2548 สูงกว่า ณ สิ้นปี 2550เทียบกับปี 2549
ด้านนางสาวปนัดดา กนกวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH กล่าวว่า ปี 2550 บริษัทมีกำไรสุทธิ 19,167.22 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 12.85 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 18,282.19 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 15.75 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 885.03 ล้านบาท คิดเป็น 4.84%
ปตท.สผ.รายได้รวมสูงเฉียดแสนล.
นายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 96,773 ล้านบาท เมเทียบกับปีก่อนจำนวน 91,723 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,050 ล้านบาท หรือ 6% ส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้การขายที่เพิ่มขึ้น 4,425 ล้านบาท เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 39.78 เหรียญสหรัฐเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากปีก่อนที่ 36.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณการขายผลิตเพิ่มขึ้นเป็น179,767 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เทียบกับปีก่อนที่ 169,348 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน โดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโครงการโอมาน 44 และสินภูฮ่อม (เริ่มผลิตตั้งแต่ปลายปี 2549) รวมทั้งการขายน้ำมันดิบจากโครงการเอส1 และการขายก๊าซธรรมชาติจากโครงการไพลิน ยาดานา ในขณะที่ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโครงการ บี8/32&9เอ ลดลง
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 19,175.63 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 9.40 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 17,659.03 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.66 บาท กำไรสุทธิสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,516.60 บาท หรือคิดเป็น 8.59% โดยกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์
โดยในปี 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 261,051 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 18,058 ล้านบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นปี 2549 ค่าการกลั่นเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงผันผวนในระดับสูง แต่จาก Margin ของ TPX และ TLB ลดลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้กำไรขั้นต้นรวมจากการผลิตอยู่ที่ 10.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับ 7.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปีก่อน ขณะที่ EBITDA รวมอยู่ที่ 29,030 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4,453 ล้านบาท
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลการดำเนินงานในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ประจำปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รวมทั้งหมด 7 บริษัท พบว่า กลุ่มปตท.มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2549 โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 197,370.00 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิรวม 179,837.17 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 17,532.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วน 9.75% (ตารางประกอบข่าว)
โดยบริษัทที่มีกำไรสุทธิรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กำไรสุทธิรวม 97,803.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.32% บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP กำไรสุทธิ 28,455.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.46% และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กำไรสุทธิ 19,175.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.59%
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. กล่าวว่า ในปี 2550 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2,221.40 ล้านบาท หรือ 2.32% เกิดจากกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนและส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากผลประกอบการของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีที่ดีขึ้น จากค่าการกลั่นและส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product
to Feed Margin) ของธุรกิจปิโตรเคมีที่สูงขึ้น
พร้อมกันนี้ ปตท. ได้รับรู้ผลประกอบการของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ตามวิธีส่วนได้เสียเต็มปีในปี 2550 หลังจากที่ ปตท.เริ่มบันทึกบัญชีเงินลงทุนใน IRPC ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549
ไออาร์พีซีกำไรเพิ่มเท่าตัว
ขณะที่ บมจ. ไออาร์พีซี ได้แจ้งผลประกอบการประจำปี 2550 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 12,985.99 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.67 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 6,822.57 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.35 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6,163.42 ล้านบาท คิดเป็น 90.34%
นายประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา ปตท.มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง และผลของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดซึ่ง ปตท.ได้แบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลฯ ให้กับกระทรวงการคลังพร้อมทั้งดำเนินการเช่าทรัพย์สินดังกล่าวจากกระทรวงการคลัง ส่งผลให้ ปตท.มีค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาในปี 2550 จำนวน 2,824 ล้านบาท
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ปตท.และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 892,351 ล้านบาท หนี้สินรวม 493,700 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 244,885 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะยาว 212,387 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 398,651 ล้านบาท
ค่าการกลั่นพุ่งหนุนกำไรบางจาก
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจากปิโตรเลียม กล่าวถึง สาเหตุที่บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ว่า ในปี 2550 บริษัทมี EBITDA อยู่ที่ 3,977 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่มี 1,613 ล้านบาท แบ่งเป็น EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 3,768 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1,141 ล้านบาท โดยในปี 2550 บริษัทมีค่าการกลั่นรวม 5.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กำลังการผลิตที่ 66.3 พันบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ 2.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และกำลังการผลิตที่ 56.3 พันบาร์เรลต่อวัน
ด้านบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR แจ้งว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 18,018.42 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.08 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 13,248.45 บ้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 4.68 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,769.97 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.00%
โดยบริษัทมี EBITDA 26,588 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 9,130 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52% เนื่องจากธุรกิจการกลั่นมีค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ธุรกิจอะโรเมติกส์ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิตจึงทำให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์สำหรับการขายเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน PTTAR ยังกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง 1,042 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2549 บริษัทมีกำไรที่เกิดจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราและขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าประมาณ 600 ล้านบาท รวมถึงอัตราการแข็งค่าของเงินบาท ณ สิ้นปี 2549 เทียบกับปี 2548 สูงกว่า ณ สิ้นปี 2550เทียบกับปี 2549
ด้านนางสาวปนัดดา กนกวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH กล่าวว่า ปี 2550 บริษัทมีกำไรสุทธิ 19,167.22 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 12.85 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 18,282.19 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 15.75 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 885.03 ล้านบาท คิดเป็น 4.84%
ปตท.สผ.รายได้รวมสูงเฉียดแสนล.
นายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 96,773 ล้านบาท เมเทียบกับปีก่อนจำนวน 91,723 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,050 ล้านบาท หรือ 6% ส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้การขายที่เพิ่มขึ้น 4,425 ล้านบาท เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 39.78 เหรียญสหรัฐเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากปีก่อนที่ 36.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณการขายผลิตเพิ่มขึ้นเป็น179,767 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เทียบกับปีก่อนที่ 169,348 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน โดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโครงการโอมาน 44 และสินภูฮ่อม (เริ่มผลิตตั้งแต่ปลายปี 2549) รวมทั้งการขายน้ำมันดิบจากโครงการเอส1 และการขายก๊าซธรรมชาติจากโครงการไพลิน ยาดานา ในขณะที่ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโครงการ บี8/32&9เอ ลดลง
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 19,175.63 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 9.40 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 17,659.03 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.66 บาท กำไรสุทธิสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,516.60 บาท หรือคิดเป็น 8.59% โดยกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้นับว่าสูงเป็นประวัติการณ์
โดยในปี 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 261,051 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 18,058 ล้านบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นปี 2549 ค่าการกลั่นเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงผันผวนในระดับสูง แต่จาก Margin ของ TPX และ TLB ลดลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้กำไรขั้นต้นรวมจากการผลิตอยู่ที่ 10.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับ 7.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปีก่อน ขณะที่ EBITDA รวมอยู่ที่ 29,030 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4,453 ล้านบาท